ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2012, 12:32:55 am »

:06: ผมก็รู้สึกจะเข้าข่าย แต่ก็ควบคุมไหวอยู่คร๊าบบ 55+
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม :13:


เอาอยู่

ใช่หรือเปล่าครับ อิอิ

.
ข้อความโดย: magicmo
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 12:35:08 pm »

ขอบคุณมากๆ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 11:14:39 pm »

 :06: ผมก็รู้สึกจะเข้าข่าย แต่ก็ควบคุมไหวอยู่คร๊าบบ 55+
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม :13:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 10:18:26 pm »

วิธีเช็คตัวเอง...กำลังจะเป็น "โรคติดเน็ต"?

ดร.คิมเบอร์ลี ยัง (Kimberly Young) จากมหาวิทยาลัยการแพทย์พิตซ์เบิร์ก (University of Pittsburgh Medical School) นำเสนองานวิจัยเรื่อง ′การติดเน็ต : การเกิดของโรคชนิดใหม่′ (Internet Addiction : The Emergence of a New Disorder) ต่อที่ประชุมประจำปีของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน เมื่อประมาณ 16 ปีที่ผ่านมา แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในวงการจิตแพทย์ในขณะนั้น และยังถูกวิจารณ์ว่าไม่ใช่อาการป่วยเหมือนการติดเหล้า บุหรี่หรือการพนัน แต่ปัจจุบันประเทศที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลี จีน ต่างยอมรับตรงกันว่าการติดอินเตอร์เน็ตเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข

โรค ติดอินเตอร์เน็ต (Internet Addiction Disorder หรือ IAD) เป็นกลุ่มอาการทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการใช้อินเตอร์เน็ตในการเสพข้อมูลข่าวสารมากเกินไป แตกต่างกับการติดสื่ออื่นๆ คือผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตจะสามารถโต้ตอบกับผู้ที่เข้ามาใช้คนอื่นๆ ได้ทันที ซึ่งทำให้โลกของอินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนโลกอีกโลกหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึก ว่าตัวเองมีตัวตนในโลกนั้นได้โดยปราศจากกฎเกณฑ์ไร้ขอบเขตในการเดินทาง และสร้างตัวตนตามที่ต้องการได้

บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในอินเตอร์เน็ตที่มีลักษณะการสร้างเป็นสังคมเสมือน(Virtual Community) เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ โปรแกรมแช็ต เว็บบอร์ด หรือแม้กระทั่งเกมออนไลน์ ถ้าหากผู้ใช้ยึดติดกับสังคมในโลกของอินเตอร์เน็ตจนแยกไม่ออกระหว่างโลกของความจริงและโลกเสมือน จะนำมาซึ่งสาเหตุของโรคติดอินเตอร์เน็ตได้ ก่อให้เกิดผลเสียกับระบบร่างกาย กระทบต่อการเรียน สภาพสังคม ทำให้เสียเวลา เสียสุขภาพ เสียความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว เพื่อนฝูง และหน้าที่การงาน บางคนเป็นหนักมีอาการเช่นเดียวกับติดยาเสพติด

ตามการวิเคราะห์ของดร.คิมเบอร์ลี หากในเวลามากกว่าหนึ่งปีบุคคลใดมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 4 ข้อน่าจะเข้าข่ายการเป็นโรคติดอินเตอร์เน็ต คือ

1.หมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเตอร์เน็ต

2.ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นเรื่อยๆ

3.ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้

4.รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้

5.คิดว่าเมื่อใช้อินเตอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น

6.ใช้เป็นอินเตอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา

7.หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตนเอง

8.มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวน กระวาย

มีข้อแนะนำจากหนังสือคู่มือและแนวทางการประเมินและรักษาการติดอินเตอร์เน็ต ระบุว่าวิธีการบำบัดที่ได้ผลคือการพูดคุยเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ อาจคุยกับพ่อแม่ การเข้ากลุ่ม หรือเข้าศูนย์ฟื้นฟู นอกจากนี้ยังมีผู้แนะนำกลยุทธ์พิชิตอาการติดเน็ตไว้ดังนี้คือ

1.ถามตัวเองว่า ′ฉันพลาดอะไรไปบ้างเมื่อเล่นเน็ต′ จดลงกระดาษ และลดชั่วโมงการเล่นเน็ตลงเพื่อไปทำกิจกรรมนั้น

2.กำหนดเป้าหมายการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสมเหตุสมผลแล้วทำตามนั้นให้ได้

3.เปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน

4.มองหาเพื่อนและคนรู้จักที่ไม่ติดเน็ตเพื่อจะได้รู้ว่าชีวิตนี้ไม่ได้มีแค่โลกออนไลน์เท่านั้น

5.อยู่กับโลกแห่งความจริงมากขึ้น เดินตามร้านหนังสือ เยี่ยมพิพิธภัณฑ์ หรืออ่านหนังสือดีๆ ที่หาไม่ได้ในโลกออนไลน์

6.ให้อินเตอร์เน็ตเป็นแค่เครื่องมือแต่อย่าตกเป็นเครื่องมือของอินเตอร์เน็ตวางแผนให้ดีว่าจะใช้เพื่อหาข้อมูลหรือเพื่อความบันเทิง


ที่มา :: คอลัมน์ "รู้ไปโม้ด" นสพ.ข่าวสด

-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU9UWTJOakF4TVE9PQ==&sectionid=-



.