ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มีนาคม 08, 2012, 12:16:47 pm »

 :12: แหม๋ ช่วงนี้ผมอดๆอยากๆด้วย พี่หนุ่มเอามาซะผมหิวเลยครับ
ข้อความโดย: magicmo
« เมื่อ: มีนาคม 08, 2012, 10:18:53 am »

 :17: :17:   น่ากินมาก :30: :30:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 06, 2012, 09:58:31 pm »

.



หัวไชโป๊วผัดหวาน
       คุณยายพันธ์ทิพ ศุภจิต อดีตสาวชาววังหลวง วัย 84 ปี ผู้ที่คุ้นเคยกับอาหารชาววัง และช้าวแช่ตำรับชาววังเป็นอย่างดี ได้บอกเล่าเรื่องราวของข้าวแช่ให้ได้รับรู้ว่า
       
       “เราเห็นข้าวแช่มาแต่เล็กแต่น้อย พอโตมาเราก็สนใจอยากจะรู้อยากจะทำ ก็ได้ทำข้าวแช่มานานแล้ว เสน่ห์ของข้าวแช่ชาววังอยู่ที่การตบแต่ง รสชาติก็สำคัญ การตบแต่งผักที่รับประทานจะต้องแกะสลักสวยปราณีต” คุณยายพันธ์ทิพบอกเล่า พร้อมกับยังได้บอกถึงการทำข้าวแช่ให้ฟังอีกว่า



หอมทอด
       “ทุกวันนี้ข้าวแช่มีการประยุกต์ปรับเปลี่ยนไปบ้าง เมื่อสมัยก่อนใช้ข้าวสารธรรมดา คือข้าวสารธรรมดามันมีสองอย่าง คือ ข้าวขาวกับข้าวเหลือง อย่างข้าวเหลืองอ่อนมันออกจะนิ่มหุงลำบากมาทำข้าวแช่ลำบาก แล้วมีข้าวขาวเป็นข้าวที่กระด้าง ทำข้าวแช่ดี แต่ไม่อร่อย มันแข็ง บางทีบางเจ้าหุงแล้วสวยเกินไป แต่รู้สึกคนสมัยนี้จะติดข้าวหอมมะลิกัน ข้าวหอมมะลิทำง่าย คือ หุงให้สวยแล้วล้างนิดหน่อย ขออย่าให้น้ำข้าวแช่ขุ่น น้ำข้าวแช่ต้องใส พอข้าวสุกแล้วเราต้องล้างข้าวใส่ตะแกรง แล้วก็ใช้น้ำค่อยๆ เอามือลูบ ลูบแรงก็ไม่ได้ เดี๋ยวหักหมด ต้องค่อยๆ ลูบ คือข้าวแช่มันก็มีความปราณีตอยู่ในตัว การทำข้าวไม่ยุ่งยาก ถ้าเราหุงข้าวเป็นก็ใช้ได้ แต่ก็ต้องหุงให้สวย แข็งเกินไปจะไม่เป็นที่นิยม”



ผักสดตางๆ แกะสลักอย่างสวยงาม
       เมื่อถามถึงว่าข้าวแช่ชาววังกับข้าวแช่เพชรบุรีมีความแตกต่างกันอย่างไร คุณยายพันธ์ทิพ อธิบายไว้ว่า ข้าวแช่ชาววังกับข้าวแช่เพชรบุรี มีความแตกต่างกันในเรื่องของความปราณีต และความสวยงาม ข้าวแช่เพชรบุรีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตรงที่กับข้าวของเพชรบุรีจะมีแค่ 3 อย่าง มีไชโป้ว มีปลาหวาน และกะปิ ซึ่งกะปิของเพชรบุรีจะต่างจากชาววังตรงที่กะปิของเพชรบุรีจะมีความแข็ง กรอบเพราะใส่ถั่วลิสง และสิ่งสำคัญที่แตกต่างกันของข้าวแช่ชาววังและข้าวแช่ของเพชรบุรีคือ ข้าวแช่เพชรบุรีจะไม่มีผักแบบตำรับชาววัง ซึ่งผักก็มีส่วนสำคัญ อย่างทานกะปิก็ต้องมีกระชายกินแนม
       
       “ข้าวแช่ยังเป็นอาหารที่นิยมอยู่ สมัยนี้เห็นมีขายกันมาก บางร้านมีขายทั้งปี ข้าวแช่ยังอยู่ในสังคมไทย ยังไม่หายไปไหน แต่ว่าก็ควรอนุรักษ์ไว้ เพราะว่าก็น่าเป็นห่วงเหมือนกัน ตราบใดที่ยังมีคนนิยมรับประทาน มันก็คงยังอยู่ต่อไป แต่ถ้าคนเลิกรับประทานก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปอนุรักษ์ พ่อแม่ควรจะชวนลูกๆ รุ่นหลังไปกินข้าวแช่กัน บ้านเราเป็นเมืองร้อน มารับประทานข้าวแช่กันดีกว่าชื่นใจดี” คุณยายพันธ์ทิพ กล่าวแบบเชิญชวน



คุณยายพันธ์ทิพ ศุภจิต
       ด้านอัญญการ พุ่มพวง ประธานกรรมการโรงแรม เซรา รีสอร์ท ได้เชิญชวนให้ผู้ที่สนใจอยากจะลิ้มรสข้าวแช่ชาววังอันเลิศรส สามารถเดินทางมาลองลิ้มกันได้ที่ โรงแรมเซรา รีสอร์ท ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งได้จัดให้มี “เทศกาลข้าวแช่” ขึ้น โดยจะมีข้าวแช่ชาววังจัดเป็นเซ็ทขาย ตั้งแต่มื้อกลางวันจนถึงมื้อเย็น ราคา 170 บาท ให้ได้ลิ้มรสกัน ตั้งแต่ 1 มี.ค. - 30 เม. ย. นี้
       
       “เราหวังแค่การสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมเก่าแก่ให้คงอยู่ ดังนั้นพอเข้าหน้าร้อน เราก็จัดเทศกาลข้าวแช่ เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมข้าวแช่ในโรงแรมของจังหวัดเพชรบุรีขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากห่างหายไป 5 ปี” อัญญการ กล่าวทิ้งท้าย

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000027230

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000027230

.

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 06, 2012, 09:57:46 pm »

“ข้าวแช่” เมนูอร่อยคลายร้อน จากวัฒนธรรมมอญสู่ไทย    
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
5 มีนาคม 2555 13:48 น.



ข้าวแช่เมนูอร่อยกินคลายร้อน
       “ฤดูร้อนก่อนเก่าทำข้าวแช่                      น่าชมแต่เครื่องกับสำรับฉัน
       ช่างทำเป็นดอกจอก และดอกจันทน์          งามจนชั้นกระชายทำเหมือนจำปา
       มะม่วงดิบหยิบดูจึ่งรู้จัก                           ช่างน่ารักทำเป็นเช่นมัจฉา”
       
       ความจาก “รำพันพิลาป” ของสุนทรภู่ รัตนกวีสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้กล่าวถึง “ข้าวแช่” ว่าเป็นของกินในฤดูร้อนที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
       
       เมื่อหน้าร้อนมาถึงคราใด “ข้าวแช่” จึงเป็นหนึ่งในเมนูของกินคู่หน้าร้อน ที่นิยมกินกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ จนถึงทุกวันนี้ข้าวแช่โรยดอกมะลิหอมๆ กินกับเครื่องเคียงสารพัดอย่าง ก็ยังเป็นของกินที่เป็นที่นิยมอยู่



ข้าวแช่ชาววังแบบครบเครื่อง
       การเดินทางของข้าวแช่จากชาวมอญสู่ชาวไทย
       
       หลายคนอาจจะเคยลิ้มรสข้าวแช่หอมอร่อยเย็นชื่นใจกันมาบ้าง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงความเป็นไปเป็นมาของข้าวแช่ว่ามีความน่าสนใจ เพราะข้าวแช่ไม่ได้มีเพียงรูปร่างหน้าตาและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เท่านั้น แต่ความเป็นมาของข้าวแช่บนเส้นทางสายประวัติศาสตร์ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน
       
       “ข้าวแช่” ไม่ใช่ตำรับอาหารไทยแท้ แต่เป็นอาหารพื้นบ้านที่ชาวมอญนิยมทำขึ้นสังเวยเทวดาในพิธีตรุษสงกรานต์ โดยประเพณีของคนมอญโบราณกล่าวไว้ว่า ในวันสงกรานต์จะต้องทำข้าวแช่ถวายพระสงฆ์ เพราะถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ถวาย ซึ่งข้าวแช่ หรือข้าวสงกรานต์ คนมอญเรียกว่า “เปิงด้าจก์” แปลว่า “ข้าวน้ำ” (เปิง หมายถึงข้าว และ ด้าจก์ หมายถึงน้ำ) และด้วยเหตุที่คนมอญกับคนไทย มีการติดต่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันมาอย่างยาวนาน ทำให้ข้าวแช่ได้เข้ามาสู่สำรับอาหารไทยได้อย่างกลมกลืน



กะปิทอด
       สำหรับการเลื่อนชั้นเข้าวังของข้าวแช่มอญ ก็มาจากการที่สตรีมอญที่เข้ารับราชการฝ่ายใน (เป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน) และปรุงข้าวแช่ขึ้นถวายเป็นอาหารเสวย จึงกลายมาเป็น “ข้าวแช่ชาววัง” ซึ่งข้าวแช่ตำรับชาววังที่มีชื่อมาก เป็นของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ผู้เคยทำงานอยู่ในห้องเครื่องต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านถือเป็นคนแรกๆ ที่ทำข้าวแช่ออกสู่ตลาด และทำให้ข้าวแช่ชาววังมีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงปัจจุบัน
       
       ข้าวแช่ชาววัง จะเป็นข้าวแช่ที่กับข้าวหลายอย่างด้วยกัน มีกะปิทอด ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกับข้าวแช่ชาววัง จะดูกันว่าข้าวแช่ของใครที่มีฝีมือก็ต้องพิจารณากันที่ลูกกะปิทอดนี้เอง ถัดมาก็มีพริกหยวกสอดไส้ ปลายี่สนผัดหวาน เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้ ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้งผัดหวาน หมูสับกับปลากุเลา กับข้าวเหล่านี้ถือว่าเป็นเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานแกล้มกับข้าวแช่



หมูฝอย
       และสิ่งสำคัญของข้าวแช่ชาววังที่ลืมไม่ได้เลยคือ ผักสดแกะสลัก เมื่อกับข้าวแช่ส่วนใหญ่เป็นของทอด ก็ย่อมต้องมีผักที่ให้กลิ่นหอมและรสออกเปรี้ยวและขื่นนิดๆ ไว้ตัดรส แตงกวา กระชาย มะม่วงดิบ ต้นหอม กระชาย และพริกชี้ฟ้าสด จึงถูกนำมาจัดเป็นผักสดไว้กินแนมกับข้าวแช่
       
       อีกทั้งการกินข้าวแช่ก็ยังต้องมีวิธีการกิน เริ่มจากนำข้าวใส่ในน้ำลอยดอกไม้ให้ได้สัดส่วนน้ำมากกว่าข้าว ใส่น้ำแข็งเล็กน้อยพอให้เย็นชื่นใจ เวลาจะกินให้ตักกับข้าวใส่ปากก่อนแล้วตักข้าวตาม ก็จะได้รสชาติทั้งเย็นฉ่ำ และความอร่อยกลมกล่อมของกับข้าว



ปลายี่สนผัดหวาน
       จากข้าวแช่ชาววังสู่ข้าวแช่เพชรบุรี
       
       ข้าวแช่ตำรับเมืองเพชรบุรีนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างมาก สืบเนื่องมาจากการแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ที่ทรงเสด็จมาประทับที่พระราชวังพระนครคีรี (เขาวัง) ในครั้งนั้นมีเจ้าจอมมารดากลิ่น (ซ่อนกลิ่น) เชื้อสายมอญทางเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ที่หลบหนีพม่ามาครั้งกรุงธนบุรี เจ้าจอมมารดากลิ่นได้ติดตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปถวายราชการ ที่พระราชวังพระนครคีรีด้วย และคาดว่าในครั้งนั้นเองที่ข้าวแช่ของเจ้าจอมมารดากลิ่นได้รับการถ่ายทอดไปยังห้องเครื่อง บ่าวไพร่สนมกำนัลได้เรียนรู้ และแพร่หลายไปยังสามัญชนย่านเมืองเพชรบุรีในที่สุด



พริกหยวกสอดไส้
       สำหรับข้าวแช่ตำรับเมืองเพชร นิยมใส่ดอกกระดังงาไทยในน้ำอบข้าวแช่ ซึ่งเป็นหม้อดินขนาดใหญ่ สามารถเก็บความหอมและความเย็นได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้าวแช่ของที่อื่นอาจมีเพียงแค่ดอกมะลิกับกลีบกุหลาบโรยในน้ำที่อบควันเทียนเท่านั้น ส่วนกับข้าวที่รับประทานกับข้าวแช่ของเมืองเพชรต้องมีรสหวานนำ และรสเค็มตามมีเพียง 3 อย่างเท่านั้น คือลูกกะปิ ปลากระเบนผัดหวาน และผักกาดเค็มผัดหวาน จึงแตกต่างไปจากตำรับข้าวแช่ชาววัง หรือข้าวแช่ที่อื่น ซึ่งมีเครื่องเคียงเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น พริกหยวกสอดไส้ หอมแดงสอดไส้ หมูสับปลาเค็มทอด ฯลฯ



.