ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2012, 09:46:17 am »

10 พฤติกรรมเพิ่มโอกาสทำ กำไร
วันอาทิตย์คิดเรื่องเงิน : 10 พฤติกรรมเพิ่มโอกาสทำ กำไร โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล

              ก็น่าแปลกนะคะที่คนสองคนเริ่มต้นบริหารจัดการเงินจำนวนเท่าๆ กัน เริ่มต้นพร้อมกัน แต่ "ความมั่งคั่ง" ไม่เท่ากัน ทั้งๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน และมีข้อมูลเท่าๆ กัน

จะว่าแปลกก็แปลก แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป จะเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่เป็นเช่นนั้น นั่นก็เพราะว่า เรื่องของการบริหารจัดการเงินมีสิ่งที่เรียกว่า "พฤติกรรม" เข้าไปเป็นเครื่องกำหนดด้วย และเผลอๆ "พฤติกรรม" นี่แหละค่ะที่จะเป็นตัวทำให้เกิด "กำไร" หรือพลิกผัน "ขาดทุน" เข้าเนื้อได้เลยทีเดียว

               อาจจะยังไม่ต้องล่วงไปถึงการบริหารจัดการเงิน แค่การใช้จ่ายเงินจำนวนเท่าๆ กัน ก็สะท้อนให้เห็นถึง "พฤติกรรม" ที่แตกต่างกันได้แล้ว

               มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ลูกสาวมาเล่าให้ฟังว่า ตอนที่เรียนระดับประถมศึกษา มีเพื่อนผู้ชายตั้งโจทย์ว่า ถ้ามีเงินอยู่ 1 พันบาทเหมือนๆ กันทุกคนจะเอาไปทำอะไร เพื่อนผู้หญิงคนแรกตอบว่า เอาไปซื้อหนังสือการ์ตูนครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีกครึ่ง จะเก็บไว้ ขณะที่เด็กผู้ชายเจ้าของคำถาม บอกว่า จะใช้เงินที่มีทั้งหมด "ซื้อปากกา" 500 บาท เพราะเจ้าตัวชอบหมุนปากกาถึงขนาดเข้าชมรมมาแล้ว และปากกาที่หมุนก็เป็นปากกาที่ราคาแพงพอสมควร ส่วนอีก 300 บาทจะเอาไปซื้อหนังสือ และเหลือเก็บ 200 บาท

               ส่วนลูกสาวบอกเพื่อนสั้นๆ ว่า "เก็บ" เพื่อนผู้ชายก็ซักต่ออีกว่า "เก็บเท่าไหร่?" ก็ได้รับตอบว่า "ก็เก็บทั้งหมดนั่นแหละ" พอเพื่อนถามว่า ทำไมไม่ซื้ออะไร ไม่อยากได้อะไรเลยเหรอ เธอก็ตอบว่า ก็ไม่รู้จะซื้ออะไร เลยเก็บให้หมดดีกว่า

               เด็กประถมทั้ง 3 คนนี้ อยู่ในสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน พื้นเพก็ไม่แตกต่างกัน แต่ความคิดในเรื่องการใช้จ่ายกลับคนละเรื่องคนละราว ซึ่งก็บอกไม่ได้ว่า แบบไหนถูกหรือผิด เพราะทุกคนต่างใช้ "ความสุข" ของตัวเองเป็นที่ตั้ง

               แต่ไม่ว่าจะแบบไหน ก็แสดงให้เห็นว่า "นิสัย" หรือ "พฤติกรรม" เป็นตัวกำหนด "ความมั่งคั่ง" ที่น่าสนใจไม่น้อย

               เรื่องแบบนี้ไม่ได้พูดกันลอยๆ เพราะก่อนหน้านี้สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด สำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยที่เน้นลงทุนระยะสั้นในตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2553 พบว่า นักลงทุนรายย่อยที่มีผลกำไรจากการลงทุนมากกว่า 15% และนักลงทุนรายย่อยที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนมากกว่า 15% มีพฤติกรรมการลงทุนที่แตกต่างกัน

               รายงานชิ้นนี้เปิดเผย 10 พฤติกรรมการลงทุนที่จะเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง ลองดูนะคะว่า ใช่เราหรือไม่

               สำหรับ 10 พฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความสำเร็จ หรือเป็นหนทางเพิ่มโอกาสในการทำกำไร ประการแรก คือ ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุนทั้งความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และความรู้เกี่ยวกับวิธีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เช่น วิธีการส่งคำสั่งซื้อขาย การขึ้นเครื่องหมายในการซื้อขาย กระบวนการรับเงินปันผล เป็นต้น ประการที่ 2 กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ กองทุนรวม ทองคำ เป็นต้น ประการที่ 3 วางหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการลงทุนในหลักทรัพย์ไว้ล่วงหน้า เช่น กำหนดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน กำหนดประเภทของหลักทรัพย์ที่ต้องการลงทุน เป็นต้น

             ประการที่ 4 กำหนดระดับอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้จากการลงทุนในแต่ละหลักทรัพย์ ซึ่งนักลงทุนที่มีผลกำไรส่วนใหญ่จะกำหนดอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้อยู่ที่ 1-5%  ประการที่ 5 ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีวินัยในการลงทุน เพื่อเป้าหมายการลงทุนที่กำหนดไว้ ประการที่ 6 ใช้ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในระดับที่ "มาก" โดยมีการพิจารณาปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจและการเมือง ปัจจัยด้านภาวะอุตสาหกรรม ปัจจัยด้านบริษัทที่ลงทุน ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะตลาดหลักทรัพย์โดยรวม

             ประการที่ 7 ทยอยซื้อหลักทรัพย์ โดยผู้ลงทุนที่มีผลกำไรส่วนใหญ่ทยอยซื้อหลักทรัพย์แต่ละหลักทรัพย์ จำนวน 2-3 ครั้ง และในช่วงตลาดขาขึ้น ไม่ซื้อขายหลักทรัพย์บ่อยเกินไป ประการที่ 8 มีรูปแบบการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น ซื้อหุ้นเพิ่มเติมเมื่อดัชนีราคาหุ้นมีแนวโน้มว่าจะขึ้นจากการประเมินด้านเทคนิค ซื้อหุ้นตามแนวเส้นค่าเฉลี่ย หรือขายหุ้นเมื่อดัชนีราคาหุ้นมีแนวโน้มว่าจะลดลง หรือขายหุ้นตามแนวต้านหรือเมื่อหลุดแนวรับ

             ประการที่ 9 บันทึกการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ และประการที่ 10 ติดตามข้อมูลของบริษัทที่ลงทุนและคาดว่าจะลงทุน รวมถึงสภาวะตลาดเป็นประจำ

            เชื่อว่า สำหรับบางท่าน โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้ลงทุนในหุ้น อาจจะรู้สึกว่า เป็นเรื่องยากเกินไป แต่ลองดูดีๆ นะคะ จะเห็นว่า หลักใหญ่ใจความที่จะสร้างโอกาสให้การทำกำไร หรือสร้างความสำเร็จในการบริหารจัดการเงิน ก็คือ ต้องรู้จักสิ่งที่ตัวเองจะลงทุน หมั่นขวนขวายหาข้อมูล หาความรู้เพิ่มเติม วางแผนการลงทุน (หรือการใช้เงิน) อย่างรอบคอบและรัดกุม รวมถึงหมั่นตรวจสอบสิ่งที่เราลงมือทำเป็นระยะๆ ว่าให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าตามที่คาดหวังหรือไม่ และถ้าไม่ได้ ก็ต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน สร้างความยืดหยุ่น ไม่ใช่ตึงเป๊ะกับกรอบที่ตัวเองวางไว้จนขยับเขยื้อนไม่ได้

             ก็คงเหมือนกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ที่บางครั้งก็ต้องการความยืดหยุ่น แต่ถ้าเปลี่ยนแล้ว สำเร็จ ก็น่าลอง น่าลุ้นนะคะ

.....................................
(วันอาทิตย์คิดเรื่องเงิน : 10 พฤติกรรมเพิ่มโอกาสทำ กำไร โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล )


-http://www.komchadluek.net/detail/20120311/125086/10%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A3.html-

http://www.komchadluek.net/detail/20120311/125086/10%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

.