ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มีนาคม 18, 2012, 10:02:46 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 18, 2012, 08:40:07 pm »

นิทานสอนใจ : น้ำกับทิฐิ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
18 มีนาคม 2555 08:14 น.

  นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า ทิฐิ เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดี ไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นไม่เปลี่ยน และจะไม่ยอมรับฟังข้อคิดเห็นที่ผิดไปจากความเชื่อเดิมโดยเด็ดขาด แม้ว่านี่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนเอาจริงเอาจัง และเคร่งครัดกับชีวิต แต่บางครั้งเขาก็ดื้อรั้นมากเกินไปจนขาดเหตุผล และทำให้สูญเสียสิ่งดี ๆ ในชีวิตไปมากมาย โดยที่เขาเองก็ไม่เคยรู้มาก่อน
       
       กล่าวสำหรับทิฐิ เขาไม่ใช่คนร่ำรวย ดังนั้นจึงต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาใช้จ่าย กระทั่งมีฐานะขึ้นมาในระดับหนึ่ง ทิฐิจึงคิดที่จะหยุดพักตัวเองจากการงาน แล้วเดินทางไปเรื่อย ๆ เพื่อเที่ยวชมโลกกว้าง เมื่อตัดสินใจได้ดังนั้น ทิฐิจึงจัดการฝากบ้านไว้กับญาติพี่น้อง แล้วเก็บสัมภาระออกเดินทางทันที
       
       ทิฐิเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ชมนั่นแลนี่ และพูดคุยกับผู้คนที่อยู่ในที่เหล่านั้นมากมาย การท่องโลกกว้างของทิฐิน่าจะทำให้เขามีความรู้ดี ๆ หรือเกิดทัศนคติใหม่ ๆ ขึ้นมาบ้าง แต่เมื่อไรก็ตามที่มีคนกล่าวคำซึ่งผิดไปจากความรู้หรือความเชื่อมั่นเดิมของเขา ทิฐิก็จะรีบกล่าวแก่คน ๆ นั้นทันทีว่า
       
       "นั่นไม่ถูกเลยนะ ที่จริงแล้วมันต้องเป็นดังที่ข้ารู้มาต่างหาก"
       
       สิ่งนี้เองทำให้การเดินทางไปทั่วโลกของเขา แทบจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดขึ้นในชีวิตของเขาเลย
       
       กระทั่งวันหนึ่งทิฐิได้พลัดหลงเข้าไปในดินแดนแห่งทะเลทรายอันแสนแห้งแล้ง และไร้ผู้คนสัญจร เขาหลงทางอยู่ในดินแดนแห่งนั้นสามวันสามคืน จนกระทั่งอาหาร และน้ำดื่มร่อยหรอและหมดลงในที่สุด ทิฐิจึงเดินต่อไปไม่ไหว เขาล้มลงนอนบนผืนทรายอย่างคนสิ้นเรี่ยวแรง
       
       แต่ทิฐิยังไม่อยากตายตอนนี้ ดังนั้นแม้ร่างกายจะอ่อนระโหยโรยแรงขนาดไหน แต่เขาก็รวบรวมพลังใจของตนเฝ้ากล่าวคำภาวนาขอความเมตตาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเหลือเขาด้วย
       
       "ข้าแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ได้โปรดเมตตาข้า ผู้ซึ่งไม่เคยเบียดเบียนใคร ขอทรงประทานน้ำมาให้ข้าได้รักษาชีวิตของตนเองไว้ แม้เพียงหนึ่งหยดก็ยังดี" แล้วในตอนนั้นเอง ทิฐิก็เห็นชายแปลกหน้าชาวเยอรมันคนหนึ่งเดินตรงมาหาเขา ทิฐิดีใจสุดจะกล่าว แล้วรีบพูดขึ้นทันทีว่า
       
       "โอ...ท่านผู้เป็นความหวังของข้า โปรดแบ่งน้ำของท่านให้ข้าดื่มด้วยเถิด"
       
       ชายคนนั้นยื่นถุงหนังสีน้ำตาลในมือให้แก่ทิฐิ แล้วกล่าวว่า
       
       "นี่คือ วาสซ่าร์ จงดื่มเสียสิ"
       
       แต่ทิฐิไม่อยากได้วาสซ่าร์ เขาอยากได้น้ำ ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธที่จะรับถุงหนังสีน้ำตาลจากชายแปลกหน้าคนนั้น ชายคนนั้นจึงเดินจากไป
       
       ทิฐิภาวนาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง คราวนี้มีชายชาวจีนคนหนึ่งเดินถือถุงหนังสีแดงเข้ามายื่นให้แก่ทิฐิ
       
       "นี่คือ น้ำ ใช่หรือไม่" ทิฐิถามชายชาวจีน
       
       "นี่คือ ซือจุ้ย จงดื่มเสียสิ" ชายชาวจีนตอบ
       
       ทิฐิรู้สึกไม่พอใจ ตอนนี้เขากระหายน้ำมากเหลือเกินแล้ว แต่ทำไมชายผู้นี้จึงนำซือจุ้ย มามอบให้แก่เขาเล่า ทิฐิจึงปฏิเสธถุงหนังสีแดงของชายชาวจีน ชายชาวจีนจึงเดินจากไป
       
       ทิฐิเริ่มภาวนาถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีก และครั้งนี้มีผู้หญิงชาวอินเดียคนหนึ่งมาปรากฏกายตรงหน้าของเขาในแทบจะทันที
       
       "เธอผู้มีใจเมตตา ขอน้ำให้ข้าดื่มหน่อยเถิด" ทิฐิพึมพำคำอ้อนวอนออกจากริมฝีปากที่แห้งผาก
       
       "นี่คือ ปานี จงดื่มเสียสิ" หญิงชาวอินเดียกล่าวพร้อมกับยื่นถุงหนังสีเขียวให้กับทิฐิ แต่นั่นทำให้ทิฐิโกรธมาก เขารวบรวมเรี่ยวแรงทั้งหมดที่มี ยกแขนปัดถุงหนังสีเขียวให้พ้นหน้า แล้วพูดอย่างโกรธเคืองว่า
       
       "ข้าไม่เอาของ ๆ เจ้า ข้าจะตายเพราะขาดน้ำอยู่แล้ว ข้าต้องการน้ำเท่านั้น!"
       
       หญิงอินเดียเมื่อได้ฟังดังนั้นก็เดินจากไปอีกคน ทิฐิเฝ้าอ้อนวอนขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่มีใครนำอะไรมายื่นให้เขาอีกแล้ว
       
       จิตของทิฐิกำลังหลุดลอยออกจากร่างที่ใกล้แตกดับ แล้วในตอนนั้นเอง เสียง ๆ หนนึ่งก็ดังแว่ว ๆ ให้ได้ยินว่า
       
       "ทิฐิคนถือดีเอ๋ย เราช่วยเจ้าแล้ว แต่เจ้ากลับไม่เคยให้โอกาสตนเองเลย หากเจ้าเปิดใจให้กว้าง และยอมรับในข้อดีของสิ่งที่ไม่คุ้นเคยเสียบ้าง เจ้าก็คงรู้ว่าสิ่งที่อยู่ในถุงหนังทั้งสามนั้น ต่างก็เป็นน้ำดื่มบริสุทธิ์ทั้งสิ้น"
       
       เมื่อสิ้นเสียงแว่วนั้น ทิฐิคนถือดีก็สิ้นลมหายใจทันที
       
       บทสรุปของผู้แต่ง
       
       เรื่องราวของทิฐินั้น สอนให้เราเปิดตาตนเองให้กว้าง แล้วมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยสายตา และหัวใจที่ไร้อคติ หากปิดกั้นหัวใจ และสายตาเอาไว้ ก็อาจพลาดสิ่งดี ๆ ในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งบางครั้งสิ่งดี ๆ เหล่านั้นก็อาจจะไม่หวนกลับมาหาอีกแล้ว
       
       หรืออีกนัยหนึ่ง นิทานเรื่องนี้กำลังบอกทุกคนซึ่งนับถือศาสนาต่างกัน แต่กำลังยืนอยู่บนโลกใบเดียวกัน จงอย่าลืมว่าศาสนาทุกศาสนานั้นถือกำเนิดขึ้นด้วยความปรารถนาที่จะให้มีคนดี ๆ อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก แม้คำสอนบางประการจะแตกต่างกัน แม้เสียงสวดมนต์จะเป็นคนละเสียง และธรรมเนียมปฏิบัติก็ไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลย แต่เราทุกคนล้วนได้รับการปลูกฝังให้เติบโตเป็นคนดีเหมือนกัน
       
       ดังนั้นขอให้เปิดใจตัวเองให้กว้าง และเคารพในคำสอนของศาสนาอื่น ๆ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นศาสนิกชนของศาสนานั้น อาจจะนำคำสอนชองเขามาประยุกต์ใช้กับตัวเองบ้าง ถ้าพบว่ามันเข้ากันได้ดีกับการดำเนินชีวิต ไม่เห็นจะแปลกตรงไหน หากจะนำคำสอนเหล่านั้นมาปฏิบัติ ในเมื่อทุกศาสนาล้วนหมายมั่นที่จะพิชิตยอดเขาเดียวกัน นั่นคือ "ยอดเขาแห่งความดี ความรัก และความเมตตา"
       
       ///////////////
       
       ขอขอบคุณสำนักพิมพ์ฟรีมายด์ที่เอื้อเฟื้อนิทานสอนใจดี ๆ ในชุดหนังสือนิทานสีขาวของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ


http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000034626

.