ถึงที่สุดของการฝึกหัดก็เข้าถึง ใจ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
การหัดภาวนาเบื้องต้น คือ หัดให้เข้าถึงจิตเป็นหนึ่ง หัดเบื้องต้นก็จริงแต่มันถึงที่สุดได้ คือ จิตที่สงบนิ่งเป็นหนึ่งมันก็ถึงที่สุดแล้ว การฝึกหัดจิต หัดมากหัดน้อยเท่าไรก็ตาม ต้องการให้จิตเข้าถึงที่สุดได้ คือ
จิตเป็นหนึ่งเท่านั้น
การฝึกหัดจิตไม่นอกเหนือไปจากจิตเป็นหนึ่ง ส่วนอุบายปัญญาที่จะเกิดขึ้น มันเป็นของเฉพาะบุคคลแตกต่างกันไป แล้วแต่คนใดจะมีวาสนาอย่างไร ผู้ฉลาดเฉียบแหลมกว้างขวางก็เป็นตามนิสัยของตนๆ ผู้ไม่มีแววไม่มีนิสัยวาสนาเฉียบแหลม ก็เกิดเฉพาะในจิตของตน เท่านั้นก็พอแล้วที่อธิบายมานั้นเป็นวิธีฝึกหัดจิต
จิตกับใจมันไม่เหมือนกันจิต คือ
ผู้คิดนึกส่งส่ายตามสัญญาอารมณ์ต่างๆ เรียกว่า จิตใจ คือ
ผู้นิ่งเฉย ไม่คิดไม่นึก แต่รู้ตัวอยู่ว่าตัวนิ่งเฉยอยู่แต่ที่จริงแล้ว จิต กับ ใจ ก็อันเดียวกัน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า จิต อันใด ใจ ก็อันนั้น ใจ อันใด จิต ก็อันนั้น
แต่เหตุใดพระองค์
จึงตรัสว่า จิต ว่า ใจจิต คงหมายเอาความคิดนึกแส่ส่ายไปตามอายตนะนั้นๆ
ใจ คงหมายเอาผู้นิ่งเฉยมีแต่รู้ตัวอยู่ ไม่คิดไม่นึก ตามอารมณ์ต่างๆ หรือเรียกว่า
ธาตุรู้ผู้จะฝึกหัดจิตต้อง
มีสติตามกำหนดจิตให้รู้ว่า จิตคิดดีคิดชั่ว หยาบและละเอียดอย่างไรอยู่ตลอดเวลา
ถ้าหากจิตคิดชั่วและเลวทราม ก็จงกำจัดมันเสีย ถ้าหากจิตมันคิดดีเป็นกุศลก็จงรักษามันไว้
ธรรมดา จิตของปุถุชนมันย่อมคิดแต่ในทางชั่ว เมื่อเรารักษาจิตไว้แต่ในทางดี สักหน่อยมันก็จะรวมลงเป็นหนึ่งนิ่งเฉยเป็นกลาง
ไม่ส่งไปมาหน้าหลัง อดีตอนาคตไม่มี นั่นแหละคือตัว ใจ
การหัดสมาธิมีความประสงค์ให้เข้าใจเท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นแล้ว การฝึกหัดสมาธินี้ใครจะฝึกแบบไหนวิธีไหนก็ตามเถิด ถึงที่สุดของการฝึกหัดก็เข้าถึง ใจ เท่านั้น ไม่มีอะไรอีกแล้ว ถอนออกมาจาก ใจ แล้วก็จะมาคิดนึกปรุงแต่งตามเหตุผลต่างๆที่เรียกว่า ปัญญา ปัญญา นี้ถ้าถูกทางที่เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิเมื่อพิจารณาในสิ่งนั้นๆจบแล้ว ก็เข้าถึง ใจ อีก คือ นิ่งเฉยๆอย่างนี้ตลอดไป ถ้าไม่ใช่
ปัญญาสัมมาทิฏฐิ แล้ว พิจารณาอะไรก็เตลิดเปิดไปไม่มีที่สิ้นสุด ข้อสังเกตได้ง่ายๆ
ปัญญาในทางพุทธศาสนาจะสิ้นสุดได้ ปัญญาในทางโลกหาที่สุดไม่ได้ นี่เรื่องหาสาระอันแท้จริง
: แก่นของการปฏิบัติ
: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง
: ๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๖
www dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5063