ข้อความโดย: mind
« เมื่อ: มีนาคม 28, 2012, 04:27:55 pm »พระพุทธเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน สามารถประดิษฐ์พระธรรมขึ้นเป็นธรรมนิยานิกธรรมพระองค์ไม่นิ่งดูดาย ได้ประกาศธรรมคำสั่งสอน ให้สัตว์ปฏิบัติตามได้มรรคผล พระองค์เพียรจาริกอนุสาสนีสั่งสอนเวไนยสัตว์ ด้วยมหากรุณาอันยิ่งแท้ที่จริงพระธรรมเกิดก่อน ตั้งแต่พระองค์ไม่ได้เกิด แต่ไม่มีใครประดิษฐ์ขึ้นได้นอกจากพระองค์ไปแล้ว
ภาวนามรณสติหรือภาวนาบทอื่นๆ สติให้ระลึกทุกลมหายใจจึงไม่ประมาท ถ้าอ่อนกว่านั้นประมาท ทุกลมหายใจนั่นแหละ จึงทันกับสังขารแปรปรวนทุกลมหายใจนั้นทีเดียว
พิจารณา ขันธ์ ๕ เห็นว่าไม่เที่ยง เพราะเป็นอย่างนั้นแล้วก็หาเป็นอย่างนั้นอีกไม่ เป็นของยืมเขามาเป็นทุกข์ เพราะเกิดขึ้นแล้วแปรปรวนเสื่อมสิ้นไปเป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ใต้อำนาจบัญชาของใคร ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของ ขันธ์ ๕ จึงเป็นของน่าเบื่อหน่าย เป็นเหมือนเรือนกำลังถูกไฟไหม้ ขันธ์ ๕ เป็นก้อนทุกข์
การ ได้พิจารณาเนืองๆ ในความเกิด แก่ ตาย เมื่อได้เกิดสังเวชใจอ่อน ไม่กล้าทำบาปน้อยใหญ่ รีบเร่งทำกุศลสิ่งเดียวเพราะอายุน้อย ตายเร็วพลัน
ภาวนา อารมณ์นั้นๆ แก้จิตของเราแก้อยู่ พิจารณาอามรณ์นั้นให้มากๆ เพื่อความแยบคายด้วยอำนาจไตรลักษณ์ ความรู้จึงกว้างขวาง ความรู้จึงแจบจมดี
พาหุลีกโต ทำให้มากๆ ให้เป็นสันทิฐิโก เห็นธรรมความแปรปรวนด้วยญาณทัสนะเห็นด้วยปัจจัตตัง เฉพาะในดวงจิตเมื่อเห็นพระนิพพานนั้นแล้ว จิตสงบเอง ไปเอง รู้เอง ละเอง วางเอง ประหารเอง มีปฏิภาณเอง นี้เป็นความรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมทั้งปวง เมื่อเห็นเช่นนั้นก็เกิดความเบื่อหน่ายไม่ถือมั่นในสังขารทั้งปวง จิตเกษม
ของจริงมีอยู่ โลกเดินอยู่ ในโลกปรากฏอยู่ ในโลกมีเกิดตายอยู่ ในโลกไม่มีที่สิ้นสุดโดยไม่รู้ต้นไม่รู้ปลาย เป็นของเที่ยงเวียนว่ายอยู่ในโลกเรื่อยๆ เป็นของตักเตือนจิตโดยไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา หวั่นไหวแปรทั้งภายนอกภายในอยู่อย่างนั้น ทั้งยืนเดิน นั่งนอน ทั่วสากลพิภพ ไม่มีเวลาจบสิ้น อริยสัจมีแทบทุกทิศทุกทาง มีข้างบนข้างล่าง ระหว่างกลาง สะท้อนสะเทือนอยู่อย่างนั้นไม่มีเวลาหยุดยั้ง
กล้อง ถ่ายรูปต้องถ่ายในที่สงัด จึงแจ่มแจ้งดี เพราะสภาพทั้งหลายเป็นของนิ่ง เป็นของสงบวิเวก เห็นแต่ความแปรปรวน ของสังขาร เป็นธรรมเทศนา
การ ภาวนาเป็นเครื่องจูงใจในอารมณ์ที่คุ้นเคยในกรรมฐาน กระดูกและลมหายใจเป็นคู่กันมีสมาธิเป็นแนวหน้า มีปัญญาเกิดทีหลัง ด้วยค่อยแก้ค่อยไขส่วนร่างกายให้เห็นไตรลักษณ์เป็นขันธ์แปรปรวนอยู่เสมอ ลมฟิ๊ดออกพิจารณาหาอาสวกิเลสพิจารณา
กระดูกให้เห็นแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ด้วยญาณทัสนะ ด้วยความจริงใจในสังขารทั้งปวง ให้เห็นใจมาตั้งอยู่ในอมตธรรม ให้เดินอารมณ์ทั้งสองอย่างนี้เป็นนิจ
จิต ภาวนาไตรลักษณ์ได้รอบคอบไว้ดีแล้ว ไม่มีอาการส่งจิตไปนอกกาย ไม่อย่างนั้นจิตส่งไปอื่น หาปัญญาทางอื่นนอกกายแล้ว ไม่แน่นแฟ้นเหมือนหาปัญญาทางภายใน เห็นระยะใกล้ ดีกว่าเห็นไกล เห็นไกลเป็นวิปัสสนู เห็นใกล้เป็นวิปัสสนา น้อมไปน้อมมานั้นเป็นจิตหยาบอยู่พิจารณาเห็นโดยเห็นภายใน ภายในนั้นเป็นจิตละเอียด ใกล้ต่อมรรคผล เมื่อเห็นภายในแล้ว น้อมไปนอกไปในได้เสมอกัน แต่ให้เห็นภายในจนชินเสียก่อน จึงน้อมไปเห็นนอกจึงไม่มีสัญญาอารมณ์มาก
คนตระหนี่ย่อมเกิดในสภาพที่ยากจน คนไม่ตระหนี่บำเพ็ญทานเสมอ ย่อมเกิดในสภาพที่มั่งคง
กามทั้งหลายตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตให้ผิดรูป บุคคลเห็นโทษของกามแล้ว
พึงอยู่คนเดียวดุจนอแรด ทรมานตนตบะอย่างยิ่งให้ถึงอมตธรรม
กามทั้งหลายมีทุกข์มาก มีความสุขน้อย ทุกข์จะน้อยกว่ากามไปไม่มี ผู้ใดชอบเสพกามผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
บุคคลทำบุญทำบาปนี้เป็นตัวกรรมติดตามตัวต่อไปข้างหน้าดุจเงาติดตามตัว
ดุจเกวียนติดตามรอยเท้าโคฉะนั้น เพราะฉะนั้นเกรงกลัวกรรมที่เป็นบาป
สมบัติของมนุษย์ไม่เป็นของสำคัญ คนโง่ คนขโมย คนมิจฉาทิฐิเขาหาได้ แต่มนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติ คนไม่มีศีล นั้นหาไม่ได้
ภาวนา กองลมทำงาน จิตก็ทำงาน ให้รู้อยู่ในกองลม ทุกข์สอนร่างกาย มี ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา ปรากฏเรื่อยๆ
ได้ชื่อว่าฟังธรรมเรื่อยๆ รู้เรื่อยๆ จิตทำความดิ้นรนคิดจะต้องพ้นเรื่อยๆ คือพ้นทุกข์
พระ โยคาวจรเจ้า ควรเพ่งกายเป็นไตรลักษณ์ เป็นโรค ดุจหัวฝี เป็นลูกศร เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เป็นของลำบาก เป็นของแปรปรวน เป็นของแตกหัก เป็นของจัญไร เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่หลบหลีกไม่ต้านทาน ไม่เป็นที่พึ่งอาศัย เป็นของว่างเปล่าเป็นของมีโทษ เป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นของน่าสงสาร
อานิสงค์แผ่เมตตาจิต หลับตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย มนุษย์เทวดารักใคร่ เทวดาย่อมรักษา พิษสาตราวุธทั้งหลายทำร้ายไม่ได้ กลิ่นปากหอม ผิวพรรณวรรณะงาม
ไม่หลงตาย ตายแล้วไปพรหมโลก จิตเป็นสมาธิเร็ว
ราคะ โทสะ โมหะ ดุจดื่มน้ำเค็ม ดื่มเข้าไปมากเท่าไร ยิ่งกระหายน้ำฉันใด ความพอใจของมนุษย์ไม่มีเขตแดน
ร่าง กายนี้เป็นฐานะที่ยืมเขามาประกอบ แก่ชรา มรณะส่งคืนเขาไป เช่น ยืมเขามาค้าขายหากำไร ในบุญและบาป และไม่รู้กำหนดที่จะต้องตายในเวลาใด แปลว่าส่งเขาคืน
กาย ในโลกต้องมีขี้เยี่ยวด้วยกันแห่งความสกปรก ไม่แปลกอะไรกัน ใครอยู่ในโลกต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน กายนี้ทุกข์มาก ได้สมหวังก็เป็นทุกข์ ไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์ การเปลี่ยนแปลงของธาตุขันธ์ทุกข์ หนาวร้อนเย็นทุกข์ พยาธิทุกข์ กลัวภัยภายนอกมีคนอื่นเขาฆ่าตีต่างๆ ชีวิตนี้อยู่ด้วยความฝืดเคืองยิ่งนัก หาความสุขแทบไม่มีเลย นี้พระอริยเจ้าเบื่อนักเบื่อนักยิ่งทำความเพียรให้ถึงนิพพาน
ให้ ใช้ปัญญาเร่งความเพียรไม่หยุดยั้ง ขอให้ประกอบด้วยไตรลักษณ์ กิเลสมันจะอยู่ ณ ที่ไหนกิเลสอยู่ ณ ที่ใจ ปัญญา ก็อยู่ ณ ที่ใจ ไตรลักษณ์เป็นธรรมอุกฤษฏ์ชำระกิเลสจากจิตได้ เดินมรรคพอแล้วมันแก้เอง
ธรรมะ ทั้งหลายเป็นธรรมชาติทรงคุณภาพไว้อย่างสมบูรณ์ และพระธรรมประกาศความจริงอยู่เรื่อยๆ ศาสนาธรรมออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์ผู้เดียว พระองค์ฉลาดในธรรมทั้งปวง ดุจน้ำมหาสมุทร ฉลาดประกาศพระธรรมให้เหมาะกับจริตของพุทธบริษัท ขณะที่พระองค์แสดงธรรมอยู่ บริษัทจึงพากันสำเร็จเป็นชั้นๆตามวาสนาของตน
สาวก แสดงธรรมทรมานบริษัท มีคุณภาพที่ ๒ ของพระพุทธเจ้า สมัยทุกวันบุคคลแสดงไม่สะอาด จิตเปื้อนด้วยกิเลส จึงไม่มีปาฏิหาริย์เหมือนครั้งพุทธกาล เช่นเดียวกับอาหารที่สะอาดพลัดตกมือ เปื้อนดินไม่น่ารับประทานฉันนั้น คือผู้แสดงก็ไม่สะอาดผู้รับธรรมก็ไม่สะอาด โดยทำนองนั้น
มัชฌิมา คือความพอดีพองาม มีความกว้างขวาง เดิน อยู่ หลับ นอน ก็ให้เป็นกลางไปมา ก้าวหน้า ถอยหลังก็ให้พอดีพองาม ข้อปฏิบัติ ปฏิบัติทุกอย่างให้พอดีพองาม ความรู้เห็นก็ให้เป็นมัชฌิมา การทำ การพูด การกิน ทุกกิริยาเคลื่อนไหว ก็ให้เป็นมัชฌิมาปานกลาง แม้ความแม้ความบริสุทธิ์ของจิตก็ให้เป็นมัชฌิมาสัมปยุตด้วยญาณ แต่ (คนเรา) ไม่ใช้ กลางคือมรรค สรุปเรียกว่ากลางสมมุติกับวิมุตติ สมมุติก็รู้เท่า วิมุตติก็รู้เท่า ปล่อยวางทั้ง ๒ เงื่อนไว้ตามเป็นจริงเพราะศาสนาธรรมเป็นมัชฌิมา ไม่เข้าใคร ไม่ออกใคร ผู้ ปฏิบัติจะรู้ธรรมด้วยความเป็นจริง จะเหยียบย่ำอนัตตาลงยกอัตตาขึ้น ซึ่งเป็นการยกข้างนี้ออกข้างโน้น ไม่รู้จักธรรมรอบได้เลย เพราะส่วนที่ตนสำคัญว่าเป็นอนัตตายังถือไว้อยู่ ก็เรียกว่า รู้โลกแล้วกลับหลงธรรม คนทั้งโลกขี่เรือข้ามน้ำถึงฝั่งแล้วปล่อยเรือ เพราะอาศัยเรือชั่วคราวเป็นธรรมที่ควรปล่อยวางโดยแท้ ไม่ควรถือมั่นด้วยประการใด จิตทรงความเป็นยถาภูตญาณทัสนานุตริยะตลอดกาล คือ ความเห็นจริงทั้งธรรมฝ่ายอนัตตา ทั้งฝ่ายอัตตา พุทธะ ธรรมะ ไม่มีช่องว่าง ซึ่งไม่พอลุ่มหลงสังขารแต่น้อยเรียกว่ามัชฌิมาโดยธรรมชาติเป็นกลาง ระหว่างธรรมทั้งหลายกับจิต ระหว่างจิตกับธรรมทั้งหลาย ระหว่างจิตกับจิตอีกวาระหนึ่งเป็นสุดท้าย เปลี่ยนบทบาทพลิกสันเป็นคมจากมีดเล่มเดียว
พิจารณา ที่ประชุมแห่งขันธ์หรือที่รวมแห่งสภาวะอันนี้ ถ้าปัญญาไม่รอบคอบจริงๆ จิตเกิดความสำคัญขึ้นในตนว่าเป็นพระอรหันต์ ข้องอยู่เพียงเท่านี้ ก็ให้ไม่รอบคอบอันนี้ อาจไม่ระบายกิเลสละเอียดยิ่ง แล้วสอนคนอื่นเกิดความสำคัญผิดไปตามๆ กัน ก็ได้ ขอยกตัวอย่างให้ฟัง คือ บุคคลมองเห็นสิ่งอื่นๆ ข้างนอกได้ไม่มีประมาณ แต่ไม่มองเห็นหน้าของตน ฉะนั้นต้องนำกระจกเงามองหน้าตัวเอง ย่อมเห็นสภาวะได้ทั่วไป จิตดวงนี้แหละสำคัญมากเป็นอนุสัยนอนอยู่ในสันดาน ขอให้นักปฏิบัติค้นคว้ามากๆ จิตดวงนี้มีอัศจรรย์หลายอย่างคือมีความองอาจ มีสติสัมปชัญญะ ความสว่างไสวความฉลาดอาจหาญ แต่ขอถามว่า อาสวะสิ้นแล้วหรือยัง สำคัญของนักปฏิบัติว่าสำคัญตัวถึงนิพพาน ขออย่านอนใจรีบเร่งปฏิบัติเข้าไปให้สิ้นอาสวะนี้ พระอริยเจ้าบางองค์ยังไม่สิ้น สำคัญตัวมีจำนวนมากองค์
ปัญญาอบรมสมาธิ คือ ปัญญาแวดล้อมเพื่อปลอบให้จิตอยากเป็นสมาธิ เพราะจิตมันวิ่งไปตามกระแสของเจตสิก
ต้องให้มีปัญญาห้ามจิตเดิน เมื่อจิตไม่เดินแล้ว จิตก็เป็นสมาธิสงบเป็นอารมณ์อันเดียวเท่านั้น
คฤหัสถ์เพียงมีศีล ๕ เป็นนิจนั้น ดี อยู่แล้ว เป็นผู้ทรงพระวินัยที่ดีปิดอบายภูมิ ๔ ได้
สำหรับผู้ครองเรือนเป็นสุข ศีลทุกประเภทดัดกายวาจาไม่ให้คะนอง จึงรักษาตัวเป็นปกติดี
แม้ คนทั้งหลายเห็นว่าศีลไม่จำเป็นจะต้องรักษา หมายความว่า เขาไม่อยากเป็นคนดีด้วยโลกเขา คนเช่นนี้ล้างผลาญโลกให้ฉิบหาย
ศีลเป็นสมบัติของมนุษย์ทุกกาลทุกสมัยที่ประพฤติได้เป็นการดี
คนติดอวิชชาดุจเขาเลี้ยงสุกรด้วยแกลบรำไว้ฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
การมีปัญญาอบรมสมาธินั้น หมายความว่า ไม่ให้ติดสมาธิอย่างเดียว ปัญญาเพื่อแก้สมาธิให้สิ้นกิเลสอาสวะเท่านั้น
โดย หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
คัดลอกจาก: จันทสาโรนุสรณ์
ที่มา: วิชาการ.คอม
http //www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=552