ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 31, 2012, 10:50:09 pm »











พลังจิตสามารถช่วยมนุษย์รักษาโรค ด้วยตัวเองจริงหรือ นั่นคือสิ่งที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์กำลังค้นหาคำตอบ ด้วยการศึกษาสมองของลามะทิเบตที่เชื่อว่า ท่านรักษาโรคแผลเนื้อตายด้วยการทำสมาธิ
       
       เมื่อครั้งลามะ พัคยับ รินโปเช ลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกาในปี 2003 ท่านมีอายุ 37 ปี และป่วยเป็นโรคเบาหวานและวัณโรคที่กระดูกสันหลัง รุนแรงถึงขั้นที่เนื้อบริเวณเท้าและขาขวาเน่า ท่านเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่นครนิวยอร์ก แพทย์ผู้ให้การรักษาทั้ง 3 รายลงความเห็นตรงกันว่า ต้องตัดขาขวาทิ้ง เพราะเนื้อเยื่อส่วนที่ตายแล้ว เมื่อผ่านมาถึงจุดหนึ่ง ไม่อาจรักษาได้ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้ง
       
       เมื่อแพทย์แนะนำให้ตัดขาขวาทิ้ง รินโปเชจึงขอคำปรึกษาจากองค์ทะไล ลามะ ซึ่งพระองค์ทรงให้คำแนะนำว่า ไม่ต้องตัดขาทิ้ง แต่ให้รักษาด้วยการทำสมาธิซาลัง(Tsa Lung meditation) ตามประเพณีโบราณของทิเบต อีกทั้งยังทรงแนะให้รินโปเชสวดมนต์หลายบท อาทิ ฮายากรีวา (Hayagriva) ซึ่งชาวทิเบตเชื่อว่า เมื่อต้องเริ่มต้นความพยายามครั้งใหม่ จะช่วยขจัดอุปสรรคให้หมดไปและคุ้มครองจากภัยอันตราย
       
       นับเป็นการตัดสินใจที่ต้องอาศัยศรัทธาแรงกล้า ซึ่งยากจะเข้าใจได้ แต่รินโปเชบอกว่า ไม่คลางแคลงใจเลยสักนิด แม้แพทย์จะระบุชัดเจนว่า หากไม่ตัดขาขวาทิ้ง ท่านอาจเสียชีวิต แต่ท่านก็ไม่เกรงกลัว
       
       “สำหรับพุทธศาสนิกชน เมื่อเสียชีวิต สิ่งเลวร้ายก็ดับสิ้นไปด้วย อาตมาจะกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง แต่หากต้องสูญเสียขาข้างหนึ่งไปตลอดชีวิต เพราะอาตมาไม่พยายามที่จะรักษามันไว้ นั่นเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผล”
       
       ดังนั้น รินโปเชจึงเริ่มต้นทำสมาธิ เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย โดยหยุดกินยาที่หมอสั่ง หันมากินอาหารตามปกติ และปฏิบัติสมาธิ จะหยุดพักเพื่อร่วมรับประทานอาหารเย็นและพูดคุยกับลามะ ที่ท่านอาศัยอยู่ด้วยอย่างเพลิดเพลิน หลังจากนั้นจึงทำสมาธิต่อ ก่อนเข้านอน ท่านปฏิบัติเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน
       
       ในช่วงแรกๆของการทำสมาธิ รินโปเช จำได้ว่า มีน้ำหนองสีคล้ำ ส่งกลิ่นเหม็น ไหลซึมออกจากแผล และ 2-3 เดือนหลังจากนั้นแผลก็ขยายใหญ่ขึ้น เริ่มมีรอยช้ำและบวมมากขึ้น ท่านรู้สึกเจ็บปวด แสนสาหัส รวมทั้งแผลก็ส่งกลิ่นเหม็นเน่ารุนแรง
       
       9 เดือนหลังจากการทำสมาธิ รินโปเช เล่าว่า มีบางสิ่งบางอย่างเริ่มเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่คนอเมริกันเรียกว่า “ปาฏิหาริย์” เพราะหนองที่ไหลจากแผลเริ่มใสขึ้น อาการบวมลดลง เริ่มขยับขาขวาได้บ้าง
       
       และอีก 10 เดือนต่อมา ท่านกลับมาเดินได้อีกครั้ง โดยตอนแรกต้องใช้ไม้ค้ำยันสองข้าง จากนั้นไม่นานก็เดินด้วยไม้ค้ำยันเพียงข้างเดียว และเพียงไม่ถึงปี ท่านก็สามารถเดินได้เองโดยไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยันอีกต่อไป
       
       คณะแพทย์มหาวิทยาลัยนิวยอร์กจึงเริ่มต้นตรวจสภาพร่างกายรินโปเช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณสมอง เพราะผู้ปฏิบัติสมาธิซาลัง เช่นเดียวกับรินโปเช จะเดินลมปราณให้เคลื่อนจากช่องลมที่เป็นจุดศูนย์กลางของร่างกาย เพื่อชำระล้างสิ่งอุดตันและสารพิษ ก่อนไปยังช่องลมเล็กๆทั่วร่างกาย
       
       “นี่เป็นวิธีปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งศาสตร์ทางตะวันออก-ตะวันตกในปัจจุบันได้เสนอแนะว่า อาจเป็นวิธีที่ใช้ ได้ผลมากกว่าการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันใดๆที่มีอยู่” ดร.วิลเลียม ซี บุชเชล ซึ่งเป็นทั้งนักวิจัยด้านมานุษยวิทยาการแพทย์ ในเครือสถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเซสต์ (MIT) และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาตะวันออก-ตะวันตกของทิเบตเฮาส์ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กล่าว
       
       รินโปเชยินยอมให้ ดร.บุชเชล และ ดร.โซรัน โจซิโปวิค นักประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สแกนสมองของท่าน ขณะกำลังทำสมาธิภายในเครื่อง MRI (เครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ภายในศูนย์ภาพถ่ายสมองของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
       
       หลังจากนั้น ดร.บุชเชล ได้ส่งรายงานการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องขบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างการทำสมาธิของรินโปเช ไปยัง ดร.โจชัว เลเดอร์เบิร์ก ผู้ได้รับรางวัลโนเบิล สาขาการแพทย์ และเป็นหนึ่งในผู้นำด้านวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาทางด้านชีววิทยาโมเลกุล การรักษาโรคติดเชื้อ และพันธุศาสตร์สมัยใหม่
       
       มูลนิธิของดร.เลเดอร์เบิร์กได้ตีพิมพ์รายงานฉบับนี้ลงในเวบไซต์ บรรยายว่า การทำสมาธิทำให้เกิดภาวะไข้สูง ซึ่งอุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง จนสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และช่วยรักษาโรคได้
       
       “มุมมองทางแพทย์ตะวันตกยังไม่ได้ชี้ชัดว่า ลมปราณคืออะไร แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้ผมและคนอื่นๆ เห็นว่า การปฏิบัติสมาธิที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดลมหายใจ ช่วยให้การไหลเวียนโลหิต กระบวนการเผาผลาญอาหาร และการหล่อเลี้ยงด้วยออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น” ดร.บุชเชล อธิบาย
       
       “มีงานวิจัยที่ระบุว่า การเดินลมปราณ ไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ตื้นและลึกของร่างกาย อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต กระบวน การเผาผลาญอาหาร และการหล่อเลี้ยงด้วยออกซิเจน ซึ่งโดยหลักการแล้ว เป็นการช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับแบคทีเรียตัวร้าย อาทิ Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นสาเหตุให้เนื้อตายและการดื้อยาปฏิชีวนะได้”
       
       ดร.โจซิโปวิค รู้สึกสนใจการทำสมาธิของรินโปเชเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องที่ส่งผลต่อการทำงานและโครงสร้างของสมอง โดยบอกว่า ผลการทดสอบชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิและการรับรู้
       
       “ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา การวิจัยเรื่องผลของการทำสมาธิที่มีต่อสมอง ได้รับความสนใจจากสาธารณชนและทางวิทยาศาสตร์อย่างไม่เคยมีมาก่อน ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ว่า มันเป็นไปได้ที่การทำสมาธิ ซึ่งเป็นการพัฒนาสภาพการรับรู้ภายในที่ลึกซึ้ง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของสมอง หรือช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของสมอง และระบบประสาท สามารถเยียวยารักษาประสบการณ์ชีวิตของบุคคลนั้นๆให้ดีขึ้นได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง ที่จะให้ศาสตร์ทางตะวันตกเกิดความเข้าใจในเรื่องเทคนิคการทำสมาธิและการตระหนักรู้ในแบบต่างๆ” ดร.โจซิโปวิค กล่าว
       
       ปัจจุบัน นอกจากขาขวาจะกลับฟื้นคืนมาดังเดิมแล้ว ลามะ พัคยับ รินโปเช ยังหายจากโรคเบาหวานและวัณโรคด้วย
       
       ลามะ พัคยับ รินโปเช เกิดในปี 1966 ที่แคว้นคาม ในทิเบต และบวชเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 13 ปี ในปี 1993 ขณะที่ท่านกำลังศึกษาปริญญาขั้นสูงสุด “เกเช” ทางพุทธทิเบตศึกษา องค์ทะไล ลามะ ทรงตั้งฉายาให้ท่านว่า เป็นการกลับชาติมาเกิดครั้งที่ 8 ของพัคยับ รินโปเช ท่านเป็นลามะที่เคร่งครัด อุทิศตนเพื่อสั่งสอนธรรมะมาโดยตลอด
       
       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 135 มีนาคม 2555 โดย เบญญา)


http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9550000030647