ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 10, 2012, 08:07:06 am »





 :45: :07: :45:

ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 02:30:14 pm »

อนุโมทนางับป๋ม :13:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 02:27:38 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่ปู
ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 11:17:08 am »






สังขารมี 3 อย่าง คือ...........................

กายสังขาร

ได้แก่การปรุงแต่งกาย ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

ได้ชื่อว่า กายสังขารปรุงแต่งกาย

กายดำรงอยู่ได้เพราะมีลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

หากหยุดหายใจ กายก็ดำรงอยู่ไม่ได้

วจีสังขาร

แปลว่า การปรุงแต่งทางวาจา

ที่แปลว่า ความตรึก ความตรอง

อาจจะกล่าวได้ว่า จิตใจพูดก่อน คือตรึกครองขึ้นมาก่อน

จึงพูดออกทางวาจา

หากไม่มีการตรึกตรอง ก็เป็นวาจาที่เพ้อคลั่ง

ฉะนั้น วิตก - วิจาร จึงเรียกว่า วจีสังขาร

เป็นเครื่องปรุงทางวาจา

จิตตสังขาร

ได้แก่ สัญญาเวทนา

สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ เช่น จำรูป จำเสียง

เวทนา คือ ความเป็นสุข เป็นทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์

สัญญาเวทนา นี้ เป็นเครื่องปรุงจิต

คือปรุงจิตให้คิดไปต่างๆนานา

คือจะคิดในสิ่งที่ตัวเองจำได้

เพราะฉะนั้น สัญญาเวทนา

จึงเป็น จิตตสังขาร เครื่องปรุงจิต

พิจารณาสังขารเป็นทุกข์

เพราะทุกๆสิ่งที่เป็นสังขาร

ล้วนมีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา

เช่น ร่างกายของคนเรา

เมื่อเกิดมา เป็นเด็ก แล้วก็เปลี่ยนเป็น หนุ่ม เป็นสาว

เป็นกลางคน เป็นคนแก่ และแตกดับไปในที่สุด



...............................THE END............................
ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 11:14:26 am »






ลักษณะของสิ่งผสมปรุงแต่ง มี 3อย่าง คือ....................

1. ความเกิดขึ้นปรากฎ

2. ความเสื่อมไป สิ้นไปปรากฎ

3. เมื่อยังตั้งอยู่ ความเป็นไปอย่างอื่น

คือ ความแปรปรวนไปอย่างอื่นปรากฎ

พิจารณาเป็นทุกขะ เป็นทุกข์โดยสังขาร

คือล้วนเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งสิ้น

ตั้งต้นตั้งแต่ รูปกายของตนเอง

นามกายของตนเอง

รูปกายของผู้อื่น

นามกายของผู้อื่น

สัตว์ - บุคคลต่าง ๆ

ทรัพย์สินต่าง ๆ

ทุกอย่างที่สมมติบัญญัติกันว่า เป็นนั่น - เป็นนี่

ทั้งที่ยึดว่าเป็นของเรา

ทั้งที่ยึดว่าเป็นเรา

ล้วนเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง

มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา

เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 11:11:07 am »






............................ว่าด้วยเรื่องสังขารขันธ์ุ..........................


สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่าน พระสารีบุตรเถระ


..........................ความรู้จักสังขาร.....................


คือ รู้จักสังขาร ว่ามี 3 คือ............................

1. กายสังขาร

2. วจีสังขาร

3. จิตตสังขาร

รู้จักเหตุเกิดสังขาร คือรู้จักว่า เพราะ อวิชชาเกิด

สังขารจึงเกิด

รู้จักความดับสังขาร คือรู้จักว่า เพราะอวิชชาดับ

สังขารจึงดับ

รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับสังขาร

คือ มรรคมีองค์ 8 เป็นทางปฏิบัติ

ความหมาย คือ บรรดาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกที่เป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง

เรียกว่า สังขารทั้งหมด

ทุกๆสิ่งในโลก จะเป็นสิ่งที่มีใจครอง คือ มนุษย์

สิ่งที่ไม่มีใจครอง เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม ภูเขา

แม้รวมกันเป็นพื้นพิภพ

ก็เป็นสังขาร คือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งสิ้น

สิ่งผสมปรุงแต่ง

เช่น บ้านเรือน ที่เป็นบ้านเรือน ก็เรียกว่า

เป็นสังขาร คือ สิ่งผสมปรุงแต่ง

เพราะประกอบไปด้วยทัพสัมภาระ เช่นไม้

หลาย ๆ สิ่งมาประกอบกันเข้าเป็นบ้านเป็นเรือน


ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 11:07:19 am »






เหตุของทุกข์......คือการเกิด ถ้าไม่เกิดก็ไม่ต้องทุกข์ ทุกข์ที่ได้เกิดมาเห็นได้ยิน

และคิดนึกแล้วก็หมดไป ทุกภพทุกชาติ เกิดมาไม่รู้ความจริงก็เกิดแล้วตาย ตายแล้ว

เกิดไปเรื่อย ๆ มีทุกข์ เพราะมีเกิด ถ้าไม่มีการฟังพระธรรมจะหมดทุกข์ไม่ได้ถ้าเราไม่

รู้จริงก็ดับกิเลสไม่ได้เช่นกันฟังธรรมให้เข้าใจ คือ ศึกษาให้เข้าใจความจริง{รู้จริง}ใน

สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ มีความจริงให้เข้าใจได้ อบรมเจริญปัญญารู้ในลักษณะสภาพ

ธรรมตามความเป็นจริงจนกว่าปัญญาจะดับกิเลสหมดสิ้นเป็น สมุจเฉท ไม่ต้องเกิดขึ้น

มาเห็นอีกได้ยินอีก..........................เป็นสุขอย่างยิ่ง



............................เวทนา.......................


เวทนา สัญญา สังขาร เป็นเจตสิก 

สังขารขันธ์ได้แก่เจตสิก ๕๐ ประเภท

อภิสังขาร หมายถึง เจตนาเจตสิก

อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาที่เกิดกับอกุศลจิต ๑๒ 

ปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาที่เกิดกับกามาวจรกุศล ๘ รูปาวจรกุศล ๕ 

อเนญชาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาที่เกิดกับอรูปาวจรกุศล ๔