ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 12, 2012, 12:25:32 pm »



นิทานเซน : หลักการของระหัดวิดน้ำ

       อาจารย์เซนอู๋เซียง เดินทางจาริกธรรมไปทั่วทุกสารทิศ วันหนึ่งระหว่างการเดินทางเกิดกระหายน้ำขึ้นมา จึงได้มองหาแหล่งน้ำ เมื่อพบเข้าก็ปรากฏว่ามีชายหนุ่มผู้หนึ่งกำลังทำหน้าที่ควบคุมระหัดวิดน้ำอยู่ในบริเวณนั้น อาจารย์เซนอู๋เซียงจึงเอ่ยปากขอน้ำดื่ม
       
       ชายหนุ่มผู้นั้น เมื่อพบเห็นอาจารย์เซน ก็ใช้สายตามอง พร้อมทั้งเอ่ยปากว่า "อาจารย์เซน หากวันหนึ่งข้าละทางโลกก็จะออกบวชเช่นกัน แต่เมื่อถึงวันนั้นข้าจะเสาะหาที่เร้นกาย ตั้งใจนั่งสมาธิศึกษาธรรม ไม่มีทางออกเดินทางเร่ร่อนไปเรื่อย เหมือนท่านในตอนนี้"
       
       อาจารย์เซนจึงถามชายหนุ่มผู้นั้นกลับไปว่า "แล้วเมื่อใดกันเล่าที่เจ้าจะละทางโลกได้"
       
       ชายหนุ่มตอบว่า "นับคนรุ่นเดียวกัน มีเพียงข้าที่ทราบหลักการทำงานของระหัดวิดน้ำอย่างทะลุปรุโปร่ง จึงทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการจ่ายน้ำคนเดียวของหมู่บ้าน หากวันใดวันหนึ่งปรากฏผู้มารับช่วงต่อหน้าที่นี้แทนข้า ถึงตอนนี้ข้าก็จะหมดภาระและสามารถออกบวชได้"
       
       อาจารย์เซนยังคงถามต่อไปว่า "เจ้าบอกว่าเจ้าแม่นในหลักการของระหัดวิดน้ำที่สุด อย่างนั้นเราถามเจ้า หากระหัดวิดน้ำจมลงไปในน้ำทั้งหมด หรือไม่ก็ไม่กระทบถูกน้ำเลยแม้แต่ส่วนเดียว จะเกิดอะไรขึ้น?"
       
       ชายหนุ่มตอบโดยไม่ต้องคิดว่า "การทำงานของระหัดวิดน้ำย่อมต้องให้ครึ่งหนึ่งอยู่ในน้ำ ครึ่งหนึ่งอยู่เหนือน้ำ หากจมลงไปในน้ำทั้งหมดนอกจากจะไม่สามารถหมุนได้แล้วยังจะหักพังไหลไปตามน้ำ ในทางกลับกันหากระหัดวิดน้ำไม่มีส่วนไหนจมน้ำเลย ก็ไม่สามารถวิดน้ำขึ้นมาได้"
       
       เมื่อชายหนุ่มกล่าวจบ อาจารย์เซนจึงบอกว่า "ความสัมพันธ์ของระหัดกับสายน้ำ ก็เหมือนความสัมพันธ์ของมนุษย์กับโลก หากคนผู้หนึ่งคลุกคลีจมจ่อมอยู่ในโลกิยะอย่างเต็มตัวย่อมถูกเกลียวคลื่นแห่งโลกีย์พัดพาไปอย่างง่ายดาย แต่ในทางกลับกัน ชีวิตที่ขาวสะอาดปราศจากการข้องแวะกับเรื่องราวความเป็นไปทางโลกก็คล้ายดั่งไร้ราก เพราะเมื่อไม่รู้จักไม่เข้าใจว่าทางโลกเป็นอย่างไร ก็ยากที่จะหลุดพันจากความทุกข์หรือกิเลสตัณหาได้"
       
       
       ที่มา : หนังสือ 《一日一禅》, 东方闻睿 เรียบเรียง,
       สำนักพิมพ์ 中国电影出版史, 2004.8, ISBN 7-106-02204-7
       -http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000003734