ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 14, 2012, 07:11:51 am »

ธรรมเพื่องาน-งานเพื่อธรรม

ธรรมเพื่องาน-งานเพื่อธรรม

หน้าต่างศาสนา
พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ วัดสระเกศ


การทำงานเป็นการใช้ชีวิตแบบหนึ่งที่เต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรคให้ต้องแก้ไขอยู่ตลอดเวลา บางปัญหาในการทำงานก็แก้ได้ด้วยตนเอง บางปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือกับคนอื่นจึงแก้ได้ หรือบางปัญหาก็ต้องรีบเร่งให้ทันเวลาที่กำหนด แต่ทุกปัญหาล้วนสร้างประสบการณ์ทางธรรมะในการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี

เราเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า เราทุกคนล้วนมีวิธีการทำงานที่เปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างถ้าวัดขนาดจากปริมาณเรี่ยวแรงกับความคิดที่ทุ่มเทลงไปแต่ละงานจะมีความแตกต่างกันเสมอตามอายุงานที่เพิ่มมากขึ้น

ยิ่งคนที่มีประสบการณ์อย่างผู้บริหารก็จะรู้ว่าต้องจัดวางตัวเองอย่างไรให้พอดีกับงานที่ทำ และสังเกตผู้บริหารส่วนใหญ่เวลาจะทำอะไรสักอย่างเขาเหล่านั้นจะต้องคิดวิเคราะห์งานนั้นอย่างละเอียด เมื่อเทียบกับการใช้แรงกายที่น้อยมาก เพราะการคิด เป็นการป้องกันความผิดพลาดได้ดีที่สุด

แต่หากผู้บริหารคิดน้อย อาศัยเพียงทุ่มเทแรงมากๆ เข้าไว้ เขาเหนื่อยมากก็จริง แต่ผลที่ได้อาจน้อย เมื่อเทียบกับเรี่ยวแรงที่ทุ่มเทลงไป

ด้วยจังหวะ เวลา และโอกาส เป็นสิ่งที่เราสั่งสมไว้ตลอดการทำงาน ยิ่งตำแหน่งสูงเท่าไร บางครั้งการทำน้อยได้มาก บางทีทำมากได้น้อย เหมือนคนเราที่อายุมากขึ้น

เหตุผลในการทำอะไรสักอย่างจะมากตามไปด้วยหรืออาจมาจากเรี่ยวแรงที่ลดน้อยลง แต่สติปัญญามากขึ้น จำต้องหวังผลที่ดีที่สุดสำหรับการลงแรงไปแต่ละครั้งนั่นเอง นี่คือธรรมะที่ได้จากการทำงานเจริญก้าวหน้าขึ้น

มีเรื่องเด็กคนหนึ่งที่ชอบคิดเวลาทำอะไร เขาจึงมักจะมีเหตุผลแจกแจงรายละเอียดก่อนจะเริ่มทำทุกครั้ง อย่างเวลาแม่สั่งให้กวาดถูบ้าน เขาก็จะนั่งคิดวิธีการกวาดที่ใช้แรงน้อยสุด แต่กวาดได้สะอาดสุด จนแม่ต้องลงมาทำเองพร้อมบ่นว่า 'ทำไมช้าอย่างนี้ แล้วจะทันกินอะไร'

เขาก็จะบอกเหตุผลว่า 'ก็พระมาสอนที่โรงเรียนบอกว่า เวลาจะทำอะไรให้เราคิดเยอะๆ ใช้ปัญญามากๆ จะได้ใช้แรงน้อยลงแต่ได้ประโยชน์มากขึ้น และข้อผิดพลาดน้อยลงไปด้วย'

อีกวันหนึ่งแม่ใช้ให้หยิบของ แต่เขาหาไม่เจอ แม่จึงบ่นขึ้น 'แม่ใช้ให้ไปหยิบอะไร ทำไมไม่เคยหาเจอสักอย่างเลยอยากรู้จริงๆ' 'ก็ผมกำลังมัวแต่ดูนิ้วนะซิครับ' เด็กชายตอบแบบใช้ความคิด 'นิ้วใคร' แม่ถามต่อ

'ก็นิ้วมือแม่นะซิครับว่าชี้ไปทางไหนผมจะได้เดินไปถูก เลยลืมฟังว่าแม่สั่งให้ไปเอาอะไร' เด็กน้อยตอบ แม่ได้แต่ส่ายหน้า 'แล้วอย่างนี้พระอาจารย์ท่านไม่สอนมาบ้างหรือไงว่าเวลาทำอะไรให้ฟังให้ละเอียดด้วยนะ'

'สอนครับ แต่ท่านสอนว่าหากใครใช้คนอื่นให้ทำอะไรแล้วเขาทำไม่ได้ ก็อย่าโทษคนอื่นเลย จงโทษตัวเองว่าเราสั่งไม่ดีต่างหาก' แม่ถึงกับส่ายหน้ากับวิธีคิดของเจ้าลูกคนนี้ เพราะไม่ว่าพระสอนอะไรกลายเป็นข้ออ้างได้ทุกครั้งไป

'ช่างคิดแก้ตัวได้เก่งจริงๆ เป็นนักคิดนะดีแล้ว แต่อย่าคิดอย่างเดียว ต้องทำด้วย จึงจะรู้ว่าที่คิดนั้นนะผิดหรือถูก' แม่แนะนำ

-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOVEUwTURRMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdOQzB4TkE9PQ==-

.