ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Kapo1414
« เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 11:10:30 am »

ข้อมูลดีๆๆแต๊งกิ้วๆครับ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 09:54:22 pm »

 :13:อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่กบ
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 10:14:00 am »



ประวัติ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม


         หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม หลวงพ่อพูล ชื่อนี้ประจักษ์ในฐานะพระเกจิอาจารย์อันดับแนวหน้าของประเทศไทยและนับเป็นสุดยอดพระผู้ยิ่งใหญ่ด้วยเมตตาบารมี เป็นเนื้อนาบุญอันไพศาล..... ที่ผ่านมาชีวิตของท่านอุทิศแล้วในพระพุทธศาสนา.....ด้วยแรงกายแรงใจช่วยเหลือผู้ยากไร้มิเคยขาด ที่สำคัญท่านพ้นวังวนของกิเลสและตัณหา มุ่งแผ่เมตตาธรรมโดยถ้วนหน้าแก่ทุกชีวิตที่เข้ามาพึ่งใบบุญโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ สายตาของท่านมองทุกคนด้วยความเท่าเทียม ทุกคนจึงได้รับจากการปฏิบัติจาก หลวงพ่อพูล อย่างดีมาโดยตลอด

         หลวงพ่อพูล เป็นพระที่มีเคร่งครัดพระธรรมวินัย ด้วยความสมถะท่านจะนิ่ง พูดน้อย จนได้รับสมญา “ของจริงต้องนิ่งใบ้” หลวงพ่อพูล ท่านเกิดในสกุล “ปิ่นทอง” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พ.ย. 2455 ปีชวด (ร.ศ.131) เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 10 คน บิดาชื่อ “นายจู ปิ่นทอง” มารดาชื่อ “นางสำเนียง ปิ่นทอง” ณ บ้านเลขที่ 75 หมู่ 3 ต.ดอนยายหอม นครปฐม จบการศึกษาประถม 4 ที่โรงเรียนวัเห้วยจระเข้ นครปฐม ปีพ.ศ. 2471 จากนั้นจึงได้ฝึกอ่านเขียนอักษรขอมและแพทย์แผนโบราณจาก “ปู่แย้ม ปิ่นทอง” ผู้นี้มีศักดิ์เป็นปู่แท้ๆ และได้รับการถ่ายทอดวิชา คาถาอาคม จาก หลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงปู่กลั่น วัดพระประโทนเจดีย์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม

         วัยหนุ่มหลวงพ่อพูล นั้น ชอบวิชาการต่อสู้ของลูกผู้ชาย จึงฝึกและศึกษาวิชามวยไทย และที่สำคัญท่านเคยเป็นนักมวยฝีมือดีคนหนึ่ง จนมีอายุครบวัยเกณฑ์ทหาร หลวงพ่อพูล ได้ทำหน้าที่พลเมืองดีของชาติ ด้วยการไปทำการคัดเลือกทหาร สังกัดทหารม้า เป็นทหารรักษาพระองค์ กองบัญชาการ เดิมอยู่ที่สะพานมัฆวาน กรุงเทพฯ ซึ่งตรงกับช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โดย หลวงพ่อพูล ได้รับยศเป็นนายสิบตรี มีเงินเดือนขณะนั้นเดือนละ 2 บาท

         เรื่องการเป็นทหารรับใช้ชาตินี้นับเป็นความภาคภูมิใจของท่านเป็นอย่างมาก หลังจากปลดจากประจำการแล้ว ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2480 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 12 ค่ำ ปีฉลู ณ พัทธสีมาวัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐม โดยมี พระครูอุตตการบดี (หลวงปู่สุข ปทฺวณฺโณ) เจ้าคณะ อ.เมือง เจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังบวชแล้ว ได้พำนักอยู่ที่วัดพระงาม ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อ พ.ศ.2482 ในระหว่างนี้เองหลวงพ่อพูลท่านได้ให้ความสนใจศึกษาด้านการเจริญสมาธิจิต ฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ตามคำสอนควบคู่กับการศึกษาวิชาอาคม ซึ่งได้รับมอบมาจาก ปู่แย้ม ปิ่นทอง และด้วยพื้นฐานความรู้ที่มีอยู่แล้ว

         จึงทำให้ท่านศึกษาถ่ายทอดมหาพุทธาคมได้อย่างรวดเร็ว และที่วัดพระงามนี้ ทำให้ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อพร้อม วัดพระงาม ในกระบวนพระเกจิอาจารย์ที่เป็นบูรพาจารย์ของ หลวงพ่อพูล ซึ่งท่านเคารพนับถือมากรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ได้รับคำแนะนำสั่งสอนเรื่องการเจริญสมาธิภาวนา การเขียนอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกวัตถุมงคล วิชาอาคมต่างๆ หลวงพ่อเงินเมตตาถ่ายทอดอย่างไม่ปิดบัง ซึ่งเมื่อได้รับคำแนะนำจนเป็นที่มั่นใจแล้ว ท่านจึงออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรฝึกฝนสมาธิจิต และในปี พ.ศ. 2490 วัดไผ่ล้อมเกิดขาดเจ้าอาวาสปกครองวัด เนื่องจากว่าเจ้าอาวาสแต่ละรูปอยู่ปกครองวัดได้ไม่นานต้องลาสิกขาไป

         หลวงพ่อพูล ย้ายมาจำพรรษาประจำอยู่วัดไผ่ล้อม พร้อมกับได้ทำการก่อสร้าง และพัฒนาวัดเรื่อยมา ตลอดเวลาท่านพยายามมุมานะในการศึกษาด้านการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาต่างๆ ที่สามารถที่จะนำไปช่วยเหลือชาวบ้านผู้เดือดร้อนได้โดยตลอดเวลา ปัจจุบันหลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข แห่งวัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม อายุ 94 ปี แม้ท่านจะมีอายุที่มากแล้ว แต่ภารกิจของท่านก็ยังคงต้องมีเรื่องให้ท่านปฏิบัติไม่ว่างเว้นท่านสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่คนหมู่มาก จากปากต่อปากทำให้มีผู้ที่มาสักการะขอพรจากท่านเป็นจำนวนมากทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จตุปัจจัยไทยทานที่สาธุชนได้บริจาคมานั้น ท่านไม่เคยสะสม มีเท่าไหร่ ท่านก็นำไปบริจาคสร้างถาวรวัตถุ สร้างความเจริญไว้แก่วัดไผ่ล้อมจนเกิดความเจริญรุ่งเรืองแลดูสวยงามสบายตา เหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา 94ปีของ พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระมงคลสิทธิการ หรือ หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข ได้ล่วงเลยไปตามวัยของสังขารในฐานะสมภารเจ้าวัดกลับรังสรรค์ผลงานให้กับคณะสงฆ์ได้ดีไม่มีบกพร่อง ทั้งงานด้านปกครองคณะสงฆ์ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ โดยเฉพาะด้านศึกษาสงเคราะห์ และเผยแพร่พระธรรมวินัยได้ครบถ้วน สมเป็นพระอาจารย์ที่มีคณะศิษย์ศรัทธาเลื่อมใสทั่วประเทศ

         วันที่ 28 ธันวาคม 2547 หลวงพ่อป่วยลง คณะศิษย์ใกล้ชิดได้นำท่านเข้าตรวจเช็คร่างกาย ณ โรงพยาบาลนครปฐม ท่านควรรักษาตัวทีตึกสงฆ์ จนวันที่ 31 ธันวาคม ได้มีงานฉลองสมณศักดิ์พัดยศถวายวัดไผ่ล้อม ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อพูลอาการไม่ดีขึ้นและหมอลงความเห็นว่า หลวงพ่อพูลมีอาการลิ้นหัวใจรั่วและน้ำท่วมปอด ต่อมา 31 มกราคม พ.ศ. 2548 ได้ย้ายหลวงพ่อพูลไปรักษาตัว ที่โรงพยาบาลสมิติเวส กรุงเทพ ทำการรักษาตัว หลวงพ่อและปาฏิหาริย์มีจริง กว่า 4 เดือนที่หลวงพ่อ รักษาตัว เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม อาการหลวงพ่อดีขึ้น จนแพทย์แปลกใจจึงอนุญาตให้กลับวัดได้ ต่อมาวันที่ 17 พฤษภาคม หลวงได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระขุนแผน-กุมารทองแม้ท่านจะนอนอยู่บนเตียง ที่ทางวัดเตรียมให้ ต่อมา 21 พฤษภาคม อาการ หลวงพ่อพูล ทรุดลงอีกครั้ง แต่ปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง

อาการหลวงพ่อพูลดีขึ้น อากาศยามเช้าวันอาทิตย์ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 สดใสไร้เมฆฝน กระทั่งเวลา 14.55 น. เสียงเครื่องวัดชีพจรสงบลง ศิษย์ทุกคนตื่นขึ้นหลวงพ่อพูลได้ละสังขารจากพวกเขาไปแล้ว อย่างสงบทิ้งเพียงเสียงธรรมสั่งสอน และคุณงามความดี ที่สั่งสมมาตลอด 93 ปี