ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2012, 06:08:15 pm »


นิทานเซน - ข้ามเครื่องเซ่นไหว้ไปเป็นพ่อครัว

เยี่ยว์จู่ไต้ผาว越俎代庖》: ข้ามเครื่องเซ่นไหว้ไปเป็นพ่อครัว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มิถุนายน 2553 07:58 น.

越(yuè) อ่านว่า เยี่ยว์ แปลว่า ข้าม
俎( zǔ) อ่านว่า จู่ แปลว่า ภาชนะใส่เครื่องบวงสรวงบรรพบุรุษ
代(dài) อ่านว่า ไต้ แปลว่า แทน
庖(páo) อ่านว่า ผาว แปลว่า พ่อครัว


ในยุคโบราณ ก่อนการถือกำเนิดของราชวงศ์ต่าง ๆ ในประเทศจีน มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ชายผู้ทรงคุณธรรมจริยธรรมผู้หนึ่ง เร้นกายทำไร่ไถนาอยู่ ณ ริมแม่น้ำอี๋สุ่ย เชิงเขาจีซาน เขามีนามว่า "สี่ว์โหยว" ยามใดที่หิวก็ปีนเขาขึ้นไปปลิดผลไม้รับประทาน ยามใดที่กระหายน้ำก็อาศัยสองมือวักน้ำในแม่น้ำอี๋สุ่ยมาดับกระหาย แม้ว่ามีผู้ตักเตือนเขาว่า "ชีวิตคนเราสั้นนัก ใยต้องเร้นกายอยู่อย่างไร้นาม ผ่านชีวิตลำบากยากแค้นถึงเพียงนี้เล่า?" สี่ว์โหยวกลับยิ้มพลางตอบว่า "เช่นนี้จึงสามารถมีชีวิตที่แสนอิสระเสรี ไม่ถือเป็นความยากลำบากอันใด"

ครั้งหนึ่ง มีคนนึกห่วงใยสี่ว์โหยว ส่งกระบวยตักน้ำมาเพื่อให้เขาดื่มน้ำสะดวกขึ้น สี่ว์โหยวเอากระบวยนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แต่ยิ่งนานวัน ยามที่ลมโชย กระบวยโดนลมพัดเกิดเสียงดังน่ารำคาญยิ่ง สุดท้ายสี่ว์โหยวจึงโยนกระบวยทิ้งไป

ในยุคเดียวกันนั้น ยังมีมหากษัตริย์นามว่า "ถังเหยา" หรือตี้เหยา กษัตริย์ในตำนานของจีนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้ธำรงคุณธรรม พระองค์ได้ทราบเรื่องราวของสี่ว์โหยว ทรงดำริให้เขาสืบทอดราชบังลังก์ จึงได้เรียกเขามาพบ และตรัสว่า "ยามที่สุริยันและจันทราลอยเด่นบนท้องนภา มีคนพยายามจุดฟืนไฟประชันแสง นั่นใช่ยากเย็นหรือไม่? ยามที่หยาดพิรุณโปรยจากฟากฟ้า มีผู้ต้องการให้น้ำรดลงเฉพาะผืนแผ่นดินของตน ครอบครองความชุ่มชื้นที่ประทานมาเพื่อสรรพสัตว์ มิใช่สิ้นเปลืองแรงงานยิ่งหรือ? บัดนี้ปรากฏท่านผู้กอปรด้วยคุณธรรมจริยธรรมขึ้นมาในแผ่นดินผู้หนึ่ง หากเรารั้งตำแหน่งกษัตริย์ไว้กับตัวเอง ย่อมน่าเสียดายยิ่งนัก"

ยามนั้นสี่ว์โหยวกลับปฏิเสธอำนาจเหนือแผ่นดิน กล่าวว่า "นกบนยอดไม้ใหญ่ยึดเกาะได้เพียงกิ่งไม้ใต้ฝ่าเท้า มุสิกดื่มน้ำในลำธารเพียงดื่มได้แค่เต็มกระเพาะ เช่นเดียวกับข้าน้อย จะต้องการอำนาจเหนือแผ่นดินไปเพื่ออะไร...แม้แต่พ่อครัว หากไม่ปรุงอาหารตามหน้าที่ ผู้ควบคุมงานพิธีบูชาบรรพบุรุษ ยังมิอาจละทิ้งของเซ่นไหว้ ก้าวข้ามภาชนะใส่เครื่องบวงสรวงบรรพบุรุษ เพื่อไปทำหน้าที่พ่อครัวแทน" เมื่อกล่าวจบ สี่ว์โหยวจึงได้อำลาถังเหยา เดินทางจากไป

สำนวน "เยี่ยว์จู่ไต้ผาว" หรือ "ข้ามเครื่องเซ่นไหว้ไปเป็นพ่อครัว" เปรียบเปรยถึงการข้ามหน้าข้ามตา หรือล้ำเส้นไปทำงานของผู้อื่นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตความรับผิดชอบของตน
สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง(谓语) หรือส่วนขยายนาม(定语) มีความหมายทางลบ