ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 06:40:39 pm »





ทำเรื่องถูกใจให้ถูกต้อง

สัจธรรมของทรัพยากรมีอยู่ว่า ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด
และดังนั้น เราจึงต้องแบ่งกันกินแบ่งกันใช้
ทรัพยากรจะได้กระจายกันอย่างทั่วถึง หากเราผู้เป็นมนุษย์
ไม่รู้จักธรรมชาติของความอยากว่าไร้ขีดจำกัด
ทั้งที่ๆ ที่เรามีเวลาอยู่ในโลกกันอย่างแสนจำกัด แต่ถึงกระนั้น

ก็ยังเอาเวลาที่แสนน้อยนิดยิ่งนี้ ไป “วิ่งตามความอยาก” กันอย่างไม่รู้จบสิ้น
ก็น่าเสียดายว่า ชีวิตอันแสนสั้น
คงแทบจะไม่ได้ทำกิจกรรมอื่นใดอันเป็นประโยชน์ นอกไปจากการ
วิ่งหาเงิน เงิน และเงิน กันอย่างหน้ามืดตามัว
เพื่อที่จะค้นพบในท้ายที่สุดว่า เงินกับความสุขนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกันเลยแม้แต่น้อย

หากเราผู้เป็นมนุษย์ไม่รู้จักธรรมชาติของทรัพยากรว่ามีอยู่อย่างจำกัด
ก็จะพยายามรวบรวมทรัพยากรเอาไว้ให้ได้มากที่สุด
แล้วผูกขาดทรัพยากรนั้นว่าเป็นของตน ของพวกตน ของพรรคตน
และโดยเหตุที่ทรัพยากรถูกรวบรวมมาเป็นสมบัติของคนเพียงไม่กี่คน

คนอื่นที่ถูกแย่งชิงทรัพยากร ก็ต้องลุกขึ้นมาทำสงครามแย่งชิงทรัพยากร
คนที่ครอบครองทรัพยากรได้มากที่สุด จึงแทนที่จะเป็นคนที่มีความสุขมากที่สุด
กลับเป็นคนที่มีความทุกข์มากที่สุด (ดูนักการเมืองไทยหลายคนเป็นตัวอย่าง)
ในชั่วชีวิตอันแสนสั้นกระจิดริดของคนเรานั้น

หากเราไม่รู้จักสัจธรรมทั้งสามอย่างที่กล่าวมา ก็น่าเป็นห่วงเหลือเกินว่า
ทั้งชีวิต คงสูญเสียเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ เพราะเวลาทั้งหมดคงถูกใช้ไป
เพื่อการตักน้ำไปเติมทะเลแห่งความอยาก ซึ่งเติมอย่างไรก็ไม่มีวันเต็ม
นอกจากนั้นแล้ว ก็คงหมดเวลาไปกับการแย่งชิงทรัพยากรสมบัติบ้า

ซึ่งแม้จะพยายามครอบครองสมบัติให้ได้มากที่สุด
แต่ก็กลับมีความทุกข์เป็นของแถมติดมาอย่างมโหฬาร
แก่นสารของการเกิดมาเป็นมนุษย์ก็คือ การมีชีวิตที่เป็นอิสระจากความทุกข์
และมีความสุขอันสงบเย็น

ไม่ใช่มีชีวิตเพื่อที่จะวิ่งตามความอยากไปอย่างไม่รู้จบ

ไม่ใช่มีชีวิตเพื่อที่จะคิดแต่การแย่งชิงทรัพย์สมบัติ อันว่างเปล่า
และไม่ใช่มีชีวิตที่คอยแต่จะสะสม ไว้มากมายเป็นอเนกอนันต์
แต่กลับมีวันเวลาได้กินได้ใช้เพียงแค่ไม่ถึง ๑๐๐ ปี

ว.วชิรเมธี
-http://www.romphosai.com

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 06:32:51 pm »



ท้าวเธอไม่อาจฆ่าท้าวสักกะได้.
ก็ตัณหาคือความอยากนี้ เป็นมูลรากของความวิบัติ.
ด้วยเหตุนั้น อายุสังขารของท้าวเธอจึงเสื่อมไป ความชราก็เบียดเบียนพระองค์.
ก็ธรรมดาร่างกายของมนุษย์ย่อมไม่แตกดับในเทวโลก.
ลำดับนั้น พระเจ้ามันธาตุนั้นจึงพลัดจากเทวโลกตกลงในพระราชอุทยาน.

พนักงานผู้รักษาพระราชอุทยานจึงกราบทูลความที่พระเจ้ามันธาตุนั้นเสด็จมา
ให้พระราชตระกูลทราบ ราชตระกูลเสด็จมา พากันปูลาด
ที่บรรทมในพระราชอุทยานนันเอง พระราชาทรงบรรทมโดยอนุฎฐานไสยาศน์
อำมาตย์ท้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะกล่าวว่าอย่างไร
เพราะเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ พระเจ้าข้า.

พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงบอกข่าวสาสน์นี้แก่มหาชนว่า
“พระเจ้ามันธาตุมหาราช ครองราชสมบัติเป็นพระจักรพรรดิ์ในมหาทวีปทั้ง ๔
มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ครองราชสมบัติในเทวโลก
ชั้นจาตุมมหาราชิกาตลอดกาลนาน แล้วได้ครองราชสมบัติในเทวโลก
ตามปริมาณพระชนมายุของท้าวสักกะถึง ๓๖ องค์

ยังทำตัณหาคือความอยากให้เต็มไม่ได้เลย ได้สวรรคตไปแล้ว”
ครั้นพระองค์ตรัสอย่างนี้แล้วก็สวรรคตเสด็จตามยถากรรม”



ทำเรื่องถูกใจให้ถูกต้อง

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 06:24:56 pm »





“ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป ได้มีพระราชาพระนามว่า พระเจ้ามหาสมมตราช
โอรสของพระองค์พระนามว่าโรชะ.
พระโอรสของพระเจ้าโรชะพระนามว่าวรโรชะ .
โอรสของพระเจ้าวโรชะพระนามว่ากัลยาณะ.
โอรสของพระเจ้ากัลยาณะพระนามว่าวรกัลยาณะ.

โอรสของพระเจ้าววรกัลยาณะพระนามว่าอุโปสถ.
โอรสของพระเจ้าอุโปสถพระนามว่าวรอุโปสถ.
โอรสของพระเจ้าวรอุโปสถพระนามว่ามันธาตุ
พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงประกอบด้วยรัตนะ ๗ และอิทธิฤทธิ์ ๔

ครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์.
ในเวลาที่พระองค์ทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบด้วยพระหัตถ์ขวา
ฝนรัตนะ ๗ ก็ตกลงประมาณเข่า ดุจเมฆฝนทิพย์ในอากาศ
พระเจ้ามันธาตุได้เป็นมนุษย์อัศจรรย์เห็นปานนี้.

ก็พระเจ้ามันคธาตุนั้นทรงเล่นเป็นเด็กอยู่แปดหมื่นสี่พันปี
ทรงครองความเป็นอุปราชอยู่แปดหมื่นสี่พันปี.
ก็พระองค์ทรงมีพระชนมายุหนึ่งอสงไขย.

วันหนึ่งพระเจ้ามันธาตุนั้นไม่สามารถทำกามตัณหาให้เต็มได้
จึงทรงแสดงอาการระอาพระทัย. อำมาตย์ทั้งหลายทูลถามว่า
ข้าแต่พระสมมุติเทพพระองค์ทรงระอาเพราะเหตุอะไร?
พระเจ้ามันธาตุทรงตรัสว่า เมื่อเรามองเห็นกำลังบุญของเราอยู่
ราชสมบัตินี้จักทำอะไรได้ สถานที่ไหนหนอจึงน่ารื่นรมย์

อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เทวโลกรื่นรมย์ พระเจ้าข้า.
ท้าวเธอจึงทรงพุ่งจักรรัตนะไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา
พร้อมด้วยบริษัท. ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทรงถือดอกไม้
และของหอมอันเป็นทิพย์ ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพกระทำการต้อนรับ
นำพระเจ้ามันธาตุไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา

ได้ถวายราชสมบัติในเทวโลก
เมื่อพระเจ้ามันธาตุนั้นห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ครองราชสมบัติ
อยู่ในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้น กาลเวลาล่วงไปช้านาน
พระองค์ไม่สามารถทำตัณหาให้เต็มได้ในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นได้
จึงทรงแสดงอาการเบื่อระอา, ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงทูลถามว่า

ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงเบื่อระอาด้วยเหตุอะไรหนอ.
พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า จากเทวโลกนี้ที่ไหนน่ารื่นรมย์กว่า.
ท้าวมหาราชทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พวกข้าพระองค์
เป็นบริษัทผู้คอยอุปัฎฐากผู้อื่น ขึ้นชื่อว่าเทวโลกชั้นดาวดึงส์น่ารื่นรมย์
พระเจ้ามันธาตุจึงพุ่งจักรรัตนะออกไป ห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์
บ่ายหน้าไปยังภพดาวดึงส์.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงถือดอกไม้และของหอมทิพย์ห้อมล้อม
ด้วยหมู่เทพ ทรงทำการต้อนรับพระเจ้ามันธาตุนั้น
ทรงจับพระองค์ที่พระหัตถ์แล้วตรัสว่า ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงเสด็จมาทางนี้. ในเวลาที่พระราชาอันหมู่เทพห้อมล้อม
เสด็จไปปริณายกขุนพลพาจักรแก้วลงมายังถิ่นมุนษย์พร้อมกับบริษัท
เข้าไปเฉพาะยังนครของตน

ท้าวสักกะทรงนำพระเจ้ามันธาตุไปยังภพดาวดึงส์
ทรงแบ่งเทวดาให้เป็น ๒ ส่วน ทรงแบ่งเทวราชสมบัติของพระองค์กึ่งหนึ่ง
ถวายพระเจ้ามันธาตุ. ตั้งแต่นั้นมาพระราชา ๒ พระองค์
ทรงครองราชสมบัติ (ในภพดาวดึงส์นั้น).

เมื่อกาลเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ ท้าวสักกะได้พระชนมายุสิ้นไป
สามโกฎิหกหมื่นปีก็จุติ. ท้าวสักกะพระองค์อื่นก็มาบังเกิดแทน.
แม้ท้าวสักกะพระองค์นั้นก็ครองราชสมบัติในเทวโลก
แล้วก็จุติไปโดยสิ้นพระชนมายุ. โดยอุบายนี้ท้าวสักกะถึง ๓๖ พระองค์

จุติไปแล้ว. ส่วนพระเจ้ามันธาตุยังคงครองราชสมบัติในโลก
โดยร่างกายของมนุษย์นั่นเอง.
เมื่อเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ กามตัณหาก็ยังเกิดขึ้นแก่พระองค์
โดยเหลือประมาณยิ่งขึ้น ( = ยิ่งสนองตัณหา ยิ่งจะพาให้เกิดความอิ่ม
แต่กลายเป็นว่าตัณหายิ่งพัฒนาปริมาณมากขึ้น) พระองค์จึงทรงดำริว่า
เราจะได้ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติในเทวโลกกึ่งหนึ่ง
เราจักฆ่าท้าวสักกะเสีย ครองราชสมบัติในเทวโลกคนเดียวเถิด.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 06:23:45 pm »





๑ ชีวิต ๓ สัจธรรม

พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า ในโลกนี้ มีสิ่งที่เป็นไปได้ยากอยู่ ๔ ประการ กล่าวคือ

(๑) ยากเหลือแสน กว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์
(๒) ยากเหลือแสน กว่าจะดำรงชีวิตรอด
(๓) ยากเหลือแสน กว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติ
(๔) ยากเหลือแสน กว่าจะได้ฟังสัจธรรม


ทุกท่านที่กำลังอ่านบทความชิ้นนี้ แน่นอนว่า ต้องเป็นมนุษย์
แต่สิ่งที่ยังไม่แน่นอนก็คือ
ไม่แน่ใจว่า เมื่อเป็นมนุษย์แล้ว จะสามารถดำรงชีวิตรอด
การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว
จะดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างมีความสุขนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

แต่แม้การเอาชีวิตรอดอย่างมีความสุขจะเป็นเรื่องยาก
ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นเรื่องสุดวิสัย ในทัศนะของผู้เขียนขอเสนอว่า
การที่จะดำรงชีวิตรอดอย่างมีความสุขได้นั้น อย่างน้อยที่สุด
เราทุกคนควรจะเข้าใจสัจธรรม ๓ ประการ นั่นคือ

(๑) สัจธรรมของชีวิต   (๒) สัจธรรมของความอยาก
(๓) สัจธรรมของทรัพยากร


สัจธรรมของชีวิตมีอยู่ว่า วันเวลาในชีวิตของเราแต่ละคนนั้น
มีอยู่อย่างจำกัด
ในโลกนี้อายุโดยเฉลี่ยของมนุษย์ (ตามพุทธทัศน์) คือประมาณ ๑๐๐ ปี
สูงไปจากนี้ก็ไม่เกิน ๑๒๐ ปี แต่เมื่อว่าตามทัศนะของคนร่วมสมัยอายุขัย
โดยเฉลี่ยของมนุษย์นับว่าสั้นกว่านี้ยิ่งนัก


สัจธรรมของความอยากมีอยู่ว่า ความอยากหรือตัณหาของคนเรานั้น
ไร้ขีดจำกัด (อิจฺฉา อนนฺตโคจรา) ความอยากไร้ขีดจำกัดขนาดไหน
ขอให้เรามาพิจารณาสาระสำคัญของนิทานชาดกดังต่อไปนี้อย่างลึกซึ้ง