ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 04:33:31 pm »



           

นวปุราณวรรคที่ ๕
กรรมสูตร
             [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับ
แห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
ท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา
เป็น
ที่ตั้งแห่งเวทนา หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า 
อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว  สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ

             [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย
กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ
             [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้อง
วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
นี้เราเรียกว่า ความดับ
แห่งกรรม ฯ
             [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความ
ดับกรรม ฯ

             [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า  กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม
และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้
อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้  นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่า
ประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง
นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อ
เธอทั้งหลาย ฯ

จบสูตรที่ ๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2012, 02:41:39 pm »



           

            พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 493
                               ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ
            ว่าโดยสังเขป  อารมณ์ของปฏิสนธิจิต  มี ๓ คือ

                             กรรม    กรรมนิมิต    คตินิมิต.

            บรรดา  อารมณ์ทั้ง ๓ เหล่านั้น    เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำแล้ว
   ชื่อว่า  กรรม  กรรมย่อมประกอบวัตถุใด     ทำให้เป็นอารมณ์     วัตถุนั้นชื่อว่า
   กรรมนิมิต           ในกรรมและกรรมนิมิตนั้น       เมื่อกรรมที่สัตว์ทำไว้ในอดีต
   เเม้ในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัป     กรรมนั้น  ย่อมมาปรากฏเป็นกรรมหรือกรรมนิมิต
   ในขณะนั้น.  ในข้อนั้น   มีเรื่องเทียบเคียงของ     กรรมนิมิต        ดังต่อไปนี้

                                     เรื่องนายโคปกสีวลี
               ได้ยินว่า  บุรุษชื่อ นายโคปกสีวลี ยังบุคคลให้สร้างพระเจดีย์ในวิหาร
   ชื่อว่า    ตาลปิฏฐิกะ      เมื่อเขานอนในเตียงจะมรณะ    พระเจดีย์ปรากฏแล้ว
   เขาถือเอาเจดีย์นั้นนั่นแหละเป็นนิมิต   ทำกาละแล้วไปบังเกิดในเทวโลก.

                              เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง
            ยังมีความตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมมุฬหกาลกิริยา (การทำกาละ
   ของผู้ลุ่มหลง
) จริงอยู่ เมื่อบุคคลมุ่งเดินไปข้างหน้า บุคคลเอาดาบอันคมกล้า
   ตัดศีรษะข้างหลังก็ดี  เมื่อบุคคลนอนหลับถูกบุคคลเอาดาบคมกล้า ตัดศีรษะก็ดี
   ถูกบุคคลกดให้จมน้ำตายก็ดี  ในกาลแม้เห็นปานนี้  กรรมหรือว่ากรรมนิมิต
   อย่างใดอย่างหนึ่ง   ก็ย่อมปรากฏ.

            ภาพ (วรรณะ) อย่างหนึ่ง ปรากฏในภูมิ (โอกาส) ของสัตว์ที่จะบังเกิดขึ้น
   ชื่อว่าคตินิมิต ในคตินิมิตนั้น เมื่อนรกจะปรากฏ ก็จะปรากฏในคตินิมิตนั้น
   เมื่อนรกจะปรากฏก็จะปรากฏเป็นภาพ เช่นกับโลหกุมภี (หม้อทองแดง)
   เมื่อมนุษยโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏเป็นภาพท้องมารดา ผ้ากัมพล และยาน. 
   เมื่อเทวโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏเป็นภาพต้นกัลปพฤกษ์ วิมาน และที่นอน เป็นต้น
   ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างโดยสังเขปคือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ด้วยประการฉะนี้.

                          -http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2057.0