ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 09:11:35 am »



:13: :45: :07: :45:


ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 01:07:18 am »



สิ่งสำคัญคือ
การเข้าใจว่าจิตของเรายึดกายเป็นฐาน
สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ข้างนอกเรา
ไม่ได้อยู่ที่บุคคลที่เราชอบหรือไม่ชอบ
แต่มันอยู่ที่ข้างในของเราเอง

แล้วดูว่ากายนี้ สิ่งสำคัญคืออะไร
คือกาย วาจา ใจ
แล้วกาย วาจา ใจ มีสิ่งใดควรกระทำ
กายมีหลักปฏิบัติที่ไม่ควรทำอยู่สามอย่าง
วาจามีหลักปฏิบัติที่ไม่ควรทำอยู่สี่อย่าง
และใจมีหลักปฏิบัติที่ไม่ควรทำอยู่สามอย่าง

เมื่อเราเข้าใจประเด็นเหล่านี้และ
เราปฏิบัติละเว้นอกุศลกรรม ทำแต่กุศลกรรม
เมื่อเป็นแบบนี้ จิตของเราจะอยู่ในระดับที่สูง
ขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับการละอกุศลกรรม
ทางกาย เรื่องกา่รไม่ฆ่าสัตว์ การไม่ลักขโมย
การละอกุศลกรรมทางวาจาก็เช่นกัน ถ้าเรา
ให้ร้ายผู้ใด ดุด่าว่ากล่าวผู้ใด มันจะทำให้
ความโกรธเกิดขึ้นในตัวเราและตัวผู้ที่เราไป
ดุด่าว่าเขา เขาก็ต้องไม่พอใจ ใจเราก็ไม่เป็นสุข
ใจเขาก็ไม่เป็นสุข ไม่ใช่ว่าใจเราไม่เป็นสุขฝ่ายเดียว
การละอกุศลทางจิต ไม่คิดอยากได้ของผู้ใด
ไม่คิดอยากทำร้ายผู้ใด ไม่คิดหลงผิด
ถ้าเราละสามอย่างนี้ได้ จิตเราจะมีความสุขอยู่เป็นนิจสิน

เวลาเราเห็นคนนั่งสมาธิ ดูภายนอกเหมือนเขานั่ง
ได้สงบนิ่ง แต่เราไม่รู้ว่าใจข้างในเขาเป็นอย่างไร
ใจเขาอาจจะไปตามที่ต่างๆที่นึกถึง ไปทุกหนทุกแห่ง
ไปนึกถึงญาติ นึกถึงครอบครัว ไปนึกนู่นที่นั่นตลอดเวลา
นั่นไม่ใช่การนั่งสมาธิที่ดี แม้ว่าดูภายนอกจะสงบนิ่ง

ริมโปเชบอกว่าไม่รู้ว่าพวกเราเป็นแบบนั้นหรือปล่าว
แต่ว่า่หลายคนเป็น ท่านบอกว่าเวลาเรานั่งสมาธิ
ใจเราไปนู่นไปนี่ไหม ถ้ากาย วาจา ใจ ไม่ได้ละ
อกุศลกรรมทางกาย วาจา ใจที่พูดมา
ใจจะไม่มีวันเป็นสมาธิ เพราะการละอกุศลกรรม
ทางกาย วาจา ใจที่พูดมา เอื้อทำให้จิตมีความสุข
มีความเบิกบานอยู่ตลอดเวลา จิตที่มีความเบิกบาน
จะเข้าถึงสันติ แล้วเวลานั่งสมาธิจะนั่งได้ดี
แต่ถ้าไม่ได้ละอกุศลกรรมทางกาย วาจา ใจ
จะไม่มีวันนั่งสมาธิได้ดี

ข้อคิดจากท่านกุงกา ซังโป ริมโปเช
คัดลอกจากหนังสือ "อกุศลกรรม ๑๐ ประการ"
อกุศลกรรมทางกาย
1. การฆ่าสัตว์ 2.การลักขโมย 3.การประพฤติผิดในกาม
อกุศลกรรมทางวาจา
1. การโกหก 2.การพูดยุงยง การพูดส่อเสียด
3. การว่าร้าย ด่าทอ 4.การนินทา
อกุศลกรรมทางใจ
1. ปรารถนาอยากได้ของผู้อื่น
2. ปรารถนาทำร้ายผู้อื่น หรือปรารถนา่ให้ผู้อื่นเป็นทุกข์
3. มิจฉาทิฏฐิ (ไม่เชื่อคำสอนในพระพุทธศาสนา ไม่เชื่อในกฏแห่งกรรม)

https://www.facebook.com/1000tara