ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 03:21:27 am »

นึกถึงตอนเรียน AUA เลยครับ(เกี่ยวมั้ยเนี่ย) :45:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 12:15:06 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 09:00:10 am »




สุนทรียสนทนา สภากาแฟ สภาวะผู้นำ

ในงานประชุม HA National Forum ครั้งที่ 9 จัดโดยสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ณ ศูนย์ประชุม IMPACT เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 11-14 มีนาคม 2551 มีกิจกรรมที่หลากหลาย มากมาย สำหรับ theme ของการประชุมคือ Living Organization หรือ องค์กรที่มีชีวิต ได้ถูกสะท้อนออกมาในรูปแบบของ "เรื่องเล่า" (Story-Telling) มากมาย ทฤษฎีต่างๆถูก trimmed ลงให้สะโอดสะอง กระชับ และมีการพูดกันถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น หลังจากทฤษฎีถูกนำไปดัดแปลงเป็นปฏิบัติ ออกมาอย่างมากมาย

ผู้ที่มาเข้าร่วม มีหลากหลายอาชีพ แต่ที่ทุกคน "มีส่วน" จะดูเหมือน การที่ทุกคนมี "ประสบการณ์ชีวิต" ติดตัวมาในงานประชุมมากมาย (แม้ว่าบางท่านจะไม่รู้ตัวก็ตาม !!) และประสบการณ์ชีวิตที่อยู่เบื้องหลังชีวิตของแต่ละท่านนี้เอง ที่สั่นไหว รับรู้ คลื่นพลัง คลื่นความรู้ แห่งเรื่องเล่า เรื่องจริง เรื่องราวที่ถูกนำมาแลกเปลี่ยนกันในตลาดงานสุขภาพครั้งนี้

วันที่ 13 มีนาคม ผมได้เป็นกระบวนกรร่วมจัดกิจกรรม World Cafe ร่วมกับคุณหมอวรวุฒิ โฆวัชรกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ จะเรียกว่าเป็นการจัด World Cafe ครั้งแรกของงานประชุม HA National Forum ก็น่าจะถูกต้อง ซึ่งต้องขอบคุณ อ.อนุวัฒน์ และพี่ต้อย (ดวงสมร) อ.ยงยุทธ และ staff ของ พรพ. ที่กรุณาเปิดโอกาสให้เวทีสนทนาอิสระแห่งนี้กำเนิดขึ้น ในเวลาที่เป็นที่ต้องการเช่นนี้ และได้ดำเนินไปอย่างน่าประทับใจ


น่าประทับใจจนต้องนำมาเล่าต่อ

การเตรียมการ กับ การเตรียมตัว
เรื่องราวที่เกิดขึ้นทุกเรื่อง มีเหตุปัจจัย และเกิดวิบากตามมา การจัด World Cafe ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ตั้งแต่การประชุมในเดือนธันวาคม 2550 ที่ผมได้คุยกับพี่ต้อย รองผู้อำนวยการสถาบัน พรพ. ตอนนั้นเป็นการประชุมเรื่องการสรรหาเรื่องเล่าที่จะให้รางวัลประทับใจ humanized health care award ในงาน ตอนเสร็จประชุม ก็มีการพาดพิงถึงกิจกรรม และในที่สุด จังหวะหนึ่งที่เรากำลังคุยกันเรื่องพลังที่แท้จริงของเรื่องเล่า ผมก็ได้นำเอาเรื่องราวของ World Cafe มายกตัวอย่างประกอบ

ปรากฏ ว่าพี่ต้อยสนใจเรื่องนี้ขึ้นมาทันที ถามว่าผมพอจะเป็นกระบวนกรจัดได้หรือไม่ ผมนึกอยู่ประมาณ 2-3 วินาที จำไม่ได้ว่าตอบไปว่าอะไร แต่ผลสรุปก็คือ เราจะจัดกัน!!

หะแรก พี่ต้อยจะให้จัดตลอดทุกวันเลย ร่วมๆ 10 sessions ซึ่งนับว่าพี่ต้อยมีความกล้าหาญกว่าผมเยอะมาก แต่เนื่องจากผมยังพิจารณาประโยชน์ส่วนตนอยู่ บอกไปว่ายังงั้นผมคงจะอดไปเข้าร่วมกิจกรรมมากมายที่น่าสนใจของ พรพ.ไปหมดเลย นับเป็นการสูญเสียที่ผมลังเลที่จะยินดียอมรับ กอปรกับปีนี้จะเป็นปีแรกที่เราจะใส่ World Cafe ลงไป ไม่ทราบว่า participants ของเราจะกระตือรือร้นเหมือนเราหรือไม่ น่าจะลองเป็นโครงการนำร่อง เป็น pilot activity ไปก่อน สุดท้าย เราก็ลงมาเหลือทำ 1 วันเต็ม 4 sessions

ถึงตอนนี้ ก็ปรากฏชัดเจนว่า World Cafe ได้ลงไปอยู่ในตารางรายการกิจกรรมอันแน่นขนัดของ National Forum ครั้งที่ 9 นี้เป็นที่เรียบร้อย

การเตรียมตัวลำดับแรก ก็คือการทำความเข้าใจในเบื้องหลัง หลักการ ว่า World Cafe มัน work อย่างไร จึงเป็นที่มาของสองบทความเรื่อง World Cafe ใน blog แห่งนี้ คือ World Cafe: สนทนาเปิดฟ้า เบิกโลกา และ World Cafe: 7 Principles อาจารย์ยงยุทธ​และพี่ต้อยกรุณาให้ความเห็นเกี่ยวกับ themes ที่จะเป็นโจทย์ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากที่จะทำให้กิจกรรมนี้ work หรือไม่ (หรือล่ม) เพราะ World Cafe จะอาศัย momentum ของผู้เข้าร่วม ที่จะล่องลอยเป็นอิสระไปกับคลื่นกระแสแห่งเรื่องราว จินตนาการ ของประเด็นที่เขาคิดว่าสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต ต่องานของเขา เกิดเป็นเกลียวพลวัต (Spiral Dynamic) แห่ง emotional engagement และ learning capacity สุดท้ายเป็นสุนทรียสนทนาในระดับสามหรือสี่ ที่จะผุดบังเกิดขึ้นทีเดียว

ระดับของการสนทนา 4 ระดับ
ระดับ ที่หนึ่ง เป็นการสนทนาที่เต็มไปด้วยความเกรงอก เกรงใจ ผู้เข้าร่วมจะพูดเฉพาะในสิ่งที่ตนเองคิดว่าผู้ฟังอยากจะได้ยิน หรือไม่รู้สึกไม่พอใจ จะแสดงความเห็นที่เราคิดว่าจริง หรืออะไรที่เราคิดว่าใช่ (downloading perception) หรือเป็นการสนทนารักษาสถานะภาพของตนเอง I in Me การสนทนาระดับนี้ ไม่มีอะไรใหม่เกิดขึ้น เพราะเราจะหมกมุ่นกับสถานะ มากกว่าสิ่งที่จะมาแลกเปลี่ยนกัน เรื่องราวสำคัญจะไม่ถูกกล่าวถึง ไม่มีความผิดแผกแตกต่างถูกนำมาแสดง

ระดับที่สอง เป็นการสนทนาที่เริ่มเอา objectivity มาใช้มากขึ้น เอา fact ที่เราทราบมาบอก เล่า ให้เหตุผล รวมทั้งคิดวิเคราะห์ว่าทำไมของคนอื่นที่แตกต่างจากเราถึงผิดพลาด ผิดตรงไหน ในวงการ academic อาจจะเรียกระดับการสนทนาแบบนี้ว่าเป็น Debating style เต็มไปด้วยข้อมูล facts (so-called) และบางครั้งอาจจะเกิด hostility หรือการคุกคามตัวตน มีการกินพื้นที่เกิดขึ้นได้ ระดับนี้เรียกว่า I in It หรือ Open Mind อุปสรรคในการสนทนาระดับนี้คือการด่วนตัดสิน (voice of judgment) ว่า fact ของเราเท่านั้นที่ถูกต้อง

ระดับที่สาม เป็นการสนทนาที่เรา "รับฟัง" ได้มากขึ้น ไม่ได้ผูกติดกับ "สิ่งที่เรารู้" เพียงอย่างเดียว แต่เริ่มเปิดใจ Open Heart เพราะเราเริ่มไปสนใจที่มา และความรู้สึกของผู้อื่น สนใจเรื่องราวของผู้อื่นอย่างจริงๆจังๆ โดยไม่ด่วนตัดสิน เราเริ่มเกิด empathy ต่อเรื่องราว อุปสรรค ข้อจำกัด ของผู้อื่นมากขึ้น ผลจากการทำเช่นนี้ เราได้เปิดใจ และเกิดการ "เชื่อมโยง" และเกิด "ความสัมพันธ์" กับผู้ที่เราพูดคุยมากขึ้น การสนทนาแบบนี้เมื่อเกิดขึ้น บางทีเราจะเกิดความรู้สึกสนิทสนมกับผู้ร่วมสนทนามากกว่าคนที่เรารู้จักมา เป็นเวลาหลายปีเสียด้วยซ้ำ การสนทนาระดับนี้เรียกว่า I in You เหมือนกับเราสามารถมองใน perspective ของผู้อื่นได้ การสนทนาแบบนี้จะไม่เกิด ถ้าหากเรายังมี voice of cynicism หรือ ความคลางแคลงใจ ความสงสัย และความต้องการจะรักษา "ระยะห่าง" จากผู้อื่นอยู่

ระดับที่สี่ ระดับลึกสุดที่การสนทนาจะนำไปได้ เป็นการสนทนาที่ "รอ" (hold tension) การผุดกำเนิดของอนาคตที่บ่มเพาะมาในสถานการณ์จริงๆ ที่ต้องการ และกำลังจะเกิดขึ้น เมื่อเราฟังอย่างลึกซึ้ง พูดสิ่งที่เราคิดว่าสำคัญที่สุดในชีวิต ได้ยินเรื่องราวของผู้อื่นและทราบความสำคัญของชีวิตของผู้อื่น ณ จุดนั้น จะมี "ความจริง" หรือ "อนาคต" อะไรบางอย่างที่ค่อยๆคุกรุ่น simmering รอ รอ รอ จนกระทั่งผู้ร่วมสนทนา ปลดวางตัวตนลง ยอมรับสิ่งที่กำลังจะมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่สนว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่สิ่งนี้เป็นอนาคตที่กำลังรอปรากฏขึ้น เมือทุกคนสามารถ let go ในที่สุด (Open Will ปล่อยเจตจำนงที่แท้ทำงาน) ก็จะเกิดการ let come และ future suddenly emerges ขึ้นมา เป็นการทะลวงอุปสรรคสุดท้าย คือ voice of fear  หรือเรียกการสนทนาระดับนี้ว่า "I in Now"

ในส่วนของการเตรียมการ เราตั้งใจจะสร้าง "บรรยากาศ" ที่สำคัญมากเช่นกัน คือ เป็นบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ เหมือนห้องนั่งเล่น เหมือนร้านกาแฟ ไม่มีบรรยากาศของ expert ไม่มี Hierachy ของความรู้ ประสบการณ์ตรง และความคิด ความรู้สึก ของทุกคนที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เราตกลงกันว่าห้องนี้จะจัดให้เนื้อที่ใช้สอยไม่แน่นขนัด แต่จะใส่ไว้ด้วยโต๊ะกาแฟกลม ล้อมเก้าอี้ประมาณ 4-5 ตัวเท่านั้น เป็นวงเล็กๆ (เพื่อให้ทุกคนมีโอกาส participate มากที่สุด)

ไม่เพียงแค่นั้น ห้องนี้จะเป็นห้องเดียวในงานประชุมที่มีกาแฟและขนมเสริฟตลอดเวลา ซึ่งเป็นความจริง แม้แต่ห้องวิทยากร เรายังต้องลุกไปหยิบกาแฟขนมเองเลย แต่ห้องนี้นอกจากเราสามารถเดินไปหยิบเอง จะมีคนมาเสริฟถึงที่โต๊ะเป็นระยะๆ

ร้านกาแฟที่ดี ก็จะฉาบไล้บรรยากาศด้วยเสียงเพลง อันนี้ก็ตกเป็นความรับผิดชอบของกระบวนกร ที่ตัดสินใจพึ่งอัลบัม Infinity ตั้งแต่ต้นจนจบ ทุก session เลยทีเดียว เป็นเพลงบรรเลงเบาๆ เปี่ยมอารมณ์รัก อารมณ์สุนทรีย์ อารมย์แห่ง stillness และ oneness

ทาง พรพ.จัดการให้มีการลงทะเบียนล่วงหน้า ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร ถึงแม้ว่าใจจริง ผมคาดว่าลูกค้าส่วนหนึ่งจะเป็น passer-by มากกว่า แต่ความดีประการหนึ่งของการลงทะเบียนล่วงหน้าก็คือ ปรากฏว่าเราได้ห้องซึ่งอยู่มุมนอกสุดของห้องทั้งหมด โอกาสจะมี passer-by จะน้อยที่เดียว ซึ่งที่จริงผมคิดว่า ถ้าเราจะดักคนจริงๆ เราน่าจะเอาทำเลที่ attractive มากกว่านี้ และอาจจะต้องมีการ "ตกแต่งหน้าร้าน" ให้มี marketing เชื้อเชิญมากกว่านี้ แม้ว่าจะไม่ถึงกับมี pretty มายืนแบบโชว์รูมขายรถ แต่เราต้องการทำเลที่ hit the market มากกว่านี้ในครั้งหน้า กระนั้นก็ตาม เราได้แฟนพันธุ์แท้ที่อุตสาห์เดินมาเยี่ยมๆมองๆ และหลวมตัวให้เราเชิญเข้ามานั่งได้หลายคนเหมือนกัน

ที่กล่าวมาแล้วเป็นการเตรียมการ ซึ่งเป็นผลงานของทาง พรพ. ทั้งหมด แล้วกระบวนกรเตรียมตัวอย่างไรบ้างล่ะ?
อืม…… good question

จนถึงคืนก่อนวันงานจริง ผมก็ได้พูดคุยกับวรวุฒิมาหลายครั้ง แต่ไม่ใช่เรื่อง World Cafe จะว่าไปเราคุยกันบ่อยมาก ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวโดยตรง แต่จะนับเป็นการซ้อมคุยได้ไหม? ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

กระบวนกรใน World Cafe ทำอะไรบ้าง?
นอกเหนือจากการเตรียมการ (ซึ่งกระบวนกรเองไม่ได้ทำ) กระบวนกรจะมีบทบาทเป็น host หรือเจ้าภาพที่ดี เป็นคนนำเข้ากิจกรรม พูดถึงกฏ กติกา มารยาท (ซึ่งมีนิดเดียว)

เราไม่ได้พูดกันถึงผลที่จะได้รับเสียด้วยซ้ำไป เพราะผลที่ว่าขึ้นกับอะไรที่นอกเหนือการควบคุมของคน แต่ส่ิงที่กระบวนกรต้อง hold ไว้ก็คือ "ความศรัทธาในความดีของมนุษย์" ว่า ทุกคนที่มาร่วม มีความต้องการจะให้เกิดความดีที่สุดต่อสังคมทั้งสิ้น กระบวนกรจะต้องสามารถหล่อเลี้ยงบรรยากาศ กลิ่นอาย ของความศรัทธานี้ให้ห้องให้ได้

ในคืนสุดท้าย เราก็ได้พูดคุยกันจนถึงตีสอง ในเรื่องราวมากมาย (เพราะคุยกันตั้งแต่ประมาณ 5 โมงเย็น) แล้วเราก็ "รู้สึก" ว่าเราพร้อมแล้ว (มั้ง) ที่ปลดความกลัว ความคาดหวัง ปลดสิ่งที่เราเกรงว่าจะสูญเสียหากว่างานออกมาไม่ดี เพียงแค่เราเดินเข้าสู่สนามโดยมี unconditional love และความจริงใจที่สุด เราก็สรุปว่าเราพร้อมแล้ว สำหรับงานนี้


http://newheartnewlife.net/wordpress/?p=65