ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 05, 2011, 07:07:55 pm »

คนไทยป่วยโรคไตกว่า 3 หมื่น ต้นเหตุเบาหวาน-ความดัน



สธ. พบคนไทยป่วยเป็นโรคไตระยะสุดท้ายกว่า 30,000 ราย ต้นเหตุหลักเกิดจากเบาหวาน (กระทรวงสาธารณสุข)

          กระทรวง สาธารณสุขจัดกิจกรรมให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรคไต ให้ลดกินเค็มครึ่งหนึ่ง ในโรงพยาบาลในสังกัด 900 แห่งทั่วประเทศ เนื่องในวันไตโลก เริ่ม 6-12 มีนาคม 2554 เผยขณะนี้มีคนไทยป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายกว่า 30,000 ราย แนวโน้มเพิ่มขึ้นจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พร้อมเปิดรับบริจาคไต 840 ไต เพื่อผ่าตัดเปลี่ยนให้ผู้ที่มีปัญหาไตวาย ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

          นาย แพทย์ไพจิตร์ วราชิต  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เนื่องในวันไตโลกปีนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 10 มีนาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันไตโลก (World Kidney Day) ใน โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศจำนวน 900 แห่ง ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคไต โดยเฉพาะเรื่องพฤติกรรมการกินอาหารรสเค็ม โดยจะเริ่มให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 6-12 มีนาคม 2554

          นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า ประการสำคัญ ในช่วงจัดกิจกรรมในปีนี้ จะรณรงค์ให้ประชาชนบริจาคไตให้ได้ 840 ไต เพื่อนำไปผ่าตัดปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้มีคุณภาพชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ประชาชนที่มีความประสงค์บริจาค สามารถแจ้งได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ

          นาย แพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประเทศไทย และทั่วโลก จาก สถิติของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยปี 2551 พบผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 31,496 ราย และพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มปีละ 400 ราย ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไตวาย มี 4 กลุ่มได้แก่

          1.ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง เช่นติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำซาก เป็นนิ่วในไต หรือไตพิการเป็นถุงน้ำ

          2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ และโรคเอสแอลอี
 
          3.การกินยาบางชนิด เช่น ยาเฟนาติซิน เฟนิลบิวตาโซน

           4.ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จากไตเสื่อมตามอายุขัย

          แต่ สาเหตุหลักที่ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคไตวายเพิ่มขึ้นในขณะนี้ ประมาณร้อยละ 80 ก็คือโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้ง 2 โรคทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบแข็ง ทำให้ไตเสื่อม ไม่สามารถกรอง ของเสียออกจากร่างกายได้ โดยผลการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในปี 2552 พบมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1.4 ล้านคน ในจำนวนนี้มีปัญหาไตวาย 20,000 คน พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2 ล้านคน และมีปัญหาไตวาย 18,000 คน

          ทั้ง นี้ ปัจจุบันคนไทยกินหวานถึงวันละ 20 ช้อนชาต่อวัน ไขมัน 12 ช้อนชาต่อวัน และเกลือ 2 ช้อนชาต่อวันซึ่งสูงกว่ามาตรฐานโลกที่กำหนดไว้คือวันละ 6 กรัม หรือ 1 ช้อนชา จึงแนะนำให้ลดลงเหลือ 6:6:1 คือ กินน้ำตาล 6 ช้อนชาต่อวัน กินไขมัน 6 ช้อนชาต่อวัน และเกลือ 1 ช้อนชาต่อวัน

          สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้ผลที่สุดต้องใช้วิธีการผ่าตัดปลูกถ่ายไต แต่ปัญหาที่ประสบทั่วโลกคือ การขาดแคลนผู้บริจาคไต ซึ่งแต่ละปีมีผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตปีละประมาณ 300 รายเท่านั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงต้องใช้วิธีการรักษาชะลอการเสื่อมไต โดยใช้วิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และฟอกของเสียออกทางน้ำยาผ่านทางช่องท้อง เสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 1,500 – 2,000 บาทต่อคน รวมค่าใช้จ่ายปีละประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หากไม่เร่งแก้ไขป้องกันจะทำให้จำนวนผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ และค่าใช้จ่ายการรักษาจะเพิ่ม ขึ้น                                                       

          ด้าน ศาสตราจารย์นายแพทย์สุพัฒน์ วานิชยการ เลขาธิการมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการจัดกิจกรรมวันไตโลกว่า ในปีนี้ประเทศไทยจัดกิจกรรมวันไตโลก จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 6-12 มีนาคม 2554 และในวันที่ 6 มีนาคม 2554 จะมีการจัดงานใหญ่ที่บริเวณหอนาฬิกา สวนสาธารณสาธารณะสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในเวลา 6.00น.-17.00 น. ภายใต้แนวคิด "ลดเค็มครึ่งหนึ่งไม่ต้องพึ่งไตเทียม"

          กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การเดิน – วิ่งเทิดพระเกียรติ การบรรยายเกี่ยวกับโรคไต นิทรรศการให้ความรู้ประชาชน เน้นการปรับพฤติกรรมการกินให้ลดเค็มครึ่งหนึ่ง ซุ้มอาหารสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคไต การตรวจคัดกรองโรคไต ซุ้มรับบริจาคอวัยวะ และการแสดงบนเวทีจากศิลปิน เช่น ป้อม ออโตบาห์น, บีม ดีทูบี, แพนเค้ก เขมนิจ,  คิมเบอร์ลี่ จากละครธาราหิมาลัย และบัว สโรชา เป็นต้น



ขอขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=37068



http://health.kapook.com/view22231.html



.



.