ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 02, 2012, 10:20:39 am »

ดื่มน้ำเมามีโทษ
-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREF5TURZMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdOaTB3TWc9PQ==-

ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com โทร. 0-2281-2430


การดื่มน้ำเมา จัดเข้าในศีลข้อที่ 5 และจัดเป็นอบายมุข คือทางแห่งความเสื่อม ความฉิบหาย เสียทรัพย์สินเงินทอง



เป็นเหตุเสื่อมทรัพย์ ชื่อว่าทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่มีชีวิตซึ่งได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น หรือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณ คือ แก้ว แหวน เงิน ทอง ทรัพย์สินสิ่งของ อื่นๆ เช่น รถ ล้อ เกวียน อาคารสถานที่ บ้านเรือน เป็นต้น ทรัพย์เหล่านี้เมื่อไม่มีก็ต้องหา เพราะต้องกินต้องใช้



การที่จะทำให้มีทรัพย์ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย ต้องลำบากกายทุกข์ใจกว่าจะได้มา เมื่อได้มาแล้วก็ภูมิใจว่ามีทรัพย์ เมื่อได้ใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงตน คนในครอบครัว ญาติมิตรหรือประกอบกุศลกิจอื่นๆ ก็เป็นสุขใจ



ทรัพย์เหล่านี้มีทางที่จะเสื่อมสลายหายสูญไปด้วยเหตุหลายประการ โดยเฉพาะในที่นี้ เสื่อมไปเพราะปัจจัยคือการดื่มน้ำเมา ซึ่งได้แก่ เหล้า สุรา ยาบ้า และเมรัย



เมื่อดื่มหรือเสพสิ่งเหล่านี้ จะมีโทษ 6 สถานคือ



1. เสียทรัพย์



2. ก่อทะเลาะวิวาท



3. เกิดโรค



4. ต้องติเตียน



5. ไม่รู้จักอาย



6. ทอนกำลังปัญญา



โทษของการดื่มสุราไม่ใช่มีเท่านี้ เมื่อดื่มจนเมาได้ที่แล้วยังก่อกรรมทำเข็ญอื่นๆ ได้ เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติประเวณีและพูดเท็จก็ได้ ทั้งยังให้ประสบภัยหลายอย่างต่างกันไป ดังพุทธภาษิตที่ว่า บุคคลผู้ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยเป็นปกติ คือเป็นประจำ ทำอยู่เป็นนิตย์ ย่อมประสบกับภัยและเวรที่เห็นได้ในปัจจุบัน ในอนาคต และย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ



ภัยเวรปัจจุบันพอจะเห็นกันได้แต่ละปี แต่ละเดือน หรือแต่ละวัน มีผู้ประสบภัยกันแล้วเท่าไหร่ เสียชีวิตและทรัพย์สินไปแล้วแค่ไหน สิ่งเหล่านี้จะเกิดมีได้ เพราะเหตุปัจจัยคือการดื่มน้ำเมา ส่วนภัยเวรในอนาคตซึ่งยังไม่มีมาปรากฏนั้น ก็ต้องมีโดยการประเมินเหตุปัจจุบันซึ่งสัมพันธ์กับผลอนาคต เมื่อได้ประสบภัยเช่นนี้ก็มีแต่ความทุกข์ระทมขมขื่นใจ



นอกจากนี้ การดื่มน้ำเมา และเมรัย ยังเป็นปัจจัยให้เกิดความประมาท ความประมาทก็คือ ความขาดสติ คนไม่มีสติกำกับ ก็เหมือนรถที่ติดเครื่องแล้วปล่อยให้แล่นไปตามถนน ซึ่งไม่มีคนขับ หรือคอยกำกับดูแลรถนั้น ต้องก่อเหตุเภทภัยให้เกิดขึ้นแน่ๆ ฉันใด ความประมาทและคนประมาทก็ฉันนั้น ย่อมก่อภัยให้โทษแก่ตนและคนอื่นนานาประการ ซึ่งนอกจากนี้ ความประมาทยังปิดโอกาสการเกิดขึ้นแห่งกุศลความดีด้วย ความประมาทเป็นต้นตอบ่อเกิดหรือเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความชั่วร้ายทั้งหลาย ทั้งเป็นตัวทำลายกุศลความดีทั้งหลายทั้งปวง ส่วนความไม่ประมาทคือ ไม่ขาดสติ เป็นบ่อเกิดแห่งกุศลความดีเช่นเดียวกัน

.

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREF5TURZMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdOaTB3TWc9PQ==

.