ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 02, 2012, 11:02:35 am »


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

ทุติยวรรคที่ ๒
             [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๑๐ ประการ
เป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑
พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตปองร้าย ๑
มีความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล
เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเป็นผู้ถูกเชิญ
มาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๑๐ ประการ
เป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการ
ประพฤติผิดในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการพูดส่อเสียด ๑ จากการพูด
คำหยาบ ๑ จากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่ปองร้าย ๑
มีความเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
นี้แล ย่อมเป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ

             [๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ
เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ๒๐ ประการ
เป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกามด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวน
ผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑
พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ คิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น
ในการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นผิด ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้ง
ไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นผู้ถูก
เชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ๒๐ ประการเป็นไฉน
คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากฆ่าสัตว์ ๑
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ
เว้นจากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น
ในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวน
ผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ ไม่คิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวน
ผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ เห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นชอบ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญ
มาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ

             [๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ
เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่นำเขามาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๓๐
ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑
พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑
พอใจในการลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ
ประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการพูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการพูดคำหยาบ ๑
พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑
อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจ
ในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตคิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ
ปองร้าย ๑ พอใจในการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น
ในการเห็นผิด ๑ พอใจในความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำ
มาทอดทิ้งไว้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการเป็นผู้ถูกเชิญ
มาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๓๐ ประการ
เป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ
เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการ
เว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวน
ผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการ
พูดเท็จ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการเว้นจากการ
พูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้น
จากการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูด
เพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ
ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่ปองร้ายด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ พอใจในการไม่ปองร้าย ๑ มีความ
เห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นชอบ ๑ พอใจในการเห็นชอบ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมา
ไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ

             [๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ
เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๔๐ ประการ
เป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจ
ในการฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวน
ผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญการลักทรัพย์ ๑
ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจ
ในการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ
ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจในการพูดเท็จ ๑ กล่าว
สรรเสริญการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูด-
*ส่อเสียด ๑ พอใจในการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญการพูดส่อเสียด ๑
พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการพูด
คำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวน
ผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญการพูด
เพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑
พอใจในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ กล่าวสรรเสริญการอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิต
ปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการปองร้าย ๑ พอใจในการปองร้าย ๑
กล่าวสรรเสริญการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความ
เห็นผิด ๑ พอใจในความเห็นผิด ๑ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก
เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เป็นผู้ถูก
เชิญมาไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์
ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ เว้นขาดจากการลักทรัพย์
ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการเว้นจาก
การลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดใน
กาม ๑ พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ
เว้นจากการพูดเท็จ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้น
จากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ
เว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญ
การเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวน
ผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑
กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการเว้นจากการ
พูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น
ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจในการไม่อยากได้
ของผู้อื่น ๑ กล่าวสรรเสริญการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่ปองร้ายด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ พอใจในการไม่ปองร้าย ๑ กล่าว
สรรเสริญการไม่ปองร้าย ๑ มีความเห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความ
เห็นชอบ ๑ พอใจในความเห็นชอบ ๑ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมา
ไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ

             [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัดถูกทำลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์
ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้น
ขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหาร
ตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วย
ตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้น
ขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูก
กำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมบริหาร
ตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วย
ตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อม-
*บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูก
กำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหาร
ตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วย
ตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้น
ขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูก
กำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ

จบทุติยวรรคที่ ๒

        เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๗๒๕๖ - ๗๔๑๑.  หน้าที่  ๓๑๖ - ๓๒๒.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=7256&Z=7411&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=198
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_24

บันทึก  ๒๗  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๔๖   
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.   
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com   
 
.


-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=7256&Z=7411&pagebreak=0-

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=7256&Z=7411&pagebreak=0

.