ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 02, 2012, 11:37:06 am »โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
-http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%28Office-Syndrome%29-
โรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลาไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรปพบว่า ส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่างๆ โดยอันดับหนึ่งคือ การปวดหลัง รองลงมามีอาการปวดบริเวณคอ ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะออฟฟิศซินโดรม นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 เนื่องจากต้องทำงานหนักประกอบอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม ทั้งนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ สูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท นอกจากนี้ปัญหาความเครียดก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้ด้วย โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 สำหรับประเทศไทยเคยสำรวจในคนทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คนพบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว
ไม่เพียงแต่อิริยาบถของคนทำงานที่ไม่เหมาะสม สภาพโต๊ะทำงานยังเป็นปัจจัยสำคัญด้วย ทั้งโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกดแป้นคียบอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือจะทำให้มีการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือ
การป้องกัน โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
ต้องเริ่มจัดสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบโดยให้ด้านขวาของโต๊ะปล่อยโล่งไม่มีสิ่งของมากีดขวาง เพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่างๆส่วนสิ่งของต่างๆ บนโต๊ะทำงานควรวางด้านซ้ายแทนเพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและหยิบจับได้สะดวกและควรเลือกโต๊ะทำงานที่มีระดับพอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดคียบอร์ดได้อย่างถนัดประกอบตัวแป้นคียบอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือไม่ให้เกิดการกระดกข้อมือซ้ำๆ ด้วยส่วนเก้าอี้ควรเป็นแบบปรับขึ้นลงได้และควรมีพนักพิงที่สามารถรองรับศีรษะได้ด้วย นอกจากนี้ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์แบบ LCD หรือจอแบน เนื่องจากการสำรวจพบว่าจอแบบ CRT ซึ่งเป็นจอลักษณะโค้งมนจะทำให้เกิดการเพ่งสายตาและปวดศีรษะมากกว่าการใช้จอแบบ LCD
พวกพนักงานรับโทรศัพท์ก็ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกันเพราะต้องคอยรับหูโทรศัพท์ตลอดเวลาควรหยุดพักบ้างหรือหันมาใช้เฮดโฟนแทนสิ่งสำคัญคนทำงานต้องตระหนักถึงภัยจากภาวะนี้ด้วยการฝึกอิริยาบถการนั่งทำงานให้เหมาะสม เช่น เมื่อนั่งหลังค่อมต้องปรับท่านั่งใหม่และควรพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์หรือเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกออกไปเดินยืดเส้นยืดสายทุกๆ ครึ่งชั่วโมงรวมทั้งควรหัดออกกำลังกายคลายเส้นบ้างจะช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ตึงจนเกินไป
ปัญหาที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ คือ ปัญหาด้านสายตา อาทิ ตาแห้ง น้ำตาไหลระคายเคืองตา ตามัว ปรับภาพได้ช้าลงซึ่งเกิดจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้การกระพริบตาน้อยละหนังตาเปิดกว้างขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งส่งผลให้น้ำตาระเหยมากจนกระทั่งเกิดความระคายเคืองตาและตาแห้ง นอกจากนี้การเพ่งสายตาที่หน้าจอยังทำให้ต้องกลอกตาไปมาตลอดเวลาส่งผลให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานมากขึ้น ทำให้ปวดตาในที่สุด ดังนั้นควรพักสายตาเป็นระยะ ทุก 20 นาที หลับตาทุก 1 ชั่วโมง ลุกเดินเพื่อพักสายตาและควรจัดจอภาพคอมพิวเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศาเพื่อช่วยลดอาการปวดตาและปวดคอ
ควรปรับความส่ว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมโดยปรับความสว่างให้มากประมาณสามเท่าจากความสว่างของสภาพแวดล้อมและควรปรับสีของจอให้สบายตาเนื่องจากงานวิจัยพบว่าตัวอักษรสีเข้มบนพื้นจอสีอ่อนจะทำให้สบายตา อีกทั้งส่วนความเข้าใจที่ว่า รังสีจากจอคอมพิวเตอร์หากได้รับเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดอันตราย อาทิ มะเร็ง ไม่เป็นความจริงเนื่องจากปริมาณรังสีที่ออกมามีจำนวนน้อยเพียง 1 ใน 10 safety dose ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
9 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันโรคออฟฟิศซินโดรม
1. ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกที่นั่งติดริมหน้าต่างเพื่อให้ได้แสงจากธรรมชาติบ้าง ดีกว่าต้องนั่งอยู่ใต้แสงจากหลอดไฟตลอดทั้งวัน
2. ควรเปิดหน้าต่างออฟฟิศให้อากาศได้ระบายอย่างน้อยในตอนเช้าที่อากาศยังไม่ร้อนมากและตอนพักกลางวัน
3. ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และความเครียด
4. หาต้นไม้ในร่มมาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาอันอ่อนหล้าจากการต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
5. ถ้าออฟฟิศคุณมีขนาดเล็กลองลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศลงบ้าง บางวันคุณอาจจะเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีลักษณะบางเบาแล้วใช้พัดลมมาเปิดแทนก็จะรู้สึกเย็นสบายได้และประหยัดไฟได้ด้วย
6. ควรห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำงานโดยเด็ดขาด
7. ควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศและจะดียิ่งขึ้นถ้ามีตู้ปลาขนาดใหญ่ๆ สักตู้ เพื่อช่วยคืนสมดุลความชื้นที่เสียไปกับเครื่องปรับอากาศ
8. หมั่นทำความสะอาดโต๊ะทำงานของคุณเองด้วยแอลกอฮอลเพื่อฆ่าเชื้อโรค
9. ถ้าคุณเป็นคนติดคอมพิวเตอร์หรือมีงานด่วนที่จะต้องสะสางชนิดที่ไม่สามารถหยุดพักได้ก็พยายามเตือนตัวเองให้เงยหน้าขึ้นมองออกไปไกลๆ ทุกๆ 20 นาที เพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตา
ขอขอบคุณข้อมูลวิธีการดูแลสุขภาพจาก โรงพยาบาลธนบุรี
-http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%28Office-Syndrome%29-
.
http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%28Office-Syndrome%29
.
-http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%28Office-Syndrome%29-
โรคออฟฟิศซินโดรม (OfficeSyndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลาไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรปพบว่า ส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่างๆ โดยอันดับหนึ่งคือ การปวดหลัง รองลงมามีอาการปวดบริเวณคอ ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะออฟฟิศซินโดรม นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 เนื่องจากต้องทำงานหนักประกอบอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม ทั้งนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ สูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท นอกจากนี้ปัญหาความเครียดก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้ด้วย โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 สำหรับประเทศไทยเคยสำรวจในคนทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คนพบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว
ไม่เพียงแต่อิริยาบถของคนทำงานที่ไม่เหมาะสม สภาพโต๊ะทำงานยังเป็นปัจจัยสำคัญด้วย ทั้งโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกดแป้นคียบอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือจะทำให้มีการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือ
การป้องกัน โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
ต้องเริ่มจัดสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบโดยให้ด้านขวาของโต๊ะปล่อยโล่งไม่มีสิ่งของมากีดขวาง เพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่างๆส่วนสิ่งของต่างๆ บนโต๊ะทำงานควรวางด้านซ้ายแทนเพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและหยิบจับได้สะดวกและควรเลือกโต๊ะทำงานที่มีระดับพอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดคียบอร์ดได้อย่างถนัดประกอบตัวแป้นคียบอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือไม่ให้เกิดการกระดกข้อมือซ้ำๆ ด้วยส่วนเก้าอี้ควรเป็นแบบปรับขึ้นลงได้และควรมีพนักพิงที่สามารถรองรับศีรษะได้ด้วย นอกจากนี้ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์แบบ LCD หรือจอแบน เนื่องจากการสำรวจพบว่าจอแบบ CRT ซึ่งเป็นจอลักษณะโค้งมนจะทำให้เกิดการเพ่งสายตาและปวดศีรษะมากกว่าการใช้จอแบบ LCD
พวกพนักงานรับโทรศัพท์ก็ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกันเพราะต้องคอยรับหูโทรศัพท์ตลอดเวลาควรหยุดพักบ้างหรือหันมาใช้เฮดโฟนแทนสิ่งสำคัญคนทำงานต้องตระหนักถึงภัยจากภาวะนี้ด้วยการฝึกอิริยาบถการนั่งทำงานให้เหมาะสม เช่น เมื่อนั่งหลังค่อมต้องปรับท่านั่งใหม่และควรพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์หรือเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกออกไปเดินยืดเส้นยืดสายทุกๆ ครึ่งชั่วโมงรวมทั้งควรหัดออกกำลังกายคลายเส้นบ้างจะช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ตึงจนเกินไป
ปัญหาที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ คือ ปัญหาด้านสายตา อาทิ ตาแห้ง น้ำตาไหลระคายเคืองตา ตามัว ปรับภาพได้ช้าลงซึ่งเกิดจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้การกระพริบตาน้อยละหนังตาเปิดกว้างขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งส่งผลให้น้ำตาระเหยมากจนกระทั่งเกิดความระคายเคืองตาและตาแห้ง นอกจากนี้การเพ่งสายตาที่หน้าจอยังทำให้ต้องกลอกตาไปมาตลอดเวลาส่งผลให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานมากขึ้น ทำให้ปวดตาในที่สุด ดังนั้นควรพักสายตาเป็นระยะ ทุก 20 นาที หลับตาทุก 1 ชั่วโมง ลุกเดินเพื่อพักสายตาและควรจัดจอภาพคอมพิวเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศาเพื่อช่วยลดอาการปวดตาและปวดคอ
ควรปรับความส่ว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมโดยปรับความสว่างให้มากประมาณสามเท่าจากความสว่างของสภาพแวดล้อมและควรปรับสีของจอให้สบายตาเนื่องจากงานวิจัยพบว่าตัวอักษรสีเข้มบนพื้นจอสีอ่อนจะทำให้สบายตา อีกทั้งส่วนความเข้าใจที่ว่า รังสีจากจอคอมพิวเตอร์หากได้รับเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดอันตราย อาทิ มะเร็ง ไม่เป็นความจริงเนื่องจากปริมาณรังสีที่ออกมามีจำนวนน้อยเพียง 1 ใน 10 safety dose ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
9 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันโรคออฟฟิศซินโดรม
1. ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกที่นั่งติดริมหน้าต่างเพื่อให้ได้แสงจากธรรมชาติบ้าง ดีกว่าต้องนั่งอยู่ใต้แสงจากหลอดไฟตลอดทั้งวัน
2. ควรเปิดหน้าต่างออฟฟิศให้อากาศได้ระบายอย่างน้อยในตอนเช้าที่อากาศยังไม่ร้อนมากและตอนพักกลางวัน
3. ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และความเครียด
4. หาต้นไม้ในร่มมาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาอันอ่อนหล้าจากการต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
5. ถ้าออฟฟิศคุณมีขนาดเล็กลองลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศลงบ้าง บางวันคุณอาจจะเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีลักษณะบางเบาแล้วใช้พัดลมมาเปิดแทนก็จะรู้สึกเย็นสบายได้และประหยัดไฟได้ด้วย
6. ควรห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำงานโดยเด็ดขาด
7. ควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศและจะดียิ่งขึ้นถ้ามีตู้ปลาขนาดใหญ่ๆ สักตู้ เพื่อช่วยคืนสมดุลความชื้นที่เสียไปกับเครื่องปรับอากาศ
8. หมั่นทำความสะอาดโต๊ะทำงานของคุณเองด้วยแอลกอฮอลเพื่อฆ่าเชื้อโรค
9. ถ้าคุณเป็นคนติดคอมพิวเตอร์หรือมีงานด่วนที่จะต้องสะสางชนิดที่ไม่สามารถหยุดพักได้ก็พยายามเตือนตัวเองให้เงยหน้าขึ้นมองออกไปไกลๆ ทุกๆ 20 นาที เพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตา
ขอขอบคุณข้อมูลวิธีการดูแลสุขภาพจาก โรงพยาบาลธนบุรี
-http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%28Office-Syndrome%29-
.
http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%28Office-Syndrome%29
.