ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 05, 2012, 09:09:26 pm »

5 มิถุนายน วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ







เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอบคุณภาพประกอบจาก smg.brrd.in.th

          ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อประเทศ เนื่องจากสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของคนไทยทั้งในอดีต จนถึงปัจจุบัน และเพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของข้าว รวมทั้งเพื่อเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวนา จึงมีการกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ

          ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ 9) ทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขน และทอดพระเนตรกิจการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งได้ทรงหว่านข้าวด้วยพระองค์เองในแปลงนา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานต่อชาวสยาม และข้าวไทย เป็นอย่างมาก

          ดังนั้น ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ รวมถึงคณะรัฐมนตรี จึงได้ให้ความเห็นชอบ ในการกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ โดยให้แยกออกจากวันพระราชพิธีพืชมงคล ที่หมายรวมถึงอาชีพการทำไร่ การทำสวน และเพื่อไม่ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องจัดเตรียมงานดังกล่าวชนกับพระราชพิธีพืชมงคล

          โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้มอบให้กรมการข้าวจัดงาน “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ” ครั้งแรก ภายใต้หัวข้อ "พระอัจฉริยภาพกว้างไกล ข้าวไทยก้าวหน้า ชาวนาไทยมั่งคั่ง" ในวันที่ 4-6 มิถุนายน 2553 ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 60 แห่งการบรมราชาภิเษก รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางด้านวิชาการ และวัฒนธรรม เพื่อให้คนทั่วโลกได้รู้จักความก้าวหน้าทางวิชาการของข้าวไทย

          ส่วนในปี 2555 กรมการข้าว ได้จัดงาน วันข้าวและชาวนาไทยแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 4-7 มิถุนายน ที่กรมการข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ซึ่งจะมีการแสดงพันธุ์ข้าวที่วิจัยขึ้นใหม่เพื่อให้เกษตรกรได้คุณภาพข้าวที่ดี รวมถึงมีการจำลองวิถีชีวิต และวัฒนธรรมการผลิตพันธุ์ข้าวของ 11 กลุ่มชาติพันธุ์ ไปจนถึงการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีด้านการผลิตข้าว เพื่อสร้างความยั่งยืนในอาชีพชาวนา ด้วยระบบการปลูกข้าวใหม่ เป็นต้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก


-http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/57192/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html-

-http://hilight.kapook.com/view/72162-

.