ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 05:46:57 am »

สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
6 มิถุนายน 2555 12:57 น.    




 ทุกสิ่งย่อมมี ‘นั้น’ ในตัวเอง ทุกสิ่งย่อมมี ‘นี้’ ในตัวเอง หากมองจากมุมมองของ ‘นั้น’ เราก็ไม่อาจเห็นมันได้ แต่หากใช้ความเข้าใจ เราก็สามารถรับรู้ถึงมันได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ‘นั้น’ เกิดจาก ‘นี้’ และ ‘นี้’ ขึ้นอยู่กับ ‘นั้น’ จึงอาจกล่าวได้ว่า ‘นี้’ และ ‘นั้น’ ต่างให้กำเนิดแก่กันและกัน แต่ที่ใดมีการเกิดย่อมมีการตาย ที่ใดมีการตายย่อมมีการเกิด ที่ใดมีการยอมรับย่อมมีการไม่ยอมรับ ที่ใดมีการไม่ยอมรับก็ย่อมมีการยอมรับ ดังนั้นปราชญ์จึงไม่ดำเนินตามหนทางนี้ หากแต่ใช้ความกระจ่างแห่งฟ้าในการตัดสินทุกสิ่ง
       
       ในภาวะที่ ‘นี้’ และ ‘นั้น’ ไม่มีด้านตรงข้ามของมันอีกต่อไปนั้น เรียกว่าแกนของเต๋า
       
       ที่อาจยอมรับเราเรียกว่าการยอมรับ ที่ไม่อาจยอมรับเราเรียกว่าการไม่ยอมรับ ถนนหนทางเกิดขึ้นจากการที่ผู้คนเดินเหยียบย่ำไป สิ่งต่างๆเป็นเช่นนั้นเพราะพวกมันถูกเรียกเช่นนั้น
       
       ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าท่านจะชี้ไปที่กิ่งก้านอันบอบบางหรือเสาต้นใหญ่ คนป่วยโรคเรื้อนหรือสาวงามนามระบือไซซี สิ่งหยาบช้าสามานย์ หรือสิ่งวิจิตรพิสดาร เต๋าได้ผนึกรวมสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งเดียว ความแตกต่างระหว่างสิ่งเหล่านี้คือความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม ความสมบูรณ์ของสิ่งเหล่านี้คือความขาดพร่อง ไม่มีสิ่งใดที่สมบูรณ์หรือขาดพร่องไป แต่ทุกสิ่งถูกผนึกรวมเข้าเป็น ‘หนึ่ง’ มีเพียงผู้หยั่งเห็นที่อาจผนวกรวมสิ่งเหล่านี้เข้าเป็น ‘หนึ่ง’
       
       แต่การใช้สมองขบคิดเพื่อพยายามเข้าใจถึง ‘หนึ่ง’ โดยมิตระหนักรู้ว่าทุกสิ่งล้วนเป็นเฉกเช่นกัน นี่เรียกว่า ‘เช้าสาม’ ‘เช้าสาม’ นั้นหมายความว่าอย่างไร? เมื่อผู้ฝึกนำผลเกาลัดมาให้ฝูงลิง แล้วบอกว่า “พวกเจ้าจะได้กินในตอนเช้าสามลูก และตอนเย็นสี่ลูก” ฝูงลิงต่างไม่พอใจส่งเสียงร้องเกรี้ยวกราด “เอาล่ะ พวกเจ้าจะได้กินในตอนเช้าสี่ลูก และตอนเย็นสามลูก” ฝูงลิงต่างดีใจกระโดดลิงโลด ความจริงเบื้องหลังคำพูดนี้ไม่ได้แตกต่างกัน แต่กลับทำให้ฝูงลิงบังเกิดความดีใจและโกรธเกรี้ยว ปล่อยมันไปเถิด หากมันต้องการเช่นนั้น ปราชญ์จึงประสานกลมกลืนกับทั้งความถูกความผิด และผ่อนพักในสรวงสวรรค์แห่งความเสมอภาค นี้เรียกว่าการเดินบนเส้นทางคู่.
       
       แปลเรียบเรียงตัดตอนจากหนังสือจวงจื่อ(庄子) บทที่สอง สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว 《齐物论》


-http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000069215-

.

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000069215

.