ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 10:27:40 am »





นิทานคติ - ผลน้ำเต้ายักษ์  ยาขี้ผึ้งกันมือแตก
โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์

ฮุ่ยจื่อ กล่าวแก่จวงจื่อว่า “เว่ยหวัง ได้มอบเมล็ดพันธุ์น้ำเต้ายักษ์แก่ข้า และข้าก็ได้นำมาปลูกจนเติบใหญ่ ออกผลใหญ่โตบรรจุได้ห้าหาบ ข้าพยายามใช้มันเป็นภาชนะบรรจุน้ำ แต่ก็หนักจนเกินกว่าจะยกขึ้น จึงได้ผ่ามันออกเป็นสองซีกทำเป็นกระบวย กระนั้นก็ยังใหญ่เกินกว่าที่จะจ้วงลงไปตักตวงสิ่งใดขึ้นมา มิใช่เพราะความใหญ่ของน้ำเต้ายักษ์นั่น แต่ด้วยข้าคิดว่ามันไม่มีประโยชน์ใช้สอยอันใด จึงได้ทุบมันแตกแหลกเป็นเศษเสี้ยว”
       
       จวงจื่อกล่าวว่า “ท่านดูไม่ถนัดในการใช้สอยสิ่งใหญ่ ในแคว้นซ่งมีชายผู้หนึ่งมีสูตรทำยาขี้ผึ้งป้องกันมือแตกในฤดูหนาว คนในตระกูลนี้รุ่นแล้วรุ่นเล่าได้ใช้ขี้ผึ้งทามือฟอกเส้นใยไหมยังชีพ ชายนักเดินทางคนหนึ่งได้ยินเรื่องนี้จึงขอซื้อสูตรยาขี้ผึ้งนี้ด้วยราคาร้อยตำลึงทอง ชายหัวหน้าครอบครัวได้ปรึกษาสมาชิกในบ้าน ‘ตระกูลเราฟอกไหมมาหลายชั่วคนแล้ว แต่ก็ไม่เคยทำเงินได้มากกว่าสองสามตำลึงทอง ดังนั้นหากเรายอมขายสูตรลับนี้ ก็จะได้ทองถึงร้อยตำลึงในชั่วข้ามคืน ขายให้เขาไปเถอะ’ ดังนี้ ชายนักเดินทางจึงได้สูตรยานี้ และนำไปถวายอู๋หวัง ซึ่งกำลังติดพันศึกกับแคว้นเย่ว์ อู๋หวังส่งชายผู้นี้ไปเป็นแม่ทัพ ในฤดูหนาวปีนั้น กองทัพอู๋ได้สู้รบทางเรือกับกองทัพเย่ว์และตีทัพศัตรูแตกพ่าย ด้วยอานิสงส์ของขี้ผึ้งที่ช่วยรักษามือของเหล่าทหารให้ถืออาวุธได้มั่นคง ชายนักเดินทางจึงได้รับปูนบำเหน็จรางวัลเป็นที่ดินศักดินาจากดินแดนที่พิชิตมาได้นั้น
       
       ขี้ผึ้งตัวเดียวกันนี้ มีคุณค่าในการรักษามือเฉกเช่นกัน แต่คนหนึ่งได้รับประโยชน์จากมันมากถึงที่ดินศักดินา ขณะที่อีกคนกลับไม่เคยได้รับประโยชน์จากมันมากไปกว่าการยังชีพและฟอกไหมไปวันๆ พวกเขาได้ใช้ขี้ผึ้งในทางที่แตกต่างกัน ขณะนี้ท่านมีน้ำเต้ายักษ์ซึ่งบรรจุได้ถึงห้าหาบ ทำไมไม่คิดนำมันมาทำเป็นเรือล่องไปตามลำน้ำ แทนที่จะหงุดหงิดรำคาญกับความใหญ่เทอะทะและบ่นว่ามันไร้ประโยชน์ ไยท่านช่างปล่อยให้วัชพืชขึ้นรกภายในจิตใจถึงปานนี้!


       แปลเรียบเรียงตัดตอนจากหนังสือจวงจื่อ(庄子) บทที่หนึ่ง อิสรจร逍遥游