ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 07, 2012, 09:43:52 pm »เตือนนักชอปออนไลน์-เฟซบุ๊ก ระวังเจอของก๊อบเกรดเอ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 มิถุนายน 2555 17:30 น.
เอกชนแฉของเถื่อนเกลื่อนเมือง โชว์สถิติคนไทยใช้ของแท้แค่ 1 ใน 500 คน เผยเหตุหาซื้อได้ง่ายทั้งในห้าง ตลาดนัด แถมเจ้าหน้าที่รู้เห็นเป็นใจรับส่วย เตือนนักชอปของหิ้ว ขายตามเน็ต เฟซบุ๊ก ระวังเจอย้อมแมวนำของก๊อบเกรดเอมาขาย
น.ส.มาลา ตั้งประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเลคทีฟ เทรดมาร์ค ยูเนี่ยน (ไทยแลนด์) ตัวแทนนำเข้าสินค้าแบรนด์เนม 70 ยี่ห้อ เช่น ROLEX Burberry Chanel เป็นต้น เปิดเผยว่า การแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของไทยถือว่าล้มเหลว เพราะยังพบสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนาฬิกา เสื้อผ้า เครื่องประดับ รถยนต์ ภาพยนตร์ เพลง โดยมีการซื้อขายอย่างโจ่งแจ้ง ที่สำคัญที่คนไทยยังมีสถิติการใช้ของปลอมเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ประเมินได้ว่ามีคนไทยใช้สินค้าของแท้เพียง 1 ใน 500 คนเท่านั้น ที่เหลือเป็นยอดใช้ของปลอมมากถึง 499 คน
สาเหตุที่สินค้าปลอมระบาดเนื่องจากมีการซื้อหาได้ง่าย ทั้งบนถนน ข้างทาง ตลาดนัด ย่านการค้า แม้กระทั่งห้างสรรพสินค้า หรือแหล่งท่องเที่ยวล้วนมีของปลอมขายทั้งหมด เช่น ย่านพัฒน์พงษ์ ประตูน้ำ มาบุญครอง ทั้งในและนอกห้าง หรือในต่างจังหวัด เช่น หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต จ.เชียงใหม่ โดยเจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลยในการปราบปราม เพราะได้รับผลประโยชน์จากผู้ค้า หรือเจ้าหน้าที่บางรายเป็นสายเสียเอง เวลามีการตรวจจับก็ส่ง SMS ไปแจ้งให้เก็บสินค้าหรือปิดร้าน
ทั้งนี้ ขอเตือนให้ผู้ที่นิยมสินค้าแบรนด์เนมระมัดระวังในการเลือกซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้พบว่ามีขบวนนำสินค้าปลอมแบบแนบเนียน หรือก๊อบปี้เกรดเอมาจำหน่ายและแอบอ้างเป็นของแท้จำหน่ายมากขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะตามอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ หรือแม้แต่โซเชียลเน็ตเวิร์ก เฟซบุ๊ก ซึ่งตรวจสอบได้ยากเพราะไม่มีสต๊อกและไม่มีหน้าร้านชัดเจน จึงอยากแนะนำให้ซื้อสินค้าจากร้านตัวแทนจำหน่ายโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ
น.ส.สุคนทิพย์ จิตมงคลทอง ทนายความบริษัท ดิลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชันแนล ผู้ดูแลลิขสิทธิ์ของฮอนด้า กล่าวว่า ฮอนด้ากำลังฟ้องร้องบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์ของฮอนด้า โดยพบว่ามีการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่จากต่างประเทศเพื่อนำมาประกอบเป็นรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซึ่งนอกจากทำให้บริษัทเสียหายแล้ว ยังทำให้ผู้บริโภคเกิดอันตรายจากการขับขี่ เพราะจักรยานยนต์ไม่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยจากบริษัท และในต่างประเทศยังพบว่ามีการปลอมรถยนต์ฮอนด้าซีอาร์วี ออกขายด้วย
นายดิเรกฤทธิ์ ภมมางกูร บริษัท สัตยะพล แอนด์ พาร์ทเนอร์ส ผู้ดูแลลิขสิทธิ์สินค้าแอร์เมส กล่าวว่า สินค้าลิขสิทธิ์มีกระบวนการผลิตพิถีพิถันทุกขั้นตอน และมีการรับประกันดูแลหลังการค้าอย่างดี มีคุณภาพดีคุ้มค่ากว่าแม้ราคาแพงก็ตาม ในขณะที่ของปลอมต้นทุนจะไม่มี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วิธีการตรวจดูของแท้และของปลอม ขอให้ผู้บริโภคซื้อจากตัวแทนจำหน่ายเป็นหลัก เพราะหากซื้อที่อื่นมีความเสี่ยงที่จะเป็นของปลอมสูงมาก เช่น รองเท้าฟิตฟลอป ตัวแทนจำหน่ายขาย 2,500 บาท แต่ในซอยละลายทรัพย์ หรือตลาดนัดทั่วไปขาย 2,000 บาท ซึ่งมีผู้บริโภคหลงผิดซื้อไปจำนวนมาก ที่สำคัญยังไม่มีคุณสมบัติในการดูแลสุขภาพได้
-http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9550000070081-
.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 มิถุนายน 2555 17:30 น.
เอกชนแฉของเถื่อนเกลื่อนเมือง โชว์สถิติคนไทยใช้ของแท้แค่ 1 ใน 500 คน เผยเหตุหาซื้อได้ง่ายทั้งในห้าง ตลาดนัด แถมเจ้าหน้าที่รู้เห็นเป็นใจรับส่วย เตือนนักชอปของหิ้ว ขายตามเน็ต เฟซบุ๊ก ระวังเจอย้อมแมวนำของก๊อบเกรดเอมาขาย
น.ส.มาลา ตั้งประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเลคทีฟ เทรดมาร์ค ยูเนี่ยน (ไทยแลนด์) ตัวแทนนำเข้าสินค้าแบรนด์เนม 70 ยี่ห้อ เช่น ROLEX Burberry Chanel เป็นต้น เปิดเผยว่า การแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของไทยถือว่าล้มเหลว เพราะยังพบสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนาฬิกา เสื้อผ้า เครื่องประดับ รถยนต์ ภาพยนตร์ เพลง โดยมีการซื้อขายอย่างโจ่งแจ้ง ที่สำคัญที่คนไทยยังมีสถิติการใช้ของปลอมเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ประเมินได้ว่ามีคนไทยใช้สินค้าของแท้เพียง 1 ใน 500 คนเท่านั้น ที่เหลือเป็นยอดใช้ของปลอมมากถึง 499 คน
สาเหตุที่สินค้าปลอมระบาดเนื่องจากมีการซื้อหาได้ง่าย ทั้งบนถนน ข้างทาง ตลาดนัด ย่านการค้า แม้กระทั่งห้างสรรพสินค้า หรือแหล่งท่องเที่ยวล้วนมีของปลอมขายทั้งหมด เช่น ย่านพัฒน์พงษ์ ประตูน้ำ มาบุญครอง ทั้งในและนอกห้าง หรือในต่างจังหวัด เช่น หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต จ.เชียงใหม่ โดยเจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลยในการปราบปราม เพราะได้รับผลประโยชน์จากผู้ค้า หรือเจ้าหน้าที่บางรายเป็นสายเสียเอง เวลามีการตรวจจับก็ส่ง SMS ไปแจ้งให้เก็บสินค้าหรือปิดร้าน
ทั้งนี้ ขอเตือนให้ผู้ที่นิยมสินค้าแบรนด์เนมระมัดระวังในการเลือกซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้พบว่ามีขบวนนำสินค้าปลอมแบบแนบเนียน หรือก๊อบปี้เกรดเอมาจำหน่ายและแอบอ้างเป็นของแท้จำหน่ายมากขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะตามอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ หรือแม้แต่โซเชียลเน็ตเวิร์ก เฟซบุ๊ก ซึ่งตรวจสอบได้ยากเพราะไม่มีสต๊อกและไม่มีหน้าร้านชัดเจน จึงอยากแนะนำให้ซื้อสินค้าจากร้านตัวแทนจำหน่ายโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ
น.ส.สุคนทิพย์ จิตมงคลทอง ทนายความบริษัท ดิลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชันแนล ผู้ดูแลลิขสิทธิ์ของฮอนด้า กล่าวว่า ฮอนด้ากำลังฟ้องร้องบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์ของฮอนด้า โดยพบว่ามีการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่จากต่างประเทศเพื่อนำมาประกอบเป็นรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซึ่งนอกจากทำให้บริษัทเสียหายแล้ว ยังทำให้ผู้บริโภคเกิดอันตรายจากการขับขี่ เพราะจักรยานยนต์ไม่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยจากบริษัท และในต่างประเทศยังพบว่ามีการปลอมรถยนต์ฮอนด้าซีอาร์วี ออกขายด้วย
นายดิเรกฤทธิ์ ภมมางกูร บริษัท สัตยะพล แอนด์ พาร์ทเนอร์ส ผู้ดูแลลิขสิทธิ์สินค้าแอร์เมส กล่าวว่า สินค้าลิขสิทธิ์มีกระบวนการผลิตพิถีพิถันทุกขั้นตอน และมีการรับประกันดูแลหลังการค้าอย่างดี มีคุณภาพดีคุ้มค่ากว่าแม้ราคาแพงก็ตาม ในขณะที่ของปลอมต้นทุนจะไม่มี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วิธีการตรวจดูของแท้และของปลอม ขอให้ผู้บริโภคซื้อจากตัวแทนจำหน่ายเป็นหลัก เพราะหากซื้อที่อื่นมีความเสี่ยงที่จะเป็นของปลอมสูงมาก เช่น รองเท้าฟิตฟลอป ตัวแทนจำหน่ายขาย 2,500 บาท แต่ในซอยละลายทรัพย์ หรือตลาดนัดทั่วไปขาย 2,000 บาท ซึ่งมีผู้บริโภคหลงผิดซื้อไปจำนวนมาก ที่สำคัญยังไม่มีคุณสมบัติในการดูแลสุขภาพได้
-http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9550000070081-
.