ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 06:14:40 pm »




11. เรื่องนายกาละบุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภนายกาละบุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ปฐพฺยา  เอกราเชน  เป็นต้น

นายกาละ บุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  จะปลีกตัวออกห่าง  เมื่อพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จมาที่บ้าน  ท่านเศรษฐี มีความหวั่นเกรงว่า  หากบุตรชายยังประพฤติตัวอย่างนี้   ก็จะไม่แคล้วไปตกนรก   จึงต้องการแก้ไขพฤติกรรมของบุตรชาย  ด้วยการใช้กุศโลบายใช้เงินเป็นตัวล่อ   โดยท่านเศรษฐีได้บอกกับบุตรว่า  จะให้เงิน 100 กหาปณะ หากบุตรรักษาอุโบสถ และไปวัดฟังธรรม  นายกาละผู้บุตรก็ได้รับอุโบสถ แล้วนอนค้างที่วัดและกลับมาในเช้าตรู่วันรุ่งขึ้นโดยที่ไม่ได้ฟังธรรม  เมื่อบุตรกลับมาจากวัด  ท่านเศรษฐีพูดขึ้นว่า   “บุตรของเราได้เป็นผู้รักษาอุโบสถ  ท่านทั้งหลายจงนำข้าวต้มเป็นต้นมาให้เขาเร็ว”  แต่บุตรบอกเศรษฐีผู้บิดาว่าจะรับประทานอาหารก็ต่อเมื่อได้เงิน 100 กหาปณะก่อนเท่านั้น  เศรษฐีก็ได้ให้เงินจำนวนนั้นแก่บุตร   และบุตรก็จึงยอมรับประทานอาหาร

ในวันรุ่งขึ้น  บิดาก็ได้กล่าวกับบุตรอีกว่า  “พ่อคุณ  เราจักให้กหาปณะพันหนึ่งแก่เจ้า  เจ้าจงยืนตรงพระพักตร์ของพระศาสดา  เรียนเอาบทแห่งธรรมให้ได้บทหนึ่งแล้วพึงมา”  นายกาละผู้บุตรก็ได้ไปที่วัดอีกครั้งหนึ่ง  และได้ตั้งใจว่าจะเรียนธรรมให้ได้สักบทหนึ่งก็จะรีบกลับบ้าน  พระศาสดาได้ทรงบันดาลให้นายกาละจำบทธรรมอะไรไม่ได้สักบท  แม้จะพยายามอย่างไรก็จำไม่ได้  แต่พอนายกาละยืนฟังนานๆเข้าด้วยจิตใจจดจ่อก็จึงได้บรรลุโสดาบัน

ในวันรุ่งขึ้น  นายกาละนั้นเข้าไปสู่กรุงสาวัตถี  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  มีพระศาสดาเป็นประมุข  ท่านเศรษฐีพอเห็นบุตรเดินมาก็นึกชอบใจ  แต่ทว่าในวันนี้  พฤติกรรมของนายกาละ  ไม่เหมือนวันวาน  วันนี้เขากลับตั้งจิตอธิษฐานขออย่าให้บิดานำเงินมาให้ตนต่อเบื้องพระพักตร์ของพระศาสดา  และขอให้ช่วยปกปิดเรื่องที่ตนไปรักษาอุโบสถเพื่อแลกกับเงินหนึ่งพันกหาปณะ 

เศรษฐีได้ถวายภัตตาหารแด่พระศาสดาและภิกษุสงฆ์  และสั่งให้คนยกอาหารมาให้บุตรด้วย   นายกาละก็ได้นั่งรับประทานอาหารด้วยอาการนิ่งสงบ  ในเวลาเสร็จภัตกิจของพระศาสดา  เศรษฐีให้คนวางห่อปหาปณะพันหนึ่งไว้ตรงหน้าบุตรแล้ว พูดว่า  “พ่อคุณ  นี่ไงเงินจำนวนหนึ่งพันกหาปณะที่พ่อรับปากว่าจะให้ลูกหากลูกไปสมาทานอุโบสถและฟังธรรมในวัด”    นายกาละเห็นบิดาให้คนนำถุงเงินมาให้ตนต่อเบื้องพระพักตร์ของพระศาสดา ก็นึกละอายแก่ใจ พูดว่า  ผมไม่รับ   แม้จะถูกคะยั้นคะยอให้รับอย่างไร  ก็บอกว่า  ไม่รับ ๆ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี   ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว  กราบทูลว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  วันนี้  ข้าพระองค์  ชอบใจอาการของบุตร”  เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า  “เรื่องอะไรหรือ มหาเศรษฐี”  จึงกราบทูลว่า  “ในวันก่อน  บุตรของข้าพระองค์นี้  อันข้าพระองค์พูดว่า  เราจักให้กหาปณะแก่เจ้า  แล้วส่งไปวิหาร  ในวันรุ่งขึ้น  ยังไม่ได้รับกหาปณะแล้ว  ไม่ปรารถนาจะบริโภคอาหาร  แต่วันนี้  เขาไม่ปรารถนากหาปณะแม้ที่ข้าพระองค์ให้
พระศาสดาตรัสว่า  “ อย่างนั้น  มหาเศรษฐี  วันนี้  โสดาปัตติผลนั่นแล  ของบุตรของท่าน  ประเสริฐแม้กว่าสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ  แม้กว่าสมบัติในเทวโลก และพรหมโลก
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ปฐพฺยา  เอกรชฺเชน
สคฺคสฺส  คมเนน วา
สพฺพโลกาธิปัจฺเจน
โสตาปตฺติผลํ  วรํ ฯ


(อ่านว่า)
ปะถับพะยา  เอกะรัดเชนะ
สักคัดสะ  คะมะเนะ วา
สับพะโลกาทิปัดเจนะ
โสตาปัดติผะลัง  วะรัง.
 
(แปลว่า)
โสดาปัตติผล
ประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน
กว่าการไปสู่สวรรค์

และกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง.

 
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น .



เรื่องย่อและพระคาถาพระธรรมบท 
(๑๗ พ.ย.๕๑)
-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/2008/11/17/entry-4

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 05:25:06 pm »



10..เรื่องอสทิสทาน

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภอสทิสทาน  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น  เว  กทริยา  เทวโลกํ  วชนฺติ  เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง   พระเจ้าปเสนทิโกศล  ทรงถวายมหาทานแด่พระศาสดาและภิกษุทั้งหลาย  พวกชาวเมืองซึ่งเป็นพสกนิกรของพระราชา  ต้องการแข่งขันการให้ทานกับราชา  จึงได้จัดพิธีให้ทานที่ยิ่งใหญ่กว่าทานของพระราชา  และทั้งสองฝ่ายได้แข่งขันถวายทานกันยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ  ในที่สุด พระนางมัลลิกาเทวี  พระมเหสีของพระราชา  ได้ทรงคิดแผนการให้ทานที่ยิ่งใหญ่เพื่อให้ชนะทานของชาวเมือง  และพระนางก็ได้ดำเนินแผนนั้น  โดยได้ทูลพระราชาให้ทรงสร้างมณฑปที่นั่งขนาดใหญ่สำหรับเป็นที่นั่งของภิกษุสงฆ์ 500  รูป  กับให้ทรงสร้างเศวตฉัตร  500 คัน  และตระเตรียมช้าง 500 เชือก คอยถือเศวตฉัตร 500 คันกั้นอยู่เบื้องบนศีรษะของภิกษุสงฆ์ 500 รูปนั้น  ที่ตรงกลางมณฑปขนาดใหญ่นั้น  ทรงให้สร้างเรือทองคำสีสุกใสไว้ 8-10 ลำ  เรือแต่ละลำบรรจุไว้ด้วยของหอมที่บดโดยบรรดาเจ้าหญิงทั้งหลาย  และก็ยังเตรียมเจ้าหญิงจำนวน  250  องค์ไว้คอยนั่งพัดภิกษุสงฆ์องค์ละ 2 รูป   เมื่อการเตรียมการทั้งหลายสำเร็จเสร็จสิ้นตามแผนแล้ว  ก็ได้มีการถวายมหาทาน  มหาทานครั้งนี้มีความยิ่งใหญ่หาทานอื่นใดเทียบมิได้ จึงเรียกชื่อว่า  อสทิสทาน  ซึ่งตำราบอกว่า  อสทิสทานนี้มีแก่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์  พระองค์ละครั้งเท่านั้น   และเป็นทานที่มีสตรีเป็นผู้จัดแจงเพื่อถวายพระศาสดาและพระภิกษุสงฆ์

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลมีอำมาตย์ 2 คน  คนหนึ่งชื่อกาฬะ  อีกคนหนึ่งชื่อชุณหะ   กาฬอำมาตย์ มีความเห็นว่า  การทำทานอันยิ่งใหญ่ของพระราชา  ทรงใช้งบประมาณถึง  14 โกฏิ   เป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ  พระภิกษุสงฆ์ฉันแล้วก็ไม่ทำการงานอะไร  ฉันแล้วก็กลับวัดไปนอนหลับในกุฏิเท่านั้นเอง  ส่วนชุณหอำมาตย์เห็นด้วยกับมหาทานที่พระราชาทรงจัดทำในครั้งนี้  และได้กล่าวอนุโมทนาทานนี้   ในที่สุดภัตกิจของพระศาสดา  พระราชาทรงรับบาตรเพื่อให้พระศาสดาตรัสอนุโมทนา    พระศาสดาทรงทราบว่ากาฬอำมาตย์ไม่เห็นด้วยกับมหาทานครั้งนี้  และหากพระองค์ทรงกล่าวอนุโมทนกถา ชมเชยมหาทานยืดยาวนัก ก็จะไปขัดใจกาฬอำมาตย์  และจะส่งผลให้กาฬอำมาตย์โกรธและไปตกนรกได้ พระศาสดาต้องการจะอนุเคราะห์แก่กาฬอำมาตย์จึงตรัสอนุโมทนกถาแต่เพียงสั้นๆ จากนั้นได้เสด็จกลับพระเชตวัน

พระราชามีพระประสงค์จะให้พระศาสดาทรงกล่าวอนุโมทนกถายาวๆ แต่เมื่อพระศาสดาทรงกล่าวอนุโมทนกถาสั้นๆเช่นนี้  ก็มีความสงสัยว่าได้ทรงดำเนินการขาดตกบกพร่องอะไรไปหรือไม่  จึงเสด็จไปทูลถามพระศาสดา  พระศาสดาตรัสกับพระราชาว่า “ “มหาบพิตร  พระองค์ถวายทานอันสมควรแล้วทีเดียว  ก็ทานนั่น  ชื่ออสทิสทาน  ใครๆอาจเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง  ครั้งเดียวเท่านั้น  ธรรมดาทานเห็นปานนี้  เป็นของยากที่บุคคลจะถวายอีก”  แต่ที่พระองค์ทรงกล่าวอนุโมทนกถาสั้นๆนั้นเพราะ “บริษัทไม่บริสุทธิ์”  และได้ตรัสบอกถึงความคิดคัดค้านทานของกาฬอำมาตย์ และความคิดเห็นด้วยกับทานของชุณหอำมาตย์ให้พระราชาทรงทราบ    เมื่อพระราชาสืบสวนจนเป็นที่แน่ชัดแล้ว  ก็รับสั่งให้เนรเทศกาฬอำมาตย์นั้นออกจากแว่นแคว้น  และพระราชทานราชทรัพย์ให้แก่ชุณหอำมาตย์เพื่อจัดถวายทานเป็นเวลา 7 วัน  กับได้ทรงมอบราชสมบัติให้ชุณหอำมาตย์ครอบครองเป็นเวลา 7 วันด้วย   

จากนั้นพระราชาได้กราบทูลพระศาสดาว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ขอพระองค์จงทอดพระเนตร การทำของคนพาล  เขาได้ให้ความลบหลู่ในทาน  ที่หม่อมฉันถวายแล้ว

พระศาสดาตรัสว่า  “อย่างนั้น  มหาบพิตร  ขึ้นชื่อว่าพวกคนพาล  ไม่ยินดีทานของผู้อื่น  เป็นผู้มีทุคติเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้า  ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทานแม้ของชนเหล่าอื่น  จึงเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไป ณ เบื้องหน้าโดยแท้
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

น   เว  กทริยา  เทวโลกํ  วชนฺติ
พาลา  หเว  นปฺปสํสนฺติ  ทานํ
ธีโร  จ  ทานํ  อนุโมทมาโน
เตเนวะ  โส  โหติ  สุขี  ปรตฺถ  ฯ


(อ่านว่า)
นะ  เว  กะทะริยา  เทวะโลกัง  วะชันติ
พาลา  หะเว  นับปะสังสันติ  ทานัง
ทีโร  จะ  ทานัง  อะนุโมทะมาโน
เตเนวะ  โส  โหติ  สุขี  ปะรัดถะ.

(แปลว่า)
พวกคนตระหนี่  จะไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย
พวกชนพาลแล  ย่อมไม่สรรเสริญทาน
ส่วนนักปราชญ์  อนุโมทนาทานอยู่

เพราะเหตุนั้นนั่นเอง
นักปราชญ์นั้น จึงเป็นผู้มีสุขในโลกหน้า
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชุณหอำมาตย์ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล   พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่บริษัทผู้ประชุมกัน  ชุณหอำมาตย์  ครั้นเป็นพระโสดาบันแล้ว  ได้ถวายทานอย่างที่พระราชาถวายแล้วสิ้น 7 วันเหมือนกัน.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 03:41:41 pm »



09.เรื่องนางจิญจมาณวิกา

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภนางจิญจมาณวิกา  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  เอกธมฺมมตีตสฺส เป็นต้น

ในปฐมโพธิกาล   พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  มีพวกเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้บรรลุอริยภูมิในชั้นต่างๆมีโสดาปัตติผลเป็นต้น  พระเกียรติคุณของพระศาสดาจึงได้ขจรขจายไปทั่วสารทิศ   ลาภและสักการะเป็นอันมากได้บังเกิดแด่พระศาสดา  เป็นที่ริษยาของบรรดาเดียรถีร์ทั้งหลาย   คนเหล่านี้จึงได้วางแผนที่จะทำลายเกียรติภูมิชื่อเสียงของพระศาสดา     โดยใช้นางงามชื่อจิญจมาณวิกาหนึ่งในศิษย์คนสำคัญของพวกเดียรถีร์เป็นเครื่องมือ  พวกเขากล่าวกับนางงามผู้นี้ว่า  “น้องหญิง  ถ้าเจ้าปรารถนาความสุขแก่เราทั้งหลายไซร้  จงยังโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดมแล้ว  ยังลาภสักการะให้ฉิบหายเพราะอาศัยตน” 

ในเย็นวันนั้นเอง  นางงามก็เริ่มทำตามแผน “นารีพิฆาต”  โดยนางมีมือถือดอกไม้และของหอมเป็นต้นเดินไปทางวัดพระเชตวัน  เมื่อคนทั้งหลายถามนางว่าจะไปไหน  นางก็ตอบว่า “พวกท่านอย่ารู้เลย”  จากนั้นนางก็ไปยังที่พำนักของพวกเดียรถีร์ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับวัดพระเชตวัน    และนางก็จะเดินกลับออกมาในช่วงเช้าวันรุ่งขึ้นโดยทำทีประหนึ่งว่านางเข้าไปนอนค้างแรมในวัดพระเชตวัน  เมื่อมีคนถามในช่วง 1-2 เดือนแรก นางก็จะบอกว่า  “ข้าพเจ้าไปค้างแรมกับพระสมณโคดม  ในพระคันธกุฎี  ในวัดพระเชตะวัน”  หลังจากเวลาผ่านไป 3-4 เดือน  นางก็นำผ้ามาผูกไว้ที่ท้องทำทีว่านางเริ่มตั้งครรภ์  และสร้างข่าวลือว่านางตั้งครรภ์กับพระศาสดา 

เมื่อเวลาผ่านไป 8-9 เดือน  นางก็นำไม้กลมๆมาผูกที่ท้องห่มผ้าทับไว้บ้างบน   ให้ทุบหลังมือและเท้าด้วยไม้คางโค  ให้มีอาการบวมตามร่างกาย  เหมือนหญิงครรภ์แก่ใกล้คลอด  จนถึงวันหนึ่ง  ในขณะที่พระศาสดาประทับนั่งแสดงธรรมบนธรรมาสน์  นางงามก็ไปสู่ธรรมสภา  ยืนตรงพระพักตร์ของพระศาสดา  กล่าว่า “  มหาสมณะ  พระองค์ดีแต่แสดงธรรมแก่มหาชน  เสียงของพระองค์ไพเราะ  พระโอษฐ์ของพระองค์สนิท  ส่วนหม่อมฉัน อาศัยพระองค์ได้เกิดมีครรภ์ครบกำหนดแล้ว  พระองค์ไม่ยอมจัดการหาสถานที่คลอดของหม่อมฉัน  ไม่ทรงจัดหาอุปกรณ์เครื่องบริหารครรภ์มีเนยใสและน้ำมันเป็นต้น  เมื่อไม่ทรงทำเอง  ก็น่าตรัสบอกพระเจ้าโกศล  อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือนางวิสาขามหาอุบาสิกา  คนใดคนหนึ่ง จัดการให้  พระองค์ทรงรู้แต่จะอภิรมย์เท่านั้น  ไม่ทรงรู้ในการจัดการบริหารครรภ์” 

พระศาสดาทรงหยุดแสดงธรรมชั่วขณะ  และตรัสว่า “ น้องหญิง  ความที่คำอันเจ้ากล่าวแล้ว  จะจริงหรือไม่  เราและเจ้าเท่านั้น  ย่อมรู้”  นางงามตอบว่า “ ถูกต้อง  มหาสมณะ    คนอื่นจะรู้ได้อย่างไร  พระองค์และหม่อมฉันเท่านั้นที่รู้”  ทันใดนั้นเอง  ท้าวสักกะเทวราช  ทรงทราบเหตุร้ายเกิดขึ้นที่วัดพระเชตวัน  จึงได้เสด็จจากสวรรค์มาที่นั่น   แล้วมีเทวบัญชาให้เทพบุตรจำแลงกายเป็นหนูปีนขึ้นไปกัดเชือกที่ผูกท่อนไม้กลมที่ท้องของนางงาม  เมื่อเชือกผูกถูกกัดขาด  ท่อนไม้กลมนั้นก็หลุดหล่นลงมาทับที่ปลายเท้าของนางงาม  เมื่อความลับของนางงามถูกเปิดเผย  ชาวบ้านก็ได้ร้องตะโกนสาปแช่ง  “นางกาลกิณี   เจ้าใส่ร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”  บ้างถ่มน้ำลายรดศีรษะของนาง  บ้างหยิบก้อนดิน บ้างหยิบท่อนไม้  วิ่งขับไล่นางงามออกจากพระเชตวัน  ตามเรื่องในพระคัมภีร์บรรยายในช่วงที่นางงามถูกธรณีสูบและไปเกิดในอเวจีมหานรกว่า “ครั้นในเวลานางล่วงคลองพระเนตรของพระตถาคตไป  แผ่นดินใหญ่แตกแยกเป็นช่องแล้ว  เปลวไฟตั้งขึ้นจากอเวจี  นางจิญจมาณวิกานั้น  ไปเกิดในอเวจี  เป็นเหมือนห่มผ้ากัมพลที่ตระกูลให้

ในวันรุ่งขึ้น  ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภา  ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นกับนางจิญจมาณวิกา  พระศาสดาได้ทรงสอบถามเรื่องและประเด็นของการสนทนา และตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น  ถึงในกาลก่อน  นางจิญจมาณวิกา  ก็ด่าเราด้วยคำไม่จริง  ถึงความพินาศแล้วเหมือนกัน”  แล้วตรัสเล่าเรื่องในมหาปทุมชาดก  ในทวาทสบิบาต  ซึ่งในชาดกดังกล่าวเล่าถึงพฤติกรรมของนางจิญจมาณวิกาเมื่อครั้งเป็นพระมเหสีของพระราชาและเป็นพระมารดาเลี้ยงของมหาปทุมกุมารพระโพธิสัตว์  ใช้อุบายเพื่อให้พระโพธิสัตว์เป็นชู้กับตน  เมื่อพระโพธิสัตว์ปฏิเสธก็ได้ทำการกลั่นแกล้ง จนพระโพธิสัตว์ ถูกจับตัวไปทิ้งลงเหว  แต่ไม่ได้รับอันตรายเพราะพระยานาคช่วยชีวิตเอาไว้  และภายหลังพระโพธิสัตว์ได้กลับมาครองราชสมบัติ  ส่วนนางจิญจมาณวิกา(พระมเหสีของพระราชา) ถูกจับไปโยนลงเหวสิ้นพระชนม์

พระศาสดา เมื่อตรัสเล่ามหาปทุมชาดกจบลงแล้ว  ได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  บุคคลผู้ละคำสัตย์ซึ่งเป็นธรรมอย่างเอก  และไม่สนใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปรโลก  ชื่อว่าจักไม่ทำบาปกรรม ย่อมไม่มี
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

เอกธมฺมมตีตสฺส
มุสาวาทิสฺส  ชนฺตุโน
วิติณฺณปรโลกสฺส
นตฺถิ  ปาปํ  อการิยํ  ฯ


(อ่านว่า)
เอกะทำมะมะตีตัดสะ
มุสาวาทิดสะ  ชันตุโน
วิตินนะปะระโลกัดสะ
นัดถิ  ปาปัง  อะการิยัง.

(แปลว่า)
บาปอันชนผู้ก้าวล่วงธรรมอย่างเอกเสีย
ผู้มักพูดเท็จ
ผู้มีปรโลกอันล่วงเลยเสียแล้ว

ไม่พึงทำ  ย่อมไม่มี.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น .

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 03:22:15 pm »



08.เรื่องภิกษุ  30  รูป

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุ  30  รูป   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  หํสา  อาทิจฺจปเถ  ยนฺติ  เป็นต้น

ในวันหนึ่ง  ภิกษุ 30 รูป เดินทางไปเข้าเฝ้าพระศาสดา  เมื่อตอนภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้านั้น   พระอานนท์กำลังอุปัฏฐากพระศาสดาอยู่  จึงได้ออกจากห้องไปอยู่ข้างนอก  หลังจากเวลาผ่านไปนานพอสมควร  พระอานนท์ก็ได้เข้าไปในห้อง  แต่ไม่พบภิกษุเหล่านั้นอยู่ในห้อง  จึงได้กราบทูลถามพระศาสดาว่า  ภิกษุเหล่านั้นไปไหนเสียแล้ว  พระศาสดาตรัสว่า   “ไปแล้ว”  พระอานนท์ “ไปทางไหน”  พระศาสดา “ไปทางอากาศ“   พระอานนท์ “ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์หรือ”  พระศาสดา “ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมในสำนักของเราแล้ว  ได้บรรลุพระอรหัต”  และในขณะนั้นมีหงส์บินไปทางอากาศ  พระศาสดาจึงตรัสว่า  “อานนท์  อิทธิบาท 4  อันผู้ใดเจริญดีแล้ว  ผู้นั้นย่อมไปโดยอากาศได้ดุจหงส์
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

หํสา  อาทิจฺจปเถ  ยนฺติ
อากาเส  ยนฺติ  อิทธิยา
นิยฺยนฺติ  ธีรา  โลกมฺหา
เชตฺวา  มารํ  สวาหนํ.


(อ่านว่า)
หังสา  อาทิดจะปะเถ  ยันติ
อากาเส  ยันติ   อิดทิยา
นิยยันติ  ทีรา  โลกัมหา
เชดตะวา  มารัง  สะวาหะนัง.

(แปลว่า)
หงส์ทั้งหลาย ย่อมไปในทางแห่งดวงอาทิตย์
ท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์
ธีรชนชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว

ย่อมออกไปจากโลกได้.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น .

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 03:15:30 pm »


 
07.เรื่องธิดาของนายช่างหูก

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในเจดีย์ชื่ออัคคาฬวะ  ทรงปรารภธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อนฺธภูโต  อยํ  โลโก เป็นต้น

วันหนึ่ง  พวกชาวอาฬวี  ในคราวที่พระศาสดาเสด็จไปที่เมืองอาฬวี  ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว  พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ  จึงตรัสว่า  “ท่านทั้งหลาย  จงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า  ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน  ความตายของเราแน่นอน  เราพึงตายแน่แท้  ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด  ชีวิตของเราไม่เที่ยง  ความตายเที่ยง  ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว  ในกาลที่สุด  ชนทั้งหลายนั้น  ย่อมถึงความสะดุ้ง  ร้องอย่างขลาดกลัวอยู่ทำกาละ  เหมือนบุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัวฉะนั้น  ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว  ชนทั้งหลายนั้น  ย่อมไม่สะดุ้ง  ในกาลเป็นที่สุด  ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกล  แล้วเอาท่อนไม้เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น  เพราะฉะนั้น  มรณสติอันท่านทั้งหลายพึงเจริญ”

พวกชาวบ้านอาฬวีทั้งหลาย  เมื่อฟังพระธรรมเทศนาแล้ว   ส่วนมากมัวแต่สนใจทำกิจการงานของตนๆ  ไม่สนใจนำธรรมที่พระศาสดาสั่งสอนไปปฏิบัติ  มีแต่ธิดาของนายช่างหูกวัย 16 ปีคนเดียว  ที่ฟังธรรมของพระศาสดาแล้ว มีความเข้าใจในสารัตถะ   และนำไปปฏิบัติ  หลังจากแสดงธรรมจบแล้ว  พระศาสดาก็ได้เสด็จกลับพระเชตวัน    ข้างธิดานายช่างหูกได้เจริญมรณสติอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสามปี   วันหนึ่ง  พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง  ทรงเห็นธิดาช่างหูกนั้น  เข้ามาอยู่ในข่ายคือพระญาณของพระองค์  ทรงใคร่ครวญแล้ว ทราบว่านางจะได้บรรลุโสดาปัตติผล
 
จึงได้เสด็จไปที่เมืองอาฬวีเพื่อแสดงธรรมแก่นางเป็นครั้งที่สอง  เมื่อธิดาช่างหูกได้ทราบข่าวว่าพระศาสดาเสด็จมา  พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป  ก็มีความประสงค์จะไปฟังธรรมของพระศาสดา  แต่ขณะนั้นนางได้รับคำสั่งจากบิดาว่าให้รีบกรอด้ายให้แล้วเสร็จเพื่อจะได้นำด้ายที่กรอแล้วนั้นไปทอผ้าที่ยังทอค้างอยู่  นางจึงรีบกรอด้ายอย่างขมีขมัน  เมื่อกรอด้ายเสร็จแล้วก็จะนำด้ายหลอดนั้นไปให้บิดา  ในระหว่างทางก็ได้หยุดอยู่ที่ข้างท้ายๆของผู้คนที่กำลังฟังธรรมของพระศาสดาอยู่นั้น    ในขณะเดียวกันพระศาสดาทรงทราบว่าธิดาช่างหูกจะมาฟังธรรมของพระองค์ และหลังจากฟังธรรมแล้วนางก็จะเสียชีวิตเมื่อไปยังที่ทอผ้า  จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งที่นางจะต้องได้ฟังธรรมในช่วงที่นางจะไปโรงทอผ้าไม่ใช่ในช่วงที่นางเดินทางกลับมา  ดังนั้น  เมื่อธิดาช่างหูกมาปรากฏตัวอยู่ข้างท้ายของผู้ฟังธรรมทั้งหลายนั้น  พระศาสดาได้จึงได้ทอดพระเนตรไปยังนาง  เมื่อนางเห็นพระศาสดาทอดพระเนตรมาที่นางเช่นนั้น  นางก็วางตะกร้าด้ายแล้วเข้าไปถวายบังคมพระศาสดา  พระศาสดาจึงได้ตรัสถามปัญหาต่างๆกับนางและนางก็ได้ตอบปัญหาเหล่านี้ดังต่อไปนี้

1.คำถาม  :  เธอมาจากไหน   คำตอบ : ไม่ทราบ  พระเจ้าข้า
2.คำถาม :  เธอจักไป ณ  ที่ไหน   คำตอบ :  ไม่ทราบ  พระเจ้าข้า
3.คำถาม : เธอไม่ทราบหรือ คำตอบ :  ทราบ  พระเจ้าข้า
4.คำถาม : เธอทราบหรือ      คำตอบ  : ไม่ทราบ  พระเจ้าข้า

ผู้คนที่ฟังธรรมอยู่นั้น  คิดว่าธิดาช่างหูกขาดความเคารพในพระศาสดา จึงตอบปัญหาแบบวกวนพูดไม่รู้เรื่อง   เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด  พระศาสดาจึงได้ขอให้ธิดาช่างหูกอธิบายคำตอบต่างๆนั้นอย่างละเอียด  นางจึงอธิบายว่า  พระศาสดาทราบเป็นอย่างดีแล้วว่า  นางมาจากบ้าน  แต่พระศาสดาถามในคำถามข้อที่หนึ่ง  ว่านางมาจากไหน   นางตีความหมายว่าพระศาสดาถามถึงภพภูมิในอดีตของนางก่อนจะมาเกิดในภูมิมนุษย์นี้  นางจึงตอบไปว่า  ไม่ทราบ   สำหรับปัญหาข้อที่สอง  นางตีความว่าพระศาสดาตรัสถามถึงภพภูมิในอนาคตที่นางจะไปเกิด  นางจึงตอบไปว่า  ไม่ทราบ   สำหรับคำถามข้อที่สาม  พระศาสดาคงจะหมายถึงว่า  นางรู้หรือไม่ว่าจะตายในวันหนึ่ง  นางจึงตอบไปว่า  ทราบ   ส่วนคำถามสุดท้าย  พระศาสดาคงจะหมายถึงว่า  นางจะตายเมื่อใด  นางจึงตอบไปว่า   ไม่ทราบ

พระศาสดาพอพระทัยในคำอธิบายของนาง  และได้ตรัสกับผู้มาฟังธรรมทั้งหลายว่า  “พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยคำชื่อมีประมาณเท่านี้  ที่นางกุมาริกากล่าวแล้ว  เพราะเอาแต่จะจับผิดอย่างเดียวเท่านั้น  เพราะจักษุคือปัญญาของชนเหล่าใดไม่มี  ชนเหล่านั้น เป็นดุจคนตาบอดทีเดียว  จักษุคือปัญญาของชนเหล่าใดมีอยู่  ชนเหล่านั้นนั่นแล  เป็นผู้มีจักษุ
จากนั้น  พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อนฺธภูโต  อยํ  โลโก
ตนุเกตฺถ  วิปสฺสติ
สกุโณ  ชาลมุตฺโตว
อปฺโป  สคฺคาย  คจฺฉติ  ฯ


(อ่านว่า)
อันทะพูโต  อะยัง  โลโก
ตะนุเกดถะ  วิปัดสะติ
สะกุโน  ชาละมุดโตวะ
อับโป  สักคายะ  คัดฉะติ.

(แปลว่า)
สัตวโลกนี้เป็นเหมือนคนบอด
ในโลกนี้น้อยคนจะเห็นแจ้งได้
น้อยคนจะไปสวรรค์
เหมือนนกหลุดจากข่าย มีน้อย ฉะนั้น
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ธิดาช่างหูกนั้น  ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนามีประโยชน์แม้แก่มหาชน.

หลังจากที่ได้สนทนาธรรมกับพระศาสดาแล้ว  ธิดาช่างหูกก็ถือตะกร้าด้ายหลอดไปที่บ้านของบิดา  และได้เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุ  โดยถูกฟืมทิ่มแทงที่หน้าอกจนถึงแก่ความตาย  และได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 02:51:24 pm »



06.เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระอังคุลิมาลเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ยสฺส  ปาปํ  กตํ  กมฺมํ  เป็นต้น

พระองคุลิมาลเถระ  เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต ในพระราชสำนักของพระเจ้าปเสนทิโกศล  มีนามเดิมว่าอหิงสกะ  เมื่อเจริญวัยแล้ว  ได้เดินทางไปศึกษาที่เมืองตักกสิลา อันเป็นเมืองมหาวิทยาลัยเลื่องชื่อในสมัยนั้น   อหิงสกะมีความเฉลียวฉลาดมาก  และเชื่อฟังในคำอบรมสั่งสอนของอาจารย์  จึงเป็นที่รักของอาจารย์ และภรรยาของอาจารย์   พวกศิษย์อื่นๆมีความริษยาอหิงสกะ  จึงไปพูดยุแหย่ส่อเสียดอาจารย์ว่าอหิงสกะเป็นชู้กับภรรยาของอาจารย์  ครั้งแรกอาจารย์ฟังแล้วก็ไม่เชื่อ  แต่พอพวกศิษย์พูดกรอกหูหลายครั้งเข้าก็เชื่อคำยุแหย่ของศิษย์นั้น  และรับปากว่าจะจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งกับอหิงสกะ  แต่การจะฆ่าศิษย์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดีจะทำลายเกียรติภูมิของอาจารย์ได้ 

อาจารย์จึงคิดวางแผนลึกซึ้งวางแผนให้คนอื่นฆ่าแทน  โดยบอกให้อหิงสกะไปฆ่าคนจำนวนหนึ่งพันคนจะเป็นหญิงหรือเป็นชายก็ได้  เมื่อทำสำเร็จอาจารย์ก็จะสอนศาสตร์ที่ล้ำค่าอย่างหนึ่งให้  อหิงสกะต้องการเรียนเรียนศาสตร์ชนิดนี้มาก  จึงได้ยินยอมพร้อมใจที่จะสังหารคนตามที่อาจารย์บอก  อหิงสกะฆ่าคนไปเรื่อยๆ และเพื่อให้ไม่ลืมจำนวน ก็ได้ตัดนิ้วมือของเหยื่อสังหารแต่ละคนมาทำเป็นพวงมาลัยแขวนไว้ที่คอ  ด้วยเหตุนี้อหิงสกะจึงมีชื่อ อังคุลิมาล(มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย) และเป็นที่หวาดหวั่นของผู้คนในชนบทเป็นอันมาก  พระราชาสดับเรื่องความโหดร้ายของอหิงสกะ จึงเตรียมการที่จะเสด็จไปปราบ  เมื่อนางมันตานี มารดาของอหิงสกะ ทราบว่าพระราชาจะเสด็จไปปราบบุตร  ก็รักและเป็นห่วงบุตร ได้ออกเดินทางเข้าไปในป่าเพื่อบอกบุตรให้รีบหนีไปเสีย  ขณะนั้นที่คอของอหิงสกะมีพวงมาลัยนิ้วมือจำนวน 999 นิ้ว  อีกนิ้วเดียวก็จะครบหนึ่งพัน

ในเช้าตรู่ของวันนั้น  พระศาสดาทรงทอดพระเนตรเห็นอังคุลิมาลเข้ามาในข่ายคือพระญาณของพระองค์  และทรงทราบว่า  หากพระองค์ไม่เสด็จไปโปรด  องคุลิมาลก็จะตามหาเหยื่อคนสุดท้ายก็จะไปพบและสังหารมารดา   อันจะส่งผลให้ประกอบอนันตริยกรรมในข้อมาตุฆาต(ฆ่ามารดา)   ดังนั้น พระศาสดาจึงเสด็จไปยังป่าอันเป็นที่อยู่ของอังคุลิมาล

อังคุลิมาล  หลังจากที่มิได้พักผ่อนหลับนอนเต็มตาหลายวันหลายคืนก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า  ในขณะเดียวกันก็มีความกระหายที่จะฆ่าคนให้ครบจำนวนหนึ่งพันตามโควต้าเพื่อให้บรรลุภารกิจที่รับมาจากอาจารย์  ได้ตกลงใจว่าจะฆ่าบุคคลคนแรกที่ตนพบ  เมื่อมองไปพบพระศาสดาอยู่เบื้องหน้าก็ได้วิ่งชูดาบติดตามไป  เมื่อวิ่งตามไปนานแต่วิ่งไม่ทันเสียที ในขณะที่ตัวเองก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามากเกือบจะสิ้นแรงอยู่รอมร่อ  จึงส่งเสียงร้องไปว่า  “พระหยุดก่อน  พระหยุดก่อน” และพระศาสดาได้ตรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว  แต่ท่านสิยังไม่หยุด”  อังคุลิมาลไม่เข้าใจคำพูดของพระศาสดา  จึงตะโกนถามไปว่า “ พระ ท่านทำไมพูดว่าท่านหยุดแล้ว และพูดว่า ข้าพเจ้ายังไม่หยุด”

พระศาสดาตรัสว่า  “ที่เราพูดว่าเราหยุดนั้น  หมายความว่า เราหยุดฆ่าล้างผลาญสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  เราหยุดทำร้ายสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  และเราตั้งตนอยู่ในเมตตาพรหมวิหาร กรุณาพรหมวิหาร  ในสัตว์ทั้งปวง   แต่ท่านสิยังฆ่าสัตว์อื่น  ยังทรมานสัตว์อื่น  และยังไม่ได้ตั้งตนในเมตตาพรหมวิหาร   กรุณาพรหมวิหาร   ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่าท่านสิยังไม่หยุด”  เมื่ออังคุลิมาลได้ฟังดำรัสของพระศาสดา  ก็คิดว่า “ คำพูดเหล่านี้ต้องเป็นคำพูดของบัณฑิต  ภิกษุนี้มีความเฉลียวฉลาดและมีความแกล้วกล้า  ท่านจักต้องเป็นผู้นำของภิกษุทั้งหลาย  ท่านจักต้องเป็นพระพุทธเจ้าแน่ๆ  ท่านจักต้องมาเพื่อประทานแสงสว่างแก่เราเป็นแน่” เมื่อคิดเช่นนี้แล้ว  อังคุลิมาลก็ได้วางดาบและขอให้พระศาสดาบวชให้เป็นภิกษุ   และต่อมาอังคุลิมาลก็บวชในสำนักของพระศาสดา

มารดาขององคุลิมาล  เที่ยวค้นหาบุตรชายและร้องเรียกชื่อของเขาทุกหนทุกแห่งในป่าแต่ไม่พบ  เมื่อค้นหาจนเหนื่อยก็เดินทางกลับบ้าน  เมื่อพระราชาและข้าราชบริพารจะมาจับอังคุลิมาล  ก็มาพบว่าอยู่ในวัดกับพระศาสดา และทรงทราบว่าได้ละทิ้งความชั่วทั้งปวงเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ พระราชาและข้าราชบริพารก็ได้เดินทางกลับ  ในระหว่างที่มาบวชอยู่ในวัด  พระองคุลิมาลได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างขะมักเขม้น จนในที่สุดชั่วเวลาไม่นานได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

วันหนึ่ง  ขณะที่พระอังคุลิมาลเดินไปบิณฑบาต  ได้มาถึงยังสถานที่แห่งหนึ่งที่พวกเด็กๆทะเลาะกันอยู่  และใช้ก้อนหินขว้างปากัน  มีก้อนหินก้อนหนึ่งลอยมากระทบถูกที่ศีรษะของพระองคุลิมาลได้รับบาดเจ็บสาหัส  พระองคุลิมาลได้เดินทางกลับไปเฝ้าพระศาสดา  และพระศาสดาตรัสปลอบว่า  “องคุลิมาล  เธอขจัดความชั่วออกไปได้หมดแล้ว  จงมีความอดทน  เธอกำลังชดใช้กรรมที่เคยได้กระทำในอดีตในชาตินี้  กรรมเหล่านี้จะทำให้เธอเสวยทุกข์ในนรกนานแสนนาน

หลังจากบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว  พระอังคุลิมาล ไปปลีกวิเวกเสวยวิมุติมุข  และได้เปล่งอุทานในเวลานั้นว่า”
ก็ผู้ใด  ประมาทแล้วในก่อน  ภายหลังไม่ประมาท  ผู้นั้น  ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง  เหมือนดวงจันทร์  พ้นจากหมอก  ฉะนั้น”

ครั้นเปล่งอุทานแล้ว  ก็ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า  “ผู้มีอายุ  พระเถระบังเกิดแล้ว  ณ  ที่ไหนหนอแล”  พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามถึงกระทู้ที่สนทนากันอยู่นั้น  จึงตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย   บุตรของเราปรินิพพานแล้ว”  เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลถามว่า “พระอังคุลิมาลเถระ  ฆ่ามนุษย์มีประมาณเท่านี้  ปรินิพพานได้หรือ ? พระเจ้าข้า”   จึงตรัสว่า  “อย่างนั้น  ภิกษุทั้งหลาย  เพราะอังคุลิมาลนั้น  ไม่ได้กัลยาณมิตรสักคนหนึ่ง  จึงได้ทำบาปมีประมาณเท่านี้  ในกาลก่อน  แต่ภายหลัง  เธอได้กัลยาณมิตรเป็นปัจจัย  จึงได้เป็นผู้ไม่ประมาท  เหตุนั้น  บาปกรรมนั้น  อันบุตรของเราละได้แล้วด้วยกุศล”
จากนั้น  พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ยสฺส  ปาปํ  กตํ  กมฺมํ
กุสเลน   ปหียติ
โสมํ  โลกํ  ปภาเสติ
อพฺภา  มุตฺโตว  จนฺทิมา  ฯ


(อ่านว่า)
ยัดสะ  ปาปัง  กะตัง  กัมมัง
กุสะเลนะ  ปะฮียะติ
โสมัง  โลกัง  ปะพาเสติ
อับพา  มุดโตวะ  จันทิมา.

(แปลว่า)
บุคคลใดละบาปที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วยกุศล
บุคคลนั้น  ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก  ฉะนั้น.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 02:16:22 pm »



05.เรื่องพระสัมมัชชนเถระ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภพระสัมมัชชนเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  โย  จ  ปุพฺเพ  ปมชฺชิตฺวา  เป็นต้น

พระสัมมัชชนเถระ  ทุกวันๆเสียเวลาทั้งหมดไปกับการกวาดบริเวณวัด  ในขณะนั้น  พระเรวตเถระได้ไปพักอยู่ในวัดแห่งเดียวกันนั้น  แต่พระเรวตเถระไม่เหมือนกับพระสัมมัชชนเถระ  โดยพระเถระรูปหลังนี้จะใช้เวลาให้หมดไปกับการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน  เมื่อพระสัมมัชชนเถระเห็นพฤติกรรมของพระเรวตเถระเป็นเช่นนั้น  ก็คิดว่าพระเรวตเถระเป็นพระเกียจคร้าน  จึงกล่าวว่า   “ท่านฉันอาหารของชาวบ้านที่เขาถวายด้วยศรัทธาแล้ว  ก็มัวแต่มานั่งหลับตา  ท่านถือไม้กวาดออกกวาดบริเวณวัด  จะไม่สมควรกว่าหรือ ?”   พระเรวตเถระตอบว่า  “คุณ  ธรรมดาภิกษุ  เที่ยวกวาดอยู่ตลอดเวลาไม่ควร  ภิกษุกวาดแต่เช้าตรู่แล้ว  เที่ยวบิณฑบาต  กลับจากบิณฑบาตแล้ว  มานั่งในที่พักกลางคืนหรือที่พักกลางวัน  สาธยายอาการ  32  เริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพแล้ว  ลุกขึ้นกวาดในเวลาเย็นจึงควร  ภิกษุไม่ควรกวาดตลอดกาลเป็นนิตย์  พึงสร้างโอกาสให้แก่ตนบ้าง”    พระสัมมัชชนเถระได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระเรวตเถระอย่างเคร่งครัด  และในที่สุดก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์    เมื่อพวกภิกษุอื่น มาเห็นขยะเกลื่อนกลาดอยู่ในบริเวณวัด  ก็ได้เรียนถามพระสัมมมัชชนเถระว่า  เพราะเหตุใดท่านจึงไม่เก็บกวาดขยะ  ปล่อยให้รกรุงรังอย่างนี้  พระสัมมัชชนเถระตอบว่า  “ท่านผู้เจริญ  กระผมทำแล้วอย่างนั้น  ในเวลาประมาท  บัดนี้  กระผมเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว”  ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่าพระสัมมัชชนเถระอวดอ้างตนว่าเป็นพระอรหันต์  และได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระศาสดาทรงทราบ  แต่พระศาสดาตรัสว่า  “อย่างนั้น  ภิกษุทั้งหลาย  บุตรของเราเที่ยวกวาดอยู่ในเวลาประมาทในก่อน  แต่บัดนี้  บุตรของเรายับยั้งอยู่ด้วยความสุขซึ่งเกิดแต่มรรคผล  จึงไม่กวาด”  เป็นการตรัสบอกว่า  พระสัมมัชชนเถระเป็นพระอรหันต์จริงๆ  และท่านก็ไม่ได้กล่าวเท็จ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โย  จ  ปุพฺเพ  ปมชฺชิตวา
ปจฺฉา  โส  นปฺปมชฺชติ
โสมํ  โลกํ  ปภาเสติ
อพฺภา  มุตฺโตว  จนฺทิมา  ฯ


(อ่านว่า)
โย  จะ  ปุบเพ  ปะมัดชิดตะวา
ปัดฉา  โส  นับปะมัดชะติ
โสมัง  โลกัง  ปะพาเสติ
อับพา  มุดโตวะ  จันทิมา.

(แปลว่า)
ก็ผู้ใดประมาทในก่อน
ภายหลังไม่ประมาท
ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้

เหมือนดวงจันทร์  พ้นจากเมฆหมอก  ฉะนั้น.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย   มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 02:03:31 pm »



04. เรื่องอภัยราชกุมาร

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภอภัยราชกุมาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  เอถ  ปสฺสถิมํ  โลกํ  เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง  อภัยราชกุมารทรงมีชัยชนะในการเสด็จไปปราบกบฏที่ชายแดน  พระเจ้าพิมพิสารผู้พระบิดา  ทรงพอพระทัย  พระราชทานราชสมบัติให้ครอบครองเป็นเวลา 7 วัน  และได้พระราชทานหญิงที่เก่งทั้งการเต้นรำและการขับร้องผู้หนึ่งแก่พระราชกุมารด้วย  ในวันสุดท้าย ขณะหญิงนักเต้นและนักร้องคนนั้นกำลังทำการแสดงเพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้แก่พระราชกุมารและข้าราชบริพารอยู่นั้น  นางเกิดเป็นลมเสียชีวิตอย่างฉับพลัน  พระราชกุมารถึงกับตกตะลึง และทรงโศกเศร้าเป็นอันมาก  ทรงดำริจะให้พระศาสดาทรงช่วยดับความเศร้าโศกให้  จึงเสด็จเข้าไปเฝ้า  กราบทูลว่า  “พระเจ้าข้า  ขอพระองค์จงให้ความโศกของข้าพระองค์ดับเถิด”พระศาสดา  ทรงปลอบพระราชกุมาร  ตรัสว่า  “กุมาร  น้ำตาที่ไหลออกมาจากดวงตาของเธอ  ที่ร้องไห้อยู่ในกาลแห่งหญิงนี้ตายแล้ว  ในวัฏฏสงสารที่หาเบื้องต้นและเบื้องปลายมิได้นี้  มีจำนวนมากมาย”  เมื่อจะทรงบรรเทาความเศร้าโศกของพระราชกุมาร  ได้ตรัสว่า  “กุมาร  เธออย่าเศร้าโศกไปเลย  ข้อนั้นเป็นที่จมลงของชนพาลทั้งหลาย
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

เอถ  ปสฺสถิมํ  โลกํ
จิตฺตํ  ราชรถูปมํ
ยตฺถ  พาลา  วีสีทนฺติ
นตฺถิ  สงฺโค  วิชานตํ ฯ


(อ่านว่า)
เอถะ  ปัดสะถิมัง  โลกัง
จิดตัง  ราชะระถูปะมัง
ยัดถะ  พาลา  วีสีทันติ
นัดถิ  สังโค  วิชานะตัง.

(แปลว่า)
ท่านทั้งหลาย  จงมาดูโลกนี้
อันตระการตา  ดุจราชรถ
ที่พวกคนเขลาหมกอยู่
แต่พวกผู้รู้  หาข้องอยู่ไม่.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   พระราชกุมาร ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่ชนผู้ประชุมกัน.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 01:54:33 pm »



03. เรื่องภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุผู้เจริญวิปัสสนามีประมาณ 500 รูป  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ยถา  พุพฺพุฬกํ เป็นต้น

สมัยหนึ่ง  ภิกษุ 500 รูป  เรียนพระกัมมัฏฐาน  ในสำนักของพระศาสดาแล้ว   ก็ได้เข้าไปปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า  แม้จะขะมักเขม้นปฏิบัติอย่างไร  ก็ไม่สามารถบรรลุคุณวิเศษอะไร  ดังนั้นจึงได้พากันเดินทางกลับไปเฝ้าพระศาสดาเพื่อทูลขอหัวข้อพระกัมมัฏฐานที่เหมาะสมยิ่งขึ้น  ในระหว่างทางได้เห็นพยับแดด  ก็ได้นำพยับแดดมาพิจารณาเป็นอารมณ์ของพระกัมมัฏฐาน  ในช่วงที่จะเข้าสู่บริเวณวัดพระเชตวัน  ได้เกิดฝนตก  เห็นฟองน้ำที่เกิดจากการตกลงมาของสายฝนมีลักษณะเกิดขึ้นแล้วแตกไป  ก็ได้ยึดเป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน ว่า  “อัตภาพนี้  เป็นเช่นกับฟองน้ำ  เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นแล้วแตกไปเหมือนกัน”  พระศาสดา  ประทับนั่งในพระคันธกุฎี  ทรงแลดูภิกษุเหล่านั้น  ทรงแผ่โอภาส  เหมือนตรัสกับภิกษุเหล่านั้น
ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ยถา  พุพฺพุฬกํ  ปสฺเส
ยถา  ปสฺเส  มรีจิกํ
เอวํ  โลกํ  อเวกฺขนฺตํ
มจฺจุราชา  น  ปสฺสติ


(อ่านว่า)
ยะถา  พุบพุละกัง  ปัดเส
ยะถา  ปัดเส  มะรีจิกัง
เอวัง  โลกัง  อะเวกขันตัง
มัดจุราชา  นะ ปัดสะติ.

(แปลว่า)
พระยามัจจุ  ย่อมไม่เห็น
บุคลผู้พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งโลก
เหมือนบุคคลพึงเห็นฟองน้ำ
และเหมือนบุคคลเห็นพยับแดด.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ภิกษุเหล่านั้น  บรรลุพระอรหัตแล้ว  ในที่ที่ตนยืนอยู่นั่นเอง.


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 01:44:11 pm »



02. เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในนิโครธาราม  ทรงปรารภพระบิดา  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อุตฺติฏฺเฐ   นปฺปมชฺเชยฺย  เป็นต้น
ที่มาของการตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้มีว่า

เมื่อพระศาสดาเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรกนั้น  ได้ประทับอยู่ในวัดนิโครธาราม   ได้ทรงแสดงธรรมโปรดพระญาติ   พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา  ทรงดำริว่า  เมื่อพระสมณโคดมเป็นพระโอรสของพระองค์  ในวันรุ่งขึ้นก็น่าที่พระสมณโคดมจะเสด็จเข้ามาบิณฑบาตในพระราชวัง  แต่พระเจ้าสุทโธทนะก็มิได้เข้าไปทูลอาราธนาพระศาสดาโดยตรง  และท้าวเธอได้ตระเตรียมภัตตาหารสำหรับถวายภิกษุจำนวน 20,000 รูป  แต่พอถึงในเช้าวันรุ่งขึ้นปรากฏว่า  พระศาสดาได้เสด็จไปบิณฑบาตพ้อมด้วยภิกษุทั้งหลายตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พระนางยโสธรา  พระมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนที่จะเสด็จออกผนวช  ทอดพระเนตรจากพระแกลเห็นพระศาสดาเสด็จออกบิณฑบาต  พระนางได้เข้าไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะให้ทรงทราบ  พระเจ้าสุทโธทนะจึงได้รีบเสด็จไปพบพระศาสดา  แล้วทูลว่า   สำหรับคนที่เป็นสมาชิกของพระราชวงศ์นั้น  ถือว่าการออกไปขออาหารจากบ้านหลังหนึ่งสู่บ้านอีกหลังหนึ่งนั้นเป็นสิ่งเสื่อมเสียเกียรติ  แต่พระศาสดาได้ตรัสตอบว่า  เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องบิณฑบาตจากบ้านหลังหนึ่งสู่บ้านอีกหลังหนึ่งอย่างนี้  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสมควรสำหรับพระองค์ที่จะรักษาประเพณีนี้ไว้
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

อุตฺติฏฺเฐ  นปฺปมชฺเชยย
ธมฺมํ  สุจริตํ  จเร
ธมฺมจารี  สุขํ  เสติ
อสฺมึ  โลเก  ปรมฺหิ  จ  ฯ


(อ่านว่า)
อุดติดเถ  นับปะมัดเชยยะ
ทำมัง  สุจะริตัง  จะเร
ทำมะจารี  สุขัง  เสติ
อัดสะหมิง  โลเก  ปะรัมหิ  จะ.

(แปลว่า)
บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว
อันตนพึงลุกขึ้นรับ
บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต
ผู้มีปกติประพฤติธรรม

ย่อมอยู่เป็นสุข ในโลกนี้และโลกหน้า.


ธมฺมํ  จเร  สุจริตํ
น  ตํ  ทุจฺจริตํ  จเร
ธมฺมจารี  สุขํ  เสติ
อสฺมึ  โลเก  ปรมฺหิ  จ ฯ

(อ่านว่า)
ทำมัง  จะเร  สุจะริตัง
นะ  ตัง  ทุดจะริตัง  จะเร
ทำทะจารี  สุขัง  เสติ
อัดสะหมิง  โลเก  ปะรัมหิ  จะ.

(แปลว่า)
บุคคลพึงประพฤติกรรมให้สุจริต
ไม่พึงประพฤติธรรมให้ทุจริต
ผู้มีปกติประพฤติธรรม
ย่อมอยู่เป็นสุข ในโลกนี้และโลกหน้า.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   พระราชาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล    พระธรรมเทศนามีประโยชน์แม้แก่ชนทั้งหลายผู้ประชุมกัน.