ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 07:45:03 pm »

เตือนกินไส้กรอก-แฮม มาก ๆ เสี่ยงมะเร็ง

-http://health.kapook.com/view42119.html-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ใครชอบทานไส้กรอก แฮม เบคอน บ้างเอ่ย? เรารู้ว่า อาหารประเภทนี้เป็นของโปรดของใครหลาย ๆ คน เพราะหาซื้อง่าย กินง่าย แถมยังอร่อย แต่รู้ไหมว่า ในเนื้อสัตว์แปรรูปแสนอร่อยเหล่านี้มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "โซเดียมไนไตรท์" ผสมอยู่ ซึ่งสารชนิดนี้มีอันตรายต่อสุขภาพแน่นอน หากรับประทานมากเกินไป ไปติดตามสกู๊ปดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ จากทีมข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กันค่ะ

          ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้ไปตรวจสอบไส้กรอกที่วางขายอยู่ตามตลาด และพบว่า มีหลายยี่ห้อที่บนฉลากระบุว่า ใช้วัตถุเจือปนอาหาร แต่ไม่ระบุว่า เป็นสารชนิดใด ผสมอาหารในปริมาณเท่าไหร่ และควรบริโภคแค่ไหนจึงไม่เป็นอันตราย

          สำหรับวัตถุเจือปนอาหารที่ระบุไว้นั้น คือ สารโซเดียมไนไตรท์ ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์จำพวกไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง หรือไส้กรอกเปรี้ยว โดยสารนี้เป็นผลึกสีขาว คล้ายน้ำตาลทราย ใช้สำหรับผสมอาหารประเภทเนื้อสัตว์หมัก เพื่อคงสภาพสีและกลิ่นของไส้กรอก ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะไว้ได้นาน แต่หากได้รับสารชนิดนี้ในปริมาณมากเกินไปก็มีอันตรายเช่นกัน เพราะเมื่อสารชนิดนี้ไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีในเนื้อสัตว์ อาจก่อให้เกิดโรคชนิดเฉียบพลัน และโรคเรื้อรัง อย่างเช่น โรคมะเร็ง

          เมื่อสอบถามไปยัง ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ก็ทราบว่า การบริโภคอาหารประเภทนี้บ่อย ๆ จะทำให้เกิดพิษเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการที่ไนไตรท์ทำปฏิกิริยาขึ้นในร่างกาย แล้วเกิดเป็นกรดไนตรัสขึ้นมา เมื่อลงไปในกระเพาะอาหาร พอเวลาที่เราทานอาหารประเภทโปรตีนเข้าไป ตัวกรดไนตรัสจะไปทำปฏิกิริยากับโปรตีน เกิดเป็นไนโตรซามีน ซึ่งไนโตรซามีนเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งได้ หากเราทานอาหารที่มีไนไตรท์สะสมเข้าไปนาน ๆ สารนี้จะค่อย ๆ ทำปฏิกิริยาไปเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง

          ทั้งนี้ ในหลาย ๆ ประเทศไม่ได้ห้ามการใช้สารไนไตรท์ในอาหาร เพียงแต่ต้องใช้ในปริมาณที่ระบุไว้ตามกฎหมาย เช่น ในประเทศเกาหลี ไม่ให้ใช้ไนไตรท์เกิน 70 มิลลิกรัม ต่อ เนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม ขณะที่ในสหภาพยุโรป ไม่ให้ใช้ไนไตรท์เกิน 150 มิลลิกรัม ต่อ เนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม ส่วนประเทศไทย มีข้อบังคับว่า ไม่ให้ใช้ไนไตรท์เกิน 125 มิลลิกรัม ต่อ เนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม

          เพื่อเป็นการตรวจสอบว่า ผลิตภัณฑ์จำพวกไส้กรอกที่วางขายอยู่ในท้องตลาด มีปริมาณไนไตรท์อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ ทีมข่าวไทยพีบีเอส จึงได้ร่วมมือกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทดสอบปริมาณสารไนไตรท์ที่ตกค้างอยู่ในไส้กรอก โดยสุ่มตัวอย่างจากไส้กรอกที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด และหน้าโรงเรียน

          ภายหลังการทดสอบ พบว่า มีปริมาณไนไตรท์ตกค้างอยู่ในไส้กรอกประมาณ 100 มิลลิกรัม ต่อ เนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม ซึ่งแม้ว่าตัวเลขนี้จะไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 125 มิลลิกรัม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

          มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะเริ่มกลัวแล้วว่า เราจะยังสามารถทานไส้กรอกได้หรือไม่ ซึ่ง ผศ.ยุพร พีชกมุทร ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สจล. ก็ได้ให้คำแนะนำว่า เราสามารถทานอาหารจำพวกนี้ได้ แต่อย่าทานต่อเนื่องทุกวัน เพราะหากไม่ได้รับประทานอาหารประเภทนี้บ่อย ๆ การสะสมของไนไตรท์ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย


อันตรายจากไนไตรท์ในไส้กรอก 7Jun12
อันตรายจากไนไตรท์ในไส้กรอก 7Jun12


-http://www.youtube.com/watch?v=XvvO-IS6fuE&feature=player_embedded-
-http://health.kapook.com/view42119.html-


อันตรายจากไนไตรท์ในไส้กรอก 7Jun12



.