ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2012, 09:34:50 am »ชีวิตลูกผู้ชายที่ข่มขืนผู้หญิง
-http://icare.kapook.com/rape.php?ac=detail&s_id=37&id=2933-
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังที่กระทำความผิดทางเพศ ในรูปแบบต่างๆ เช่น พรากผู้เยาว์ อนาจาร ข่มขืน รุมโทรม ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ถูกกระทำ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนดีของสังคม
โดยกรมราชทัณฑ์ได้จัดการฝึกอบรมให้ผู้ต้องขังความผิดเกี่ยวกับเพศ โดยมีมูลนิธิเพื่อนหญิงและกลุ่มไม้ขีดไฟเป็นวิทยากร
การฝึกอบรมใช้การสร้างประสบการณ์ร่วมของผู้ข่มขืนซึ่งเป็นผู้ต้องโทษ และผู้ถูกข่มขืน ซึ่งได้แก่แม่ของลูกสาวที่ถูกข่มขืน และป้าซึ่งถูกข่มขืน
การข่มขืนเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการแสดงอำนาจของเพศชายเหนือเพศหญิง ภายใต้ระบบสังคมชายเป็นใหญ่ที่บ่มเพาะมา ผู้เข้าร่วมหลายคนบอกว่าทำไปด้วยความคึกคะนอง เพื่อนชวน ที่สำคัญพวกเขาคิดว่าผู้หญิงไม่กล้าที่จะไปแจ้งความเพราะ “อาย”
หลายคนบอกว่าไม่เคยรับรู้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ถูกข่มขืนเป็นอย่างไร หากไม่ถูกดำเนินคดี ก็ไม่ได้เข้ามาอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยม และมีความจริงที่ว่าผู้หญิงที่ตัดสินใจดำเนินคดีนั้นเป็นส่วนน้อย ในขณะที่ผู้ชายที่กระทำผิด หากไม่ถูกลงโทษก็ยังคงดำเนินชีวิตต่อไปในสังคมที่เอื้อให้เขาคิดว่า เขาสามารถข่มขืนผู้หญิงได้
เสียงของตัวจริงเสียงจริงทั้งสองฝ่ายที่ได้มาพบกัน การแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดเผย ได้สร้างสำนึกบางอย่างให้เกิดขึ้นในใจของผู้ที่กระทำ และทำให้เราได้รับรู้ว่า ชีวิตผู้ข่มขืนนั้น มีความเป็นอยู่อย่างไรในโลกกว้าง กว่าที่จะมาอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยม (เรือนจำ) แห่งนี้
กรณีที่ 1 เพิ่งได้รู้ถึงความเสียใจของผู้เป็นแม่ แม้ไม่ได้ถูกกระทำเอง
"ผมได้รู้ถึงความเสียใจของแม่ที่ลูกถูกข่มขืนว่าไม่น้อยไปกว่าลูกเลย ผมเคยทำมาและสิ่งที่ได้รู้ครั้งนี้ ยังกระตุ้นจิตใต้สำนึกของผมให้รู้ว่าสิ่งไหนผิด สิ่งไหนถูก และยังได้รู้ว่าคนที่ถูกข่มขืนชีวิตของเธอเป็นอย่างไร ลำบากแค่ไหน"
กรณีที่ 2 ไม่คิดว่าได้ทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งถูกสังคมเหยียดหยาม
"แม้ว่าผมได้เคยกระทำความผิด ถึงแม้ว่าไม่ได้ทำกับพวกเธอ (จากกรณีตัวอย่างที่ได้ฟัง) แต่ความรู้สึกของคนที่ผมไปทำเขาคงไม่ต่างไปจากพวกเธอ ผมทำให้ผู้หญิงอย่างน้อย 2 คน ต้องร้องไห้เพราะผม เพียงเพราะผมไม่เคยคิดว่า ผมจะทำให้ใครต้องเสียใจ ผมทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งต้องถูกสังคมรอบข้างดูถูกเหยียดหยาม ถึงแม้ว่าผมต้องรับโทษที่ผมทำมาแล้ว ก็ไม่อาจทำให้เธอเป็นเหมือนคนเดิม"
จากส่วนหนึ่งของความรู้สึกของชายผู้ข่มขืน เมื่อได้รับฟังผู้เป็นแม่ เล่าถึงประสบการณ์เมื่อรู้ว่าลูกสาววัย 14 ที่น่ารัก ถูกข่มขืนจากน้องเขย จนท้อง 5 เดือน แม่ได้รับรู้ว่า คำพูดที่เขาพูดว่า ร้องไห้จนเป็นสายเลือดนั้นและความแตกแยกของเครือญาติเป็นอย่างไร ซ้ำร้ายที่มากกว่านั้น ลูกสาวไม่พูด ทางออกเดียว หากลูกสาวต้องอุ้มท้อง และหมอไม่ยุติการตั้งครรภ์ให้ คือ พ่อ แม่ ลูกจะฆ่าตัวตาย
กรณีที่ 3 เพราะจน ครอบครัวแตกแยก และถูกออกจากงาน
"เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน หาเช้ากินค่ำ การเรียนก็ไม่ค่อยได้เรียนต้องมีอุปสรรคมากมาย การดำเนินชีวิตแต่ละวัน คาดหวังอะไรก็ไม่ค่อยจะได้ มีครอบครัวที่แตกแยก ไม่เคยมาสนใจซึ่งกันและกัน พอมีครอบครัวก็ต้องแยกทางกันต่างคนต่างไป บ้านก็ไม่มีอยู่ต้องอาศัยเขาอยู่ การงานก็ไม่ค่อยจะมีให้ทำ แล้วอย่างนี้จะให้หวังอะไรได้ เศรษฐกิจย่ำแย่ บางบริษัทเลิกจ้างพนักงาน คัดคนออกก็มี ผมก็อยู่ในนั้นด้วย ทำให้ความหวังต้องมาพังทลาย ต้องมาเดินทางในสิ่งที่ผิด และต้องมาอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยม หมดอิสรภาพ ไม่รู้อีกนานแค่ไหนจะผ่านอุปสรรคนี้ไปได้ คนเราเกิดมาใช่ว่าจะเลือกเกิดได้"
กรณีที่ 4 หนุ่มขายของเก่าที่อยากกลับไปประกอบชีพเหมือนเดิม
"ผมมีอาชีพขายของเก่า มีรายได้เดือนละ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน ผมทำงานตรงนี้อยู่ 3 ปี ผมทำงานอย่างมีความสุข มีเงิน มีรถ มีแฟน จะไปเที่ยวที่ไหนก็ไปด้วยความสบายใจ ผู้หญิงเริ่มเข้ามาในชีวิต แม่ผมภูมิใจในตัวผมมาก อนาคตผมมาสะดุดลงเพราะเล่นการพนัน ติดยา ขับรถแข่ง และข่มขืนผู้หญิง หากพ้นโทษออกไป ผมอยากกลับไปทำงานเหมือนเดิมอีก"
กรณีที่ 5 หนุ่มผู้ใฝ่ฝันเป็นเภสัชกร เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ และอัมพาต
"ผับหรือสถานที่เที่ยวต่างๆ ทำให้ใจของผมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผมไม่สนใจเรียน ทำให้ผมไม่รู้จักการเก็บเงิน สิ่งเหล่านี้มันกัดกร่อนหัวใจผมให้อ่อนลง จนลืมความคิดที่เคยอยากทำ ทำให้ผมคิดในใจว่าผมจะทำมันไปทำไม ทำไปเพื่อใคร ทั้งที่เที่ยวก็สนุกดีมีเพื่อนมากมายมีผู้หญิงให้เชยชม ถ้าเรามามัวแต่คิดว่าจะปรุงยาจะได้อะไร"
จากประสบการณ์ของผู้ต้องขังทั้ง 5 นี้ แม้ไม่อาจสรุปเป็นประสบการณ์ทั้งหมดของผู้ข่มขืน แต่สามารถตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่า
- ผู้ข่มขืนไม่ใช่คนบ้าหรือคนโรคจิต และพวกเขาก็ยืนยันว่าไม่ใช่ พร้อมกับพูดกลับว่า ทำไมจึงกล่าวหาเขาอย่างนั้น
- ผู้ชายที่ข่มขืนมีทั้งจนและรวย
- ผู้ชายที่ข่มขืนมีทั้งการศึกษาน้อยและการศึกษามาก
- ผู้ชายที่ข่มขืนบางคนเคยมีความฝันที่ดีเพื่อสังคม แต่สิ่งรอบข้างที่มีแต่สิ่งยั่วยุ ได้เป็นตัวกระตุ้น อันเนื่องมาจากความเห็นแก่ได้ของผู้ลงทุน ผู้มีเงินและอำนาจในกระเป๋า ที่สร้างสถานบันเทิง แหล่งอบายมุขที่อยู่ดาษดื่น
- ผู้ชายที่ข่มขืนบางคนมีประสบการณ์ของครอบครัวที่แตกร้าว เพราะรากเหง้าของความรุนแรงในครอบครัว
- ผู้ชายเหล่านี้เชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อ (จากระบบสังคมชายเป็นใหญ่) เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เนื่องจากคนอื่นๆ ในสังคมก็เชื่อและประพฤติเช่นนี้ ตัวอย่างเช่น ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงยิ่งมากยิ่งได้รับการชื่นชม ผิดกับผู้หญิงที่ถูกปลูกฝังเรื่องการรักนวลสงวนตัว
การให้คุณค่าของผู้หญิงและผู้ชายที่ไม่เท่าเทียมกัน สะท้อนออกมา เมื่อวิทยากรถามผู้ต้องขังทั้งหมดว่า ผู้ชายที่มีผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างไร ทุกคนพูดด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจ มีรอยยิ้ม เห็นถึงพลังจากเสียงดังที่พูดว่า "ขุนแผน เต็กกอ" และเมื่อถามกลับกรณีผู้หญิงที่มีสามีหลายคนเป็นอย่างไร คำตอบยังดัง พร้อมด้วยเสียงหัวเราะและชัดเจนเหมือนเดิมว่า "นางกากี"
เหล่านี้คงเป็นข้อพิจารณาในการแก้ไขปัญหาข่มขืน ไม่ใช่เพียงการเตือนผู้หญิงที่ใส่สายเดี่ยว เอวลอย ที่เป็นการแก้ปัญหาที่มีมายาคติและไม่ถูกทาง
จะอย่างไรก็ตาม หลังจบกิจกรรม ผู้ต้องขังหลายคนพูดกับพวกเราว่า "พวกผมขอโทษผู้หญิงที่พวกผมเคยทำร้ายหรือข่มขืน เพราะพวกผมไม่เคยนึกมาก่อนว่าผลกระทบมันจะรุนแรง พวกผมขอสัญญาว่าจะไม่กลับไปข่มขืนผู้หญิงอีก และจะร่วมรณรงค์ต่อต้านการข่มขืน แม้ว่าจะอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยมนี้ก็ตาม"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มูลนิธิเพื่อนหญิง
-http://www.friendsofwomen.or.th/-
.
http://www.friendsofwomen.or.th/
http://icare.kapook.com/rape.php?ac=detail&s_id=37&id=2933
.
-http://icare.kapook.com/rape.php?ac=detail&s_id=37&id=2933-
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังที่กระทำความผิดทางเพศ ในรูปแบบต่างๆ เช่น พรากผู้เยาว์ อนาจาร ข่มขืน รุมโทรม ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ถูกกระทำ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนดีของสังคม
โดยกรมราชทัณฑ์ได้จัดการฝึกอบรมให้ผู้ต้องขังความผิดเกี่ยวกับเพศ โดยมีมูลนิธิเพื่อนหญิงและกลุ่มไม้ขีดไฟเป็นวิทยากร
การฝึกอบรมใช้การสร้างประสบการณ์ร่วมของผู้ข่มขืนซึ่งเป็นผู้ต้องโทษ และผู้ถูกข่มขืน ซึ่งได้แก่แม่ของลูกสาวที่ถูกข่มขืน และป้าซึ่งถูกข่มขืน
การข่มขืนเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการแสดงอำนาจของเพศชายเหนือเพศหญิง ภายใต้ระบบสังคมชายเป็นใหญ่ที่บ่มเพาะมา ผู้เข้าร่วมหลายคนบอกว่าทำไปด้วยความคึกคะนอง เพื่อนชวน ที่สำคัญพวกเขาคิดว่าผู้หญิงไม่กล้าที่จะไปแจ้งความเพราะ “อาย”
หลายคนบอกว่าไม่เคยรับรู้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ถูกข่มขืนเป็นอย่างไร หากไม่ถูกดำเนินคดี ก็ไม่ได้เข้ามาอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยม และมีความจริงที่ว่าผู้หญิงที่ตัดสินใจดำเนินคดีนั้นเป็นส่วนน้อย ในขณะที่ผู้ชายที่กระทำผิด หากไม่ถูกลงโทษก็ยังคงดำเนินชีวิตต่อไปในสังคมที่เอื้อให้เขาคิดว่า เขาสามารถข่มขืนผู้หญิงได้
เสียงของตัวจริงเสียงจริงทั้งสองฝ่ายที่ได้มาพบกัน การแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดเผย ได้สร้างสำนึกบางอย่างให้เกิดขึ้นในใจของผู้ที่กระทำ และทำให้เราได้รับรู้ว่า ชีวิตผู้ข่มขืนนั้น มีความเป็นอยู่อย่างไรในโลกกว้าง กว่าที่จะมาอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยม (เรือนจำ) แห่งนี้
กรณีที่ 1 เพิ่งได้รู้ถึงความเสียใจของผู้เป็นแม่ แม้ไม่ได้ถูกกระทำเอง
"ผมได้รู้ถึงความเสียใจของแม่ที่ลูกถูกข่มขืนว่าไม่น้อยไปกว่าลูกเลย ผมเคยทำมาและสิ่งที่ได้รู้ครั้งนี้ ยังกระตุ้นจิตใต้สำนึกของผมให้รู้ว่าสิ่งไหนผิด สิ่งไหนถูก และยังได้รู้ว่าคนที่ถูกข่มขืนชีวิตของเธอเป็นอย่างไร ลำบากแค่ไหน"
กรณีที่ 2 ไม่คิดว่าได้ทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งถูกสังคมเหยียดหยาม
"แม้ว่าผมได้เคยกระทำความผิด ถึงแม้ว่าไม่ได้ทำกับพวกเธอ (จากกรณีตัวอย่างที่ได้ฟัง) แต่ความรู้สึกของคนที่ผมไปทำเขาคงไม่ต่างไปจากพวกเธอ ผมทำให้ผู้หญิงอย่างน้อย 2 คน ต้องร้องไห้เพราะผม เพียงเพราะผมไม่เคยคิดว่า ผมจะทำให้ใครต้องเสียใจ ผมทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งต้องถูกสังคมรอบข้างดูถูกเหยียดหยาม ถึงแม้ว่าผมต้องรับโทษที่ผมทำมาแล้ว ก็ไม่อาจทำให้เธอเป็นเหมือนคนเดิม"
จากส่วนหนึ่งของความรู้สึกของชายผู้ข่มขืน เมื่อได้รับฟังผู้เป็นแม่ เล่าถึงประสบการณ์เมื่อรู้ว่าลูกสาววัย 14 ที่น่ารัก ถูกข่มขืนจากน้องเขย จนท้อง 5 เดือน แม่ได้รับรู้ว่า คำพูดที่เขาพูดว่า ร้องไห้จนเป็นสายเลือดนั้นและความแตกแยกของเครือญาติเป็นอย่างไร ซ้ำร้ายที่มากกว่านั้น ลูกสาวไม่พูด ทางออกเดียว หากลูกสาวต้องอุ้มท้อง และหมอไม่ยุติการตั้งครรภ์ให้ คือ พ่อ แม่ ลูกจะฆ่าตัวตาย
กรณีที่ 3 เพราะจน ครอบครัวแตกแยก และถูกออกจากงาน
"เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน หาเช้ากินค่ำ การเรียนก็ไม่ค่อยได้เรียนต้องมีอุปสรรคมากมาย การดำเนินชีวิตแต่ละวัน คาดหวังอะไรก็ไม่ค่อยจะได้ มีครอบครัวที่แตกแยก ไม่เคยมาสนใจซึ่งกันและกัน พอมีครอบครัวก็ต้องแยกทางกันต่างคนต่างไป บ้านก็ไม่มีอยู่ต้องอาศัยเขาอยู่ การงานก็ไม่ค่อยจะมีให้ทำ แล้วอย่างนี้จะให้หวังอะไรได้ เศรษฐกิจย่ำแย่ บางบริษัทเลิกจ้างพนักงาน คัดคนออกก็มี ผมก็อยู่ในนั้นด้วย ทำให้ความหวังต้องมาพังทลาย ต้องมาเดินทางในสิ่งที่ผิด และต้องมาอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยม หมดอิสรภาพ ไม่รู้อีกนานแค่ไหนจะผ่านอุปสรรคนี้ไปได้ คนเราเกิดมาใช่ว่าจะเลือกเกิดได้"
กรณีที่ 4 หนุ่มขายของเก่าที่อยากกลับไปประกอบชีพเหมือนเดิม
"ผมมีอาชีพขายของเก่า มีรายได้เดือนละ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน ผมทำงานตรงนี้อยู่ 3 ปี ผมทำงานอย่างมีความสุข มีเงิน มีรถ มีแฟน จะไปเที่ยวที่ไหนก็ไปด้วยความสบายใจ ผู้หญิงเริ่มเข้ามาในชีวิต แม่ผมภูมิใจในตัวผมมาก อนาคตผมมาสะดุดลงเพราะเล่นการพนัน ติดยา ขับรถแข่ง และข่มขืนผู้หญิง หากพ้นโทษออกไป ผมอยากกลับไปทำงานเหมือนเดิมอีก"
กรณีที่ 5 หนุ่มผู้ใฝ่ฝันเป็นเภสัชกร เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ และอัมพาต
"ผับหรือสถานที่เที่ยวต่างๆ ทำให้ใจของผมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผมไม่สนใจเรียน ทำให้ผมไม่รู้จักการเก็บเงิน สิ่งเหล่านี้มันกัดกร่อนหัวใจผมให้อ่อนลง จนลืมความคิดที่เคยอยากทำ ทำให้ผมคิดในใจว่าผมจะทำมันไปทำไม ทำไปเพื่อใคร ทั้งที่เที่ยวก็สนุกดีมีเพื่อนมากมายมีผู้หญิงให้เชยชม ถ้าเรามามัวแต่คิดว่าจะปรุงยาจะได้อะไร"
จากประสบการณ์ของผู้ต้องขังทั้ง 5 นี้ แม้ไม่อาจสรุปเป็นประสบการณ์ทั้งหมดของผู้ข่มขืน แต่สามารถตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่า
- ผู้ข่มขืนไม่ใช่คนบ้าหรือคนโรคจิต และพวกเขาก็ยืนยันว่าไม่ใช่ พร้อมกับพูดกลับว่า ทำไมจึงกล่าวหาเขาอย่างนั้น
- ผู้ชายที่ข่มขืนมีทั้งจนและรวย
- ผู้ชายที่ข่มขืนมีทั้งการศึกษาน้อยและการศึกษามาก
- ผู้ชายที่ข่มขืนบางคนเคยมีความฝันที่ดีเพื่อสังคม แต่สิ่งรอบข้างที่มีแต่สิ่งยั่วยุ ได้เป็นตัวกระตุ้น อันเนื่องมาจากความเห็นแก่ได้ของผู้ลงทุน ผู้มีเงินและอำนาจในกระเป๋า ที่สร้างสถานบันเทิง แหล่งอบายมุขที่อยู่ดาษดื่น
- ผู้ชายที่ข่มขืนบางคนมีประสบการณ์ของครอบครัวที่แตกร้าว เพราะรากเหง้าของความรุนแรงในครอบครัว
- ผู้ชายเหล่านี้เชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อ (จากระบบสังคมชายเป็นใหญ่) เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เนื่องจากคนอื่นๆ ในสังคมก็เชื่อและประพฤติเช่นนี้ ตัวอย่างเช่น ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงยิ่งมากยิ่งได้รับการชื่นชม ผิดกับผู้หญิงที่ถูกปลูกฝังเรื่องการรักนวลสงวนตัว
การให้คุณค่าของผู้หญิงและผู้ชายที่ไม่เท่าเทียมกัน สะท้อนออกมา เมื่อวิทยากรถามผู้ต้องขังทั้งหมดว่า ผู้ชายที่มีผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างไร ทุกคนพูดด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจ มีรอยยิ้ม เห็นถึงพลังจากเสียงดังที่พูดว่า "ขุนแผน เต็กกอ" และเมื่อถามกลับกรณีผู้หญิงที่มีสามีหลายคนเป็นอย่างไร คำตอบยังดัง พร้อมด้วยเสียงหัวเราะและชัดเจนเหมือนเดิมว่า "นางกากี"
เหล่านี้คงเป็นข้อพิจารณาในการแก้ไขปัญหาข่มขืน ไม่ใช่เพียงการเตือนผู้หญิงที่ใส่สายเดี่ยว เอวลอย ที่เป็นการแก้ปัญหาที่มีมายาคติและไม่ถูกทาง
จะอย่างไรก็ตาม หลังจบกิจกรรม ผู้ต้องขังหลายคนพูดกับพวกเราว่า "พวกผมขอโทษผู้หญิงที่พวกผมเคยทำร้ายหรือข่มขืน เพราะพวกผมไม่เคยนึกมาก่อนว่าผลกระทบมันจะรุนแรง พวกผมขอสัญญาว่าจะไม่กลับไปข่มขืนผู้หญิงอีก และจะร่วมรณรงค์ต่อต้านการข่มขืน แม้ว่าจะอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยมนี้ก็ตาม"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มูลนิธิเพื่อนหญิง
-http://www.friendsofwomen.or.th/-
.
http://www.friendsofwomen.or.th/
http://icare.kapook.com/rape.php?ac=detail&s_id=37&id=2933
.