ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 27, 2012, 10:04:10 pm »

พ่อครัวติงเชือดวัว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
27 มิถุนายน 2555 09:06 น.



ชื่อภาพ 'ภาพเขียนวัวห้าตัว' 《五牛图》 โดยจิตรกรนามกระเดื่องยุคราชวงศ์ถัง หาน ฮ่วง /韩滉 (723-787)



พ่อครัวติงชำแหละวัวให้แก่เหวินฮุ่ยจวิน ทุกท่วงท่าในการขยับมือ เขยื้อนไหล่ เคลื่อนสองเท้า เขยิบเข่า จรดมีดกรีดเฉือนอย่างมีจังหวะจะโคน ราวกับการแสดงระบำแห่งซังหลิน หรือการคลอไปตามท่วงทำนองเพลงแห่งจิงโส่ว
       
       “โอ! ยอดเยี่ยมเหลือเกิน! ฝีมือช่างสูงล้ำยิ่ง” เหวินฮุ่ยจวินอุทาน พลางกล่าว
       
       พ่อครัวติงวางมีดลง พลางกล่าวตอบ “ข้าเพียงคำนึงถึงเต๋า ซึ่งเหนือกว่าความเชี่ยวชาญ ครั้งแรกที่ข้าชำแหละวัว สิ่งที่ปรากฏต่อสายตาของข้าคือร่างวัว หลังจากนั้นสามปี ข้าก็ไม่เห็นร่างวัวอีกต่อไป กระทั่งขณะนี้ ข้าใช้เพียงจิต ไม่ใช้นัยน์ตาในการเพ่งมอง สัมผัสรับรู้และความเข้าใจล้วนสะดุดหยุดลงสิ้น ปล่อยจิตเคลื่อนไปตามความปรารถนา ข้าเคลื่อนไหวไปตามวิถีทางของธรรมชาติ ชำแรกสู่ช่องว่าง จรดมีดกรีดผ่านไปตามช่องเปิดใหญ่ เลื่อนไหลลู่ไปตามหนทางที่อำนวย ดังนี้ ข้าจึงไม่เคยกระทบถูกพังผืดหรือเส้นเอ็น อย่าว่าแต่ข้อต่อกระดูกเลย
       
       “พ่อครัวฝีมือดี เปลี่ยนมีดปีละครั้งเพราะการตัด พ่อครัวฝีมือพอใช้ เปลี่ยนมีดเดือนละครั้งเพราะการสับ ข้าได้ใช้มีดเล่มนี้มานานถึงสิบเก้าปี และใช้มันชำแหละวัวมานับพันตัวแล้ว กระนั้นใบมีดก็ยังคมกริบราวกับเพิ่งลับคมจากหินลับมีด มีช่องว่างตามข้อต่อต่างๆ และใบมีดก็ไร้ความหนา หากท่านสอดสิ่งที่ไร้ความหนาเข้าไปตามช่องว่างเหล่านั้น ก็ยังเหลือพื้นที่ว่างมากมายให้ใบมีดได้เคลื่อนไหว นี่คือสาเหตุที่มีดของข้ายังคงความคมกริบเช่นเดียวกับเมื่อลับคมจากหินครั้งแรก
       
       “อย่างไรก็ดี เมื่อมาถึงจุดที่ยุ่งยาก ข้าก็จะยั้งมือ เพ่งพินิจ ระแวดระวัง เฝ้ามองการกระทำของตน และค่อยๆกระทำการอย่างแช่มช้า ขยับมีดอย่างเบามือที่สุด กระทั่ง ผลัวะ! ทุกสิ่งขาดแยกจากกันราวกับก้อนดินแตกร่วงลงสู่พื้น ข้ายืนนิ่งอยู่กับที่ ถือมีดมั่น แลมองไปรอบๆ อิ่มอกอิ่มใจ และไม่อยากขยับเขยื้อน จากนั้นก็เช็ดใบมีด เก็บไว้ในที่”
       
       “ยอดเยี่ยม!” เหวินฮุ่ยจวินกล่าว “ข้าได้ฟังคำของพ่อครัวติง และได้เรียนรู้ถึงการรักษาชีวิต”
       
       แปลเรียบเรียงตัดตอนจากหนังสือจวงจื่อ(庄子) บทที่สาม ความลับในการผดุงชีวิต ( 养身主)


-http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000078561-

.