ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2012, 11:23:09 pm »จิตแพทย์แนะ 4 ทักษะ เอาชนะ "ภาวะจิตตก"
นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย
เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า คนเราแต่ละคนมีจิตใจแข็งแรงไม่เท่ากัน ทำให้ความสามารถในการรับความกดดันในชีวิตไม่เท่ากัน ยิ่งโดยเฉพาะปัจจุบันระดับความเครียดที่เกิดขึ้นมีสูงมาก ทั้งเรื่องงาน ความรัก หรือปัญหาครอบครัว ซึ่งคนที่ประสบภาวะเครียดบ่อย ๆ เป็นระยะเวลายาวนาน บางครั้งก็ทำให้เกิดอาการอ่อนล้าทางด้านจิตใจ หรือสภาวะที่เรียกกันคุ้นปากว่า "จิตตก" ได้
เรื่องนี้ นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ อธิบายคำว่า "จิตตก" ในทางการแพทย์ว่า เป็นคำที่ใช้พูดกันเพื่อบรรยายอาการของคนที่ประสบกับความเครียด ความกดดัน เป็นระยะเวลายาวนาน หรืออาจจะเกิดจากความกดดันที่เกิดขึ้นในระยะที่ไม่ยาวนาน แต่มีความรุนแรงสูง โดยจะมีอาการเกิดขึ้นเป็นลำดับ เบื้องต้นมักจะเกิดจากการคาดว่า เกรงว่า สิ่งที่ไม่ดีจะเกิดขึ้น จะมีความเสียหายเกิดขึ้น คิดว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ คิดว่าจะล้มเหลว ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ซึ่งได้แก่อาการใจสั่น เหงื่อออก หายใจไม่อิ่ม นอนไม่หลับ ระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหารปั่นป่วน เป็นต้น
ส่วนระยะถัดมา เมื่อทราบถึงผลของเหตุการณ์แล้วว่าไม่ได้ผลอย่างที่คิด ไม่สำเร็จ ก็จะเกิดอาการผิดหวัง ท้อแท้ ซึมเศร้า ซึ่งได้แก่ อาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ คิดช้า ไม่มีกำลังใจ รู้สึกตัวเองไร้คุณค่า ในรายที่อาการรุนแรง อาจจะมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ อยากฆ่าตัวตาย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับตนเอง และผู้อื่น
นพ.ไกรสิทธิ์ ให้ข้อสังเกตว่า เนื่องจากคนเราไม่สามารถรู้ได้ว่าภาวะจิตตกจะเกิดขึ้นกับเราหรือไม่ เมื่อไร ทางที่ดีจึงควรทำความรู้จักวิธีการรับมือกับภาวะจิตตกเพื่อเป็นการป้องกันเอาไว้ เช่น การเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยการลดระดับความเครียดในแต่ละวันไม่ให้เกิดการสะสม พยายามหาเวลาเพื่อพักกายและพักใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะหลงลืมไป การพักกายและพักใจ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ในแต่ละวัน ควรที่จะมีเวลาออกกำลังกายเพื่อยืดเส้นยืดสายลดความเครียด และช่วยให้ฮอร์โมนเอ็นโดรฟินส์ในสมองซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้คนเรารู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขหลั่งออกมา
"คนที่หิว หรือ นอนไม่พอ ความอดทนจะต่ำ อารมณ์จะหงุดหงิด ฉุนเฉียวได้ง่าย อาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันได้ทั้งภายในครอบครัวและที่ทำงาน" จิตแพทย์ท่านนี้เผย
นอกจากการพักกายที่มีความสำคัญแล้ว การพักใจก็ควรทำเป็นประจำด้วย ถ้าทำได้ทุกวันก็จะเป็นการดี การทำให้ใจได้พัก โดยการทำงานอดิเรกที่ชอบทำแล้วมีความสุข สมองได้พักผ่อน เพื่อช่วยให้อารมณ์ลบในแต่ละวันได้ถูกถ่ายเทออกไป ไม่สะสม จิตใจก็จะผ่องใส สามารถรับแรงกดดันในชีวิตได้ดีขึ้น เกิดภาวะจิตตกได้ยากขึ้น
สำหรับคนที่ตกอยู่ในภาวะจิตตก จิตแพทย์ท่านนี้ ได้ให้แนะเทคนิคเอาชนะภาวะจิตตกไว้ 4 ทักษะ ดังต่อไปนี้
1. ความเชื่อมั่นว่าจะผ่านพ้นปัญหาไปได้ ส่วนจะช้าหรือเร็วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง การเชื่อมั่นว่าปัญหาจะมีทางออกในที่สุด จะช่วยให้มีกำลังใจต่อสู้ต่อไปได้
2. ความสามารถมองเห็นข้อดีหรือข้อบวกของสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาเป็นกำลังใจให้ต่อสู้ต่อไปได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน จึงจะทำได้ดี
3. การมองปัญหาและการวางแผนแก้ไขแบบเป็นขั้นตอน แล้วจัดการแก้ไขไปทีละขั้นทีละเปลาะ การทำการแก้ไขได้สำเร็จทีละขั้นจะช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าจะแก้ปัญหาได้สำเร็จในที่สุด
4. สำหรับคนที่พยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเองแล้วยังไม่สำเร็จ อาจจะต้องอาศัยตัวช่วย คือ ความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ได้แก่ เพื่อนสนิทหรือญาติผู้ใหญ่ ในการช่วยมองปัญหา ให้คำปรึกษาแนะนำ
นพ.ไกรสิทธิ์ ทิ้งท้ายว่า ในบางรายถ้าประสบกับปัญหาที่ใหญ่และหนักหนามาก หลังรับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างแล้วยังไม่ดีขึ้น และอาจมีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้า จนไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงานได้ ก็อาจจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ เพื่อช่วยเหลือให้ต่อสู้กับปัญหาและผ่านวิกฤติไปได้ และหวังว่าคนไทยทุกคนจะไม่ต้องประสบกับภาวะจิตตก ถ้าจะต้องพบก็ขอให้รับมือได้ และที่สำคัญในทุกๆ วันก็อย่าลืมที่จะมีเวลาสำหรับพักกายและพักใจด้วย
-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000083698-
.
นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย
เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า คนเราแต่ละคนมีจิตใจแข็งแรงไม่เท่ากัน ทำให้ความสามารถในการรับความกดดันในชีวิตไม่เท่ากัน ยิ่งโดยเฉพาะปัจจุบันระดับความเครียดที่เกิดขึ้นมีสูงมาก ทั้งเรื่องงาน ความรัก หรือปัญหาครอบครัว ซึ่งคนที่ประสบภาวะเครียดบ่อย ๆ เป็นระยะเวลายาวนาน บางครั้งก็ทำให้เกิดอาการอ่อนล้าทางด้านจิตใจ หรือสภาวะที่เรียกกันคุ้นปากว่า "จิตตก" ได้
เรื่องนี้ นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ อธิบายคำว่า "จิตตก" ในทางการแพทย์ว่า เป็นคำที่ใช้พูดกันเพื่อบรรยายอาการของคนที่ประสบกับความเครียด ความกดดัน เป็นระยะเวลายาวนาน หรืออาจจะเกิดจากความกดดันที่เกิดขึ้นในระยะที่ไม่ยาวนาน แต่มีความรุนแรงสูง โดยจะมีอาการเกิดขึ้นเป็นลำดับ เบื้องต้นมักจะเกิดจากการคาดว่า เกรงว่า สิ่งที่ไม่ดีจะเกิดขึ้น จะมีความเสียหายเกิดขึ้น คิดว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ คิดว่าจะล้มเหลว ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ซึ่งได้แก่อาการใจสั่น เหงื่อออก หายใจไม่อิ่ม นอนไม่หลับ ระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหารปั่นป่วน เป็นต้น
ส่วนระยะถัดมา เมื่อทราบถึงผลของเหตุการณ์แล้วว่าไม่ได้ผลอย่างที่คิด ไม่สำเร็จ ก็จะเกิดอาการผิดหวัง ท้อแท้ ซึมเศร้า ซึ่งได้แก่ อาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ คิดช้า ไม่มีกำลังใจ รู้สึกตัวเองไร้คุณค่า ในรายที่อาการรุนแรง อาจจะมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ อยากฆ่าตัวตาย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับตนเอง และผู้อื่น
นพ.ไกรสิทธิ์ ให้ข้อสังเกตว่า เนื่องจากคนเราไม่สามารถรู้ได้ว่าภาวะจิตตกจะเกิดขึ้นกับเราหรือไม่ เมื่อไร ทางที่ดีจึงควรทำความรู้จักวิธีการรับมือกับภาวะจิตตกเพื่อเป็นการป้องกันเอาไว้ เช่น การเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยการลดระดับความเครียดในแต่ละวันไม่ให้เกิดการสะสม พยายามหาเวลาเพื่อพักกายและพักใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะหลงลืมไป การพักกายและพักใจ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ในแต่ละวัน ควรที่จะมีเวลาออกกำลังกายเพื่อยืดเส้นยืดสายลดความเครียด และช่วยให้ฮอร์โมนเอ็นโดรฟินส์ในสมองซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้คนเรารู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขหลั่งออกมา
"คนที่หิว หรือ นอนไม่พอ ความอดทนจะต่ำ อารมณ์จะหงุดหงิด ฉุนเฉียวได้ง่าย อาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันได้ทั้งภายในครอบครัวและที่ทำงาน" จิตแพทย์ท่านนี้เผย
นอกจากการพักกายที่มีความสำคัญแล้ว การพักใจก็ควรทำเป็นประจำด้วย ถ้าทำได้ทุกวันก็จะเป็นการดี การทำให้ใจได้พัก โดยการทำงานอดิเรกที่ชอบทำแล้วมีความสุข สมองได้พักผ่อน เพื่อช่วยให้อารมณ์ลบในแต่ละวันได้ถูกถ่ายเทออกไป ไม่สะสม จิตใจก็จะผ่องใส สามารถรับแรงกดดันในชีวิตได้ดีขึ้น เกิดภาวะจิตตกได้ยากขึ้น
สำหรับคนที่ตกอยู่ในภาวะจิตตก จิตแพทย์ท่านนี้ ได้ให้แนะเทคนิคเอาชนะภาวะจิตตกไว้ 4 ทักษะ ดังต่อไปนี้
1. ความเชื่อมั่นว่าจะผ่านพ้นปัญหาไปได้ ส่วนจะช้าหรือเร็วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง การเชื่อมั่นว่าปัญหาจะมีทางออกในที่สุด จะช่วยให้มีกำลังใจต่อสู้ต่อไปได้
2. ความสามารถมองเห็นข้อดีหรือข้อบวกของสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาเป็นกำลังใจให้ต่อสู้ต่อไปได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน จึงจะทำได้ดี
3. การมองปัญหาและการวางแผนแก้ไขแบบเป็นขั้นตอน แล้วจัดการแก้ไขไปทีละขั้นทีละเปลาะ การทำการแก้ไขได้สำเร็จทีละขั้นจะช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าจะแก้ปัญหาได้สำเร็จในที่สุด
4. สำหรับคนที่พยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเองแล้วยังไม่สำเร็จ อาจจะต้องอาศัยตัวช่วย คือ ความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ได้แก่ เพื่อนสนิทหรือญาติผู้ใหญ่ ในการช่วยมองปัญหา ให้คำปรึกษาแนะนำ
นพ.ไกรสิทธิ์ ทิ้งท้ายว่า ในบางรายถ้าประสบกับปัญหาที่ใหญ่และหนักหนามาก หลังรับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างแล้วยังไม่ดีขึ้น และอาจมีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้า จนไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงานได้ ก็อาจจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ เพื่อช่วยเหลือให้ต่อสู้กับปัญหาและผ่านวิกฤติไปได้ และหวังว่าคนไทยทุกคนจะไม่ต้องประสบกับภาวะจิตตก ถ้าจะต้องพบก็ขอให้รับมือได้ และที่สำคัญในทุกๆ วันก็อย่าลืมที่จะมีเวลาสำหรับพักกายและพักใจด้วย
-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000083698-
.