ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2012, 11:38:54 pm »


ตลาดมือถือโต แต่ความปลอดภัยต่ำ

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:05 น.

-http://www.dailynews.co.th/technology/135180-











ในวันที่ปริมาณการใช้งานโทรศัพท์มือถือทะลุ  70 ล้านเลขหมาย และโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนกำลังโตอย่างต่อเนื่อง

วันนี้กลับพบว่าโทรศัพท์มือถือที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยกลับใช้เอกสารปลอม!

แม้เรื่องคุณภาพจะไม่ได้รับการยืนยันว่าไม่ดี แต่การใช้เอกสารปลอมก็บ่งบอกเรื่องความซื่อตรงในการให้บริการ และความเชื่อมั่นเรื่องความปลอด ภัยในการใช้งาน

ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าโทรศัพท์มือถือเพื่อจำหน่ายในประเทศเฉลี่ยปีละ 16 ล้านเครื่อง ล่าสุดพบโทรศัพท์มือถือที่ใช้เอกสารปลอมทั้งหมด 280 รุ่น จาก 27 บริษัท รวมกว่า 970,000 เครื่อง

กระทั่งเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 55 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ได้ออกคำสั่งบังคับทางปกครองโดยเพิกถอนใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ จำนวน 280 รุ่น จาก 27 บริษัท รวมกว่า 970,000 เครื่อง เนื่องจากใช้รายงานผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการทดสอบของต่างประเทศที่ไม่ได้ออกโดยห้องปฏิบัติการทด สอบของต่างประเทศนั้น หรือมีการปลอมแปลง หรือแก้ไข เปลี่ยนแปลง ลดทอน แต่งเติมเนื้อหาหรือข้อมูลในรายงานผลการทดสอบ ให้ผิดแผกจากรายงานผลการทดสอบต้นฉบับ และภายใน  2-3 วันทางสำนักงานจะดำเนินการตามกฎหมายให้ดำเนินงานตามกฎหมายอาญา

ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ได้ตรวจสอบการนำเข้าโทรศัพท์มือถือตั้งแต่ปี 2552 และพบว่าโทรศัพท์มือถือที่นำเข้าใช้เอกสารปลอมตั้งแต่ต้นปี 2554 ซึ่งวันที่ 20 มิ.ย. 55 ที่ประชุม กสทช. มีมติให้เพิกถอนใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์จำนวน  280 รุ่น จาก 27 บริษัท และให้ผู้ประกอบ การดำเนินการใน 2 ทางเลือก คือ 1. ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้นำออกเครื่องวิทยุคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศสำนักงาน กสทช. ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ และนำเครื่องโทรคมนาคมดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักร และทำลายเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ดังกล่าวภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศสำนักงาน กสทช. มีผลบังคับใช้และ 2. ให้รายงานการครอบครองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์แบบ/รุ่นที่ถูกเพิกถอนเฉพาะแบบ/รุ่นที่ผู้ประกอบการทั้ง 27 รายเป็นผู้นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายหรือใช้งาน แต่มิได้เป็นผู้ยื่นขอและได้รับใบรับรอง ต่อสำนักงาน กสทช. ภายใน 30 วัน

สำหรับประกาศเพิกถอนใบรับรองเครื่องโทรคมนาคม ของ กสทช. ยังอยู่ระหว่างรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วทั้ง 27 บริษัทนำเข้ามือถือจะมีเวลาดำเนินงานตามข้อ 1 และ ข้อ 2 เป็นเวลา 30 วัน โทรศัพท์มือถือที่พบว่ามีการใช้เอกสารปลอมมีทั้งหมด 280 รุ่น จาก 27 บริษัท ประกอบด้วย รุ่น “อาม่า” กับ “อาม่า พลัส” ของ บริษัท มีเดีย อินฟินิตี้ จำกัด และโทรศัพท์มือถือยี่ห้อเอ็มทีเอ็ม (MTM) พบปลอมแปลงเอกสาร 45 รุ่น และของบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) ในรุ่นเจโฟน 8 รุ่น ส่วนบริษัท ทีดับบลิวแซด จำกัด (มหาชน) หรือ TWZ พบว่ารุ่นโฟนวันมี 29 รุ่นที่เป็นเอกสารปลอม เป็นต้น

หลังจากเกิดเรื่องราวนี้ขึ้น แนวทางแก้ไขของสำนักงาน กสทช. คือ การตรวจสอบเอกสารที่เข้มข้นขึ้น เพราะปัจจุบันมีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตในการนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคม หรือโทรศัพท์มือถือเข้ามาจำหน่ายในประเทศประมาณ 500-600 ราย.

... กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค-ไม่เสียหายก็ใช้ต่อ ...

น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า โดยหลักการไม่มีหลักฐานว่าเครื่องไม่ได้มาตรฐานเพราะไม่ได้มีการพิสูจน์ เพียงแต่ผู้ขอใบอนุญาตในการนำเข้าใช้เอกสารปลอม โดยเครื่องมือถือที่ประชาชนซื้อไปแล้วถ้าใช้แล้วไม่เกิดปัญหาก็ใช้ต่อไป แต่ถ้าพบว่าเกิดความเสียหายสามารถฟ้องตามพ.ร.บ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้บริโภคต้องชี้แจงให้ได้ว่าเสียหายอย่างไร เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีใบรับรองคุณภาพปลอมแล้วทำให้คลื่นรบกวนอุปกรณ์ไฟฟ้าจนทำให้เกิดความเสียหาย ส่วนจะคืนเครื่องมือถือได้หรือไม่ ในขณะที่ตกลงจะซื้อเครื่องมือถือก็ถือว่าเป็นการสมยอมกันไปแล้ว โดยส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะได้เงินคืน หรือถ้าเกิดความเสียหายสามารถโทรร้องเรียนที่เลขหมาย 1200 ของกสทช.ได้

“โทรศัพท์มือถือมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2 ปี และมติให้เพิกถอนใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์จำนวน 280 รุ่น จาก 27 บริษัท ก็เพื่อไม่ให้บริษัทนำโทรศัพท์มือถือที่ยังค้างอยู่ในสต๊อกมาจำหน่าย แต่ที่จำหน่ายไปแล้วก็ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะตัดสินใจอย่างไร” น.พ.ประวิทย์ กล่าว

@phetchan

.