ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 09:25:11 pm »

เทคนิคง่าย ๆ ในการน้อมรับคำวิจารณ์โดยไม่ให้รู้สึกโกรธ

-http://men.kapook.com/view43675.html-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน ชีวิตของทุก ๆ คนย่อมหนีไม่พ้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้างอย่างแน่นอน ทั้งในเรื่องของอาชีพการงานและวิถีการดำเนินชีวิตของตัวเอง ซึ่งแน่นอนล่ะว่าหากยอมรับคำวิจารณ์เหล่านั้นได้ ก็อาจส่งผลดีในด้านการพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้ดีขึ้น ทว่าบ่อยครั้งที่ถ้อยคำวิพากษ์วิจารณ์ กลับทำลายความรู้สึกและริดรอนความเชื่อมั่นของผู้ฟังไปอย่างง่ายดาย ดังนั้น เราจึงได้นำเทคนิคเตรียมรับมือในการฟังคำวิจารณ์มาแนะนำให้ได้ทราบกัน

ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง

          นิสัยโดยธรรมชาติของคนเรา ส่วนใหญ่แล้วเมื่อได้ยินคำวิจารณ์ในเชิงลบมา มักเกิดอารมณ์โมโหขึ้นมาทันที เพราะคุณเชื่อว่าตัวเองไม่ได้เป็นอย่างที่พูด อีกทั้งยังอาจตอบโต้ผู้วิจารณ์กลับไปด้วยถ้อยคำที่รุนแรง โดยขาดความยั้งคิดก่อน ทางที่ดีคุณลองพยายามตั้งสติและใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งเดือดดาลจนเกินไป แล้วลองพิจารณาสิ่งที่ผู้วิจารณ์พูดให้ดีเสียก่อน จากนั้นคุณจะเริ่มเข้าใจความหมาย รวมทั้งจุดประสงค์ที่แท้จริงของคำพูดเหล่านั้น เพราะบางครั้งผู้วิจารณ์อาจต้องการติเพื่อก่อประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่ความรู้สึกส่วนตัวแต่อย่างใด

หัดคิดบวกบ้าง

          คุณไม่จำเป็นต้องแสดงปฎิกิริยาในเชิงลบออกมาทุกครั้งที่ได้ยินคำวิจารณ์จากคนรอบข้าง อันที่จริงแล้วคุณต้องขอบคุณคนเหล่านั้นด้วยซ้ำ ที่ทำให้ได้มองเห็นความผิดพลาดของตัวเองในมุมที่คุณไม่อาจมองเห็นได้ และลองคิดในอีกด้านหนึ่ง นักวิจารณ์ที่อยู่รอบตัวทั้งหลาย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือแม้แต่เจ้านายของคุณ อาจต้องการเห็นคุณเปลี่ยนตัวเองให้ดีกว่าเดิมยังไงล่ะ อย่าได้คิดไปก่อนว่าพวกเขามองคุณในแง่ร้ายเสมอไป

พยายามพัฒนาตัวเองให้ดีกว่าเดิม

          คำติติงต่าง ๆ ที่ได้รับมานั้น นอกจากจะช่วยให้คุณมองเห็นข้อผิดพลาดของตัวเองแล้ว ยังเป็นแรงผลักดันที่ช่วยให้คุณนำไปปรับปรุง แก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ จากนั้นคุณก็จะพยายามพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น จนในที่สุดคุณก็กลายเป็นคนที่มีศักยภาพมากกว่าเดิม อย่างไรก็ดี อย่าใส่ใจกับคำวิจารณ์ที่ฟังดูไร้เหตุผล และใช้ถ้อยคำหยาบคายกับคุณให้มากนัก เพราะในบางครั้งผู้วิจารณ์อาจพูดไปด้วยความรู้สึกส่วนตัว ไม่ใช่ความจริงที่ปรากฏแต่อย่างใด

เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากคำวิพากษ์วิจารณ์

          หลายครั้งที่ทุกคำวิจารณ์ที่ได้ยินมา ถึงแม้ว่ามันจะฟังแล้วทำให้คุณรู้สึกเจ็บจี๊ด เสียดแทงสักแค่ไหน แต่คำพูดเหล่านั้นก็เปิดโอกาสให้คุณได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพิ่มเติมในชีวิต เนื่องจากคำวิจารณ์จะช่วยให้คุณหันมาวิเคราะห์ถึงการกระทำของตัวเอง รวมทั้งมองหาข้อผิดพลาด และทำให้คุณมีโอกาสที่จะแก้ไขมัน จนท้ายที่สุดสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับการวิจารณ์มา จะกลายเป็นบทเรียนอันล้ำค่าสำหรับคุณเอง

อย่าเจ้าคิดเจ้าแค้นกับผู้วิจารณ์

          โอเคล่ะ มันก็เข้าใจได้อยู่หรอกว่าคำวิพากษ์วิจารณ์อันดุเด็ดเผ็ดร้อน บางทีก็ทำให้เกิดบันดาลโทสะ และสร้างความเคียดแค้นให้กับคุณได้อยู่เหมือนกัน แต่การยึดติดอยู่กับความรู้สึกโมโหนั้น กลับทำให้คุณดูมีนิสัยเด็ก ๆ ที่ไม่สามารถปล่อยวางหรือละทิ้งความรู้สึกแย่ ๆ ออกไปได้ หากไม่ได้ตอกหน้าผู้วิจารณ์กลับไป ทางที่ดีควรปฏิบัติตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะมากพอที่จะน้อมรับคำวิจารณ์ด้วยความเต็มใจ แล้วเมื่อไหร่ที่ต้องเจอกับคำวิจารณ์ที่ไร้เหตุผล คุณจงหัวเราะกับมันได้เต็มที่ โดยไม่มีรู้สึกโกรธเคืองกับคำพูดเหล่านั้นแต่อย่างใด

          เห็นไหมครับว่า หากเราพยายามปรับทัศนะคติ จูนความคิด และทำความเข้าใจกับคำวิจารณ์ได้ ถ้อยคำเหล่านั้นก็กลายเป็นแค่เรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งที่คนเราต้องเผชิญหน้ากันอยู่ในทุกวัน เพราะไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบไปซะทุกอย่าง โดยไม่เคยทำเรื่องผิดพลาดมาก่อนหรอกนะ อยู่ที่ว่าเราจะยอมรับคำวิจารณ์ และนำมาพัฒนาตัวเองได้มากแค่ไหนต่างหาก


.