ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 03:39:45 pm »-http://flickrhivemind.net/User/Mig_T_One/Recent
ความหมายของคำว่า"กิเลส"
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า
" เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้
กิเลสหนา กิริยามารยาท ในคำว่า กิเลสหยาบ"
พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต) ให้ความหมายว่า " สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง,
ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์"
พุทธทาสภิกขุ ให้ความหมายว่า "ความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกูก็ตาม เป็นของกูก็ตาม
นี่แหละคือ แม่บทของกิเลสทั้งปวง"
พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ให้ความหมายว่า " คำว่ากิเลสตรงกับคำว่าโรค กิเลสเป็นโรค
ของจิต หมายถึงสิ่งที่ทำให้จิตเสื่อมโทรมนั่นเอง"
สุชีพ ปุญญานุภาพ ให้ความหมายว่า " คือความไม่ดีไม่งาม หรือความเศร้าหมอง
ในจิตใจ อันกล่าวโดยย่อ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง"
ดังพุทธพจน์ที่ว่า " ปภสรมิทํ ภิกขเว จิตตํอาคนตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฎฐํ"
แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ถูกกิเลสที่จรมาทำให้เศร้าหมอง
มีหลายศัพท์ที่มีความหมายเดียวกันกับกิเลสหรือเป็นไวพจน์ของกิเลส เช่น ตัณหา
โอฆะ สังโยชน์ คันถะ โยคะ อาสวะ เป็นต้น
ประเภทของกิเลส
พระพุทธเจ้าตรัสแสดงกิเลสไว้มากมายหลายประเภท โดยต่างเวลา สถานที่ และบุคคล จึงไม่อาจทราบจำนวนทั้งหมดของกิเลสว่ามีจำนวนเท่าใด อาจเป็นไปได้ว่าการที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสจำนวนสุทธิของกิเลสนั้น เพราะว่ากิเลสมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนและสรรพสัตว์มีกิเลสแตกต่างกันและไม่เท่าเทียมกันตามระดับของสภาพจิตที่ไม่เหมือนกัน สังเกตได้จากหลักธรรมที่ทรงแสดงนั้นอนุกูลหรือเหมาะแก่จริตหรืออัชฌาศัยของผู้ฟังเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เป็นเพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอัชฌาศัยของผู้ฟังก่อนแสดงธรรม เหตุนี้ทำให้ผู้ฟังบรรลุธรรม คงเป็นเพราะเหตุนี้ กิเลสจึงถูกแสดงไว้ตามที่ปรากฎในหลายสูตรและมีหลายหมวดหมู่เหมือนกันบ้างต่างกันบ้าง
ในพุทธปรัชญา คำว่า " กิเลส " เป็นคำที่มีความหมายกว้าง หมายถึงสภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมองทุกประเภท
แต่กิเลสที่เป็นอกุศลมูลหรือต้นเค้าของกิเลสทั้งหมด มี ๓ ประเภท คือ:
-โลภะ คือ ความทะยานอยาก
-โทสะ คือ ความคับแค้น
-โมหะ คือ ความลุ่มหลง
ระดับของกิเลส
เกี่ยวกับระดับของกิเลสนี้ ท่านจำแนกไว้ ๓ ระดับ คือ :
๑. กิเลสอย่างหยาบ (วีติกกมกิเลส) คือ กิเลสระดับต้นที่เป็นเหตุให้แสดงพฤติกรรมที่เร่าร้อนและรุนแรงทางกายและวาจาของบุคคลผู้หมุกมุ่นในกามคุณ ๕ อย่างรุนแรง กิเลสระดับนี้ ได้แก่ อกุศลกรรมบท ๑๐ อย่าง มี การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ เป็นต้น กิเลสระดับนี้กำจัดได้ด้วยศีล
๒. กิเลสอย่างกลาง ( ปริยุฎฐานกิเลส) คือ กิเลสระดับกลางที่เป็นปฎิปักข์ต่อความสงบแห่งใจ คอยขัดขวางไม่ให้ใจเกิดสมาธิ กิเลสระดับนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕ มี กามฉันทะ พยาบาท เป็นต้น และอุปกิเลส ๑๖ มีความโกรธ ความถือตัว เป็นต้น กิเลสระดับนี้กำจัดได้ด้วยสมาธิ
๓. กิเลสอย่างละเอียด (อนุสัยกิเลส) คือ กิเลสระดับสูงสุดที่หมักหมมนอนเนื่องแนบแน่นในส่วนลึกแห่งใจจนเกิดความรู้สึกว่ากิเลสหมดแล้ว แต่ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ต่อเมื่อใจถูกอารมณ์อันเป็นปฎิปักข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ กิเลสระดับนี้จะปรากฎขึ้นทันที เปรียบเหมือนตะกอนที่นอนนิ่งในน้ำ หากน้ำถูกรบกวนอยางรุนแรงมันจะฟูฟุ้งขึ้นทันทีตามแรงกระทบของน้ำนั้นๆ กิเลสระดับนี้ ได้แก่ อนุสัยกิเลส ๗ มี กามราคะ ปฎิฆะ เป็นต้น วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ มี โอภาส ญาณ เป็นต้น กิเลสระดับนี้กำจัดได้ด้วยปัญญา
ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่าง
1. กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง 5
2. ภวตัณหา คือ ความอยากทางจิตใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง
3. วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความคิดที่ผิด (อุจเฉททิฐิ)
ตัณหา 6 หมวด ได้แก่
1. รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
2. สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
3. คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
4. รสตัณหา คือ อยากได้รส
5. โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
6. ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42707&p=300373#p300373
49996.ว่าด้วยอสังขตะและทางให้ถึงอสังขตะ
สำหรับพระธรรมคำสอน การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานนี่ เป็นการฝึกละในความอยากมี อยากได้ อยากเป็นอะไรๆ ในคำเรียกต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านั้น หากยังมีเหตุปัจจัยของการเกิดอยู่ ขึ้นชื่อว่า การเกิด ล้วนเป็นทุกข์
เวลาทำความเพียร จงระลึกไว้เสมอว่า การทำความเพียรนี้ เพียรเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน คือ การไม่เกิด
เวลาเจอผัสสะต่างๆ จะได้มีกำลังที่จะสู้กับตัณหา ความทะยานอยากที่เกิดขึ้น ประมาณว่า ขึ้นชื่อว่า การเกิด ล้วนเป็นทุกข์
เมื่อไม่อยากเกิด ต้องอดทนอดกลั้น ต่อผัสสะที่มีเกิดขึ้น ซึ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ไม่ว่าจะมีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือ ขณะทำความเพียรอยู่ ก็ตาม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=49996