ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2012, 06:04:15 pm »




หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ถวายเครื่องสักการะแด่
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมวัดป่าสาลวัน


มูลกรรมฐาน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
(คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ)

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่าน
ตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตั้งใจถึงพระองค์ พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

สติปัฏฐานเป็นหลักปฏิบัติทั้งเพื่อสติ และทั้งเพื่อญาณคือความหยั่งรู้ หรือปัญญาความรู้ทั่วถึง และนำให้ตั้งอยู่ในศีลได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อจิตตั้งไว้ดีแล้ว อาการทางกายวาจาตลอดถึงใจก็ย่อมจะเป็นไปดี และก็ชื่อว่าเป็นผู้อันธรรมะรักษา ธรรมะนั้นก็แปลว่าทรงไว้ ดำรงไว้ โดยตรงก็คือทรงดำรงจิตใจนี้เองให้ตั้งอยู่โดยชอบ ถ้าไม่มีธรรมะรักษาให้ตั้งอยู่โดยชอบ จิตใจนี้ก็ย่อมจะตกต่ำลงได้โดยง่าย ถ้าเทียบเหมือนอย่างร่างกาย ก็ทรงร่างกายอยู่ไม่ได้ เหมือนคนที่เป็นลมล้มลง ทรงร่างกายไว้ไม่ได้ หรือไม่เป็นลมล้มลง บางทีก็หกล้มหกคะเมน ทรงตัวอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น แม้ร่างกายเองจะทรงหรือดำรงอยู่ได้ก็ต้องมีกำลังสำหรับที่จะทรงกาย โดยมีชีวิตเป็นเครื่องดำรงอยู่เป็นหลักแกน เมื่อมีชีวิตดำรงอยู่เป็นหลักแกนกับมีกำลังสำหรับที่จะดำรงกาย จึงดำรงกายอยู่ได้ เดินได้ ยืนได้ นั่งได้ นอนได้ ลุกขึ้นอีกได้ โดยเสรีคือตามประสงค์

จิตใจต้องมีธรรมะรักษา
จิตใจนี้ก็เช่นเดียวกันต้องมีธรรมะรักษาอยู่จึงจะดำรงอยู่ได้ไม่ตกต่ำ และดำเนินอิริยาบถของจิตใจไปได้ต่างๆ โดยชอบ ธรรมะสำหรับที่จะเป็นเครื่องดำรงจิตใจนั้น ก็ธรรมะทุกข้อนั่นแหละ จะเป็นสติก็ดี จะเป็นปัญญาก็ดี จะเป็นศีลก็ดี เป็นสมาธิก็ดี เป็นปัญญาก็ดี จะเป็นขันติความอดทน โสรัจจะความสงบเสงี่ยม เป็นต้นก็ดี เหล่านี้ล้วนเป็นธรรมะสำหรับเป็นเครื่องดำรงจิตใจทั้งนั้นไม่ให้ตกต่ำ

ดังจะพึงเห็นได้ว่าจิตใจที่ตกต่ำไม่มีธรรมะสำหรับที่จะดำรงอยู่ คือขาดวิรัติความตั้งใจงดเว้น ขาดสติขาดขันติเป็นต้น จึงมุ่งละเมิดศีล เพราะว่าก่อเจตนาความจงใจละเมิดศีลต่างๆ ก่อกรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลทุจริตต่างๆ ดั่งนี้เป็นใจล้มทั้งนั้น ไม่ใช่ใจตั้ง ใจล้ม ไม่มีธรรมะมีวิรัติความตั้งใจงดเว้นเป็นต้นดังกล่าว แต่ที่ทุกคนรักษาศีลไว้ได้ก็เพราะใจตั้งได้ ไม่ล้ม โดยมีวิรัติเจตนาความตั้งใจงดเว้น มีสติ มีขันติเป็นต้นรักษาไว้

และเมื่อปฏิบัติในสมาธิคือตั้งใจมั่น ความตั่งใจมั่นนั้นก็คือตั้งใจไว้ได้โดยชอบ มั่นคง ไม่ล้มไปตามอารมณ์และกิเลส ที่บังเกิดขึ้นทำจิตใจให้กลัดกลุ้มรุ่มร้อนต่างๆ ถ้าหากว่าไม่มีตัวสมาธิคือความตั้งจิตมั่น จิตใจก็ย่อมจะโงนเงนตั้งไม่ติด จนถึงจิตล้ม และเมื่อจิตล้มแล้วก็เสียหมด ความตั้งใจไว้ดี การกระทำที่ดีต่างๆ อันเกิดจากความตั้งใจดี ก็ล้มหมดไปตามจิตที่ล้ม

แต่ถ้าหากว่าตั้งจิตอยู่ได้มั่นนี่แหละคือตัวสมาธิ แม้ว่าจะมิได้มานั่งปฏิบัติทำสมาธิ ในขณะที่ประกอบกิจการต่างๆ อยู่โดยปรกตินั่นแหละ เมื่อมีจิตตั้งอยู่มั่นคงในทางที่ชอบ แม้ว่าจะประสบอารมณ์จนบังเกิดกิเลส กองโลภก็ดี กองโกรธก็ดี กองหลงก็ดี ขึ้นก็มีธรรมะรักษาไว้ได้ ไม่แพ้อารมณ์ ไม่แพ้กิเลส จิตตั้งอยู่ได้ ดั่งนี้ ก็เรียกว่ามีธรรมะรักษา แต่ถ้าจิตหวั่นไหวไปเท่าไร โงนเงนไปเท่าไร ก็เรียกว่ามีธรรมะรักษาน้อย จนถึงล้มก็แปลว่าไม่มีธรรมะรักษา

สมาธิที่ต้องมีประจำตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาดูจิตของตนว่าเป็นอย่างไรให้รู้ตามเป็นจริง และก็ให้รู้ว่า ถ้าจิตนั้นโงนเงนจะล้มก็แปลว่าทิ้งธรรมะ ไม่นำธรรมะเข้ามาตั้งไว้ให้มั่นคง ดั่งนี้แหละคือขาดสมาธิ ก็เตือนใจให้นำธรรมะเข้ามาตั้งไว้ นำสติ นำขันติ นำปัญญาเข้ามาตั้งไว้ และเมื่อนำเข้ามาตั้งไว้ได้ ก็จะแก้ไขจิตที่หวั่นไหวโงนเงนจะล้มนั้นได้ ให้ตั้งอยู่ได้ดำรงอยู่ได้ นี้แหละคือสมาธิ เป็นสมาธิที่ต้องการให้มีอยู่ประจำตนทุกเวลา ไม่ใช่แต่ในขณะที่มานั่งทำสมาธิเท่านั้น

การที่มานั่งทำสมาธินี้เท่ากับว่ามาฝึกหัด เหมือนอย่างทหารที่ฝึกหัด การฝึกหัดนั้นก็เพื่อจะนำไปใช้จริง ในเมื่อเกิดการปฏิบัติหน้าที่ หรือในขณะสงคราม ผู้ปฏิบัติธรรมะก็เหมือนกัน ขณะที่มานั่งหัดปฏิบัตินี้เท่ากับมาฝึกหัด สำหรับที่จะไปเผชิญกับเหตุการณ์ทั้งหลาย ในเมื่อเลิกจากการนั่งสมาธินี้ไปแล้ว ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ในกิจการทุกๆ อย่าง เพราะจะต้องประสบกับข้าศึกคืออารมณ์และกิเลสทั้งหลายโดยรอบ

ฉะนั้น จึงต้องมีธรรมะรักษาอยู่อย่างมั่นคง ทำความรู้สึกอยู่เสมอว่า จะต้องมีธรรมรักษาอยู่อย่างมั่นคง ไม่ยอมให้บรรดาอารมณ์และกิเลสทั้งหลายมาทำจิตใจให้รวนเร ให้ล้ม บุคคลที่ประพฤติทุจริตต่างๆ ล้วนมีจิตล้มทั้งนั้น ดังเช่นผู้ปฏิบัติหน้าที่การงานต้องรักษาทรัพย์ของผู้อื่น ตลอดจนถึงของหลวงของแผ่นดิน เมื่อเห็นทรัพย์เข้าแล้วเกิดโลภขึ้น ถ้าใจล้มไปเพราะความโลภแล้ว ก็ย่อมจะประกอบการทุจริต คดโกงฉ้อฉลเป็นต้น ไปตามอำนาจของกิเลสกองโลภะ นี่เรียกว่าจิตล้ม โลภเข้ามาแล้วจิตล้ม ล้มความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งอาจจะได้เคยตั้งใจไว้ว่าจะปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ก็แปลว่าในขณะที่ยังไม่พบเครื่องล่อ ก็ดูเหมือนว่าจิตใจนี้ก็ซื่อสัตย์สุจริตดีอยู่ แต่ครั้นไปพบเครื่องล่อเข้าแล้ว ใจก็ล้มไปเพราะความโลภ เมื่อใจล้มก็เป็นอันว่าทำทุจริตได้


กองโทสะก็เหมือนกัน ก็ตั้งใจไว้ว่าจะตั้งอยู่ในความสุจริต จะประกอบกรรมอันเป็นกุศลต่างๆ แต่เมื่อประสบอารมณ์และกิเลสที่เป็นกองโทสะ ก็ทำให้ใจล้ม เพราะเหตุว่าไปปฏิบัติเป็นการประทุษร้ายผู้อื่นบ้าง ประทุษร้ายตนเองบ้าง ประทุษร้ายผู้อื่นนั้นก็คือว่าไปทำร้ายเขาด้วยความโกรธ ประทุษร้ายตนเองนั้นก็คือว่าเลิกละกิจที่ควรจะทำเพราะความโกรธ ก็เป็นอันว่าใจล้มนั่นเอง แต่ถ้าหากว่ามีธรรมะรักษาอยู่ก็จะตั้งใจไว้ได้

กิเลสกองโมหะคือความหลงถือเอาผิดต่างๆ ก็เหมือนกัน เมื่อประมาทปัญญาเสียอย่างเดียว คือไม่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาให้ดี หลงเชื่อ หลงถือเอาผิดด้วยเข้าใจว่าถูกต้อง เมื่อเป็นดั่งนี้จิตก็ล้มไปด้วยอำนาจของโมหะ คือความหลง โดยที่ไม่รู้ตัวเองว่าหลง เข้าใจว่าตัวเองถูก

แต่อันที่จริงนั้นผิด หลงดั่งนี้ก็น่าสงสารเพราะไม่รู้ว่าหลง คิดว่ารู้ คิดว่าถูก เพราะเหตุที่ประมาทปัญญา เผลอปัญญา ไม่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณา ไม่ใช้วิจารณญาณใคร่ครวญไตร่ตรองให้รอบคอบ แต่ถ้าหากว่าไม่ด่วนเชื่อ ไม่ด่วนถือเอาโดยง่าย พินิจพิจารณาเสียก่อน ย่อมจะหลงน้อยเข้า หรือว่าไม่หลง ในเมื่อรู้ถูกต้อง จิตก็จะตั้งอยู่ได้ด้วยปัญญาเป็นแสงสว่าง นำทางปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง

ปัญญานี้เป็นข้อสำคัญ แต่คนเราที่หลงปัญญาเผลอปัญญา ประมาทปัญญากันโดยมากนั้น
ก็เพราะว่ามิได้ควบคุมจิตใจให้เป็นสมาธิ และมิได้ตั้งอยู่ในศีลตามสมควร เมื่อเป็นดั่งนี้ จิตใจที่ขาดสมาธิก็เป็นจิตใจที่แกว่ง ดังที่เราเรียกว่าลำเอียง ก็เป็นความแกว่งนั้นเอง แกว่งไปด้วยอำนาจความชอบบ้าง ความชังบ้าง ความหลงบ้าง ความกลัวบ้าง ต่างๆ จึงจับความจริงไม่ได้ ก็ไม่เกิดปัญญา


สติปัฏฐานทำให้เกิดสติ ปัญญา
ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงได้ตรัสสอนให้ทำสติปัฏฐาน สำหรับที่จะได้ควบคุมจิตใจให้ตั้งอยู่ในความสงบ หัดให้จิตได้พบกับความสงบ ให้ตั้งมั่นอยู่ในทางที่ดี และให้ได้ปัญญาคือความรู้ในตนเอง ซึ่งเป็นข้อสำคัญ สติปัฏฐานทุกๆ ข้อนั้น ล้วนเป็นเครื่องทำให้เกิดสติพร้อมทั้งปัญญา รู้ในตนเองทั้งนั้น รู้ในลมหายใจเข้าออก รู้ในอิริยาบถ รู้ในอาการของกายต่างๆ อันเรียกว่าสติบ้างสัมปชัญญะบ้างเป็นต้น

และนอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีที่จะระงับกิเลส กองราคะโทสะโมหะเป็นต้นอีกด้วย เพราะกิเลสนี้เองหากว่ายังมีอำนาจมากอยู่ ก็จะครอบครองบุคคลให้ไปในอำนาจของกิเลสได้มาก และยังทำให้จิตใจนี้หลงมากขึ้นด้วย เพราะหลงไปนิยมชมชอบกิเลส ชอบกิเลสกองโลภะหรือราคะ กิเลสกองโทสะ กิเลสกองโมหะ เมื่อไปรักไปชอบกิเลสเข้าแล้วก็ทำให้ละกิเลสได้ยาก

และบรรดากิเลสเหล่านี้ กิเลสกองราคะท่านก็จัดไว้แล้วนำหน้า ราคะ โทสะ โมหะ ความติดใจยินดีก็เป็นตัวราคะ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในจิตใจเวลาที่ประสบอารมณ์ทั้งหลาย และตัณหาในจิตใจนี้เองก็ต้องการอารมณ์ของราคะก่อน คือต้องการจะได้อารมณ์ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งนั้น แปลว่าตั้งราคะขึ้นหน้า ไม่มีใครต้องการจะได้อารมณ์ที่เป็นที่ตั้งของโทสะ ต้องการที่จะได้อารมณ์อันเป็นที่ตั้งของราคะทั้งนั้น

จึงต้องการอารมณ์รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งนั้น เมื่อได้มาก็ยิ่งติดมากขึ้น ถ้าไม่ได้มาจึงจะเกิดโทสะความโกรธแค้นขัดเคือง และก็มีโมหะคือความหลงนี้หนุนอยู่ทั้งนั้น ทั้งในทางชอบ ทั้งในทางชัง จึงเรียกกันว่าหลงรักหลงชัง


เหตุที่ตรัสสอนข้อปฏิกูลปัพพะ
เพราะฉะนั้น เมื่อมีราคะนำอยู่ดั่งนี้ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสสอนข้อปฏิกูลปัพพะ คือข้อที่ให้พิจารณากายนี้ว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ด้วยให้จับพิจารณาซึ่งกายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ว่าเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดมีประการต่างๆ คือ

เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทันตา ฟัน ตโจ หนัง มังสัง เนื้อ นหารู เอ็น อัฏฐิ กระดูก อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก วักกัง ไต หทยัง หัวใจ ยกนัง ตับ กิโลมกัง พังผืด ปิหกัง ม้าม ปัปผาสัง ปอด อันตัง ไส้ใหญ่ อันตคุณัง สายรัดไส้ อุทริยัง อาหารใหม่ กรีสัง อาหารเก่า ปิตตัง น้ำดี เสมหัง น้ำเสลด ปุพโพ น้ำหนองน้ำเหลือง โลหิตัง น้ำเลือด เสโท น้ำเหงื่อ เมโท มันข้น อัสสุ น้ำตา วสา มันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฆาณิกา น้ำมูก ลสิกา ไขข้อ มุตตัง มูตร เป็นอาการ ๓๑

แต่ว่าที่เรียกกันว่าอาการ ๓๒ นั้น เพราะในพระสูตรบางพระสูตรได้เติมเข้ามาอีกข้อหนึ่ง คือ มัตถเกมัตถลุงคัง ขมองในขมองศรีษะ เติมไว้ท้ายธาตุดิน ท้ายธาตุดินนั้นก็คือว่า กรีสัง อาหารเก่า แล้วก็เติม มัตถเกมัตถลุงคัง ขมองในขมองศรีษะ เข้าตรงนี้ แต่หากว่าแม้ไม่เติมท่านก็แสดงว่าสรุป มัตถเกมัตถลุงคัง ขมองในขมองศรีษะ เข้าในเยื่อในกระดูก อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก

กรรมฐานที่เป็นมูล
ตรัสสอนให้พิจารณากายนี้ จำแนกออกไปโดยอาการ ๓๑ หรือ ๓๒ ดั่งนี้ ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลไม่สะอาดทั้งนั้น และโดยจำเพาะ ๕ ข้อข้างต้น

ท่านให้สอนนาคผู้จะเข้ามาอุปสมบทหรือบรรพชาก่อน คือ เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทันตา ฟัน ตะโจ หนัง ถือว่าเป็นมูลกรรมฐาน คือกรรมฐานที่เป็นมูล คือเป็นรากเหง้า เป็นมูลรากเหง้าของอะไร ก็ของกรรมฐานทั้งปวง ตลอดจนถึงวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนถึงวิชชาวิมุติหรือมรรคผลนิพพาน คือกรรมฐานทั้ง ๒ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนถึงมรรคผลนิพพาน หรือวิชชาวิมุตินั้น ก็จะต้องมีกรรมฐาน ๕ ข้อนี้เป็นมูล เป็นรากเหง้า

ทั้งนี้ก็เพราะว่า เมื่อจิตนี้มีราคะนำอยู่ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น การปฏิบัติบำราบจิต คือ บำราบราคะในจิตลงไปด้วยกรรมฐาน ๕ ข้อนี้ และเมื่อบำราบลงไปได้ การที่จะปฏิบัติให้ก้าวหน้าในกรรมฐานทั้งปวงต่อขึ้นไปจึงจะทำได้ ท่านจึงเรียกว่ามูลกรรมฐาน กรรมฐานที่เป็นมูล

ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

ที่มา -https://sites.google.com/site/smartdhamma/mul-krrmthan
nathaponson -http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8113.msg30083#msg30083