ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 02:02:46 pm »




10. เรื่องนางปฏาจารา

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภนางปฏาจารา  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  สนฺติ  ปุตฺตา  เป็นต้น

เมื่อนางปฏาจาราสูญเสียสามี   บุตรสองคน  ตลอดจนมารดาบิดา   และพี่น้องอีก 3 คน ในเวลาเกือบจะพร้อมกันนั้น   นางก็จึงเกือบจะเสียสติ   เมื่อนางมาเฝ้า   พระศาสดาตรัสกับนางว่า “ปฏาจารา  ชื่อว่าปิยชนทั้งหลายมีบุตรเป็นต้น  ย่อมไม่สามารถเป็นผู้ต้านทานหรือป้องกัน  ของบุคคลผู้ไปสู่ปรโลกได้  เพราะฉะนั้น  ชนเหล่านั้น  แม้มีอยู่  ก็ชื่อว่าไม่มีแท้  การที่บัณฑิตชำระศีลให้หมดจดแล้ว  ชำระหนทางเป็นที่ไปพระนิพพานเพื่อตนนั่นแล  ย่อมสมควร
จากนั้น  พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

น  สนฺติ  ปุตฺตา  ตาณาย
น  ปิตา  นปิ  พนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนยสฺส
นตฺถิ  ญาตีสุ  ตาณตา  ฯ
เอตมตฺถวสํ  ญตฺวา
ปณฺฑิโต  สีลสํวุโต
นิพฺพานคมนํ  มค์คํ
ขิปฺปเมว  วิโสธเย  ฯ


บุตรทั้งหลาย  ย่อมไม่มีเพื่อต้านทาน
บิดาและพวกพ้องทั้งหลาย  ก็ไม่มีเพื่อต้านทาน 
เมื่อบุคคลถูกความตายครอบงำแล้ว

ความต้านทานในญาติทั้งหลาย  ย่อมไม่มี.

บัณฑิต ทราบอำนาจเนื้อความ
ดังนี้แล้ว  เป็นผู้สำรวมในศีล
พึงชำระทางเป็นที่ไปพระนิพพาน

ให้หมดจดพลันทีเดียว.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  นางปฏาจารา  บรรลุโสดาปัตติผล  ชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย   มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/page2

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 12:42:56 pm »




09. เรื่องนางกิสาโคตมี

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภนางกิสาโคตรมี  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ตํ  ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ เป็นต้น

นางกิสาโคตมี   เมื่อคลอดบุตรออกมาแล้ว  บุตรนั้นได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา  นางไม่เคยเห็นคนตายมาก่อน  คิดว่าบุตรเพียงแค่ป่วยเท่านั้น  จึงได้อุ้มศพบุตรเที่ยวตระเวนหาหมอยา  มีผู้แนะนำให้ไปเฝ้าพระศาสดา  พระศาสดาได้ทรงแนะนำให้นางไปหาเมล็ดพันธุ์ผักกาด  จากบ้านที่ไม่เคยมีคนตายมาก่อนเลย  เมื่อนางหาไม่ได้  และได้กลับมาทูลพระศาสดาให้ทรงทราบ  พระศาสดาจึงได้ตรัสสอนนางว่า  “ท่านเข้าใจว่า บุตรของเราเท่านั้น  ตายแล้ว  ความตายนั่น  เป็นธรรมเที่ยงแท้ของสรรพสัตว์  เพราะมัจจุราชคร่าสรรพสัตว์  ผู้มีอัธยาศัยยังไม่เต็มเปี่ยมเหล่านั้น  ซัดลงไปในสมุทรคืออบาย  ดุจห้วงน้ำใหญ่   ฉะนั้น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ตํ  ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ
พฺยาสตฺตมนสํ  นรํ
สุตฺตํ  คามํ  มโหโฆว
มจฺจุ  อาทาย  คจฺฉติ ฯ


มัจจุ  พานระนั้น  ผู้มัวเมาในบุตรและปศุสัตว์
ผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆไป
เหมือนห้วงน้ำใหญ่

พัดพาเอาชาวบ้านผู้หลับไป  ฉะนั้น
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   นางกิสาโคตมี   บรรลุโสดาปัตติผล   พระธรรมเทศนามีประโยชน์  แม้แก่บุคคลผู้มาประชุมกัน.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 12:37:28 pm »



08. เรื่องพ่อค้ามีทรัพย์มาก

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพ่อค้ามีทรัพย์มาก  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า   อิธ  วสฺสํ  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   มีพ่อค้าจากเมืองพาราณสีผู้หนึ่ง  นำกองเกวียนบรรทุกสินค้า 500 เล่ม  มาพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ  คืนนั้นได้เกิดฝนตกหนัก  น้ำล้นตลิ่งตลอด  7  วัน  พ่อค้านั้นคิดจะจอดเกวียนขายสินค้าอยู่ที่นั่นตลอด 3 ฤดู  พระศาสดาทรงทราบด้วยพระอนาคตังสญาณว่า  พ่อค้านี้จะเสียชีวิตภายใน  7 วัน  จึงได้ตรัสบอกพระอานนทเถระ  พระอานนทเถระก็ได้ไปแจ้งพ่อค้าถึงเรื่องที่เขาจะเสียชีวิตภายใน 7  วันดังกล่าว  พ่อค้าพอได้ฟังก็เกิดสลดใจ  ได้อาราธนาพระศาสดาพร้อมภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตตลอด 7  วัน  ในวันที่  7 พระศาสดา ได้ตรัสอนุโมทนกถา  ว่า “  อุบาสก  ธรรมดาบัณฑิต  คิดว่า  เราจักอยู่ในที่นี้แหละตลอดฤดูฝนเป็นต้น  จักประกอบการงานชนิดนี้ๆ  ย่อมไม่ควร   ควรคิดถึงอันตรายแห่งชีวิตของตนเท่านั้น  “
จากนั้น   พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อิธ  วสฺสํ  วสิสฺสามิ
อิธ  เหมนฺตคิมฺหิสุ
อิติ  พาโล   วิจินฺเตติ
อนฺตรายํ  น  พุชฺฌติ ฯ


คนพาลย่อมคิดว่า
เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูฝน
จักอยู่ในที่นี้ในฤดูหนาว และฤดูร้อน

หารู้ถึงอันตรายไม่
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  พ่อค้ามีทรัพย์มากนั้น   ได้บรรลุโสดาปัตติผล   พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่บุคคลที่ประชุมกัน

ฝ่ายพ่อค้านั้นได้เดินตามส่งเสด็จพระศาสดาไปชั่วขณะหนึ่งแล้วเดินทางกลับ  มานอนบนที่นอน  มีความรู้สึกปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา  และได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 12:31:12 pm »



07. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ

พระศาสดา   เมื่อประทับในพระเชตวัน   ทรงปรารภสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า     อุจฺฉินฺท   เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   ชายหนุ่มบุตรนายช่องทองผู้หนึ่ง  เป็นหนุ่มรูปหล่อ   ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุ  โดยมีพระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปัชฌายะ   พระสารีบุตรเถระได้มอบหัวข้อพระกัมมัฏฐานซึ่งมีการพิจารณาสิ่งไม่งามเป็นอารมณ์(อสุภกัมมัฏฐาน)  ให้พระรูปนี้ไปปฏิบัติ   หลังจากรับหัวข้อพระกัมมัฏฐานนี้จากพระอุปัชฌายะแล้ว  พระหนุ่มรูปนี้ก็ได้เข้าไปปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอยู่ในป่า  แต่ก็มีความก้าวหน้าในพระกัมมัฏฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ดังนั้นท่านจึงกลับไปหาพระสารีบุตรเถระเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม  แต่เมื่อนำไปปฏิบัติ  ก็ยังไม่มีความก้าวหน้าเหมือนเดิม   คราวนี้พระสารีบุตรเถระได้พาภิกษุนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา  และกราบทูลเรื่องราวต่างๆให้พระศาสดาได้ทรงทราบ

พระศาสดา  ทรงทราบว่า  พระหนุ่มนี้เป็นบุตรของนายช่างทอง  และทรงทราบด้วยญาณพิเศษด้วยว่า  ภิกษุนี้เคยเกิดในตระกูลช่างทองมาแล้ว  500 ชาติ  จึงได้ทรงเปลี่ยนหัวข้อพระกัมมัฏฐานให้พระรูปนี้เสียใหม่  คือจากเดิมให้พิจารณาสิ่งที่ไม่งาม  ก็ให้มาพิจารณาในสิ่งที่งาม  โดยพระองค์ได้ทรงใช้พระฤทธิ์เนรมิตดอกบัวซึ่งมีขนาดใหญ่เท่าล้อเกวียน  แล้วให้นำดอกบัวนี้ไปปักไว้ที่กองทรายข้างนอกวัด   ให้นั่งขัดสมาธิหันหน้าไปทางดอกบัว  แล้วทำบริกรรมว่า  “โลหิตกํ  โลหิตกํ(สีแดง  สีแดง)  เมื่อภิกษุหนุ่มเพ่งพินิจดอกบัวใหญ่มีสีแดงสวยและมีกลิ่นหอม  และบริกรรมอย่างนั้น    ก็สามารถขจัดนิวรณ์เครื่องขวางกั้นทั้งหลาย   เกิดความปีติอิ่มเอิบใจ  จนถึงขั้นบรรลุฌานที่ 4(จตุตถฌาน)

พระศาสดา  ประทับในพระคันธกุฎี   ทอดพระเนตรเห็นด้วยญาณพิเศษ  จึงใช้อำนาจฤทธิ์เนรมิตให้ดอกบัวนั้นเหี่ยวแห้งอย่างฉับพลัน   เมื่อภิกษุหนุ่มเห็นดอกบัวเหี่ยวและเปลี่ยนสีเป็นสีดำเช่นนั้น  ก็ได้รับรู้ถึงความไม่เที่ยงของดอกบัวและของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง   และก็นำไปสู่การรู้แจ้งเห็นจริงในความไม่เที่ยง  ความเป็นทุกข์  และความไม่มีตัวตนของสังขารทั้งหลาย

เมื่อถึงตอนนี้  พระศาสดาประทับที่พระคันธกุฎี   ทรงเปล่งพระรัศมีไปปรากฏอยู่เฉพาะหน้าของภิกษุนั้น  แล้วตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อุจฺฉินท  สิเนหมตฺตโน
กุมุทํ  สารทิกํว  ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว  พฺรูหเย
นิพฺพานํ  สุคเตน  เทสิตํ  ฯ


เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย
เหมือนบุคคลถอนดอกโกมุทที่เกิดในสารทกาลด้วยมือ
จงเจริญทางแห่งสันติทีเดียว

เพราะพระนิพพาน   อันพระสุคตแสดงแล้ว
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น  ได้บรรลุอรหัตตผล.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 12:20:12 pm »



06. เรื่องพระเถระแก่

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระภิกษุแก่หลายรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า   วนํ  ฉินฺทถ เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   ในกรุงสาวัตถี   มีชายชราฐานะดีหลายคน   ออกบวชเป็นพระภิกษุ   พระภิกษุชราเหล่านี้ ไม่สามารถเล่าเรียนได้  เพราะความเป็นคนแก่   จึงให้คนสร้างบรรณศาลาไว้ที่หลังวัด   แม้ในเวลา ออกไปบิณฑบาตก็จะไปที่บ้านของบุตรและภรรยาของตน ในหมู่อดีตภรรยาของพระภิกษุแก่เหล่านี้  มีนางหนึ่งชื่อว่า  มธุรปาณิกา  เป็นผู้ทำอาหารเก่งมาก  นางจะคอยดูแลพระแก่เหล่านี้ทุกรูป   พระแก่เหล่านี้เมื่อได้อาหารจากการบิณฑบาตมาแล้วก็จะไปนั่งฉันอยู่ที่บ้านของนาง     อยู่มาวันหนึ่ง  นางมธุปาณิกาล้มป่วยและได้เสียชีวิตอย่างฉับพลัน   ภิกษุแก่เหล่านี้มีความเศร้าโศกร้องไห้รำพึงรำพันถึงนางผู้มีฝีมือในการทำอาหารอร่อย

พระศาสดา เมื่อทรงทราบเรื่องนี้   จากการสนทนาของภิกษุทั้งหลาย  ได้ตรัสว่า   เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตเหมือนกัน  และได้นำเรื่องกากชาดกมาตรัสเล่า   แล้วตรัสกับภิกษุชราเหล่านี้ว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธออาศัยป่า  คือ  ราคะ  โทสะ  และโมหะ  จึงถึงทุกข์นี้  พวกเธอควรตัดป่านั้นเสีย พวกเธอจักเป็นผู้หมดทุกข์ได้ด้วยอาการอย่างนั้น
จากนั้น  พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

วนํ  ฉินฺทถ  มา  รุกฺขํ
วนโต  ชายตี  ภยํ
เฉตฺวา  วนญฺจ  วนฏฺฐญฺจ
นิพฺพนา  โหถ  ภิกฺขโว ฯ


ท่านทั้งหลาย  จงตัดกิเลสดุจป่า
อย่าตัดต้นไม้
ภัยย่อมเกิดแต่กิเลสดุจป่า
ภิกษุทั้งหลาย  ท่านทั้งหลาย  จงตัดกิเลสดุจป่า 
และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่าแล้ว

เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่า.


ยาวฺญฺหิ  วนฏฺโฐ  นะ  ฉิชฺชติ
อณุมตฺโตปิ  นรสฺส  นาริสุ
ปฏิพทฺธมโนว   ตาว  โส
วจฺโฉ  ขีรปโกว  มาตริ  ฯ


เพราะกิเลสดุจหมู่บ้านตั้งอยู่ในป่า
ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชน
ยังไม่ขาดในนารีทั้งหลายเพียงใด
เขาเป็นเหมือนลูกโคที่ยังดื่มน้ำนม

มีใจปฏิพัทธ์ในมารดาเพียงนั้น
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   พระเถระแก่เหล่านั้น   ได้บรรลุโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนา   มีประโยชน์แม้แก่ชนที่มาประชุมกัน.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 12:04:21 pm »



05. เรื่องพระโปฐิลเถระ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระเถระนามว่าโปฐิละ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  โยคา  เว  เป็นต้น

พระโปฐิลเถระ   ได้ศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกจนเชี่ยวชาญ  และได้เป็นอาจารย์สั่งสอนธรรมแก่ภิกษุ 500  รูป เพราะมีความเข้าใจว่าตนรู้พระไตรปิฎกมาก  พระโปฐิละจึงมีความทะนงตัวมาก  พระศาสดาทรงทราบจุดอ่อนจุดนี้ของพระโปฐิละ  และทรงมีพระประสงค์จะแก้ไขให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง   ดังนั้น  ในทุกครั้งที่พระโปฐิละมาเข้าเฝ้า   พระศาสดาก็จะตรัสเรียกพระโปฐิละว่า  “พระใบลานเปล่า”  เมื่อพระโปฐิละได้ยินพระศาสดาตรัสเรียกเช่นนี้   ก็เกิดความตระหนักว่า  ที่พระศาสดาตรัสเรียกเช่นนี้ก็เพราะมีพระประสงค์จะทรงกระตุ้นให้พระโปฐิละมีความเพียรรีบเร่งปฏิบัติพระกัมมัฏฐานจนบรรลุมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น ท่านจึงเดินทางออกจากวัดพระเชตวันโดยไม่ได้บอกให้ผู้อื่นรู้  ได้ไปที่วัดแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากวัดพระเชตวันประมาณ  20 โยชน์  ที่วัดแห่งนี้มีภิกษุอยู่ 30 รูป ในเบื้องแรกนั้น  พระโปฐิละเข้าไปหาพระเถระที่มีอาวุโสทางพรรษามากที่สุด  แล้วขอให้ท่านพระเถระผู้มีอาวุโสทางพรรษามากที่สุดนี้เป็นผู้สอนธรรมแก่ท่าน  แต่พระเถระผู้มีอาวุโสมากนั้นต้องการจะให้พระโปฐิละคลายทิฏฐิความดื้อรั้น   จึงได้แนะนำให้ไปพบกับพระเถระผู้มีอาวุโสทางพรรษาน้อยกว่ารูปรองๆลงมา   และพระเถระอาวุโสรูปรองลงมาก็ได้แนะนำให้ไปพบกับพระเถระอาวุโสรองลงไปเรื่อยๆ  จนถึงสามเณรอายุ  7  ขวบ  สามเณรรูปนี้ได้รับท่านพระโปฐิลเป็นศิษย์  หลังจากที่ประโปฐิลเถระรับปากว่าจะปฏิบัติตามคำแนะนำของสามเณรอย่างเคร่งครัด  เมื่อได้รับคำแนะนำจากสามเณรนั้นแล้ว  พระโปฐิลเถระก็ได้ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอย่างคร่ำเคร่งจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระโปฐิลเถระด้วยพระจักษุทิพย์  จึงได้ทรงเนรมิตพระกายทิพย์ไปปรากฏอยู่เบื้องหน้าพระโปฐิละ  ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โยคา  เว  ชายตี  ภูริ
อโยคา  ภูริสงฺขโย
เอตํ  เทวธาปถํ  ญตฺวา
ภวาย  วิภวาย  จ
ตถตฺถานํ  นิเวเสยฺย
ยถา  ภูริ  ปวฑฺฒติ  ฯ


ปัญญาย่อมเกิดจากการประกอบแล
ความสิ้นไปแห่งปัญญา เพราะการไม่ประกอบ
บัณฑิตรู้ทาง  2  แพร่งแห่งความเจริญ
และความเสื่อมนั้นแล้ว

พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้รู้
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   พระโปฐิละ  บรรลุอรหัตตผล.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 11:50:47 am »



04. เรื่องสูกรเปรต

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน   ทรงปรารภสูกรเปรต  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  วาจานุรกฺขี เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง  พระมหาโมคคัลลานเถระ  เดินลงมาจากเขาคิชฌกูฏ   พร้อมด้วยพระลักขณเถระ  ได้แลเห็นเปรตที่ร่างเป็นมนุษย์แต่มีศีรษะเป็นสุกร  เมื่อเห็นเปรตตนนี้แล้ว  ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้ยิ้มออกมา   แต่ก็ไม่ได้พูดอะไรกับพระลักขณะเถระ   เมื่อเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว  ก็ได้นำเรื่องเปรตตนนี้มาทูลพระศาสดาให้ทรงทราบ  พระศาสดาตรัสว่าพระองค์ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตตนนี้ที่ควงต้นโพธิ์เหมือนกันในช่วงที่ตรัสรู้ใหม่ๆ  แต่ก็ไม่ได้ตรัสบอกแก่ใครๆ  เพราะกลัวว่าผู้คนจะไม่เชื่อ และจะไม่บังเกิดผลดีอะไร  จากนั้นพระศาสดาได้นำเรื่องบุรพกรรมของเปรตตนนั้นมาทรงเล่าว่า

ในสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า  เปรตตนนี้เป็นภิกษุผู้สอนธรรม  มีอยู่คราวหนึ่ง  ได้มาที่วัดแห่งหนึ่ง  พบพระภิกษุ 2 รูปพักอยู่ด้วยกันในวัดแห่งนี้   หลังจากที่ได้มาพักอยู่ที่วัดนี้ไม่นาน  ก็พบว่ามีญาติโยมมาขึ้นท่านมาก ท่านจึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า   ท่านควรจะหาทางให้พระสองรูปที่อยู่มาแต่เดิมออกไปจากวัดเสีย  แล้วท่านจะได้อยู่ในวัดนี้เพียงรูปเดียว   ท่านจึงได้พยายามยุแหย่พระทั้งสองรูปนั้น   จนพระสองรูปเกิดทะเลาะกันและออกจากวัดนั้นไปคนละทิศละทาง  เพราะผลกรรมชั่วครั้งนั้น  ทำให้ท่านไปเกิดในอเวจีนรก  และด้วยเศษของกรรมนั้น  ท่านได้มาเกิดเป็นเปรตตนที่พระมหาโมคคัลานเถระเห็น  จากนั้น  พระศาสดาตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย   ธรรมดาว่าภิกษุ  พึงเป็นผู้เข้าไปสงบด้วยกาย  วาจา และใจ
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

วาจานุรกฺขี   มนสา  สุสํวุโต
กาเยน  จ  อกุสลํ  น  กยิรา
เอเต  ตโย  กมฺมปเถ  วิโสธเย
อาราธเย  มคฺคํ  อิสิปฺปเวทิตํ ฯ


บุคคลผู้มีปกติรักษาวาจา  สำรวมดีแล้วด้วยใจ
และไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย
พึงยังกรรมบถทั้ง 3 เหล่านี้ให้หมดจด

พึงยินดีทางที่ท่านผู้แสวงหาคุณประกาศแล้ว

 
เมื่อพระธรรมเทศฯจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 11:41:39 am »



03. เรื่องพระปธานกัมมิกติสสเถระ

พระศาสดา   เมื่อประทับอยู่ในพระเชตะวัน  ทรงปรารภพระปธานกัมมิกติสสะเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อุฏฺฐานกาลมฺหิ  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  ชายหนุ่ม  500 คน  ในกรุงสาวัตถี  ได้รับการอุปสมบทจากพระศาสดา  หลังจากที่ได้เรียนหัวข้อพระกัมมัฏฐานจากพระศาสดาแล้ว  ภิกษุบวชใหม่เหล่านี้ต่างก็ได้เข้าป่าไปปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน   มีแต่พระปธานกัมมิกติสสเถระเท่านั้นที่ไม่ยอมไป   พระภิกษุที่เข้าป่าไปแล้วก็ได้มุ่งปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์   เมื่อกลับมาถวายบังคมพระศาสดา  พระศาสดาได้ทรงทำการต้อนรับ และทรงแสดงความยินดีด้วย   ฝ่ายพระประธานกัมมิกติสสเถระ   อยากเห็นพระศาสดาทรงแสดงท่าทีอย่างเดียวกันนั้นกับตนบ้าง  จึงได้เริ่มความเพียรอย่างหนัก  โดยได้เดินจงกรมตลอดคืนยันรุ่ง  จนถึงกับเป็นลมล้มลงขาหักคาแผ่นหินที่ใช้จงกรมนั่นเอง   พระภิกษุอื่นๆ  ที่เป็นพระอรหันต์  ได้ยินเสียงร้อง  ก็พากันรีบมาช่วยเหลือ ทำให้พลาดโอกาสไปฉันภัตตาหารเช้าที่บ้านอุบาสกคนหนึ่ง   พระศาสดาเมื่อทรงสดับเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว   ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุนั่น  ทำอันตรายลาภของพวกเธอในบัดนี้เท่านั้น  หามิได้  แม้ในกาลก่อน  เธอก็ได้ทำแล้วเหมือนกัน”   และทรงนำเรื่องวรุณชาดกมาตรัสให้ฟัง  แล้วตรัสว่า   “ภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลใด  ไม่ทำความขยัน  ในกาลควรขยัน  เป็นผู้มีความดำริอันจมแล้ว  เป็นผู้เกียจคร้าน   บุคคลนั้น  ย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษต่างๆมีฌานเป็นต้น
จากนั้น   พระศาสดา  ได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อุฏฐานกาลมฺหิ  อนุฏฺฐหาโน
ยุวา  พลี  อาสยํ  อุเปโต
สงฺสนฺสสงฺกปฺปมโน  กุสีโต
ปญฺญาย  มคฺคํ  อลโส  น  วินฺทติ  ฯ


ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง
แต่ไม่ขยัน  ในกาลที่ควรขยัน
เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน
มีใจอันประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว

ขี้เกียจ  เกียจคร้าน  ย่อมไม่ประสบทาง  ด้วยปัญญา


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย   มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 11:23:13 am »




02. เรื่องภิกษุ  500  รูปอื่นอีก

ภิกษุ 500 รูป  เรียนหัวข้อพระกัมมัฏฐานจากพระศาสดา  แล้วก็พากันเข้าป่าไปปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน   แต่เมื่อปฏิบัติแล้วไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผล   จึงได้กลับมาเฝ้าพระศาสดาเพื่อทูลขอหัวข้อพระกัมมัฏฐานใหม่ที่มีความเหมาะสมแก่ตน   พระศาสดาทราบด้วยญาณพิเศษว่า  ภิกษุเหล่านี้ ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า   ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานในหัวข้อลักษณะความไม่เที่ยง(อนิจจลักษณะ)  เป็นเวลานานถึงสองหมื่นปี   เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะให้พระภิกษุเหล่านี้พิจารณาอนิจจลักษณะ  จึงตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  สังขารแม้ทั้งปวงในภพทั้งสามมีกามภพเป็นต้น  เป็นสภาพไม่เที่ยงเลย  เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สพฺเพ  สงฺขารา  อนิจฺจาติ
ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ
อถ  นิพิพินฺทติ  ทุกฺเข
เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา  ฯ


เมื่อใด  บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
เมื่อนั้น  ย่อมหน่ายในทุกข์

ความหน่ายในทุกข์นั่น  เป็นทางแห่งความหมดจด.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุ  500 รูปเหล่านั้น  บรรลุอรหัตตผลแล้ว   พระธรรมเทศนา  มีประโยชน์  แม้แก่บริษัทที่ประชุมกัน.


เรื่องภิกษุ  500 รูปอื่นอีก

ภิกษุ 500 รูป  เรียนหัวข้อพระกัมมัฏฐานจากพระศาสดา  แล้วก็พากันเข้าไปปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในป่า  แต่เมื่อปฏิบัติแล้วไม่มีความก้าวหน้าถึงขั้นบรรลุพระอรหัตตผล   จึงได้กลับมาเฝ้าพระศาสดาเพื่อทูลขอหัวข้อพระกัมมัฏฐานใหม่ที่มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นแก่ตน   พระศาสดาทราบด้วยญาณพิเศษว่า  ภิกษุเหล่านี้ ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า   ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานในหัวข้อกำหนดสังขารโดยความเป็นทุกข์  จึงตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  ขันธ์แม้ทั้งปวง  เป็นทุกข์แท้  เพราะอรรถว่าถูกทุกข์บีบคั้น
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สพฺเพ  สงฺขารา  ทุกฺขาติ
ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ
อถ  นิพฺพินฺทติ  ทุกเข
เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา ฯ


เมื่อใด  บัณฑิต ย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น  ย่อมหน่ายในทุกข์

ความหน่ายในทุกข์นั่น
เป็นทางแห่งความหมดจด.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุ  500 รูปเหล่านั้น  บรรลุอรหัตตผลแล้ว
 

เรื่องภิกษุ  500 รุปอื่นอีก

ภิกษุ 500 รูป  เรียนหัวข้อพระกัมมัฏฐานจากพระศาสดา  แล้วก็พากันเข้าไปปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในป่า   แต่เมื่อปฏิบัติแล้วไม่มีความก้าวหน้าถึงขั้นบรรลุพระอรหัตตผล   จึงได้กลับมาเฝ้าพระศาสดาเพื่อทูลขอหัวข้อพระกัมมัฏฐานใหม่ที่มีความเหมาะสมแก่ตนมากยิ่งขึ้น   พระศาสดาทราบด้วยญาณพิเศษว่า  ภิกษุเหล่านี้ ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า   ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานในหัวข้อกำหนดสังขารโดยความเป็นอนัตตา  จึงตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  ขันธ์แม้ทั้งปวงเป็นอนัตตาแท้  เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตาติ
ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ
อถ  นิพฺพินทติ  ทุกฺเข
เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา  ฯ


เมื่อใด  บัณฑิต   ย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น  ย่อมหน่ายในทุกข์

ความหน่ายในทุกข์นั่น
เป็นทางแห่งความหมดจด.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุ  500 รูปเหล่านั้น  บรรลุอรหัตตผลแล้ว

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2012, 08:13:32 am »




เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 20 : มัคควรรค
01.เรื่องภิกษุห้าร้อยรูป


พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน   ทรงปรารภภิกษุ 500 รูป  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า    มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เป็นต้น

ภิกษุ  500 รูป หลังจากที่ได้ตามเสด็จพระศาสดา  ไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งแล้ว ก็ได้กลับมาที่วัดพระเชตวัน  ในตอนเย็น  ภิกษุเหล่านี้ได้สนทนากันเกี่ยวกับหนทางที่พวกตนเที่ยวไป  เช่น  หนทางไม่เรียบ  มีกรวด  ไม่มีกรวด  เป็นต้น   พระศาสดา  ทรงเห็นอุปนิสัยที่จะบรรลุอรหัตตผลของภิกษุเหล่านั้น  ได้เสด็จมายังที่นั้น  ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูลาดไว้   ตรัสถามถึงเรื่องที่ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันแล้ว  ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่พวกเธอพูดถึงนี้   เป็นทางภายนอก  ธรรมดาภิกษุควรสนใจเฉพาะอริยมรรค ด้วยว่า  ภิกษุเมื่อทำอย่างนั้น  ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สี่พระคาถานี้ว่า

มคฺคานฏฺฐงฺคิโก  เสฏฺโฐ
สจฺจานํ  จตุโร  ปทา
วิราโค  เสฏฺโฐ  ธมฺมานํ
ทิปทานญฺจ  จกฺขุมา ฯ


บรรดาทางทั้งหลาย  ทางมีองค์ 8 ประเสริฐ
บรรดาสัจจะทั้งหลาย  บท  4  ประเสริฐ
บรรดาธรรมทั้งหลาย  วิราคะ ประเสริฐ
บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย  พระตถาคต ผู้มีจักษุ  ประเสริฐ.


เอโสว  มคฺโค  นตฺถญฺโญ
ทสฺสนสฺส  วิสุทธิยา
เอตัญฺหิ  ตุมฺเห  ปฏิปชฺชถ
มารสฺเสตํ ปโมหนํ ฯ


ทางนั่นเท่านั้น
เพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ
ทางอื่นไม่มี

เพราะฉะนั้น  ท่านทั้งหลายจงดำเนินทางนั่น
อันเป็นที่ลุ่มหลงแห่งมารและเสนามาร.


เอตมฺหิ  ตุมฺเห  ปฏิปนฺนา
ทุกฺขสฺสนฺตํ  กริสฺสถ
อกฺขาโต เว มยา  มคฺโค
อญฺญาย  สลฺลสนฺถนํ ฯ


ด้วยว่า  ท่านทั้งหลายดำเนินทางนั่นแล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้  
เราทราบทางเป็นที่สลัดลูกศรได้แล้ว

จึงบอกแก่ท่านทั้งหลาย.


ตุมฺเหหิ  กิจฺจมาตปฺปํ
อกฺขาตาโร  ตถาคตา
ปฏิปนฺนา  ปโมกฺขนฺติ
ฌายิโน  มารพนฺธนา ฯ


ท่านทั้งหลาย  พึงทำความเพียรเครื่องเผากิเลส
เพราะตถาคตทั้งหลาย  เป็นแต่ผู้บอก
ชนทั้งหลายผู้ดำเนินไปแล้ว  มีปกติเพ่ง
   
ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องผูกของมาร.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุเหล่านั้น  บรรลุพระอรหัตตผล  พระธรรมเทศนา มีประโยชน์  แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกัน.