ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2012, 02:09:04 pm »





กินเจ...กินเนื้อ - "กบ" กับ "คางคก"
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

วันหนึ่งมีคนมาถามหลวงพ่อชา
เกี่ยวกับเรื่องการกินเจ
กับการกินอาหารเนื้ออาหารปลาต่างกันอย่างไร
อย่างไหนถูก อย่างไหนผิด เพราะปัจจุบัน
มีสำนักปฏิบัติที่ถือข้อวัตรปฏิบัติต่างกันมากมายหลายแห่ง

บางแห่งถือว่าการกินเนื้อสัตว์เป็นบาปเป็นกรรมร่วม
เพราะเท่ากับเป็นการยุให้เขาฆ่าสัคว์
ที่นั้นจะต้องถือมังสวิรัติ
เว้นการฉันเนื้อฉันปลาอย่างเด็ดขาด

บางแห่งว่าการกินเจเป็นข้อวัตรของเทวทัตที่เคร่งครัดเกินไป
จนพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต
เขาจึงสงสัยว่าอย่างไรจะถูกอย่างไรจะผิด
ในระหว่างข้อวัตรปฏิบัติทั้งสองแบบนี้

ท่านตอบว่า
“เหมือนกบกับคางคกนั่นแหละ
โยมว่ากบกับคางคกอย่างไหนมันดีกว่ากัน
ความจริงแล้ว
พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ฉันอะไร ไม่ได้เป็นอะไร
ในจิตของท่านไม่มีอะไรเป็นอะไรอีกแล้ว

การบริโภคอาหารเป็นสักแต่ว่า
เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงร่างกายพอให้คงอยู่ได้
ท่านไม่ให้ติดในรสชาติของอาหาร
ไม่ให้ติดอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง

ให้รู้จักประมาณในการบริโภค
ไม่ให้บริโภคด้วยตัณหา
นี่เรียกว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ฉันอะไร
ไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไรแล้ว


ถ้าคนกินเนื้อไปติดอยู่ในรสชาติของเนื้อ นั่นเป็นตัณหา

ถ้าคนไม่กินเนื้อ พอเห็นคนอื่นกินเนื้อ
ก็รังเกียจและโกรธเขา ไปด่าว่านินทาเขา
เอาความชั่วของเขาไปไว้ในใจตัวเอง
นั่นก็เป็นคนโง่กว่าเขา
ทำไปตามอำนาจของตัณหาเหมือนกัน

การที่เราไปโกรธเกลียดเขานั้น
มันก็คือผีที่สิงอยูในใจเรา

เขากินเนื้อเป็นบาปเราโกรธเขา
เราก็เป็นผีเป็นบาปอีกเหมือนกัน

มันยังเป็นสัตว์อยู่ทั้งสองฝ่าย ยังไม่เป็นธรรมะ
อาตมาจึงว่าเหมือนกบกับคางคก


“แต่ทางที่ถูกนั้น ใครจะกินอะไรก็กินไป แต่ให้มีธรรมะ

คนกินเนื้อ ก็อย่าเห็นแก่ปากปากท้อง
อย่าเห็นแก่ความเอร็ดอร่อยจนเกินไป อย่าถึงกับฆ่าเขากิน

ส่วนคนกินเจก็ให้เชื่อมั่นในข้อวัตรของตัวเอง
เห็นคนอื่นกินเนื้ออย่าไปโกรธเขา รักษาตัวเราไว้
อย่าให้ติดอยู่ในการกระทำภายนอก

พระเณรในวัดนี้ของอาตมาก็เหมือนกัน
องค์ไหนจะถือข้อวัตรฉันเจก็ถือไป
องค์ไหนจะฉันธรรมดาตามมีตามได้ก็ถือไป
แต่อย่าทะเลาะกัน อย่ามองกันในเง่ร้าย
อาตมาสอนอย่างนี้
ท่านก็อยู่ไปด้วยกันได้ ไม่เห็นมีอะไร

ให้เข้าใจว่า

ธรรมะที่แท้นั้น เราจะเข้าถึงได้ด้วยปัญญา
ทางปฏิบัติที่ถูกก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ถ้าเราสำรวมอินทรีย์
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้ดีแล้ว จิตก็จะสงบ
และปัญญาความรู้เท่าทันสภาพของสังขารทั้งหลาย ก็จะเกิดขึ้น
จิตใจก็เบื่อหน่ายจากสิ่งที่น่ารักน่าใคร่ทั้งหลาย
วิมุตตก็เกิดขึ้นเท่านั้น”

(คัดลอกบางตอนมาจาก “ใต้ร่มโพธิญาณ” ใน ข่าวสารกัลยาณธรรม
ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๓ , หน้า ๕๔-๕๕)




กุหลาบสีชา -http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=34808
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=38519&p=268172