ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2012, 04:35:02 pm »



  พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
             ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             อามคันธสูตรที่ ๒

  ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสป ด้วยคาถาความว่า
             [๓๑๕] สัตบุรุษทั้งหลายบริโภคข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเขียว ใบ
                         ไม้ เหง้ามัน และผลไม้ที่ได้แล้วโดยธรรม หาปรารถนา
                         กามกล่าวคำเหลาะแหละไม่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคพระ
                         นามว่ากัสสป พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใดที่ผู้อื่นทำสำเร็จ
                         ดีแล้ว ตบแต่งไว้ถวายอย่างประณีต เมื่อเสวยข้าวสุก
                         แห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่าย่อมเสวยกลิ่นดิบ ข้าแต่พระองค์
                         ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่น
                         ดิบย่อมไม่ควรแก่เรา
แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลีกับ
                         เนื้อนกที่บุคคลปรุงดีแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคพระนาม
                         ว่ากัสสป ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะพระองค์ว่า
                         กลิ่นดิบของพระองค์มีประการอย่างไร ฯ

  พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
                         การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การจองจำ การลัก การพูด-
                         เท็จ การกระทำด้วยความหวัง การหลอกลวง การ
                         เรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยาผู้อื่น นี้
                         ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย ชน
                         เหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยินดีใน
                         รสทั้งหลาย เจือปนไปด้วยของไม่สะอาด มีความเห็น
                         ว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ บุคคล
                         พึงแนะนำได้โดยยากนี้ ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น
 
                         เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบเลย ชนเหล่าใดผู้เศร้า-
                         หมอง หยาบช้า หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร
                         ไม่มีความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และไม่ให้อะไรๆ
                         แก่ใครๆ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะ
                         ไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย ความโกรธ ความมัวเมา ความ
                         เป็นคนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ฤษยา ความยกตน
                         ความถือตัว ความดูหมิ่น และความสนิทสนมด้วยอสัต-
                         บุรุษทั้งหลาย นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อ
                         ว่ากลิ่นดิบเลย ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปรกติประพฤติ
                         ลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้ พูดเสียดสี พูดโกง เป็นคน
                         เทียม เป็นคนต่ำทราม กระทำกรรมหยาบช้า นี้ชื่อว่า
                         กลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย

                         ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ชักชวน
                         ผู้อื่นประกอบการเบียดเบียน ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย
                         ไม่เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและ
                         โภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย สัตว์เหล่าใดกำหนัดแล้วใน
                         สัตว์เหล่านี้ โกรธเคือง ฆ่าสัตว์ ขวนขวายในอกุศลเป็น
                         นิตย์ ตายไปแล้วย่อมถึงที่มืด มีหัวลงตกไปสู่นรก นี้
                         ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า
                         กลิ่นดิบเลย การไม่กินปลาและเนื้อ ความเป็นคน
                         ประพฤติเปลือย ความเป็นคนโล้น การเกล้าชฎา ความ
                         เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี การครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ
                         การบำเรอไฟ หรือแม้ว่าความเศร้าหมองในกายที่เป็นไป

                         ด้วยความปรารถนา ความเป็นเทวดา การย่างกิเลสเป็นอัน
                         มากในโลก มนต์และการเซ่นสรวง ยัญและการซ่องเสพฤดู
                         ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ไม่ข้ามพ้นความสงสัยให้หมดจดได้
                         ผู้ใด คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหกเหล่านั้น รู้แจ้งอินทรีย์แล้ว
                         ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความเป็นคนตรงและอ่อนโยน
                         ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด
                         ผู้นั้นเป็นนักปราชญ์ ไม่ติดอยู่ในธรรมที่เห็นแล้ว และฟังแล้ว ฯ


                         พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกความข้อนี้บ่อยๆ ด้วยประการฉะนี้
                         ติสสดาบสผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ได้ทราบความข้อนั้นแล้ว
                         พระผู้มีพระภาคผู้เป็นมุนี ทรงประกาศด้วยพระคาถาทั้งหลาย
                         อันวิจิตรว่า บุคคลผู้ที่ไม่มีกลิ่นดิบ ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว
                         ตามรู้ได้ยาก
ติสสดาบสฟังบทสุภาษิตซึ่งไม่มีกลิ่นดิบ อันเป็น
                         เครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง ของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นผู้มี
                         ใจนอบน้อม ถวายบังคมพระบาทของตถาคต ได้ทูลขอบรรพชา
                         ที่อาสนะนั่นแล ฯ

             จบอามคันธสูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๗๗๔๗ - ๗๘๐๙.  หน้าที่  ๓๓๙ - ๓๔๒.
- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7747&Z=7809&pagebreak=0     


             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
             มหาวรรค ภาค ๒
             สีหเสนาบดีได้ธรรมจักษุ
[บางส่วน]
             ครั้นสีหเสนาบดีเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว หยั่งลงสู่
ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา
ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า
             ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหาร
ของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า       
             พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ
             ครั้นสีหเสนาบดีทราบอาการที่ทรงรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคแล้ว             
ได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณกลับไป ต่อมาสีหเสนาบดี
ใช้มหาดเล็กผู้หนึ่งว่า พนาย เจ้าจงไปหาซื้อเนื้อสดที่เขาขาย แล้วสั่งให้ตกแต่งขาทนีย
โภชนียาหาร อันประณีตโดยผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้มหาดเล็กไปกราบทูลภัตกาล
แด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้วพระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
             ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเสด็จ
พระพุทธดำเนินไปทางนิเวศน์ของสีหเสนาบดี ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
ที่เขาจัดถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์.

- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=2055&Z=2094