ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2012, 03:29:44 pm »โภชนาการพระสงฆ์
“แกงเทโพ พะแนงหมู ไข่ต้ม ขนมชั้น ลูกชุบ ทองหยิบ ฝอยทอง ข้าวต้มมัด” เหล่านี้เป็นเพียงรายการอาหารไทยส่วนหนึ่งที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งในแต่ละวันพระสงฆ์ไทยมักจะได้รับบิณฑบาตรายการอาหารจำพวกนี้จากบรรดา ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ซึ่ง รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า อาหารในกลุ่มที่หยิบยกมาข้างต้นนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าผู้ใส่บาตรจะอธิษฐานจิตคิดในด้านกุศลผลบุญ หากแต่ลืมคิดไปถึงเรื่องของสุขภาวะของพระสงฆ์ที่ต้องฉันอาหารประเภทต้ม ผัด แกง ทอด ทุกวัน พร้อมรับเอาทั้งไขมัน และน้ำตาล ซึ่งไม่เป็นมิตรกับร่างกายเข้าไปทุกวันด้วย
“คนที่ตักบาตรก็จิตใจดี ก็เลยใส่เต็มที่หวังจะได้บุญมาก แต่เราลืมคิดกันไปว่า พระสงฆ์เองท่านก็มีระบบร่างกายที่เหมือนกับเรา และเมื่อต้องรับประทานอาหารรสจัด มากด้วยไขมันและน้ำตาลทุกวัน โอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคจึงมีมากกว่าคนทั่วไป เพราะท่านเลือกฉันไม่ได้ ดังนั้นจึงพบพระสงฆ์ไทยจำนวนมากที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรคไตเสื่อม เนื่องมาจากการฉันอาหารรสจัด ที่ขณะนี้กำลังพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และที่น่ากลัวกว่านั้นคือพระสงฆ์บางรูปเป็นมากกว่า 1 โรค”
รศ.ดร.ภญ.จงจิตร เล่าให้ฟังถึง โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการและการแก้ไขปัญหาด้านอาหารและโภชนาการของพระภิกษุสามเณรที่นำไปสู่ การป้องกันและแก้ไขการเกิดโรคเรื้อรังและการมีสุขภาวะที่ยั่งยืนเพื่อพัฒนา “สงฆ์ต้นแบบ โภชนาดี ชีวียั่งยืน” และ “ฆราวาสเกื้อกูล หนุนโภชนาดี” ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นเริ่มต้นงานวิจัย แม้ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่สังคมไทยยังไม่ค่อยตื่นตัวมากนัก ดังนั้นเป้าหมายของโครงการนี้ จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ถึงต้นตอที่แท้จริงของปัญหาสุขภาวะพระสงฆ์ รวมถึงการหาทางออกให้แก่พระสงฆ์ที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองเพื่อการ มีสุขภาพที่ดี
รศ.ดร.ภญ.จงจิตร เล่าอีกว่า ขอบเขตงานวิจัยชิ้นนี้จะเน้นกลุ่มพระสงฆ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะเราพบว่าพระในเมืองมีปัญหาด้านอาหารและโภชนาการมากกว่าพระสงฆ์ในต่าง จังหวัด โดยหลักใหญ่ที่เป็นต้นตอปัญหาเราทราบกันดีแล้วว่าคือ ฆราวาส ที่นิยมความสะดวกในการเตรียมอาหารถวายพระ อย่างไรก็ดีจากการสำรวจเบื้องต้นยังพบประเด็นอื่น ได้แก่ ระยะเวลาที่ฉันได้ หรือ กาลิก 4 เพราะอาหารหรือของที่ภิกษุรับประเคนแล้วจะเก็บไว้ฉันได้ตามกาลเวลาที่กำหนด เท่านั้น หากเก็บไว้เกินกว่านั้นถือเป็นความผิด ซึ่งน้ำปานะก็เป็นหนึ่งในนั้น
“น้ำปานะ หรือ น้ำสำหรับดื่มที่คั้นจากผลไม้ 8 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่พระภิกษุให้รับประเคนแล้วจะสามารถเก็บไว้ฉันได้ ตลอด 1 วัน 1 คืน เรียกว่า ยามกาลิก อาทิ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่ น้ำกล้วย ฯลฯ แต่ปัจจุบันส่วนมากจะเป็นน้ำผลไม้
ต่าง ๆ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ให้พลังงานและน้ำตาลสูง” รศ.ดร.ภญ.จงจิตร กล่าวและว่า ผลวิจัยดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 1 ปีครึ่งนับจากนี้ และหากสามารถถ่ายทอดเพื่อให้พระสงฆ์นำไปปฏิบัติและเห็นผลได้จริง แน่นอนว่าผลลัพธ์จะเกิดขึ้นแก่ญาติโยมที่จะได้รับความรู้จากพระท่านแล้วนำไป ปฏิบัติต่อได้อีกทางหนึ่งด้วย
ด้าน นางมาณี สื่อทรงธรรม ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลด้านการพยาบาลหอผู้ป่วย ประธานศูนย์มิตรภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีพระสงฆ์จำนวนไม่น้อยที่เข้ารับการรักษาโรคเบาหวานกับโรงพยาบาล จุฬาฯ แล้วอาการหนักถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง หรือบางรายป่วยจนทำให้ต้องใช้ทวารเทียมเนื่องจากถูกตัดลำไส้ใหญ่ หากนับเฉพาะค่ายาในการรักษาพยาบาลพระสงฆ์แต่ละปี คิดเป็นเงินราว 300 ล้านบาท ซึ่งนับว่าไม่น้อยเลย
ได้ฟังอย่างนี้คิดว่าคงไม่ต้องรอจนกระทั่งให้ผลวิจัยแล้วเสร็จก่อน จึงค่อยมาตื่นตัวให้ความสำคัญกับอาหารที่จะใส่บาตร แต่ชาวพุทธทั้งหลายน่าจะได้พร้อมใจกันปรับรายการอาหารที่จะตักบาตรถวายพระ สงฆ์ตั้งแต่เช้าวันพรุ่งนี้ได้เลย เพื่อสุขภาวะที่ดีของพระสงฆ์ไทย..อนุโมทนา สาธุ!!.
-http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=651&contentID=168556-
__________________
“แกงเทโพ พะแนงหมู ไข่ต้ม ขนมชั้น ลูกชุบ ทองหยิบ ฝอยทอง ข้าวต้มมัด” เหล่านี้เป็นเพียงรายการอาหารไทยส่วนหนึ่งที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งในแต่ละวันพระสงฆ์ไทยมักจะได้รับบิณฑบาตรายการอาหารจำพวกนี้จากบรรดา ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ซึ่ง รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า อาหารในกลุ่มที่หยิบยกมาข้างต้นนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าผู้ใส่บาตรจะอธิษฐานจิตคิดในด้านกุศลผลบุญ หากแต่ลืมคิดไปถึงเรื่องของสุขภาวะของพระสงฆ์ที่ต้องฉันอาหารประเภทต้ม ผัด แกง ทอด ทุกวัน พร้อมรับเอาทั้งไขมัน และน้ำตาล ซึ่งไม่เป็นมิตรกับร่างกายเข้าไปทุกวันด้วย
“คนที่ตักบาตรก็จิตใจดี ก็เลยใส่เต็มที่หวังจะได้บุญมาก แต่เราลืมคิดกันไปว่า พระสงฆ์เองท่านก็มีระบบร่างกายที่เหมือนกับเรา และเมื่อต้องรับประทานอาหารรสจัด มากด้วยไขมันและน้ำตาลทุกวัน โอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคจึงมีมากกว่าคนทั่วไป เพราะท่านเลือกฉันไม่ได้ ดังนั้นจึงพบพระสงฆ์ไทยจำนวนมากที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรคไตเสื่อม เนื่องมาจากการฉันอาหารรสจัด ที่ขณะนี้กำลังพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และที่น่ากลัวกว่านั้นคือพระสงฆ์บางรูปเป็นมากกว่า 1 โรค”
รศ.ดร.ภญ.จงจิตร เล่าให้ฟังถึง โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการและการแก้ไขปัญหาด้านอาหารและโภชนาการของพระภิกษุสามเณรที่นำไปสู่ การป้องกันและแก้ไขการเกิดโรคเรื้อรังและการมีสุขภาวะที่ยั่งยืนเพื่อพัฒนา “สงฆ์ต้นแบบ โภชนาดี ชีวียั่งยืน” และ “ฆราวาสเกื้อกูล หนุนโภชนาดี” ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นเริ่มต้นงานวิจัย แม้ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่สังคมไทยยังไม่ค่อยตื่นตัวมากนัก ดังนั้นเป้าหมายของโครงการนี้ จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ถึงต้นตอที่แท้จริงของปัญหาสุขภาวะพระสงฆ์ รวมถึงการหาทางออกให้แก่พระสงฆ์ที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองเพื่อการ มีสุขภาพที่ดี
รศ.ดร.ภญ.จงจิตร เล่าอีกว่า ขอบเขตงานวิจัยชิ้นนี้จะเน้นกลุ่มพระสงฆ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะเราพบว่าพระในเมืองมีปัญหาด้านอาหารและโภชนาการมากกว่าพระสงฆ์ในต่าง จังหวัด โดยหลักใหญ่ที่เป็นต้นตอปัญหาเราทราบกันดีแล้วว่าคือ ฆราวาส ที่นิยมความสะดวกในการเตรียมอาหารถวายพระ อย่างไรก็ดีจากการสำรวจเบื้องต้นยังพบประเด็นอื่น ได้แก่ ระยะเวลาที่ฉันได้ หรือ กาลิก 4 เพราะอาหารหรือของที่ภิกษุรับประเคนแล้วจะเก็บไว้ฉันได้ตามกาลเวลาที่กำหนด เท่านั้น หากเก็บไว้เกินกว่านั้นถือเป็นความผิด ซึ่งน้ำปานะก็เป็นหนึ่งในนั้น
“น้ำปานะ หรือ น้ำสำหรับดื่มที่คั้นจากผลไม้ 8 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่พระภิกษุให้รับประเคนแล้วจะสามารถเก็บไว้ฉันได้ ตลอด 1 วัน 1 คืน เรียกว่า ยามกาลิก อาทิ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่ น้ำกล้วย ฯลฯ แต่ปัจจุบันส่วนมากจะเป็นน้ำผลไม้
ต่าง ๆ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ให้พลังงานและน้ำตาลสูง” รศ.ดร.ภญ.จงจิตร กล่าวและว่า ผลวิจัยดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 1 ปีครึ่งนับจากนี้ และหากสามารถถ่ายทอดเพื่อให้พระสงฆ์นำไปปฏิบัติและเห็นผลได้จริง แน่นอนว่าผลลัพธ์จะเกิดขึ้นแก่ญาติโยมที่จะได้รับความรู้จากพระท่านแล้วนำไป ปฏิบัติต่อได้อีกทางหนึ่งด้วย
ด้าน นางมาณี สื่อทรงธรรม ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลด้านการพยาบาลหอผู้ป่วย ประธานศูนย์มิตรภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีพระสงฆ์จำนวนไม่น้อยที่เข้ารับการรักษาโรคเบาหวานกับโรงพยาบาล จุฬาฯ แล้วอาการหนักถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง หรือบางรายป่วยจนทำให้ต้องใช้ทวารเทียมเนื่องจากถูกตัดลำไส้ใหญ่ หากนับเฉพาะค่ายาในการรักษาพยาบาลพระสงฆ์แต่ละปี คิดเป็นเงินราว 300 ล้านบาท ซึ่งนับว่าไม่น้อยเลย
ได้ฟังอย่างนี้คิดว่าคงไม่ต้องรอจนกระทั่งให้ผลวิจัยแล้วเสร็จก่อน จึงค่อยมาตื่นตัวให้ความสำคัญกับอาหารที่จะใส่บาตร แต่ชาวพุทธทั้งหลายน่าจะได้พร้อมใจกันปรับรายการอาหารที่จะตักบาตรถวายพระ สงฆ์ตั้งแต่เช้าวันพรุ่งนี้ได้เลย เพื่อสุขภาวะที่ดีของพระสงฆ์ไทย..อนุโมทนา สาธุ!!.
-http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=651&contentID=168556-
__________________