ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2012, 06:21:08 am »

"ยาระบาย"..อันตรายที่ทุกบ้านพึงระวัง!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
31 กรกฎาคม 2555 12:22 น.

-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000093298-

   เมื่อพูดถึงยาระบาย คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าไม่มีอะไร หลาย ๆ คนใช้ยาระบายเพื่อลดความอ้วนโดยรับประทานต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน แต่หารู้ไม่ว่า วิธีดังกล่าว นอกจากเป็นการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องแล้ว ยังไม่ได้ผลในการลดความอ้วน และอาจเกิดผลเสียกับร่างกายตามมาอีกด้วย
       
       วันนี้ทีมงาน Life & Family มีชุดความรู้ดี ๆ จากศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารด้านยา โรงพยาบาลเวชธานีเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาระบายเป็นประจำมาฝากทุกบ้านกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามอ่านกันได้เลยครับ
       
       ยาระบายมีหลายประเภท
       
       ยาในกลุ่มยาระบายนั้น มีหลายประเภทตามกลไกการออกฤทธิ์ของยา ได้แก่ ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ ยาทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ยาประเภทหล่อลื่น ยาประเภทเพิ่มปริมาตรน้ำ ไฮเปอร์ออสโมติกเอเจนต์ เช่น ยาเหน็บ Glycerin และยาประเภทกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เช่น มะขามแขก ซึ่งการพิจารณาเลือกใช้ยานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพร่างกายของผู้ป่วย ภาวะโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ หรือความรุนแรงของอาการท้องผูก
       
       ใช้ยาระบายเป็นประจำ ทำให้เกิดอันตรายอย่างไร
       
       ยาระบายที่นิยมซื้อใช้กันส่วนใหญ่ในบ้านเรา เป็นยากลุ่มกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ (Stimulant laxatives) เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรมะขามแขก และยา Bisacodyl (ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นยาเม็ดเคลือบสีเหลืองเล็ก ๆ) ขนาดการใช้ยาระบายกลุ่มนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการท้องผูก และการตอบสนองของผู้ป่วย และควรใช้เท่าที่จำเป็นในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น ไม่ควรใช้ในการลดความอ้วน หรือใช้บรรเทาอาการท้องผูกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะเมื่อใช้ยาในกลุ่มนี้ต่อเนื่องไปนาน ๆ จะทำให้เกิดภาวะลำไส้เคยชินต่อยาระบาย ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายได้เอง และจะทนต่อยามากขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ลำไส้ทำงานไม่ปกติ ยากต่อการแก้ไข นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะปวดท้อง ระดับเกลือแร่เสียสมดุล ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเวียนศีรษะได้อีกด้วย
       
       การรักษาอาการท้องผูกที่ถูกวิธีคือ การรักษาที่สาเหตุ เช่น บางคนดื่มน้ำน้อยเกินไป ทานอาหารประเภทกากใยน้อยเกินไป มีภาวะเครียด หรือรับประทานยาบางประเภทที่ทำให้ท้องผูก เช่น ยาแก้ท้องเสียบางชนิด รับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก เป็นต้น
       
       ส่วนการลดความอ้วนที่ถูกวิธีนั้น ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และออกกำลังกายเป็นประจำ ส่วนการรับประทานยาระบาย เป็นการการระบายมวลอุจจาระออกจากร่างกาย ไม่ได้มีผลต่อการลดการดูดซึมไขมัน หรือลดไขมันที่สะสมอยู่ออกจากร่างกายแต่อย่างใด
       
       ดังนั้น คราวต่อไป ก่อนหยิบยาระบายขึ้นมาใช้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ลองฉุกคิดดูสักนิดว่า พอจะแก้ไขด้วยทางเลือกอื่นได้หรือไม่ และให้ยาระบายเป็นทางเลือกอันดับท้าย ๆ ดีกว่าไปทำลายระบบขับถ่ายของร่างกายด้วยการรับประทานยาระบายเป็นประจำจนทำให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติไป

.