ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2012, 07:10:58 pm »





ความโง่ของคนโง่ :หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓

ได้เทศน์เรื่องความฉลาดมานานแล้ว วันนี้ขอได้พากันฟังเทศน์เรื่อง ความโง่
ความโง่ นั้นไม่มีขอบเขต ไม่มีใครให้ประกาศนียบัตร ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ไม่มีเลย
ทั้งๆ ที่คนก็มีโง่อยู่แล้วแต่ไม่ชอบให้คนอื่นพูดว่าตนโง่
แล้วคนที่พูดนั้นถ้าพูดด้วยความเหยียดหยามดูถูกคนอื่นก็ยิ่งโง่กว่าเขาเสียอีก


เราพากันโง่อยู่ตลอดเวลา ความโง่อันนี้แหละทำให้เราเป็นคนจน
ทำให้เราไม่สามารถจะฟื้นฟูตัวเราให้ขึ้นมาได้
โง่มีหลาย โง่ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ โง่ในความไหว
โง่ในการที่จะนำตนให้รอดปลอดภัย ฯลฯ
ความโง่ที่หมักหมมอยู่ในใจของเรานั้น เราเรียนเท่าไรก็เรียนไปเถิดไม่จบไม่สิ้นสักที

คนนิยมเรียนความฉลาดข้างนอก เช่นเรียนวิชาวิทยาศาสตร์แผนใหม่อะไรต่างๆ เรียนไปหมดทุกอย่าง แต่ตัวของเราเองในนั้นไม่รู้เรื่อง มันโง่อยู่ภายใน นั่นคือความผิดความถูกที่เกิดขึ้นในใจของตน คิดว่าตนดี คิดว่าตนวิเศษ อันนั้นแสนโง่ทีเดียว

ถ้าเข้าใจว่าตนดี ตนฉลาด ตนวิเศษ ตนเลอเลิศด้วยสติปัญญาอุบายต่างๆอันนั้นแหละเป็นการโง่ที่สุด ถ้าคนใดเข้าใจว่าตนโง่คนนั้นฉลาดขึ้นมา เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าคนใดเข้าใจว่าตนโง่คนนั้นฉลาดขึ้นมาบ้าง

วิชาทุกอย่างที่เราเรียน เป็นการเรียนออกไปภายนอกออกไปจากตัวของเรา ไม่ใช่เรียนเข้ามาในตัวของเรา เรียนส่งออกไปปรุงแต่งออกไปนอกจากกายนอกจากใจ คำว่า กาย มันจึงเพี้ยนเป็นกรายไปเสีย มันกรายออกไปจากกาย มันข้ามกายไปนั่นเองจึงไม่เห็นตนของตน เปรียบเหมือนกับตาไม่เห็นลูกตาหรือตาไม่เห็นก้ำด้น (ก้ำด้น คือ ท้ายทอยนั่นเอง) โบราณท่านว่า ตากับก้ำด้นอยู่ด้วยกันไม่ทราบว่ากี่ปีกี่ชาติแต่ไม่เคยเห็นกันเลย ก้ำด้นของตนแท้ๆ ไม่เคยเห็นสักที จึงว่ามันโง่ฝังอยู่นั่นแหละ ไม่เห็นตัวของเราเอง

การเรียนภายนอกนั้นปรุงแต่งออกไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาก็ว่าจบแล้วจะให้ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก อะไรต่างๆ ได้ปริญญาเขาก็ว่าจบแล้ว วิชานั้นมันจบที่ไหน อันของที่ไม่รู้ยังมีอีกเยอะแยะมากมายก่ายกอง ความรู้มันเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการไปเรื่อย มันไม่อยู่คงที่ จะว่าเรียนจบได้อย่างไร

หากเราพากันมาเรียนวิชาความโง่ เรียนสิ่งที่ไม่รู้ในกาย วาจา ใจ ของเราให้มันรู้ขึ้นมา จึงจะหมดความโง่ไป ถ้าไม่เห็นกายเห็นใจของตนมันก็ยังโง่อยู่นั่นเอง ถ้าเข้าใจว่าเห็นแล้ว มันเห็นจริงหรือไม่ มันเบื่อ มันหน่าย มันคลายไหม หรือว่ามันยังยึดถืออยู่ ความยึดความถือนั่นน่ะเรียกว่าไม่เห็นจริง

ตัวของเราเป็นอนัตตา สิ่งสารพัดวัตถุทั้งปวงทั้งหมดก็เป็นอนัตตา
อนัตตา คือว่ามันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา อนัตตาไม่ได้หมายว่าสิ่งนั้นๆไม่มี ของมีอยู่แต่มันไม่อยู่ในบังคับบัญชา เช่น กายของเรานี้จะไม่ให้แก่ มันก็แก่ ไม่ให้เจ็บมันก็เจ็บ ไม่ให้ตายมันก็ตาย ไม่ให้พลัดพรากจากกัน มันก็พลัดพรากจากไป ทำอย่างไรมันก็ไม่อยู่ในบังคับบัญชา นี่แหละท่านเรียกว่า อนัตตา การที่มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อันนั้นแหละท่านเรียกว่า อนิจจัง ของไม่เที่ยง อนิจจังเป็นอนัตตา นี่แหละมันจึงได้เป็นทุกข์หรือ ทุกขัง ความจริง เรื่องกายและใจของเราเป็นอย่างนี้ เราเห็นเช่นนี้แล้วหรือยัง

ใครๆ ก็เห็นกายกันทุกคนละ แต่มันไม่เห็นจริง ไม่เห็นเป็นอนัตตา ไม่เห็นเป็นทุกขัง ไม่เห็นตามสภาพเป็นจริงทุกอย่าง จึงปล่อยวางไม่ได้ จึงได้ทุกข์ ที่เราเดือดร้อนกันอยู่ทุกวี่ทุกวันนี้ก็เพราะเหตุเห็นไม่จริงนั่นแหละ

พระพุทธเจ้าทรงเห็นกายและใจตามสภาพที่เป็นจริง อริยสงฆ์สาวกท่านก็เห็นตามเป็นจริง เรียกว่า อริยสัจจ์ นั่นคือ รูปเป็นอนัตตา รูปเป็นอนิจจัง รูปจึงเป็นทุกข์ เมื่อยังไม่เห็นจริงด้วยใจ เห็นแต่ตามสัญญาก็เห็นเป็นเพียง สัจจะ เฉยๆ ถ้าเห็นจริงเห็นชัดลงไปด้วยใจแล้วเรียกว่า เห็นอริยสัจจ์อันนั้นเป็นการเห็นของจริงของแท้ของอริยเจ้า ดังนั้นพวกเราอย่าไปหาธรรมะที่อื่นไกลเลย หาเอาในตัวของเรานี่ ผสมกันขึ้นในที่นี้ ให้ปรากฏเห็นขึ้นมาในที่นี้แหละ ใจคนเห็นกาย จึงอุปมาเหมือนกับเรียนสระกับพยัญชนะผสมกัน ผสมกันได้แล้วก็เขียนข้อความไปได้หมดทุกอย่าง จะขีดเขียนเรื่องอะไรๆ เขียนได้หมด มันออกจากสระกับพยัญชนะเท่านั้น

ธรรมทั้งหลายก็ออกมาจากกายกับใจไม่นอกเหนือจากกายกับใจ ใจมาพิจารณาตามจริง ถ้าหากไม่มีกาย ก็ไม่มีเรื่องทุกข์ ไม่มีอนัตตา ไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง เพราะมีกายจึงมีอนิจจัง มีทุกขัง มีอนัตตา จึงมีวิปัสสนา มีมรรคผล นิพพาน มีญาณสมาธิ มีธรรมทั้งหลาย

พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพญิญาณก็ตรัสรู้ที่กายกับใจนี่แหละ พระองค์ไม่ได้ไปตรัสรู้อย่างอื่นที่ไหนหรอก พระสงฆ์สาวกทั้งหลายสำเร็จมรรคผลนิพพาน ก็สำเร็จมรรคผลนิพพาน ก็สำเร็จที่กายกับที่ใจนี่แหละ พวกเทพทั้งหลายสำเร็จมีแต่ใจเป็นพวกอามิสกายไม่มีรูปปรากฏ พวกพรหมก็ไม่ปรากฏรูป พระพุทธเจ้าไม่ได้ไปตรัสรู้ไม่ได้ทรงสอนที่โน่นหรอก ทรงเทศนาสอนมนุษย์พวกเราที่มีกายหยาบๆ เห็นกันอยู่ด้วยตานี่เอง

การเห็นด้วยตาเรียกว่า ทรรศนะมันยังเห็นไม่จริงไม่แท้ ต้องเข้าไปเห็นจึงจะเป็นการเห็นอย่างแท้จริง การเห็นด้วยใจจึงเรียกว่า ญาณทัสนะ คำว่า เห็นด้วยใจ คือ มันชัดด้วยใจนั่นเอง ถ้าไม่ชัดก็ไม่เรียกว่าเห็นด้วยใจ เมื่อเห็นชัดด้วยใจนั่นเอง ถ้าไม่ชัดก็ไม่เรียกว่าเห็นด้วยใจ เมื่อเห็นชัดแล้วกายมันเป็นอนัตตา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง ดังที่อธิบายในเบื้องต้น มันก็ปล่อยวางได้

นั่นคือปล่อยวางไว้ตามสภาพเดิมของมัน เห็นมันเป็นอนัตตาแล้วไม่ยึดถืออีก ปล่อยไปตาม สภาพอนัตตา มันเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยไป เห็นมันเป็นอนิจจัง ก็ยึดไว้ปล่อยไปตามเรื่องของมันตาม สภาพอนิจจัง มันเป็นทุกขัง มันเกิดเป็นทุกข์เพราะเหตุที่มันแปรปรวนบังคับไม่ได้ ก็ปล่อยไปตาม เรื่องของทุกข์ จึงว่ามันเป็นจริงอย่างไรให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

ยถาภูตํ สมมปปญญาย ทฏฐพพํ ควรให้เห็นของสิ่งนั้นๆตามเป็นจริง
นี่จึงจะได้ชื่อว่าเรียนความโง่ ไม่ใช่เรียนความฉลาด
มันโง่ตรงนี้ โง่ที่ไม่เห็นกายของเรา ไม่เห็นใจของเราเอง

แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ทุกๆ คนที่เกิดขึ้นมาได้ชื่อว่าโง่ด้วยกันทั้งนั้น ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนแนะนำตักเตือนอะไรต่างๆ เพื่อให้รู้ความโง่นั่นแหละ ไม่ใช่เรียนความฉลาดหรอกให้รู้ความโง่ทั้งนั้นแหละ อันของที่ไม่รู้จึงค่อยเรียน ความไม่รู้ความไม่เข้าใจนั่นแหละมันโง่ ผู้ที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ทั้งปวงเขาไม่ถือว่าตนฉลาด ความโง่ของคนเรามันยังลึกซึ้งละเอียดมากเหลือมาก ยิ่งเรียนเท่าไรยิ่งเห็นความโง่ของตนมากขึ้นเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเรียนความฉลาด

เมื่อรู้จักโง่ เห็นโง่แล้ว ความรู้นั้นแลเป็นความฉลาด การไม่เห็นความโง่ของตนแต่สำคัญว่าตนฉลาด นั่นยิ่งโง่เข้าทุกทีเหตุนั้นการปฏิบัติของพวกเรา จงปฏิบัติตรงที่กายกับใจ นี่แหละ อย่าส่งออกไปภายนอก ใครเรียนอะไรที่ไหนก็เรียนไปเถิดถ้าเพ่งเข้ามาภายในตัวนั้นเรียกว่าเรียน ความโง่ของตน อย่าส่งออกไปภายนอกก็แล้วกัน

การเรียนกัมมัฏฐานแบบต่างๆหลายเรื่องหลายอย่าง หลายครูหลายอาจารย์ เช่น ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัง อานาปานสติ พุทโธ ทั้งหมดนี้ก็เรียนโง่ด้วยกันทั้งนั้น คือ เรียนให้เห็นตัวโง่ ตั้งใจให้มีสติควบคุมจิตที่มันนึกคิดที่มันปรุงแต่งให้รู้เรื่องของจิต ให้เห็นจิตรู้จักจิตเสียก่อน ถ้าไม่เห็นจิตมันก็รักษาจิตไว้ไม่ได้ คุมจิตไม่ได้ ชำระจิตไม่ได้ เพราะไม่ทราบว่าจิตมันคิดมันนึกปรุงแต่งอะไรบ้าง มันส่งส่ายไปไหนก็ไม่ทราบ

ใครๆ ก็พูดถึงจิตถึงใจ จิตเป็นทุกข์ จิตเดือดร้อน จิตยุ่งวุ่นวาย จิตกระวนกระวาย จิตกระสับกระส่าย มันเรื่องของจิตทั้งนั้นแหละ แต่ยังไม่เคยเห็นจิตสักที จิตแท้เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อไม่เห็นจิตไม่เห็นใจ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะชำระได้ต้องเห็นตัวมันเสียก่อน รู้จักตัวที่เราพูดถึงเสียก่อน พอเราเดือดร้อนเรายุ่งเหยิงหรือส่งส่ายเราก็แก้ตรงนั้นเอง

อาการของใจ เรียกว่า จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่งผู้ส่งส่ายไปมาหน้าหลังสารพัดทุกอย่างรอบด้านรอบข้าง ผู้นั้นเหละเรียกว่า จิต เราเอาสติไปคุมไว้ให้รู้จริงนั้นอยู่เสมอๆตลอดเวลาเห็นจิตของตนอยู่เสมอว่าจิตเป็นอย่างไร มันคิดดีคิดชั่ว คิดหยาบคิดละเอียด คิดปรุงแต่งอะไร ก็ให้รู้เห็นทุกขณะควบคุมมันอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ เมื่อเห็นจิตแล้ว ควบคุมจิตอยู่แล้วเวลาจะคิดก็ให้มันคิดได้ จะนึกก็ให้มันนึกได้ มีสติกำกับอยู่ว่าคิดว่านึก เวลาไม่ให้คิดไม่ให้นึกก็อยู่ได้ ไม่ให้ปรุงแต่งก็อยู่ได้ อย่างนี้จึงจะเรียกว่า บังคับจิตอยู่ อย่าให้จิตบังคับเรา

โดยทั่วไปจิตบังคับให้เรากระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เราอยู่ในอำนาจของจิต มันเป็นไปตามวิสัยอำนาจของจิต คนปุถุชนมันต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อเรากำหนดสติควบคุมจิตได้แล้ว เราจึงไม่อยู่ในอำนาจของจิต แต่จิตอยู่ในอำนาจของเรา มันชักชวนไปทางดีทางชั่วอีกก็ไม่ให้ไป นิ่งอยู่ได้ เช่น มันชักชวนไปในทางชั่วให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้คิดประหัตประหารฆ่าตีเขาก็บอกมันว่าไม่ดีอย่าทำ คิดทางดีให้สร้างบุญสร้างกุศลก็ไม่ให้ไปอยู่คงที่ เมื่อหยุดส่ายอยู่คงที่มันก็เข้าถึง ใจ คือ ความเป็นกลาง

ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าจิตกับใจมันต่างกัน คนละอันกัน แต่แท้ที่จริงท่านพูดอันเดียวกันนั่นแหละ จิตอันใดใจอันนั้นใจอันใดจิตอันนั้น แต่ทำไมจึงเรียกว่าจิต ทำไมจึงเรียกว่าใจ ก็ลองคิดดูซิมันต้องมีแปลกกันอยู่ ใจมันต้องอยู่เฉยๆ คืออยู่กลางสิ่งใดเป็นกลางๆ จะเรียกสิ่งนั้นว่าใจ เช่น ใจมือ ใจเท้า ก็ชี้ลงตรงกลางมือกลางเท้า ใจคนก็ชี้ลงท่ามกลางใจหน้าอก ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนหรอก แต่ชี้ลงท่ามกลางอกเรียกว่า ใจ ที่เรียกว่าใจ คือมันอยู่ท่ามกลางสิ่งต่างๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ไม่คิดหยาบ ไม่คิดละเอียด ไม่ปรุง ไม่แต่งอะไรทั้งหมด แต่มีความรู้สึกอยู่เฉยๆ ตรงนั้นแหละเป็น ใจ

เมื่อเราตั้งสติกำหนดจิตที่มันกระสับกระส่ายดิ้นรน เดือดร้อนวุ่นวาย คอยควบคุมระวังตัวนั้นไว้จนหยุดดิ้นรน หยุดแส่ส่าย มีความรู้สึกเฉยๆ รู้สึกเฉพาะตัวของมันเองไม่คิดไม่นึกอะไร อันนั้นแลเป็น ใจ ตัวเดิมแท้

ใจนี้มันจะดีอย่างไร ลองคิดดูซิ ถ้าเมื่อคุมจิตได้ เข้าถึงใจได้ก็ไม่มีอะไร มีความรู้สึกเฉยๆเฉพาะตัว ความวุ่นวายเดือดร้อนต่างๆ มันก็หายไปหมด มีแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบนั้น เอาความสุขแค่นั้นเสียก่อน สุขอันนั้นถ้าอยู่ได้นานเท่าไรยิ่งดี แต่คนเราไม่ชอบ ชอบให้จิตมันบังคับให้เราเดือดร้อนวุ่นวาย เดี๋ยวก็ร้องไห้ร้องห่ม เดี๋ยวก็หัวเราะเฮฮาเพลิดเพลินเดี๋ยวก็เอะอะโวยวายสารพัดทุกอย่าง เราร้องไห้ก็เพาะมันบังคับให้เราร้องทั้งที่เราไม่อยากร้องไห้ การร้องไห้น่าเกลียดจะตายน่าอับอายขายขี้หน้าคนอื่น แต่มันก็บังคับเอาจนร้องไห้ให้ได้ การหัวเราะก็เหมือนกันหัวเราะเพลิดเพลินสนุกสนานดี มันชอบใจ มันน่าที่จะหัวเราะเพลินเพลิดอยู่เสมอตลอดไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น จิตมันทำให้ร้องไห้ก็ได้ หัวเราะก็ได้ นั่นเพราะเราบังคับมันไม่ได้ ถ้าเราบังคับมันได้แล้วมันก็หยุด เอาสติเข้าไปตั้งเมื่อไรหยุดเมื่อนั้น สตินี้ดีมากเป็นเครื่องควบคุมจิตได้ทุกอย่าง

ได้พูดถึงเรื่องความโง่แล้ว เรามาเรียนความโง่กันเถิดเรียนอย่างวิธีที่อธิบายมานี่แหละ มันจึงจะค่อยหายโง่ ความโง่ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก ยิ่งเรียนก็ยิ่งเห็นความโง่ของตน มันลึกจมอยู่ในก้นบึ้งโน่น ท่านว่า อนุสัย ตราบใดที่ยังไม่ถึง มรรคผล นิพพาน ตราบนั้นยังมีความโง่อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจงพากันเรียนความโง่กันเสียวันนี้
อธิบายมาก็สมควรแก่เวลา เอวํ ฯ



:http://board.palungjit.com/f4/ความโง่ของคนโง่-หลวงปู่เทสก์-เทสรังสี-299644.html
คัดลอกจาก -http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum61.html