ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 03:55:50 pm »



09. เรื่องสาวกเดียรถีย์

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพวกสาวกเดียรถีย์   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อวชฺเช  เป็นต้น

พวกสาวกของอัญญเดียรถีย์  (คนศาสนาอื่น)  ไม่ต้องการให้ลูกของพวกตนไปมั่วสุมกับลูกสาวกของพระพุทธเจ้า   พวกเขาได้พร่ำสอนลูกทั้งหลายว่า “สมณะพวกศากยบุตร  พวกเจ้าไม่พึงไหว้  แม้วิหารของสมณะเหล่านั้น  พวกเจ้าก็ไม่พึงเข้าไป”  วันหนึ่ง  ขณะที่ลูกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกำลังเล่นอยู่กับลูกของชาวพุทธอยู่นั้น   ก็เกิดหิวน้ำขึ้นมา   ด้วยเหตุที่ลูกของอัญญเดียรถีย์ถูกพร่ำสอนไม่ให้เข้าไปในวัดของชาวพุทธ  พวกเขาจึงขอร้องให้เด็กชาวพุทธคนหนึ่งไปนำน้ำมาให้พวกเขาดื่ม  เด็กชาวพุทธคนนั้นก็ได้เข้าไปถวายบังคมพระศาสดาและกราบทูลขอน้ำจะเอาไปให้พวกลูกอัญญเดียรถีย์ดื่ม โดยได้กราบทูลเหตุผลว่า  เด็กเหล่านั้นมารดาบิดาห้ามเข้ามาในวัดพระเชตวัน  พระศาสดาตรัสว่า “เจ้าดื่มน้ำนี้เสียก่อน  แล้วกลับไปบอกให้พวกเด็กเหล่านั้นมาดื่มน้ำที่นี่” เมื่อเด็กเหล่านั้นมาดื่มน้ำแล้ว    พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถาที่เหมาะกับนิสัยของพวกเขา  ทำให้พวกเขามีศรัทธาในพระรัตนตรัย    คือ พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์  และทรงให้รับศีล

เมื่อเด็กพวกนี้กลับไปบ้าน  ก็ได้บอกบิดามารดาของพวกตนว่าได้ไปพบพระศาสดาในวัดพระเชตวันมา   และพระศาสดาได้ประทานพระรัตนตรัยและศีลเสียอีกด้วย    มารดาบิดาของพวกเด็กเหล่านั้น  ต่างเดือดเนื้อร้อนใจ  ร้องไห้ฟูมฟายน้ำตา  ว่า  “ลูกของพวกเรา  กลายเป็นคนมีทิฏฐิวิบัติเสียแล้ว” พวกเพื่อนบ้านได้มาพูดปลอบใจ   ให้หยุดร้องไห้เศร้าโศกเสียใจ  และแนะนำให้พาเด็กเหล่านั้นไปวัดพระเชตวัน  เพื่อมอบตัวแด่พระศาสดา   เมื่อเด็กเหล่านั้นมาพร้อมหน้าพร้อมตาพร้อมด้วยมารดาบิดาของพวกเขาแล้ว    พระศาสดาทรงตรวจดูอุปนิสัยความสามารถที่จะบรรลุธรรมของพวกเด็กนั้น  ก็ได้แสดงธรรม  ด้วยการตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อวชฺเช  วชฺชมติโน
วชฺเช  อวชฺชทสฺสิโน
มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
สตฺตา  คจฺฉนฺติ  สุคตึ  ฯ

วชฺชญฺจ  วชฺชโต  ญตฺวา
อวชฺชญฺจ  อวชฺชโต
สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
สตฺตา  คจฺฉนฺติ  สุคฺคตึ ฯ


สัตว์ทั้งหลาย   ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ  ย่อมไปสู่ทุคติ”

สัตว์ทั้งหลาย  รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ

รู้ธรรมที่หาโทษมิได้  โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ   ย่อมไปสู่สุคติ
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  คนเหล่านั้นทั้งหมด  ดำรงอยู่ในสรณะ 3  แล้ว  ฟังธรรมอื่นๆอีกอยู่  ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล.

-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/page1

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 03:39:46 pm »



08. เรื่องนิครนถ์

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพวกนิครนถ์   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อลชฺชิตาเย เป็นต้น

ในวันหนึ่ง   ภิกษุทั้งหลาย  เห็นพวกนิครนถ์   แล้วสนทนากันว่า  “ผู้มีอายุ  พวกนิครนถ์เหล่านี้ยังดีกว่าพวกอเจลก(ชีเปลือย)  ซึ่งไม่ปกปิดอะไรเลย  เพราะว่าพวกนิครนถ์ที่ปกปิดส่วนข้างหน้า(บาตร)  ก็เห็นจะเป็นผู้มีความละอายอยู่บ้าง”  พวกนิครนถ์ฟังคำนั้นแล้ว  กล่าวว่า “  พวกเราย่อมปกปิด(บาตร)เพราะเหตุว่ามีความละอายร่างกายเปลือยหามิได้  พวกเราปกปิด(บาตร)เพราะเห็นว่าละอองต่างๆมีฝุ่นและธุลีเป็นต้นนั้น  เป็นของเนื่องด้วยสิ่งมีชีวิต  เพราะฉะนั้น พวกเราจึงไม่ต้องการให้ละอองต่างๆมีฝุ่นและธุลีเป็นต้นเหล่านั้น  ตกลงในภาชนะใส่ข้าว(บาตร)ของพวกเราต่างหาก

เมื่อภิกษุทั้งหลาย   ได้กราบทูลคำพูดของพวกนิครนถ์  ให้พระศาสดาทรงทราบ   พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  สัตว์ทั้งหลาย  ชื่อว่าผู้ละอายในสิ่งอันไม่ควรละอาย  ไม่ละอายในสิ่งอันควรละอาย  ย่อมเป็นผู้มีทุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแท้

จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

อลชฺชิตาเย  ลชฺชนฺติ
ลชฺชิตาเย  น  ลชฺชเร
มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา
สตฺตา  คจฺฉนฺติ  ทุคฺคตึ  ฯ

อภเย  ภยทสฺสิโน
ภเย  จ  อภยทสฺสิโน
มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
สตฺตา  คจฉนฺติ  ทุคฺคตึ  ฯ


สัตว์ทั้งหลาย  ย่อมละอายเพราะสิ่งอันไม่ควรละอาย
ไม่ละอายเพราะสิ่งควรละอาย
สมาทานมิจฉาทิฏฐิ  ย่อมถึงทุคติ.

สัตว์ทั้งหลาย  มีปกติเห็นในสิ่งอันไม่ควรกลัวว่าควรกลัว
และมีปกติเห็นในสิ่งอันควรกลัวว่าไม่ควรกลัว

สมาทานมิจฉาทิฏฐิ   ย่อมถึงทุคคติ.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  พวกนิครนถ์เป็นอันมาก  มีใจสังเวชแล้วบวช  พระธรรมเทศนามีประโยชน์  แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกัน.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 03:36:48 pm »



07. เรื่องอาคันตุกภิกษุ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุผู้อาคันตุกะหลายรูป   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  นครํ  ยถา   เป็นต้น

พวกภิกษุที่เข้าจำพรรษาอยู่ในปัจจันตนคร(เมืองชายแดน)  ในเดือนแรกของการจำพรรษา  อยู่อย่างปกติสุข  มีชาวบ้านให้ความอุปถัมภ์เป็นอย่างดี  แต่ในระหว่างเดือนที่สอง  บ้านเมืองถูกปล้นสะดมและชาวบ้านถูกจับเป็นตัวประกัน   พวกชาวบ้านจึงต้องช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์บ้านเมือง และสร้างป้อมปราการ ไม่สามารถดูแลเรื่องปัจจัยต่างๆของภิกษุทั้งหลายได้เท่าที่ควร  เมื่อถึงออกพรรษาและปวารณาแล้ว  พวกภิกษุเหล่านี้ได้เดินทางไปเฝ้าพระศาสดา     ศาสดาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย   พวกเธอพากันอยู่สบายดีหรือ ?”  ได้กราบทูลถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ทรงทราบ  พระศาสดาตรัสว่า “ช่างเถอะ  ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธออย่าได้คิดเลย  ธรรมดาว่าความอยู่เป็นสุขสำราญตลอดกาลเป็นนิตย์  อันบุคคลหาได้ยาก  ธรรมดาว่าภิกษุ  รักษาอัตภาพนั่นแหละ  เหมือนกับพวกมนุษย์เหล่านั้น  คุ้มครองนคร  ฉะนั้น  ย่อมควร

จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

นครํ   ยถา  ปจฺจนฺตํ
คุตฺตํ  สนฺตรพาหิรํ
เอวํ  โคเปถ  อตฺตานํ
ขโณ  โว  มา  อุปจฺจคา
ขณาตีตา  หิ  โสจนฺติ
นิรยมฺหิ  สมปฺปิตาฯ


ท่านทั้งหลายควรรักษาตน
เหมือนกับพวกมนุษย์ป้องกันปัจจันตนคร
ทั้งภายในและภายนอก ฉะนั้น
ขณะอย่าเข้าไปล่วงท่านทั้งหลายเสีย
เพราะว่าชนทั้งหลายผู้ล่วงเสียซึ่งขณะ
เป็นผู้เบียดเสียดกันในนรก  เศร้าโศกอยู่
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ภิกษุเหล่านั้นเกิดความสังเวช   บรรลุอรหัตตผล.
 
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 03:20:22 pm »



06. เรื่องหญิงขี้หึง

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภหญิงขี้หึง   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อกดํ เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   หญิงผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี  เป็นหญิงขี้หึงอย่างรุนแรง  วันหนึ่ง   นางมีความหึงหวงที่สามีมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรับใช้  ดังนั้น  ในวันหนึ่ง จึงจับหญิงรับใช้นั้นมามัดมือมัดเท้า  ตัดหูและตัดจมูก แล้วกักขังไว้ในห้องว่างห้องหนึ่ง  ปิดประตูอย่างแน่นหนา  แล้วชวนสามีไปฟังธรรมที่วัดพระเชตวัน  หลังจากที่หญิงนี้กับสามีคล้อยหลังไปไม่นาน  ก็มีพวกญาติๆของหญิงรับใช้นี้มาที่บ้าน  และพบว่าหญิงรับใช้นี้ถูกผูกมัดและกักขังอยู่ในห้อง  ก็ได้ช่วยกันพังประตูเข้าไป  ช่วยกันแก้มัด   พาออกมาจากห้องนั้น  แล้วก็ได้พากันไปที่วัดพระเชตวัน  ในช่วงเวลาพอดีกับที่พระศาสดากำลังทรงแสดงธรรมอยู่   หญิงรับใช้นั้นได้กราบทูลพระศาสดาถึงเรื่องที่นายสาวของนางได้ก่อกรรมทำเข็ญกับนางทุกอย่าง  พระศาสดา  ทรงสดับคำของหญิงรับใช้นั้นแล้ว  ตรัสว่า  “ขึ้นชื่อว่าทุจริต  แม้เพียงเล็กน้อย  บุคคลไม่ควรทำ  ด้วยความสำคัญว่า ชนเหล่าอื่นย่อมไม่รู้การกระทำนี้ของเรา  ส่วนสุจริตนั่นแหละ  เมื่อคนอื่นแม้ไม่รู้  ก็ควรทำ  เพราะขึ้นชื่อว่าทุจริต  แม้บุคคลปกปิดทำ ย่อมทำการตามเผาผลาญในภายหลัง  ส่วนสุจริตย่อมยังความปราโมทย์อย่างเดียวให้เกิดขึ้น

จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อกตํ  ทุกฺกตํ  เสยฺโย
ปจฺฉา  ตปฺปติ  ทุกฺกฏํ
กตญฺจ  สุกตํ  เสยฺโย
ยํ กตฺวา  นานุตปฺปติ ฯ


กรรมชั่ว  ไม่ทำเสียเลยดีกว่า
เพราะกรรมชั่ว  ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
ส่วนบุคคลทำกรรมใดแล้ว  ไม่ตามเดือดร้อน
กรรมนั้น  เป็นกรรมดี  อันบุคคลทำแล้วดีกว่า
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  อุบาสกและหญิงนั้น  บรรลุโสดาปัตติผล  ชนทั้หลายปลดปล่อยหญิงรับใช้นั้นให้เป็นไท  และทำให้เป็นหญิงมีปกติประพฤติธรรม.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 03:08:23 pm »



05. เรื่องภิกษุว่ายาก

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  กุโส  ยถา  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   ภิกษุรูปหนึ่ง  ดึงหญ้าต้นหนึ่งขาดโดยไม่เจตนา   เมื่อเกิดความสงสัยว่าจะเป็นอาบัติหรือไม่  จึงไปถามภิกษุอีกรูปหนึ่ง  ซึ่งก็ได้รับคำตอบจากภิกษุหัวดื้อว่ายากรูปนี้ว่า   “การดึงต้นหญ้าให้ขาดนี้  เป็นความผิดเล็กๆน้อยๆเท่านั้น  แค่ท่านแสดงอาบัติเท่านั้น  ก็สามารถพ้นจากอาบัตินี้ได้   ท่านอย่าได้วิตกกังวลไปเลย”   พอพูดจบ  พระรูปที่อธิบายนั้นก็เอาสองมือถอนหญ้าเพื่อเป็นการพิสูจน์ความคิดของตนเองว่าการถอนหญ้าเป็นความผิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ภิกษุทั้งหลายได้นำความขึ้นกราบทูลพระศาสดา   พระศาสดาจึงตรัสพระธรรมบท  สามพระคาถานี้ว่า

กุโส  ยถา  ทุคฺคหิโต
หตฺถเมวานุกนฺตติ
สามญฺญํ  ทุปฺปรามฏฺฐํ
นิรยายูปกฑฺฒติ  ฯ

ยงฺกิญฺจิ  สิถิลํ  กมฺมํ
สงฺกิลิฏฺฐญฺจ  ยํ  วตํ
สงฺกสฺสรํ  พฺรหฺมจริยํ
น  ตํ  โหติ  มหปฺผลํ ฯ


กยิรา  เจ  กยิราเถนํ
ทฬฺหเมนํ  ปรกฺกเม
สิถิโล  หิ ปริพฺพาโช
ภิยฺโย  อากิรเต  รชํ ฯ


หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี
ย่อมตามบาดมือนั่นเอง ฉันใด
คุณเครื่องสมณะ  ที่บุคคลลูบคลำไม่ดี
ย่อมคร่าเขาไปในนรก ฉันนั้น.


การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน
วัตรใดที่เศร้าหมอง
พรหมจรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ

กรรมทั้ 3 อย่างนี้  ย่อมไม่มีผลมาก.

หากว่าบุคคลพึงทำกรรมใด
ควรทำกรรมนั้นจริง

ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่น
เพราะว่าสมณธรรมเครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน
ยิ่งเกลี่ยธุลีลง
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น  ภิกษุแม้นั้น  ดำรงอยู่ในความสังวรแล้ว  ภายหลังเจริญวิปัสสนา  บรรลุพระอรหัตตผล.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 02:51:57 pm »



04. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  จตฺตาริ  ฐานานิ  เป็นต้น

นายเขมกะ  นอกจากจะมีชาติตระกูลดี   ก็ยังเป็นชายหนุ่มรูปหล่อ   เป็นที่ถูกตาต้องใจของบรรดาสาวน้อยสาวใหญ่ทั้งหลาย   ซึ่งแต่อนงค์นางต่างยินยอมพร้อมใจพลีร่างมีเพศสัมพันธ์กับนายเขมะคนนี้ทั้งนั้น   นายเขมกะเองก็ชอบเรื่องแบบนี้ด้วย จึงได้ประกอบกิจกรรมที่เรียกว่า “ปรทารกรรม”(เป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น) อยู่เป็นอาจิณ  พวกราชบุรุษเคยจับนายเขมะในข้อหาเป็นชู้กับภรรยาของคนอื่นและนำตัวไปถวายเจ้าปเสนทิโกศลถึง 3 ครั้ง   แต่พระราชามีรับสั่งให้ปล่อยตัวไปทุกครั้ง  เพราะว่านายเขมะผู้นี้เป็นหลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี   เมื่อท่านเศรษฐีทราบเรื่อง ก็ได้นำตัวนายเขมกะเข้าเฝ้าพระศาสดา  และกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่นายเขมกะนี้

พระศาสดาทรงแสดง   สังเวคกถา (คำที่ชวนให้เกิดความสลดใจ)  และเมื่อจะทรงแสดงโทษในการเสพภรรยาของคนอื่น  ได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

จตฺตาริ   ฐานานิ  นโร  ปมตฺโต
อาปชฺชตี  ปรทารูปเสวี
อปุญฺญลาภํ  นนิกามเสยฺยํ
นินทํ  ตติยํ  นิรยํ  จตุตฺถํ
อปุญฺญลาโภ  จ  คตี  จ   ปาปิกา
ภีตสฺส  ภีตาย  รตี  จ   โถกิกา
ราชา จ  ทณฺฑํ  ครุกํ  ปเณติ
ตสฺมา  นโร  ปรทารํ  น เสเว.


นระผู้ประมาท  ชอบเสพภรรยาของคนอื่น
ย่อมถึงฐานะ  4  อย่าง คือ
การได้สิ่งที่มิใช่บุญ(เป็นที่ 1)
การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา(เป็นที่2)

การนินทาเป็นที่ 3  นรกเป็นที่ 4
ได้สิ่งมิใช่บุญอย่าง 1
คติลามกอย่าง 1
ความยินดีของบุรุษผู้กลัว  กับด้วยหญิงผู้กลัว   มีประมาณน้อยอย่าง 1

พระราชาย่อมลงอาชญาอันหนักอย่าง 1
เพราะฉะนั้น  นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  นายเขมกะ  บรรลุโสดาปัตติผล   ตั้งแต่นั้นมา  มหาชนนอนตาหลับ.

พระคัมภีร์ยังได้เล่าถึงบุรพกรรมของนายเขมะว่า  ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะนั้น  นายเขมะเป็นนักมวยที่เก่งที่สุด   และมีความเข้มแข็งมาก  ได้ยกธงทอง 2  แผ่นขึ้นไว้ที่สถูปทองคำของพระกัสสปพุทธเจ้า  แล้วตั้งความปรารถนาว่า “เว้นหญิงที่เป็นญาติสาโลหิตเสีย  หญิงที่เหลือเห็นเราแล้วจงกำหนัด” (ฐเปตฺวา  ญาติสาโลหิติตฺถิโย  อวเสสา  มํ  ทิสฺวา  รชนฺติ ) เพราะฉะนั้น  เมื่อเขาไปเกิดในภพชาติใดก็ตาม   หญิงคนใดได้เห็นเขาแล้ว  หญิงคนนั้นก็จะเกิดความหลงใหลในความมีเสน่ห์ของเขา  จนคุมสติคุมอารมณ์อยู่มิได้

(หมายเหตุ  คำอธิษฐานของนายเขมกะที่เป็นภาษาบาลีว่า   ฐเปตฺวา  ญาติสาโลหิติตฺถิโย  อวเสสา  มํ  ทิสฺวา  รชนฺติ  (อ่านว่า  ถะเปดตะวา  ยาติสาโลหิติดถิโย  อะวะเสสา  มัง  ทิดสะหวา  ระชันติ)  นี้ได้กลายเป็นมนต์สร้างเสน่ห์วิเศษ  ที่พวกหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ที่ต้องการสร้างเสน่ห์ให้แก่ตัวเองนำไปท่องบ่นภาวนา)
 
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 02:43:49 pm »



03 .เรื่องภิกษุผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำชื่อวัคคุมุทา

พระศาสดา  เมื่อเสด็จอาศัยเมืองไพศาลี  ประทับอยู่ในมหาวัน  ทรงปรารภภิกษุผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำชื่อวัคคุมุทา
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  เสยฺโย  อโยคุโฬ เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   ได้เกิดข้าวยากหมากแพงขึ้นในแคว้นวัชชี   ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา  ต้องการจะมีอาหารขบฉันอย่างพอเพียง  จึงได้อวดอ้างอุตตริมนุษยธรรมว่าพวกตนได้สำเร็จมรรคผล   พวกชาวบ้านเชื่อว่าภิกษุเหล่านั้นบรรลุมรรคผลจริงๆ จึงได้ถวายภัตตาหารเป็นจำนวนมาก  แก่ภิกษุเหล่านั้นเ เมื่อออกพรรษปวารณาแล้ว  ภิกษุทั้งหลายจากทั่วประเทศได้ดินทางไปเข้าเฝ้าพระศาสดา  พวกภิกษุจากฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาก็ไปเฝ้าพระศาสดาเช่นเดียวกัน  ภิกษุเหล่านี้มีร่างกายอ้วนท้วนแข็งแรงในขณะที่ภิกษุจากที่อื่นๆมีร่างการซูบซีดผอมโซ  พระศาสดาได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายถึงชีวิตและความเป็นอยู่ของแต่ละรูปในช่วงเข้าพรรษา   เมื่อมาถึงพวกภิกษุจากฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา  พระศาสดาได้ตรัสถามถึงปัญหาของอาหารการขบฉันว่ามีความลำบากหรือไม่  พระเหล่านี้ได้กราบทูลว่าพวกตนไม่มีความลำบากในเรื่องของอาหารและการขบฉันต่อย่างใด

พระศาสดาได้ตรัสถามว่า  เพราะเหตุใดพระเหล่านี้จึงไม่มีปัญหาในเรื่องอาหารและการขบฉันในระหว่างพรรษา  พระเหล่านี้กราบทูลว่าที่มีอาหารและของขบฉันอย่างเพียงพอก็เพราะพวกตนอวดอ้างว่าได้บรรลุมรรคผลจึงทำให้ประชาชนมีความเลื่อมใสนำภัตตาหารไปถวายเป็นจำนวนมาก   พระศาสดาตรัสถามว่า ได้บรรลุฌาน  มรรค หรือผลใดๆหรือไม่   เมื่อพระเหล่านี้ปฏิเสธ   พระศาสดาจึงได้ทรงติเตียนว่าเป็นการกระทำที่เห็นแก่ปากแก่ท้อง  และได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

เสยฺโย  อโยคุโฬ  ภุตฺโต
ตตฺโต  อคฺคิสิขูปโม
ยญฺเจ  ภุญฺเชยฺย  ทุสฺสีโล
รฏฺฐปิณฺฑํ  อสญฺญโ
ต.

ก้อนเหล็กอันร้อนประหนึ่งเปลวไฟ
ภิกษุบริโภค ยังดีกว่า
ภิกษุผู้ทุศีล  ไม่สำรวม
บริโภคก้อนข้าว  ของชาวแว่นแคว้น

จะประเสริฐอะไร
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
 
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 02:35:42 pm »



02. เรื่องสัตว์ผู้ถูกทุกข์เบียดเบียน

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภสัตว์ทั้งหลายผู้อันอานุภาพแห่งผลทุจริตเบียดเบียน   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  กาสาวกัณฐา  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   ขณะที่พระมหาโมคคัลลานเถระเดินลงมาจากเขาคิชฌกูฏ พร้อมด้วยพระลักขณเถระ   เห็นร่างของเหล่าสัตว์นรกมีเปรตผู้มีแต่ร่างกระดูกเป็นต้น  จึงทำการยิ้มแย้ม  เมื่อพระลักขณเถระได้ถามถึงสาเหตุของการทำยิ้มแย้มนั้น  ท่านกล่าวว่าอย่าเพิ่งมาถามตอนนี้  ให้ไปถามในตอนที่เข้าเฝ้าพระศาสดา  เมื่อถึงสำนักของพระศาสดาแล้วพระมหาโมคคัลลานะได้บอกกับพระลักขณเถระว่า นอกจากท่านจะเห็นสัตว์นรกแล้ว  ท่านก็ยังเห็นภิกษุ 5 รูปมีร่างกายถูกไฟไหม้  พระศาสดาเมื่อทรงสดับเรื่องพระภิกษุ 5 รูปถูกไฟนรกแผดเผานั้นแล้ว  ได้ตรัสบอกว่า  พระภิกษุเหล่านั้นเคยบวชในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า  เป็นผู้ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม  เพราะกรรมชั่วนั้นเองจึงได้ไปบังเกิดในนรก
จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

กาสาวกณฺฐา  พหโว
ปาปธมฺมา  อสญฺญตา
ปาปา  ปาเปหิ  กมฺเมหิ
นิรยํ  เต  อุปปชฺชเร ฯ


ชนเป็นอันมาก  มีคอพันด้วยผ้ากาสาวะ
เป็นผู้มีธรรมลามก  ไม่สำรวม
ชนผู้ลามกเหล่านั้น  ย่อมเข้าถึงนรก
เพราะกรรมลามกทั้งหลาย.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผล.

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 02:23:29 pm »




เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 22 : นิรยวรรค
01. เรื่องนางปริพาชิกาชื่อสุนทรี


พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภนางปริพาชิกาชื่อสุนทรี   ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อภูตวาที  เป็นต้น

เมื่อผู้คนที่หันมานับถือพระศาสดามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นๆ   พวกอัญญเดียรถีร์(ผู้ถือศาสนาอื่น)พบว่าศาสนิกชนของฝ่ายตนได้ลดจำนวนลงเรื่อยๆ  ดังนั้น  พวกอัญญเดียรถีย์จึงมีความอิจฉาริษยาในพระศาสดา   และพวกเขายังกลัวด้วยว่าสถานการณ์คงจะเลวร้ายลงเรื่อยๆหากว่าพวกเขาไม่ทำอะไรสักอย่างเพื่อทำลายชื่อเสียงและเกียรติภูมิของพระศาสดา  เพราะฉะนั้น  พวกเขาจึงส่งคนไปเชิญนางสุนทรีปริพาชิกามาพบและปรึกษากับนางให้ใช้ความงามและความฉลาดของนางเป็นเครื่องมือกล่าวโทษเพื่อทำลายชื่อเสียงและเกียรติภูมิของพระสมณโคดม  ทำให้มหาชนหลงเชื่อ  ก็จะมีผลทำลายลาภสักการะของพระสมณโคดมได้ในที่สุด

นางสุนทรีเข้าใจสิ่งที่พวกอัญญเดียรถีย์คาดหวังจากนางเป็นอย่างดี ดังนั้นในตอนเย็น  นางก็จะทำทีเดินมุ่งหน้าไปทางวัดพระเชตวัน   เมื่อมีใครถามว่านางจะไปไหน   นางก็จะตอบว่า  “ฉันกำลังจะไปสำนักพระสมณโคดม  ฉันจะอยู่ในพระคันธกุฏีเดียวกันกับพระสมณโคดมทั้งคืน” หลังจากนั้น  นางก็จะไปพักอยู่ที่สำนักของพวกอัญญเดียรถีย์  พอถึงรุ่งเช้าในวันรุ่งขึ้น  นางก็ทำทีว่าจะเดินกลับบ้าน  และหากมีใครถามว่าไปไหนมา  นางก็จะตอบว่า “ฉันเพิ่งกลับจากพระคันธุฎี  หลังจากที่เมื่อคืนนี้ได้ไปมีความสุขทางเพศกับพระสมณโคดมมา”  นางทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลา 2 -3  วัน  พอในวันที่ 4  พวกอัญญเดียรถีย์ก็ได้ไปจ้างพวกนักเลงให้ทำการสังหารชีวิตนางสุนทรีแล้วหมกศพของนางไว้ที่กองขยะดอกไม้ใกล้วัดพระเชตวัน  ในวันรุ่งขึ้น  พวกอัญญเดียรถีย์ก็ได้ปล่อยข่าวว่านางสุนทรีปริพาชิกาหายตัวไป และได้นำความขึ้นกราบทูลพระราชาพร้อมแจ้งเบาะแสว่านางไปที่วัดพระเชตะวันในช่วง 3 วันที่ผ่านมา  พระราชาทรงอนุญาตให้ทำการตรวจค้นตามที่ต่างๆได้ตามที่ต้องการ

เมื่อคนของพวกอัญญเดียรถีย์ออกไปค้นหาก็ได้พบศพของนางสุนทรีหมกอยู่ในกองขยะดอกไม้ใกล้วัดพระเชตวัน  จึงได้นำศพนางไปที่พระราชวัง  แล้วกราบทูลพระราชาว่า   สาวกของพระสมณโคดมเป็นผู้ฆ่านางสุนทรี  เพื่อปกปิดเรื่องที่นางมีเพศสัมพันธ์กับพระสมณโคดม  พระราชาตรัสตอบว่า  หากเป็นเช่นนั้นก็ขอให้แห่ศพนางไปประจานให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้โดยทั่วกัน   ดังนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ก็จึงแห่ศพไปประจานตามที่ต่างๆจนทั่วเมือง  โดยได้ประกาศว่า  “ขอท่านทั้งหลาย จงดูการกระทำของพวกสมณศากยบุตรเถิด”  จากนั้นก็เที่ยวชี้หน้าด่าว่าพระภิกษุที่พวกตนพบในเมืองบ้าง  นอกเมืองบ้าง ในป่าบ้าง ภิกษุทั้งหลายได้นำความนี้ขึ้นกราบทูลพระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น แม้พวกเธอก็จงกล่าวคำเหล่านี้พูดตอบโต้คนเหล่านั้นบ้าง” จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อภูตวาที  นิรยํ  อุเปติ
โย  วาปิ  กตฺวา  น  กโรมิจฺจาห
อุโภปิ  เต  เปจฺจ  สมา  ภวนฺติ
นิหีนกมฺมา  มนุชา  ปรตฺถ ฯ


ผู้มักพูดไม่จริง  ย่อมเข้าถึงนรก
หรือแม้ผู้ใดทำแล้ว  กล่าวว่า  ข้าพเจ้ามิได้ทำ
ชนแม้ทั้งสองนั้น  เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม

ละไปในโลกอื่นแล้ว  ย่อมเป็นผู้เสมอกัน
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

ต่อมา  พระราชาทรงส่งราชบุรุษออกติดตามหาตัวฆาตกรที่สังหารโหดนางสุนทรี  เมื่อทำการสืบสวนในทางลับแล้ว  ก็พบว่าพวกฆาตรกรที่สังหารนางสุนทรีคือพวกนักเลงสุรา   เมื่อทำการจับกุมนักเลงสุราเหล่านี้แล้วก็ได้ตัวไปถวายพระราชา   เมื่อถูกสอบสวนพวกเขาก็ได้รับสารภาพว่าถูกว่าจ้างโดยพวกอัญญเดียรถีย์ให้ฆ่านางสุนทรีแล้วนำศพของนางไปซุกไว้ที่กองขยะดอกไม้ใกล้วัดพระเชตวัน  พระราชาจึงมีรับสั่งให้พวกฆาตกรเหล่านี้ตระเวนไปร้องป่าวประกาศจนทั่วเมืองว่า “นางสุนทรีนี้  ถูกพวกข้าพเจ้าผู้ใคร่จะใส่ร้ายพระสมณโคดมฆ่า  โทษของพระสาวกของพระสมณโคดมไม่มี  เป็นโทษของพวกข้าพเจ้าฝ่ายเดียว” ผู้คนที่เคยหลงเชื่อต่างก็ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง  ทั้งพวกเดียรถีย์และพวกฆาตกรต่างได้รับโทษทัณฑ์ทางอาญาในข้อหาฆ่าคน จำเดิมแต่นั้นมา เกียรติภูมิและลาภสักการะของพระศาสดาและพระสาวกทั้งหลายยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้นกว่าเก่า.