ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 08:35:42 pm »15 ค่ำ เดือน 8 วันที่ชาวพุทธควรรู้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
2 สิงหาคม 2555 17:10 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000095080-
สำหรับเราชาวพุทธ ปีนี้ถือเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ที่พระบรมศาสดา ตรัสรู้เป็น “พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า” ครบรอบ 26 พุทธศตวรรษ หรือ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม 2555 เป็นวันอาสาฬหบูชา (Asarnha Bucha Day) ที่เราชาวพุทธรู้จักกันดีซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรมที่ตรัสรู้ได้เป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีป ปัจจุบันคือ ประเทศอินเดีย ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ
วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน 8 คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวก คือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่นๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์) ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนการใช้พุทธศาสนาถึง 45 ปี
ธรรมเทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเนื้อหาว่าด้วยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่นำไปสู่การบรรลุนิพาน อันประกอบด้วย อริยมรรค มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หนทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์ทั้งปวง ประกอบด้วย 8 เส้นทาง เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ 1.ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) คือ เข้าใจถึงภาวะต่างๆที่กำลังปรากฏว่าเป็นเพียงภาวะชั่วคราวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 2.ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) คือ เมื่อเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่นึกไปในทางชื่นชมชื่นชอบ หรือไม่ชื่นชมชื่นชอบ หากไตร่ตรองตามสภาพที่เป็นจริงของสิ่งนั้นๆ ด้วยการวางใจเป็นกลาง 3.การเจรจาชอบ (สัมมาวาจา) คือ สื่อสารเพื่อความเกื้อกูลที่ดีงาม 4.การทำงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) คือ กระทำให้เป็นเหตุให้เกิดความเกื้อกูล ดีงาม วางจากความเพลิดเพลินยินดี ยึดติดยึดมั่นต่างๆ
5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) คือ เลี้ยงชีพชอบด้วยความชอบธรรม 6.เพียรชอบ (สัมมาวายามะ) คือ สร้างความเพียรเพื่อละอกุศลที่จะเกิดขึ้นเจริญกุศลธรรมที่เป็นไปด้วยการดับทุกข์ 7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) คือ ระลึกอยู่เสมอถึงสภาวะของสิ่งต่างๆเป็นเพียงองค์ประกอบ หรือเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย และ 8.ตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) คือ เกิดสภาวะจิตที่สงบตั้งมั่น ไม่ถูกกระทบ ต่อความเปลี่ยนแปลง
ทางสายกลางที่ว่านั้น เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วคิดหาทางไปสู่เป้าหมายนั้นให้ได้ ซึ่งพบว่าต้องเริ่มต้นจากการทำจิตใจให้สงบไม่เอนเอียงไปข้างตึงหรือข้างหย่อน โดยอาศัยการฝึกสติเป็นตัวนำ พร้อมทั้งเพียรระวังไม่ให้ความคิดที่ไม่ดีเกิดขึ้น เมื่อเกิดแล้วก็ต้องเพียรละให้ได้ ในขณะเดียวกัน ก็เพียรให้เกิดความคิดที่ดีให้เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และพบต่อไปว่าจิตสงบแล้วพฤติกรรมต่างๆ ทั้งทางกาย วาจา ใจ ก็จะสงบด้วย เมื่อสงบทั้งกาย วาจา และใจแล้วก็ได้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน เหตุที่ธรรมของพระพุทธองค์มีความสำคัญ เพราะพระพุทธองค์เปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ทั้งยังเป็นผู้เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรมที่นำมาซึ่งความสงบสุขร่มเย็น ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร“ แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรมหรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร
พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้น ในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสารสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตน ว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลก และชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด ยิ่งในปัจจุบันวิถีชีวิตของมนุษย์เราเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การแข่งขัน สภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนตลอดเวลา ค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้นทุกวัน การไล่ตามเทคโนโลยี จนอาจให้เราหลงลืมที่จะให้เวลาหาคำตอบให้กับตัวเองว่าแท้จริงแล้วชีวิตเราต้องการอะไรกันแน่ ชีวิตเกิดมาทำไม ชีวิตควรเป็นไปอย่างไร ชีวิตควรให้เป็นอยู่อย่างไรและชีวิตที่ดีเป็นอย่างไร ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน โชคดีที่ได้เกิดมาในบวรพุทธศาสนาคงจะยังไม่สายเกินไปนัก หากเราจะหันมาค้นหาคำตอบให้กับตนเอง
ในวาระอันสำคัญยิ่งนี้ ที่วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม 2555 เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง การน้อมนำเอาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับทางสายกลางมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของท่านคงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท่าน ครอบครัว และ สังคม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวไทย ร่วมทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร) และสวดมนต์ที่วัดใกล้บ้าน เพื่อช่วยกันธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน
.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
2 สิงหาคม 2555 17:10 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000095080-
สำหรับเราชาวพุทธ ปีนี้ถือเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ที่พระบรมศาสดา ตรัสรู้เป็น “พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า” ครบรอบ 26 พุทธศตวรรษ หรือ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม 2555 เป็นวันอาสาฬหบูชา (Asarnha Bucha Day) ที่เราชาวพุทธรู้จักกันดีซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรมที่ตรัสรู้ได้เป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีป ปัจจุบันคือ ประเทศอินเดีย ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ
วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน 8 คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวก คือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่นๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์) ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนการใช้พุทธศาสนาถึง 45 ปี
ธรรมเทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเนื้อหาว่าด้วยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่นำไปสู่การบรรลุนิพาน อันประกอบด้วย อริยมรรค มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หนทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์ทั้งปวง ประกอบด้วย 8 เส้นทาง เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ 1.ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) คือ เข้าใจถึงภาวะต่างๆที่กำลังปรากฏว่าเป็นเพียงภาวะชั่วคราวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 2.ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) คือ เมื่อเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่นึกไปในทางชื่นชมชื่นชอบ หรือไม่ชื่นชมชื่นชอบ หากไตร่ตรองตามสภาพที่เป็นจริงของสิ่งนั้นๆ ด้วยการวางใจเป็นกลาง 3.การเจรจาชอบ (สัมมาวาจา) คือ สื่อสารเพื่อความเกื้อกูลที่ดีงาม 4.การทำงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) คือ กระทำให้เป็นเหตุให้เกิดความเกื้อกูล ดีงาม วางจากความเพลิดเพลินยินดี ยึดติดยึดมั่นต่างๆ
5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) คือ เลี้ยงชีพชอบด้วยความชอบธรรม 6.เพียรชอบ (สัมมาวายามะ) คือ สร้างความเพียรเพื่อละอกุศลที่จะเกิดขึ้นเจริญกุศลธรรมที่เป็นไปด้วยการดับทุกข์ 7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) คือ ระลึกอยู่เสมอถึงสภาวะของสิ่งต่างๆเป็นเพียงองค์ประกอบ หรือเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย และ 8.ตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) คือ เกิดสภาวะจิตที่สงบตั้งมั่น ไม่ถูกกระทบ ต่อความเปลี่ยนแปลง
ทางสายกลางที่ว่านั้น เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วคิดหาทางไปสู่เป้าหมายนั้นให้ได้ ซึ่งพบว่าต้องเริ่มต้นจากการทำจิตใจให้สงบไม่เอนเอียงไปข้างตึงหรือข้างหย่อน โดยอาศัยการฝึกสติเป็นตัวนำ พร้อมทั้งเพียรระวังไม่ให้ความคิดที่ไม่ดีเกิดขึ้น เมื่อเกิดแล้วก็ต้องเพียรละให้ได้ ในขณะเดียวกัน ก็เพียรให้เกิดความคิดที่ดีให้เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และพบต่อไปว่าจิตสงบแล้วพฤติกรรมต่างๆ ทั้งทางกาย วาจา ใจ ก็จะสงบด้วย เมื่อสงบทั้งกาย วาจา และใจแล้วก็ได้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน เหตุที่ธรรมของพระพุทธองค์มีความสำคัญ เพราะพระพุทธองค์เปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ทั้งยังเป็นผู้เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรมที่นำมาซึ่งความสงบสุขร่มเย็น ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร“ แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรมหรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร
พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้น ในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสารสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตน ว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลก และชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด ยิ่งในปัจจุบันวิถีชีวิตของมนุษย์เราเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การแข่งขัน สภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนตลอดเวลา ค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้นทุกวัน การไล่ตามเทคโนโลยี จนอาจให้เราหลงลืมที่จะให้เวลาหาคำตอบให้กับตัวเองว่าแท้จริงแล้วชีวิตเราต้องการอะไรกันแน่ ชีวิตเกิดมาทำไม ชีวิตควรเป็นไปอย่างไร ชีวิตควรให้เป็นอยู่อย่างไรและชีวิตที่ดีเป็นอย่างไร ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน โชคดีที่ได้เกิดมาในบวรพุทธศาสนาคงจะยังไม่สายเกินไปนัก หากเราจะหันมาค้นหาคำตอบให้กับตนเอง
ในวาระอันสำคัญยิ่งนี้ ที่วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม 2555 เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง การน้อมนำเอาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับทางสายกลางมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของท่านคงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท่าน ครอบครัว และ สังคม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวไทย ร่วมทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร) และสวดมนต์ที่วัดใกล้บ้าน เพื่อช่วยกันธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน
.