ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 01:33:12 pm »เปิดความหมาย"รอมฎอน"เดือนสุดประเสริฐของมุสลิม ที่ไม่ใช่แค่เพียง"ถือศีลอด"
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312185548&grpid=01&catid&subcatid-
ภายหลังจากที่สำนักจุฬา ราชมนตรี กำหนดวันที่ 1 เดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1432 ในวันอาทิตย์ ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2554 หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
วันที่ 1 เดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1432 จึงตรงกับ 1 สิงหาคม 2554 เริ่มต้นถือศีลอดของพี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศ
หลายคนที่นับถือต่างศาสนา คงสงสัยไม่ใช่น้อยว่า เดือนรอมฎอน ตามหลักศาสนาอิสลาม มีความสำคัญอย่างไร นอกเหนือไปจาก เป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิมแล้ว
รอมะฎอน หรือ รอมฎอน คือ เดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช เป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง เนื่องจากชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติเพราะเป็นศาสนบัญญัติ ด้วย การงดอาหารทุกชนิด รวมถึงน้ำดื่ม ในช่วงเวลา พระอาทิตย์ขึ้น-พระอาทิตย์ตกดิน รวมทั้ง ให้อดทนต่อสิ่งรอบตัว หยุดทำความชั่ว และออกห่างจากสิ่งหรือคนที่จะชักนำเราไปสู่การฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้าไม่ว่า จะโดยมือ(ทำร้ายหรือขโมย) เท้า (เดินไปสู่สถานที่ต้องห้าม) ตา (ดูสิ่งลามก) หู (เช่นการฟังสิ่งไร้สาระ ,ฟังเรื่องชาวบ้านนินทากัน) ปาก (การนินทาว่าร้ายคนอื่น โกหก โป้ปด)
เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่จูงใจให้ผู้ศรัทธาทำความดีมากยิ่งขึ้นกว่า เดือนอื่นๆ เน้นการบริจาคทาน หัวใจจะจดจ่ออยู่กับการแสดงความเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺและหันไปหาพระองค์มากขึ้น เรียกได้ว่า รอมฏอนเป็นเดือนแห่งการอบรมจิตใจ นั่นเอง เพราะจะไม่ทำสิ่งไร้สาระ จะทำอะไรต้องระมัดระวังทุกการกระทำและคำพูด มิเช่นนั้น ก็จะเป็นการถือศีลอดที่ได้แค่เพียง การอดอาหาร เท่านั้นเอง รวมทั้งจะได้รับรู้ความยากลำบากคนที่ยากไร้ด้วย
นอกจากถือศีลอด และทำทานแล้ว รอมฎอนยังเป็นเดือนสุดประเสริฐ ที่มีการประทานคัมภีร์อัล-กรุอาน (พระวัจนะของพระเจ้า) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญชีวิตของมุสลิมทุกคน และเป็นเดือนแห่งความเมตตา ประตูสวรรค์เปิด ประตูนรกปิด เดือนนี้จึงหมั่นทำความดีให้มากๆมุสลิมทุกคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อากิลบาเล็ฆ) มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และ โลกหน้าจะเป็นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง
เมื่อสิ้นเดือนรอมะฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริหรือ วันอีดเล็ก
การกำหนดวันที่ 1 ของเดือนการเริ่มต้นวันตามศาสนาอิสลามเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า และการกำหนดเดือนเป็นระบบจันทรคติ ซึ่ง 1 เดือนจะมี 29 หรือ 30 วันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการหมุนรอบโลกครบ 1 รอบในเดือนนั้นๆ
ความจริงแล้วการกำหนดวันที่ 1 ของแต่ละเดือนนั้น ประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่หรือประเทศมุสลิมจะมีการกำหนดไปในทิศทางเดียว กัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีนักวิชาการหลากหลายครบทุกแขนง ซึ่งแน่นอนว่ารวมทั้งด้านดาราศาสตร์ด้วย ดังนั้นการกำหนดวันที่ 1 ของเดือนต่างๆ ด้วยการดูจันทร์เสี้ยว เมื่อผ่านพ้นวันที่ 29 ของแต่ละเดือนขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มตกลับขอบฟ้า ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวให้เริ่มนับจากคืนนั้นว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนใหม่ แต่ถ้าไม่ปรากฏว่ามีจันทร์เสี้ยว แสดงว่าดวงจันทร์ยังโคจรไม่ครบรอบ ให้นับเดือนนั้นว่า มี 30 วัน จึงเป็นไปตามหลักศาสนาและตรงตามสภาพความจริงบนฟ้าตามที่อัลลอฮฺ(ซบ.)ได้ทรง กำหนดไว้
บุคคลที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ได้แก่ คนเจ็บป่วย หญิงที่มีประจำเดือน หญิงที่ให้นมบุตร แต่หากมีความสามารถ ก็จะถือได้ หญิงที่ตั้งครรภ์ และคนแก่ชรา ที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ
ทั้งนี้ หญิงที่ตั้งครรภ์และที่ให้นมบุตร กับคนที่ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดนั้น....ต้อง จ่ายเป็นทาน โดยจ่ายทานเป็นข้าวสาร จ่ายทานข้าวสาร วันละ 1 มุด 1 มุดประมาณ 6 ขีด ส่วนคนเจ็บป่วย และ สตรีที่มีประจำเดือนนั้น ให้ถือศีลอดใช้ภายหลัง ให้ครบ ก่อนรอมฎอนในปีถัดไปช่วงเวลาที่เริ่มถือศีลอด คือตั้งแต่แสงพระอาทิตย์ขึ้น - แสงพระอาทิตย์เริ่มตกดินการคำนวนดูเวลาแสงพระอาทิตย์ ขึ้น-ตก ตามการคำนวณของหลักดาราศาสตร์อิสลาม วัดตามพิกัดองศาแต่ละพื้นที่เวลาละศีลอด นั้นมักจะใช้อินทผลัมในการละศีลอด...เพราะเป็นแบบอย่างจากท่านนบีมูฮำมัด ซึ่ง อินทผลัมนั้น ประกอบด้วย น้ำตาลฟรุกโตส กลูโคส น้ำ วิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส จัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายชนิดหนึ่ง และเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นในสภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลีย จากการขาดพลังงานและน้ำ ลูกอินทผลัมน่าจะเป็นผลไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง สำหรับผู้ที่จะละศีลอด ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีรสหวานก็สามารถทานได้
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของเดือนรอมฎอน คือ เพื่อเพิ่มความยำเกรงพระเจ้าให้มากขึ้น ต้องการให้เราทำทานมากขึ้น รวมถึงยังให้ฝึกฝนตนเองไว้ให้พร้อมสำหรับการญิฮาด (เสียสละ)ตลอดชีวิต สุดท้ายสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคัมภีร์กุรอานให้มากยิ่งขึ้น
การถือศีลอดเดือนรอมฎอนตามบัญญัติอิสลาม เป็นอิบาดะฮฺที่ต้องมีการปฏิบัติในประชาชาติอิสลามโดยพร้อมเพรียงกัน เพราะต้องปฏิบัติในช่วงเดือนรอมฎอน ที่มีเพียงเดือนเดียวต่อปี จึงทำให้ชาวมุสลิมต้องตระหนักถึงความเป็นปึกแผ่นของการถือศีลอดในเดือนรอม ฎอน ตามคำสอนของอัลลอฮฺตะอาลา ที่ตรัสไว้ว่า "เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา ในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้นเถิด"
ขอขอบคุณ ข้อมูล-รูปภาพประกอบบางส่วนจากวิกิพีเดีย และเว็บไซต์อิสลาม
.
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312185548&grpid=01&catid&subcatid-
ภายหลังจากที่สำนักจุฬา ราชมนตรี กำหนดวันที่ 1 เดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1432 ในวันอาทิตย์ ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2554 หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
วันที่ 1 เดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1432 จึงตรงกับ 1 สิงหาคม 2554 เริ่มต้นถือศีลอดของพี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศ
หลายคนที่นับถือต่างศาสนา คงสงสัยไม่ใช่น้อยว่า เดือนรอมฎอน ตามหลักศาสนาอิสลาม มีความสำคัญอย่างไร นอกเหนือไปจาก เป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิมแล้ว
รอมะฎอน หรือ รอมฎอน คือ เดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช เป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง เนื่องจากชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติเพราะเป็นศาสนบัญญัติ ด้วย การงดอาหารทุกชนิด รวมถึงน้ำดื่ม ในช่วงเวลา พระอาทิตย์ขึ้น-พระอาทิตย์ตกดิน รวมทั้ง ให้อดทนต่อสิ่งรอบตัว หยุดทำความชั่ว และออกห่างจากสิ่งหรือคนที่จะชักนำเราไปสู่การฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้าไม่ว่า จะโดยมือ(ทำร้ายหรือขโมย) เท้า (เดินไปสู่สถานที่ต้องห้าม) ตา (ดูสิ่งลามก) หู (เช่นการฟังสิ่งไร้สาระ ,ฟังเรื่องชาวบ้านนินทากัน) ปาก (การนินทาว่าร้ายคนอื่น โกหก โป้ปด)
เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่จูงใจให้ผู้ศรัทธาทำความดีมากยิ่งขึ้นกว่า เดือนอื่นๆ เน้นการบริจาคทาน หัวใจจะจดจ่ออยู่กับการแสดงความเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺและหันไปหาพระองค์มากขึ้น เรียกได้ว่า รอมฏอนเป็นเดือนแห่งการอบรมจิตใจ นั่นเอง เพราะจะไม่ทำสิ่งไร้สาระ จะทำอะไรต้องระมัดระวังทุกการกระทำและคำพูด มิเช่นนั้น ก็จะเป็นการถือศีลอดที่ได้แค่เพียง การอดอาหาร เท่านั้นเอง รวมทั้งจะได้รับรู้ความยากลำบากคนที่ยากไร้ด้วย
นอกจากถือศีลอด และทำทานแล้ว รอมฎอนยังเป็นเดือนสุดประเสริฐ ที่มีการประทานคัมภีร์อัล-กรุอาน (พระวัจนะของพระเจ้า) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญชีวิตของมุสลิมทุกคน และเป็นเดือนแห่งความเมตตา ประตูสวรรค์เปิด ประตูนรกปิด เดือนนี้จึงหมั่นทำความดีให้มากๆมุสลิมทุกคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อากิลบาเล็ฆ) มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และ โลกหน้าจะเป็นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง
เมื่อสิ้นเดือนรอมะฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริหรือ วันอีดเล็ก
การกำหนดวันที่ 1 ของเดือนการเริ่มต้นวันตามศาสนาอิสลามเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า และการกำหนดเดือนเป็นระบบจันทรคติ ซึ่ง 1 เดือนจะมี 29 หรือ 30 วันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการหมุนรอบโลกครบ 1 รอบในเดือนนั้นๆ
ความจริงแล้วการกำหนดวันที่ 1 ของแต่ละเดือนนั้น ประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่หรือประเทศมุสลิมจะมีการกำหนดไปในทิศทางเดียว กัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีนักวิชาการหลากหลายครบทุกแขนง ซึ่งแน่นอนว่ารวมทั้งด้านดาราศาสตร์ด้วย ดังนั้นการกำหนดวันที่ 1 ของเดือนต่างๆ ด้วยการดูจันทร์เสี้ยว เมื่อผ่านพ้นวันที่ 29 ของแต่ละเดือนขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มตกลับขอบฟ้า ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวให้เริ่มนับจากคืนนั้นว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนใหม่ แต่ถ้าไม่ปรากฏว่ามีจันทร์เสี้ยว แสดงว่าดวงจันทร์ยังโคจรไม่ครบรอบ ให้นับเดือนนั้นว่า มี 30 วัน จึงเป็นไปตามหลักศาสนาและตรงตามสภาพความจริงบนฟ้าตามที่อัลลอฮฺ(ซบ.)ได้ทรง กำหนดไว้
บุคคลที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ได้แก่ คนเจ็บป่วย หญิงที่มีประจำเดือน หญิงที่ให้นมบุตร แต่หากมีความสามารถ ก็จะถือได้ หญิงที่ตั้งครรภ์ และคนแก่ชรา ที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ
ทั้งนี้ หญิงที่ตั้งครรภ์และที่ให้นมบุตร กับคนที่ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดนั้น....ต้อง จ่ายเป็นทาน โดยจ่ายทานเป็นข้าวสาร จ่ายทานข้าวสาร วันละ 1 มุด 1 มุดประมาณ 6 ขีด ส่วนคนเจ็บป่วย และ สตรีที่มีประจำเดือนนั้น ให้ถือศีลอดใช้ภายหลัง ให้ครบ ก่อนรอมฎอนในปีถัดไปช่วงเวลาที่เริ่มถือศีลอด คือตั้งแต่แสงพระอาทิตย์ขึ้น - แสงพระอาทิตย์เริ่มตกดินการคำนวนดูเวลาแสงพระอาทิตย์ ขึ้น-ตก ตามการคำนวณของหลักดาราศาสตร์อิสลาม วัดตามพิกัดองศาแต่ละพื้นที่เวลาละศีลอด นั้นมักจะใช้อินทผลัมในการละศีลอด...เพราะเป็นแบบอย่างจากท่านนบีมูฮำมัด ซึ่ง อินทผลัมนั้น ประกอบด้วย น้ำตาลฟรุกโตส กลูโคส น้ำ วิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส จัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายชนิดหนึ่ง และเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นในสภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลีย จากการขาดพลังงานและน้ำ ลูกอินทผลัมน่าจะเป็นผลไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง สำหรับผู้ที่จะละศีลอด ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีรสหวานก็สามารถทานได้
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของเดือนรอมฎอน คือ เพื่อเพิ่มความยำเกรงพระเจ้าให้มากขึ้น ต้องการให้เราทำทานมากขึ้น รวมถึงยังให้ฝึกฝนตนเองไว้ให้พร้อมสำหรับการญิฮาด (เสียสละ)ตลอดชีวิต สุดท้ายสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคัมภีร์กุรอานให้มากยิ่งขึ้น
การถือศีลอดเดือนรอมฎอนตามบัญญัติอิสลาม เป็นอิบาดะฮฺที่ต้องมีการปฏิบัติในประชาชาติอิสลามโดยพร้อมเพรียงกัน เพราะต้องปฏิบัติในช่วงเดือนรอมฎอน ที่มีเพียงเดือนเดียวต่อปี จึงทำให้ชาวมุสลิมต้องตระหนักถึงความเป็นปึกแผ่นของการถือศีลอดในเดือนรอม ฎอน ตามคำสอนของอัลลอฮฺตะอาลา ที่ตรัสไว้ว่า "เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา ในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้นเถิด"
ขอขอบคุณ ข้อมูล-รูปภาพประกอบบางส่วนจากวิกิพีเดีย และเว็บไซต์อิสลาม
.