ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 09:05:17 am »

"ปวดคอ ปวดหลังเรื้อรังต้องรักษาอย่างไร"
ชีวิตและสุขภาพ
-http://www.dailynews.co.th/article/1490/147273-





อาการปวดคอ ปวดหลัง และปวดเอวเรื้อรังมักมีสาเหตุมาจากโรคกระดูกสันหลังเสื่อมซึ่งนับเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ของโรคกระดูกและข้อ อันเนื่องมาจากกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อกระดูกสันหลังสึกกร่อนลงไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการแสดงอันได้แก่ ปวดคอ ปวดสะบัก ปวดไหล่ ปวดศีรษะคล้ายกับอาการไมเกรน เมื่อทำการเอกซเรย์แบบปกติรวมถึงการเอกซเรย์แบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ : MRI) จะพบว่ามีความเสื่อมสภาพเกิดขึ้น ณ บริเวณกระดูกสันหลังที่เรียกว่า ข้อต่อฟาเซต ซึ่งเป็นส่วนของกระดูก มีหน้าที่เชื่อมกระดูกสันหลังเข้าด้วยกันอยู่ในตำแหน่งด้านหลังหรือก้านคอ และส่วนสันหลังระดับเอว ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหว เราจึงสามารถก้มคอ เงยคอ ก้มหลัง แอ่นหลังได้ (ตามภาพประกอบที่แสดงตำแหน่งลูกศร)

การใช้คลื่นความถี่พิเศษ (Radio frequency หรือ RF) เป็นทางเลือกในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ถือได้ว่าเป็นการรักษาอีกทางหนึ่งสำหรับผู้มีปัญหาอาการปวดที่เกิดจากข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมซึ่งได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น กายภาพบำบัด รับประทานยามาระยะหนึ่ง เป็นต้นแล้ว

อาการไม่ดีขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้คลื่นความถี่พิเศษก่อให้เกิดความร้อนระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ทำอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญ จะมีผลเฉพาะในบริเวณรอบ ๆ ที่ต้องการเท่านั้น นั่นคือ เส้นประสาทเส้นเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกเจ็บปวด คลื่นความถี่พิเศษ (อาร์เอฟ : RF) นี้จะไปรบกวนการทำงานของเส้นประสาทที่สื่อสัญญาณนำความเจ็บปวดไปยังสมอง ทำให้คลายความเจ็บปวดบริเวณนั้น ๆ เส้นประสาทเล็ก ๆ เส้นนี้ ไม่ได้ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของแขนขา หรือ ความรู้สึกใด ๆ ที่แขนขา หรือ ผิวหนัง แต่จะรับความรู้สึกเจ็บปวดเฉพาะที่ข้อต่อสันหลัง หรือ ข้อต่อฟาเซต จากนั้นจะส่งสัญญาณความเจ็บปวดต่อไปยังสมองส่วนกลาง ดังนั้น การไปยับยั้งการทำงานของเส้นประสาทเส้นนี้จึงปลอดภัย ไม่มีอันตราย เพราะทำหน้าที่รับรู้ความเจ็บปวดเพียงอย่างเดียว

วิธีการทำงานของ RF นี้ ไม่ใช่วิธีการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังทำการรักษา โดยวิธีนี้มีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดขึ้นจากข้อต่อ
ฟาเซตเสื่อมหรืออักเสบ อาจสังเกตได้จากมีอาการเจ็บปวดเวลาเปลี่ยนท่าทางร่างกายจาก
นั่งเป็นลุกขึ้นยืน จากท่านอนเป็นนั่ง มีอาการขัด ๆ ที่บริเวณคอ หรือหลัง หลังจากขยับคอหรือเอว สักพักอาการปวดจะทุเลาลงระดับหนึ่ง มักมีอาการปวดขัดมากตอนเช้า

2. ทำการรักษาโดยใช้อุปกรณ์สื่อสัญญาณพิเศษ (RF) คล้ายเข็มขนาดเล็ก โดยจะส่งสัญญาณไปยังตำแหน่งเส้นประสาทที่แม่นยำได้ โดยต้องอาศัยเครื่องเอกซเรย์แบบ
ต่อเนื่องและประสบการณ์ที่ชำนาญของแพทย์ ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 15–20 นาที

3. หลังการทำการรักษา ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บระบมบริเวณรอยเจาะประมาณ 1–2 วันเป็นเรื่องปกติ ให้หลีกเลี่ยงการทำงานหนักในช่วง 1–2 วันแรก อาการปวดคอ ปวดหลังจะทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ไปแล้ว 1 สัปดาห์ หรือ โดยประมาณ 7 วัน เมื่อเส้นประสาทขนาดเล็กที่เป็นปัญหาเริ่มมีการสูญเสียสภาพ หน้าที่ในการส่งสัญญาณประสาท แต่เส้นประสาทนี้จะไม่ถูกทำลาย จะมีการงอกหรือกลับมาทำหน้าที่ตามปกติในอีก 8–12 เดือน
 
4. ข้อควรระวังหรือข้อแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้น้อย ได้แก่ ปัญหาการติดเชื้อ เลือดออก โดยทั่วไปป้องกันได้ เนื่องจากการรักษาจะทำในห้องผ่าตัดซึ่งเป็นห้องปลอดเชื้อ และสำหรับผู้ป่วยที่ทานยาละลายลิ่มเลือด แนะนำให้หยุดยาก่อนทำการรักษาอย่างน้อย 7 วัน

กล่าวโดยสรุป การรักษาโดยการใช้คลื่นชนิดพิเศษแบบ RF นี้ จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาอาการปวดคอ และปวดหลังเรื้อรังได้

ข้อมูลจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันเอก นายแพทย์จิระเดช ตุงคะเศรณี ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2 / -http://www.phyathai.com-

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

.

http://www.dailynews.co.th/article/1490/147273

.