ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 09:12:29 am »ทอดมันกุ้ง
คอลัมน์ ทำกินกันเอง
สุคนธ์ จันทรางศุ
-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEExTURnMU5RPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB3TlE9PQ==-
สมัยนี้อะไรๆ ก็แพงค่ะ อาหารการรับประทานแพงไปหมด ลำพังแต่พวกเครื่องอุปโภคก็ยังพอประหยัดไปได้บ้าง เช่น พวกเสื้อผ้าก็อย่าไปตัดไปซื้อให้มันบ่อยนักยอมตกสมัยไปเสียบ้าง เดี๋ยวนี้บางคนเก็บเอาเสื้อผ้าเก่าๆ สมัยคุณย่าคุณยายออกมาดัดแปลงกลายเป็นคนนำสมัยไปโดยบังเอิญก็มีค่ะ
ยุคนี้ทำให้ผู้เขียนระลึกย้อนไปถึงยุคข้าวยากหมากแพงในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 สมัยนั้นผู้เขียนยังอยู่ในวัยรุ่น ตอนญี่ปุ่นขึ้นอายุเพียง 14 ปีเอง
ตอนเกิดสงครามใหม่ๆ นอกจากตื่นเต้นตกใจพวกทหารญี่ปุ่นที่เดินเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด ในไม่ช้าคนไทยซึ่งเป็นชาติปรับตัวเก่งก็เริ่มปรับตัวได้กับคนต่างชาติ
ต่อมาภัยจากลูกระเบิดทำให้เราต้องเริ่มคิดถึงการอพยพ แล้วภัยมืดจากสงครามก็เริ่มทำให้รู้จักกับความขาดแคลนทั้งอาหาร ยา และเครื่องนุ่งห่ม
ในสมัยนั้นยังจำได้ว่าต้องเริ่มหัดซักผ้าโดยใช้น้ำด่างอันเกิดจากการเทน้ำลงบนผงขี้เถ้าในชามกะละมังใบใหญ่แล้วรินแต่น้ำใสๆ ของมันออกมาใช้แทนสบู่ จะสะอาดไม่สะอาดแค่ไหนก็ต้องหวานอมขมกลืนกันไป
ไม้ขีดไฟ น้ำตาลทราย ผ้าตัดเสื้อต้องใช้บัตรปันส่วนไปขึ้นที่ร้านสหกรณ์ ตามสิทธิของตน เมื่อได้มาแล้วก็ต้องนำมาใช้อย่างประหยัด เพราะมันไม่เคยพอใช้
ผู้เขียนยังจำได้ว่า สมัยนั้นผู้เขียนและพี่ๆ น้องๆ ยังอยู่ในวัยเรียนกันหลายคน ความจำเป็นทำให้มารดาของผู้เขียนท่านจำต้องสละผ้าปูที่นอนดีๆ หลายผืนมาตัดเสื้อนักเรียนให้ลูกๆ ใส่
ตอนที่ผู้เขียนมาเรียนหนังสือในกรุงเทพฯนั้น เริ่มเป็นสาวแล้ว เพราะความยืดเยื้อของสงคราม เสื้อผ้าที่พอจะตัดออกงานตามความจำเป็นได้ก็เป็นผ้าแพรเนื้อดีที่คุณแม่เคยห่มอีกนั่นแหละ เวลาที่นำไปตัด ช่างเสื้อจะคลำแล้วคลำอีกด้วยความเสียดายแทน
แล้วต่อมาเราก็เริ่มเป็นทุกข์กับราคาของข้าวสารที่เริ่มถีบตัวขึ้น แล้วยังมีน้ำมันก๊าด เทียนไข และสิ่งจำเป็นสำหรับการครองชีพในสมัยนั้นอีกหลายอย่าง
จำได้ว่าไม้ขีดหายาก เราต้องมาหัดวิธีจุดไฟโดยใช้ "ชุด" "ชุด" ที่ว่านี้มันเป็นกล่องสี่เหลี่ยมเล็กๆค่ะ บรรจุสำลีหรือปุยฝ้ายอยู่ภายใน พอเรานำแท่งเหล็กมาขีดกันจนเกิดประกายไฟไปกระทบกับสำลีในกล่องพอเป็นแสงวาบได้ เราก็ต้องรีบเป่าให้ไฟติดเพื่อนำไปก่อเชื้อเพลิงในการหุงต้มต่อไป
โธ่เอ๋ย! คิดแล้วสงสารตัวเองกับคนในยุคนั้น ลำบากกันเกือบๆ จะเป็นน้องๆ มนุษย์ยุคหินแล้วนะคะ
ผู้เขียนมีเพื่อนรักอยู่คนหนึ่งซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและญาติที่รักกันมาก เคยผ่านยุคยากเข็ญมาด้วยกัน เธอเคยเตือนผู้เขียนอยู่เสมอว่า
"เธออย่าลืมซิว่า เราน่ะมันเด็ก (สมัย) สงคราม!"
เอาอีกแล้วว่า จะคุยกับท่านผู้อ่านถึงเรื่องกับข้าว กลับพาท่านผู้อ่านเลี้ยวกลับเข้าไปในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองโน่นแน่ะ!
วกวนกลับไปหาความหลังตามประสาคนแก่ตามเคย โปรดให้อภัยด้วยเถิดค่ะ
ความจริงที่พูดถึงเรื่องนี้ก็คือกำลังจะชวนท่านผู้อ่านรับประทานของแพงอยู่ทีเดียวค่ะ เพราะกำลังคิดจะชวนให้รับประทานกุ้ง
กุ้งที่ว่านี้ก็ทอดมันกุ้ง สมัยที่ผู้เขียนเคยรับประทานมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกที่ว่านั่นอีกค่ะ
ครั้นมาสมัยนี้ ชักหารับประทานยากขึ้น เพราะกุ้งมันแพง
อยากรับประทานจริงๆ บางทีต้องขับรถไปถึงอยุธยาโน่น เพราะยังพอจะหาทอดมันกุ้งอร่อยๆ รับประทานได้ แต่สนนราคาก็...อย่าไปว่าเขาเลยนะคะ เพราะเขาซื้อหามาแพง ต้นทุนมันสูง ราคาก็จำเป็นต้องสูงตามไปด้วย
สอง-สามวันมานี้ อยากให้ลูกรับประทานของดี แล้วเราก็ได้อร่อยด้วย ก็เลยขับรถออกไปซื้อกุ้งก้ามกรามขนาดตัวย่อมๆ มาครึ่งกิโล
ได้มาแล้วก็นำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือก ชักเส้นดำๆทิ้งไป พูดมาถึงตรงนี้ก็อยากจะขอบอกเรื่องอีกแล้วละค่ะ
เผอิญเมื่อประมาณต้นเดือนมานี้ได้มีโอกาสไปเยือนประเทศโปรตุเกสกับลูกและเพื่อนๆทั้งของลูกและของเรา ยกโขยงกันไปเกือบเป็นกองทัพ
ทำใจไว้แล้วว่าไหนๆ ไปเมืองฝรั่งทั้งทีแล้วก็ต้องกินอาหารฝรั่งให้ได้ จะไปทำดัดจริตร้องหาอาหารจีนหรืออาหารไทยมันคงไม่เข้าท่า
แต่ความที่อยู่หลายวันเข้า ชักทนอาหารโปรตุเกสไม่ไหว ความที่โปรตุเกสมีปลาให้กินแยะ หน้าเราก็คงจะคล้ายปลาเข้าไปทุกวัน
พอมาวันหนึ่ง ฝรั่งยกชามใบใหญ่ออกมาเสิร์ฟ พวกเราคนไทยทั้งหลายเก็บความรักชาติไว้ไม่มิด เผลอโห่ร้องออกมาด้วยความยินดี เพราะในชามโคมใบใหญ่ใบนั้นเป็น "ข้าวต้มกุ้ง" ค่ะ
พวกเราดีใจกันมากที่ได้เห็นข้าวต้มกุ้ง ถึงแม้ว่าน้ำมันจะน้อยไปหน่อย แถมกุ้งก็ยังตัวใหญ่ดี แต่ไม่ทราบว่าเป็นกุ้งอะไรแน่ รู้แต่ว่าเป็นกุ้งทะเล
ทุกคนพอใจ แม้ว่าบางคนจะยังโหยหาตั้งฉ่ายบ้าง ต้นหอมผักชีบ้างกระเทียมเจียวบ้างล่ะ
แต่สิ่งที่ทำให้ความยินดีลดลงไปก็คือ กุ้งที่อยู่ในข้าวต้มนั้น ฝรั่งเขาสั่งมาให้เราทั้งตัว คือทั้งหัวทั้งเปลือก ครั้นเวลาเราปล้ำปอกเปลือกกุ้งในชามข้าวต้มอยู่นั้น เราก็จะหนีเจ้าเส้นดำๆ ที่อยู่บนหัวกุ้งและเลยเป็นเส้นยาวตลอดเส้นหลังกุ้งลงไปจนจรดหางไม่พ้น
เพิ่งมาทราบว่า ไทยเรานี่เป็นชาติที่ละเอียดประณีตจริงๆ ที่ไม่ยอมกินขี้กุ้งเหมือนกับฝรั่ง
ทีนี้เรากลับมาพูดถึงกุ้งของเราต่อดีกว่าค่ะ พอเราปอกเปลือกกุ้งออกเรียบร้อยแล้ว ก็หากระดาษอเนกประสงค์มาซับน้ำออกจากตัวกุ้งจนแห้งเก็บไว้ก่อนค่ะ
ส่วนมันกุ้งที่หัวนั้น กรุณาแยกไว้ต่างหากตามเคยนะคะ
ต่อไปคุณปอกกระเทียมไว้สัก 1 ช้อนชา
พริกไทยเม็ดสัก 25 เม็ด
คุณนำของทั้งสามสิ่งมาโขลกเข้าด้วยกันให้ละเอียด ตักใส่ถ้วยใบเล็ก เทน้ำปลาดีลงไปคนให้เข้ากันอีกสองช้อนโต๊ะ
ต่อไปคุณค่อยๆ นำเนื้อกุ้งที่ปอกไว้มาลงครกโขลกไปจนเหนียว แบ่งโขลกสักสองครั้งก็คงพอ
พอกุ้งเหนียวได้ที่ดีแล้ว นำมารวมกัน ค่อยๆใส่รากผักชี กระเทียม พริกไทยและน้ำปลาดีที่เตรียมไว้ ค่อยๆ ใช้ลูกครกโขลกแต่พอเบามือให้เข้ากัน ตักขึ้นใส่ชามต่อยไข่ลงไปผสมทีละฟองจนหมดไข่สองฟองพอดี
พอทุกอย่างพร้อมแล้ว เทน้ำมันลงในกระทะให้มากหน่อย ใช้ไฟกลาง พอน้ำมันเริ่มร้อนตักกุ้งที่ผสมไว้ใส่ลงในกระทะทีละช้อน กะเกือบเต็มน้ำมันที่มีอยู่ก็หยุด ต้องเหลือที่ไว้ให้เวลาจะกลับตัวทอดมันบ้าง
พอทอดมันเหลืองดีแล้ว กลับเอาด้านล่างขึ้น รอจนเหลืองดีทั้งสองด้านค่อยช้อนขึ้นใส่จาน หรี่ไฟลงช้อนฟองออกเสียบ้าง ใส่ลงไปในจานกุ้งนั่นแหละค่ะไม่ต้องไปเททิ้ง
ถ้าน้ำมันไม่ดำจนเกินไป เติมน้ำมันลงไปอีก กะให้พอทอดกุ้งส่วนที่เหลือทำเช่นเดียวกับกระทะแรก
พอตักกุ้งใส่จานหมดแล้ว ดับไฟเสีย ช้อนฟองใส่จาน แล้วช้อนเศษดำๆ ที่ก้นกระทะ(ถ้ามี) ออกทิ้งเสียบ้าง เปิดเตาอีกครั้งหนึ่ง พอน้ำมันเริ่มร้อนเทมันกุ้งที่เก็บไว้ลงไปใช้ตะหลิวคนให้แตกกระจายไปทั่ว ปิดไฟ แล้วใช้ตะหลิวตักมันกุ้งในกระทะเทราดลงบนจานกุ้งอีกทีหนึ่ง เป็นอันว่าเสร็จทอดมันกุ้งอันแสนอร่อยแล้วนะคะ
แล้วถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีรสนิยมใกล้เคียงกับสามีของผู้เขียนก็คงไม่ลืมของสำคัญอีกอย่างหนึ่งไป
ของที่ว่านั่นก็คือ พริกขี้หนูค่ะ
.
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEExTURnMU5RPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB3TlE9PQ==
.
คอลัมน์ ทำกินกันเอง
สุคนธ์ จันทรางศุ
-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEExTURnMU5RPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB3TlE9PQ==-
สมัยนี้อะไรๆ ก็แพงค่ะ อาหารการรับประทานแพงไปหมด ลำพังแต่พวกเครื่องอุปโภคก็ยังพอประหยัดไปได้บ้าง เช่น พวกเสื้อผ้าก็อย่าไปตัดไปซื้อให้มันบ่อยนักยอมตกสมัยไปเสียบ้าง เดี๋ยวนี้บางคนเก็บเอาเสื้อผ้าเก่าๆ สมัยคุณย่าคุณยายออกมาดัดแปลงกลายเป็นคนนำสมัยไปโดยบังเอิญก็มีค่ะ
ยุคนี้ทำให้ผู้เขียนระลึกย้อนไปถึงยุคข้าวยากหมากแพงในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 สมัยนั้นผู้เขียนยังอยู่ในวัยรุ่น ตอนญี่ปุ่นขึ้นอายุเพียง 14 ปีเอง
ตอนเกิดสงครามใหม่ๆ นอกจากตื่นเต้นตกใจพวกทหารญี่ปุ่นที่เดินเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด ในไม่ช้าคนไทยซึ่งเป็นชาติปรับตัวเก่งก็เริ่มปรับตัวได้กับคนต่างชาติ
ต่อมาภัยจากลูกระเบิดทำให้เราต้องเริ่มคิดถึงการอพยพ แล้วภัยมืดจากสงครามก็เริ่มทำให้รู้จักกับความขาดแคลนทั้งอาหาร ยา และเครื่องนุ่งห่ม
ในสมัยนั้นยังจำได้ว่าต้องเริ่มหัดซักผ้าโดยใช้น้ำด่างอันเกิดจากการเทน้ำลงบนผงขี้เถ้าในชามกะละมังใบใหญ่แล้วรินแต่น้ำใสๆ ของมันออกมาใช้แทนสบู่ จะสะอาดไม่สะอาดแค่ไหนก็ต้องหวานอมขมกลืนกันไป
ไม้ขีดไฟ น้ำตาลทราย ผ้าตัดเสื้อต้องใช้บัตรปันส่วนไปขึ้นที่ร้านสหกรณ์ ตามสิทธิของตน เมื่อได้มาแล้วก็ต้องนำมาใช้อย่างประหยัด เพราะมันไม่เคยพอใช้
ผู้เขียนยังจำได้ว่า สมัยนั้นผู้เขียนและพี่ๆ น้องๆ ยังอยู่ในวัยเรียนกันหลายคน ความจำเป็นทำให้มารดาของผู้เขียนท่านจำต้องสละผ้าปูที่นอนดีๆ หลายผืนมาตัดเสื้อนักเรียนให้ลูกๆ ใส่
ตอนที่ผู้เขียนมาเรียนหนังสือในกรุงเทพฯนั้น เริ่มเป็นสาวแล้ว เพราะความยืดเยื้อของสงคราม เสื้อผ้าที่พอจะตัดออกงานตามความจำเป็นได้ก็เป็นผ้าแพรเนื้อดีที่คุณแม่เคยห่มอีกนั่นแหละ เวลาที่นำไปตัด ช่างเสื้อจะคลำแล้วคลำอีกด้วยความเสียดายแทน
แล้วต่อมาเราก็เริ่มเป็นทุกข์กับราคาของข้าวสารที่เริ่มถีบตัวขึ้น แล้วยังมีน้ำมันก๊าด เทียนไข และสิ่งจำเป็นสำหรับการครองชีพในสมัยนั้นอีกหลายอย่าง
จำได้ว่าไม้ขีดหายาก เราต้องมาหัดวิธีจุดไฟโดยใช้ "ชุด" "ชุด" ที่ว่านี้มันเป็นกล่องสี่เหลี่ยมเล็กๆค่ะ บรรจุสำลีหรือปุยฝ้ายอยู่ภายใน พอเรานำแท่งเหล็กมาขีดกันจนเกิดประกายไฟไปกระทบกับสำลีในกล่องพอเป็นแสงวาบได้ เราก็ต้องรีบเป่าให้ไฟติดเพื่อนำไปก่อเชื้อเพลิงในการหุงต้มต่อไป
โธ่เอ๋ย! คิดแล้วสงสารตัวเองกับคนในยุคนั้น ลำบากกันเกือบๆ จะเป็นน้องๆ มนุษย์ยุคหินแล้วนะคะ
ผู้เขียนมีเพื่อนรักอยู่คนหนึ่งซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและญาติที่รักกันมาก เคยผ่านยุคยากเข็ญมาด้วยกัน เธอเคยเตือนผู้เขียนอยู่เสมอว่า
"เธออย่าลืมซิว่า เราน่ะมันเด็ก (สมัย) สงคราม!"
เอาอีกแล้วว่า จะคุยกับท่านผู้อ่านถึงเรื่องกับข้าว กลับพาท่านผู้อ่านเลี้ยวกลับเข้าไปในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองโน่นแน่ะ!
วกวนกลับไปหาความหลังตามประสาคนแก่ตามเคย โปรดให้อภัยด้วยเถิดค่ะ
ความจริงที่พูดถึงเรื่องนี้ก็คือกำลังจะชวนท่านผู้อ่านรับประทานของแพงอยู่ทีเดียวค่ะ เพราะกำลังคิดจะชวนให้รับประทานกุ้ง
กุ้งที่ว่านี้ก็ทอดมันกุ้ง สมัยที่ผู้เขียนเคยรับประทานมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกที่ว่านั่นอีกค่ะ
ครั้นมาสมัยนี้ ชักหารับประทานยากขึ้น เพราะกุ้งมันแพง
อยากรับประทานจริงๆ บางทีต้องขับรถไปถึงอยุธยาโน่น เพราะยังพอจะหาทอดมันกุ้งอร่อยๆ รับประทานได้ แต่สนนราคาก็...อย่าไปว่าเขาเลยนะคะ เพราะเขาซื้อหามาแพง ต้นทุนมันสูง ราคาก็จำเป็นต้องสูงตามไปด้วย
สอง-สามวันมานี้ อยากให้ลูกรับประทานของดี แล้วเราก็ได้อร่อยด้วย ก็เลยขับรถออกไปซื้อกุ้งก้ามกรามขนาดตัวย่อมๆ มาครึ่งกิโล
ได้มาแล้วก็นำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือก ชักเส้นดำๆทิ้งไป พูดมาถึงตรงนี้ก็อยากจะขอบอกเรื่องอีกแล้วละค่ะ
เผอิญเมื่อประมาณต้นเดือนมานี้ได้มีโอกาสไปเยือนประเทศโปรตุเกสกับลูกและเพื่อนๆทั้งของลูกและของเรา ยกโขยงกันไปเกือบเป็นกองทัพ
ทำใจไว้แล้วว่าไหนๆ ไปเมืองฝรั่งทั้งทีแล้วก็ต้องกินอาหารฝรั่งให้ได้ จะไปทำดัดจริตร้องหาอาหารจีนหรืออาหารไทยมันคงไม่เข้าท่า
แต่ความที่อยู่หลายวันเข้า ชักทนอาหารโปรตุเกสไม่ไหว ความที่โปรตุเกสมีปลาให้กินแยะ หน้าเราก็คงจะคล้ายปลาเข้าไปทุกวัน
พอมาวันหนึ่ง ฝรั่งยกชามใบใหญ่ออกมาเสิร์ฟ พวกเราคนไทยทั้งหลายเก็บความรักชาติไว้ไม่มิด เผลอโห่ร้องออกมาด้วยความยินดี เพราะในชามโคมใบใหญ่ใบนั้นเป็น "ข้าวต้มกุ้ง" ค่ะ
พวกเราดีใจกันมากที่ได้เห็นข้าวต้มกุ้ง ถึงแม้ว่าน้ำมันจะน้อยไปหน่อย แถมกุ้งก็ยังตัวใหญ่ดี แต่ไม่ทราบว่าเป็นกุ้งอะไรแน่ รู้แต่ว่าเป็นกุ้งทะเล
ทุกคนพอใจ แม้ว่าบางคนจะยังโหยหาตั้งฉ่ายบ้าง ต้นหอมผักชีบ้างกระเทียมเจียวบ้างล่ะ
แต่สิ่งที่ทำให้ความยินดีลดลงไปก็คือ กุ้งที่อยู่ในข้าวต้มนั้น ฝรั่งเขาสั่งมาให้เราทั้งตัว คือทั้งหัวทั้งเปลือก ครั้นเวลาเราปล้ำปอกเปลือกกุ้งในชามข้าวต้มอยู่นั้น เราก็จะหนีเจ้าเส้นดำๆ ที่อยู่บนหัวกุ้งและเลยเป็นเส้นยาวตลอดเส้นหลังกุ้งลงไปจนจรดหางไม่พ้น
เพิ่งมาทราบว่า ไทยเรานี่เป็นชาติที่ละเอียดประณีตจริงๆ ที่ไม่ยอมกินขี้กุ้งเหมือนกับฝรั่ง
ทีนี้เรากลับมาพูดถึงกุ้งของเราต่อดีกว่าค่ะ พอเราปอกเปลือกกุ้งออกเรียบร้อยแล้ว ก็หากระดาษอเนกประสงค์มาซับน้ำออกจากตัวกุ้งจนแห้งเก็บไว้ก่อนค่ะ
ส่วนมันกุ้งที่หัวนั้น กรุณาแยกไว้ต่างหากตามเคยนะคะ
ต่อไปคุณปอกกระเทียมไว้สัก 1 ช้อนชา
พริกไทยเม็ดสัก 25 เม็ด
คุณนำของทั้งสามสิ่งมาโขลกเข้าด้วยกันให้ละเอียด ตักใส่ถ้วยใบเล็ก เทน้ำปลาดีลงไปคนให้เข้ากันอีกสองช้อนโต๊ะ
ต่อไปคุณค่อยๆ นำเนื้อกุ้งที่ปอกไว้มาลงครกโขลกไปจนเหนียว แบ่งโขลกสักสองครั้งก็คงพอ
พอกุ้งเหนียวได้ที่ดีแล้ว นำมารวมกัน ค่อยๆใส่รากผักชี กระเทียม พริกไทยและน้ำปลาดีที่เตรียมไว้ ค่อยๆ ใช้ลูกครกโขลกแต่พอเบามือให้เข้ากัน ตักขึ้นใส่ชามต่อยไข่ลงไปผสมทีละฟองจนหมดไข่สองฟองพอดี
พอทุกอย่างพร้อมแล้ว เทน้ำมันลงในกระทะให้มากหน่อย ใช้ไฟกลาง พอน้ำมันเริ่มร้อนตักกุ้งที่ผสมไว้ใส่ลงในกระทะทีละช้อน กะเกือบเต็มน้ำมันที่มีอยู่ก็หยุด ต้องเหลือที่ไว้ให้เวลาจะกลับตัวทอดมันบ้าง
พอทอดมันเหลืองดีแล้ว กลับเอาด้านล่างขึ้น รอจนเหลืองดีทั้งสองด้านค่อยช้อนขึ้นใส่จาน หรี่ไฟลงช้อนฟองออกเสียบ้าง ใส่ลงไปในจานกุ้งนั่นแหละค่ะไม่ต้องไปเททิ้ง
ถ้าน้ำมันไม่ดำจนเกินไป เติมน้ำมันลงไปอีก กะให้พอทอดกุ้งส่วนที่เหลือทำเช่นเดียวกับกระทะแรก
พอตักกุ้งใส่จานหมดแล้ว ดับไฟเสีย ช้อนฟองใส่จาน แล้วช้อนเศษดำๆ ที่ก้นกระทะ(ถ้ามี) ออกทิ้งเสียบ้าง เปิดเตาอีกครั้งหนึ่ง พอน้ำมันเริ่มร้อนเทมันกุ้งที่เก็บไว้ลงไปใช้ตะหลิวคนให้แตกกระจายไปทั่ว ปิดไฟ แล้วใช้ตะหลิวตักมันกุ้งในกระทะเทราดลงบนจานกุ้งอีกทีหนึ่ง เป็นอันว่าเสร็จทอดมันกุ้งอันแสนอร่อยแล้วนะคะ
แล้วถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีรสนิยมใกล้เคียงกับสามีของผู้เขียนก็คงไม่ลืมของสำคัญอีกอย่างหนึ่งไป
ของที่ว่านั่นก็คือ พริกขี้หนูค่ะ
.
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEExTURnMU5RPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB3TlE9PQ==
.