ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 09:24:15 am »

ถนนใหม่เชื่อม "เกียกกาย-วงแหวน ตต." ผ่าชุมชนหนาแน่นย่าน กฟผ.-เรือกสวน

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344052842&grpid=01&catid=&subcatid=-

กลับมาเป็นโครงการที่ถูกเอ่ยถึงอีกครั้ง โครงการเชื่อมต่อโครงข่ายถนนระหว่างโครงการสะพานเกียกกาย บริเวณถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ (Local Road) กับถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันตก) ของ "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" สังกัดกระทรวงคมนาคม

ครั้งนี้รัฐบาลมีเป้าหมายชัดเจน ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในปี 2556 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558 ทาง "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ได้เสนอแนวเส้นทางโครงข่ายคมนาคมเพิ่มเติมบรรจุไว้ในแผนแก้ไขปัญหาการจราจรโดยรอบรัฐสภาแห่งใหม่นี้ด้วย

ตามแผนจะเป็นโครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่เชื่อมกับ ถ.วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกของ ทช. เพื่อเสริมโครงข่ายโดยรอบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากโครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสี สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย และถนนต่อเชื่อมของ "กทม.-กรุงเทพมหานคร" และทางด่วนสายใหม่ "ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก" ของ "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย"



ล่าสุด ทาง ทช.เตรียมขอจัดสรรงบประมาณศึกษาความเหมาะสมโครงการ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 1 ปีนับจากนี้ เพื่อให้ทันรับกับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และโครงข่ายของ กทม.ที่จะเสร็จและเริ่มสร้างในปี 2558

ปัจจุบันแนวเส้นทางโครงการถนนสายนี้ ทช.เคยขีดเป็นแนวเบื้องต้นไว้เมื่อครั้งยังอยู่ในสังกัด "กรมโยธาธิการและผังเมือง" ในปี 2544 ถึงแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมาร่วม 10 ปี แต่แนวเส้นทางยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

"ประชาชาติธุรกิจ" ตรวจสอบแนวเส้นทางไปยัง ทช. พบว่าแนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นบริเวณถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ (Local Road) ตัดผ่านชุมชนปากเกร็ดใกล้กับ "กฟผ.-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย" มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก

จากนั้นตัดผ่าน ถ.ราชพฤกษ์ บริเวณด้านทิศเหนือคลองมหาสวัสดิ์ เชื่อมต่อกับ ถ.วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก แนวเส้นทางจะขนานกับแนวโครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกของการทางพิเศษฯ มีระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร

"ตามแนวเส้นทางจะมีการเวนคืนหนาแน่นช่วงต้นทางย่าน กฟผ. พอหลุดจากตรงนี้ไปจะพาดผ่านพื้นที่ว่างที่เป็นที่ดินเปล่าและสวนของชาวบ้าน รูปแบบโครงการจะเป็นถนน 4 ช่องจราจร คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างเฉลี่ยกิโลเมตรละ 50 ล้านบาท ระยะทาง 10 กิโลเมตรน่าจะใช้เงินสร้างตก 500 ล้านบาท ส่วนค่าเวนคืนที่ดินอยู่ที่ผลสำรวจพื้นที่จริงหลังจากที่ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาแล้ว" แหล่งข่าวจาก ทช.กล่าวเพิ่มเติมสำหรับประโยชน์ของโครงการ

จะช่วยบรรเทาปัญหาความคับคั่งปริมาณจราจรในพื้นที่ โดยเฉพาะบนสะพานกรุงธนบุรี สะพานพระราม 5 ถ.นครอินทร์ ถ.จรัญสนิทวงศ์ ถ.สิรินธร ถ.บรมราชชนนี และ ถ.ราชพฤกษ์

รวมทั้งจะเป็นโครงข่ายช่วยสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและระบบขนส่งมวลชน เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ที่กำลังก่อสร้างในปัจจุบันให้เกิดความต่อเนื่องของการเดินทางได้ดียิ่งขึ้น

.

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344052842&grpid=01&catid=&subcatid=

.