ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 09:49:38 am »

ในความเป็นจริง

ทั้งองค์ในหลวงและพระราชินี  ทั้งสองพระองค์ห่วงใยชาวใต้มานานมากแล้ว เพียงแต่ไม่เป็นข่าวเท่านั้น

ทั้งสองพระองค์ทรงช่วยเหลือโดยผ่านหน่วยงานราชการต่างๆ  มานานแล้ว

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
sithiphong

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 09:47:17 am »

.
'ในหลวง-ราชินี'ทรงห่วงภาคใต้

-http://www.komchadluek.net/detail/20120804/136892/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89.html#.UB3fd6PiHx8-

นายกฯ เรียกประชุมวอร์รูมใต้ นัดแรก 8 ส.ค.

วันเดียวกัน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกฯ ด้านความมั่นคง เปิดเผยว่า วันที่ 8 ส.ค.นี้ เวลา 14.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ จะ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฝ่ายทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และรัฐมนตรี 17 กระทรวง ร่วมประชุม
ทั้งนี้ เพื่อเสนอแผนปฏิบัติการในการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรก หลังจากตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ขึ้นที่ส่วนกลาง โดยมีรองนายกฯ ดูแลรับผิดชอบ 3 คน คือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ จะมีการเสนอแผนการปฏิบัติการว่า จะดำเนินงานอย่างไร โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) จะเป็นผู้ร่างแผนร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ก่อนส่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะ รอง ผอ.รมน.พิจารณา ซึ่งจะจัดทำเป็นแผ่นชาร์ตเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า อะไรที่ยังเป็นจุดโหว่ หรือช่องว่าง ก็จะสั่งการให้กำชับมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งต่อไปนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้สั่งการเอง
"รัฐมนตรี 17 กระทรวงต้องเข้าร่วมประชุมหรืออาจจะส่งตัวแทนที่ลงไปทำงานในพื้นที่เข้าร่วม ประชุม เพื่อประสานงานกับศูนย์ปฏิบัติการทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เพราะปัจจุบันต้องยอมรับความจริงว่า ไม่มีตัวแทนจาก 17 กระทรวงลงไปทำงาน ต่อไปนี้ต้องมีทั้งในระดับนักการเมือง และข้าราชการ ลงไปทำงาน นายกรัฐมนตรีสั่งการว่าต่อไปต้องมีรัฐมนตรี หรือตัวแทนของกระทรวงที่เกี่ยวข้องลงไปทำงานจริงๆ"

ชงกองทัพภาค 4 เคอร์ฟิวจุดล่อแหลม

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ยังกล่าวถึงการประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ว่า เป็นเพียงแนวความคิดเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงในพื้นที่ ซึ่งอาจจะทำให้ประชาชนเกิดความไม่สะดวกในการสัญจรไปมาบ้าง แต่อาจจะเป็นเพียงบางจุด หรือเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ครอบคลุมทุกพื้นที่หรือทั้งจังหวัด ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของกองทัพภาคที่ 4 ว่าจะประกาศใช้หรือไม่ หากประกาศใช้ต้องแจ้งให้ศูนย์ปฏิบัติการรับทราบว่า จะประกาศช่วงเวลาไหน
“ผมเกรงว่าประชาชนอาจไม่เข้าใจ แต่ถ้ามีการประกาศเคอร์ฟิว น่าจะส่งผลดี เพราะจะทำให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบตกใจ จะได้หยุดชะงักกันบ้าง คิดว่าน่าจะส่งผลดี ขณะนี้ผมคิดว่า นโยบายทางยุทธศาสตร์ในการทำงานดีอยู่แล้ว แต่การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ อาจจะมีช่องว่างอยู่บ้าง"
ส่วนที่เราต้องเสียชีวิตเพราะทางด้านยุทธวิธี ไม่ได้เสียชีวิตเพราะยุทธศาสตร์ การเคลื่อนย้ายกำลังต่างๆ ต่อไปนี้ ต้องระมัดระวังมากขึ้น เปลี่ยนแผนปฏิบัติกันบ้างไม่ใช่ปฏิบัติเหมือนเดิมทำให้ฝ่ายตรงข้ามจับได้ ซึ่งยุทธวิธีต่างๆ เหล่านี้ ผบ.ทบ.ได้เดินทางลงไปกำชับเคี่ยวเข็ญตลอดเวลา ซึ่งเป็นความตั้งใจจริงในการทำงานของผบ.ทบ.
พล.อ.ยุทธศักดิ์ยังกล่าวถึงการส่งหน่วยรบพิเศษ ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ว่า ปัจจุบันมีหน่วยรบพิเศษเข้าไปทำงานนอกเหนือจากหน่วยปกติอยู่แล้ว ซึ่งสามารถทำงานได้ผลเป็นอย่างดี โดยสามารถเข้าหามวลชนทำให้มวลชนฝ่ายตรงข้ามกว่า 1,000 คน กลับใจหันมาเป็นพวกเดียวกับเจ้าหน้าที่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการซุ่มโจมตีทหารจะสังเกตได้จากกล้องซีซีทีวี ว่าผู้ปฏิบัติการไม่ใช่คนในพื้นที่ จ.ปัตตานี แต่มาจากนอกพื้นที่เข้ามาสร้างความรุนแรง แสดงให้เห็นว่าคนในพื้นที่มีไม่มาก
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ยังเชื่อมั่นว่า หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการแล้วทุกอย่างน่าจะดีขึ้น เพราะรัฐมนตรีทุกกระทรวงจะได้รับทราบนโยบายในการทำงานภาคใต้ รวมถึงการประสานงานกับ ศอ.บต.ในแง่การทำงานร่วมกัน
นอกจากนี้ ยังจะมีการประเมินค่าการทำงานในแต่ละกระทรวง อาทิ กระทรวงยุติธรรม มีชาวบ้านต้องการร้องเรียนเรื่องความเสมอภาค ความยุติธรรม ต้องการความเท่าเทียมกันแต่กลับไม่มีเจ้าหน้าที่ลงไป ซึ่งถือว่ามีความหมายมาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็เช่นกันเพราะมีชาวบ้านร้องเรียนกันมากถึงเรื่องน้ำท่วมที่ผ่านมาไม่รู้จะ ทำอย่างไร ไม่มีหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือ ชาวบ้านอยากเลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะก็ไม่มีหน่วยงานลงไปช่วย ซึ่งถ้าลงไปช่วยชาวบ้านกันมากๆ ก็จะได้มวลชนเป็นฝ่ายเรามากขึ้น
"การประชุมครั้งนี้จะเน้นเรื่องนโยบาย และงานด้านพัฒนาสังคม ความเสมอภาค การใช้งบประมาณของหน่วยงานต่างๆ ที่ขอกันไป 100 เปอร์เซ็นต์ตามโครงการที่เสนอมา แต่พอปลายปีงบประมาณเหลือก็จะมาขอเปลี่ยนโครงการกันใหม่ต่อไปนี้จะไม่ได้ ขอให้สำนักงบประมาณเอางบประมาณที่เหลือจากโครงการไปจัดหาซื้อกล้องซีซีทีวี มาใช้ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อให้งานสามารถเดินไปและบูรณาการมากขึ้น" รองนายกฯ กล่าว

...............................
(หมายเหตุ : ภาพจากแฟ้มข่าว)


-http://www.komchadluek.net/detail/20120804/136892/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89.html#.UB3fd6PiHx8-


.

http://www.komchadluek.net/detail/20120804/136892/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89.html#.UB3fd6PiHx8
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 09:46:38 am »

'ในหลวง-ราชินี'ทรงห่วงภาคใต้

'ในหลวง-ราชินี'ทรงห่วงภาคใต้

-http://www.komchadluek.net/detail/20120804/136892/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89.html#.UB3fd6PiHx8-





'รองสมุหราชองครักษ์' เผย 'ในหลวง-ราชินี' ทรงห่วงสถานการณ์ภาคใต้ รับสั่งให้เก็บข้อมูล-ช่วยเหลือชาวบ้าน ด้าน นายกฯ เรียกประชุมวอร์รูมใต้ นัดแรก 8 ส.ค. บี้ รมต.ขรก. 17 กระทรวง ลงพื้นที่ ชงกองทัพภาค 4 เคอร์ฟิวจุดล่อแหลม เชื่อเบรกสถานการณ์ได้

พล.อ.ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องปัญหาความไม่สงบในพื้นทื่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการสัมมนาการประชาสัมพันธ์งานด้านการรักษาความมั่นคงของชาติ จัดโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กทม. ว่า ภาพที่ปรากฏทางภาคใต้วันนี้ เป็นปัญหาที่เกิดจากคนบางส่วน ไม่ใช่คนทั้งหมด


พล.อ.ณพล กล่าวว่า ปัญหาภาคใต้เริ่มก่อร่างประมาณปี 2547 โดยเราได้ข้อมูลถึงความพยายามฟักตัวของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนซึ่งมีหลายกลุ่ม ความรุนแรงหลังปี 2547 เริ่มมีเป้าหมายทำลายศาสนิกชนต่างศาสนาโดยเฉพาะพระสงฆ์ที่ถูกประทุษร้ายมาก ขึ้น

ทั้งนี้ ทำให้พระจำนวนมากลาสิกขา วัดในพื้นที่ 266 วัด เหลือพระจำพรรษาอยู่ในวัดเพียงวัดละ 1-2 รูป ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนพระสงฆ์ จนต้องนิมนต์พระจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปจำพรรษาทางภาคใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการบรรยาย พล.อ.ณพล ได้นำเสนอข้อมูลการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะการประทุษร้ายต่อพระสงฆ์และประชาชนผู้บริสุทธิ์ และได้นำวิดีโอบันทึกภาพการประชุมของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมาเผยแพร่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพดังกล่าว เป็นภาพชายคล้ายชาวตะวันออกกลางคนหนึ่ง ที่แต่งงานกับคนไทย เป็นผู้บรรยายและสั่งการ โดยมีเนื้อหาระบุถึงเป้าหมายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ไม่ได้มีเป้าหมายเฉพาะ พื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ แต่ต้องการให้กระจายไปทุกภาคของประเทศไทย เป้าหมายหลักคือการทำลายพระพุทธศาสนา และทำลายชาติ เพราะชาติคือคนและแผ่นดินถ้าทำให้คนหนีไป แผ่นดินก็จะเป็นของเขา

พล.อ.ณพล กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การก่อเหตุ มุ่งปิดล้อมทางสังคม ปิดล้อมทางศาสนา ปิดล้อมทางเศรษฐกิจ และปิดล้อมทางการศึกษา ซึ่งจากข้อมูลผู้ก่อความไม่สงบ ใช้วิธีการก่อเหตุโดยมุ่งก่อเหตุเป็นรายตำบล รายอำเภอ
ทั้งนี้ บางพื้นที่ก่อเหตุค่อนข้างถี่ จนชาวบ้านไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ประชาชนต้องอยู่ด้วยความยากลำบาก ใน ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ร้านค้ากว่าร้อยละ 80 ต้องปิดตัวลง ทั้งที่เคยเป็นที่เจริญรุ่งเรืองมาก
พล.อ.ณพล กล่าวว่า การปิดล้อมทางการศึกษาด้วยการเผาโรงเรียน การฆ่าผู้อำนวยการโรงเรียน และครู สาเหตุที่ก่อเหตุนี้ เพื่อหวังดึงนักเรียนที่ไม่มีที่เรียนไปอยู่โรงเรียนสอนศาสนา เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น เงินอุดหนุนการศึกษาที่โรงเรียนจะได้ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งขณะนี้ เหลือเพียงอย่างเดียวคือการปิดล้อมทางการทหาร โดยพยายามเรียกร้องให้ทหารออกจากพื้นที่ เรื่องนี้ไม่ขอกล่าวเพราะเป็นนโยบายทางการทหารของรัฐบาล

“เหตุที่เราต้องลงมาดูแลปัญหา เพราะมีจดหมายร้องทุกข์มายังกองราชเลขา ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เราจึงต้องลงไปดูแล โดยพยายามทำโครงการให้ความช่วยเหลือดูแลครอบครัวผู้ที่ได้รับความสูญเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นห่วงปัญหาทางภาคใต้ เราต้องดูแลติดตามสถานการณ์ และนำข้อมูลมารายงานและหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ความช่วยเหลือ” พล.อ.ณพล กล่าว


.