ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 09:58:45 am »

'เบลล์-แบงค์'โดดชม100ปีไททานิค
พักยก : 'เบลล์-แบงค์'โพสท่า'แจ็ค-โรส' โดดชม100ปีไททานิค : เรื่อง เสาวลักษณ์ ปึงทมวัฒนากูล /ภาพ วริศรา วุฒิกุล
-http://www.komchadluek.net/detail/20120722/135750/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%A1100%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84.html#.UB3hraPiHx8-








                         หลายคนอาจเคยซาบซึ้งกับความรักต่างชนชั้นระหว่างแจ็คกับโรส จากภาพยนตร์สุดโรแมนติก เรื่อง "ไททานิค" แม้แจ็คกับโรสอาจเป็นเพียงความเพ้อฝันของผู้ประพันธ์ แต่เรือไททานิคกลับมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์โลก เมื่อครบรอบ 100 ปี แห่งโศกนาฏกรรมเรือไททานิคจมสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติก คมชัดลึก เลยขอควงคู่รักร่วมค่ายอย่าง "แบงค์" อธิกิตติ์ พริ้งพร้อม นักร้องนำวงแบล็ควานิลลา และ "เบลล์" มนัญญา ลิ่มเสถียร นักร้องสาววงเกิร์ลลี่เบอร์รี่ มาร่วมดื่มด่ำความยิ่งใหญ่ผ่านเรื่องราวชีวิตผู้โดยสาร และวัตถุโบราณจากเรือใต้สมุทร ในนิทรรศการ "100 ปี ไททานิค นิทรรศการแห่งประวัติศาสตร์โลก" ที่จัดแสดงขึ้นตั้งแต่วันนี้-2 ก.ย. ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ดชั้น 8

เมื่อนัดเจอกันบริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าของนิทรรศการ งานนี้ดูหนุ่มแบงค์จะตื่นเต้นเป็นพิเศษ "ผมตื่นเต้นมากเพราะผมชอบภาพยนตร์เรื่องไททานิค ดูหลายรอบมาก และเคยได้ยินกิติศัพท์ว่าภายในห้องนิทรรศการ เราจะรู้สึกดื่มด่ำไปกับบรรยากาศที่สวยงาม และยิ่งใหญ่มากภายในเรือ" แบงค์กล่าวด้วยรอยยิ้ม

                         ส่วนสาวเบลล์กล่าวเสริมว่า "ด้านในจะมีหลายห้องมาก เราก็เลยต้องมี เอ็มพี 3 เครื่องนี้เพื่อช่วยในการอธิบายสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในแต่ละห้อง โดยไม่ต้องมีไกด์มาคอยอธิบาย" เบลล์กล่าวพลางชูเครื่องเอ็มพี 3 อ๊ะ...อ๊ะ แต่ก่อนจะก้าวเข้าไปด้านใน สาวเบลล์ถึงกับเรียกหาเสื้อแขนยาว เพราะกลัวว่าอากาศด้านในจะหนาวจับใจนั่นเอง

                         เมื่อเจ้าหน้าที่อธิบายว่าวัตถุโบราณที่บรรจุในกล่องใสๆ ในแต่ละห้อง จะเป็นของจริงทั้งหมดที่ค้นพบภายในเรือ ซึ่งภายในกล่องจะถูกควบคุมอุณหภูมิไว้ เพราะวัตถุโบราณอยู่ในน้ำลึกมากกว่า 12,500 ฟุต มานานกว่า 75 ปี โอ้ว... ช่างยาวนานจริงๆ เรียกว่านักสำรวจไม่สามารถกู้ซากเรือขึ้นมาได้เพราะเรือลำใหญ่มาก จึงกู้ขึ้นมาแต่วัตถุภายในเรือ โดยวัตถุทั้งหลายจะถูกแบ่งไปเปิดแสดงในงานนิทรรศการทั่วโลก

                         มาถึงห้องแรกจัดแสดงเกี่ยวกับการกำเนิดเรือไททานิค จะมีตั้งแต่เรือไททานิคจำลอง ภาพเจ้าของเรือ สาเหตุที่สร้างเรือ การดีไซน์ จนถึงภาพวันที่ปล่อยเรือลงน้ำ ซึ่งเรือออกจากเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2405 (ค.ศ.1912) เพื่อเดินทางไปนิวยอร์ก ถัดจากห้องแรก ทั้งสองคนเดินผ่านโถงทางเดินสำหรับผู้โดยสารชั้น 1

                         "พอผมเดินมาห้องนี้รู้สึกขนลุกเลยทีเดียว เขาทำขึ้นมาใหม่ แต่จำลองของเดิมมาเหมือนมาก ไม่ว่าจะเป็นลายพื้นพรม หรือแม้แต่ลูกบิดประตู ก็จะเป็นลายเดียวกันหมด" แบงค์กล่าว ก่อนจะชักชวนสาวเบลล์เดินไปห้องถัดไป ซึ่งเป็นห้องแสดงธนบัตรและเครื่องประดับที่เก็บได้จากภายในเรือ โดยสิ่งของจะอยู่ในตู้กระจกควบคุมอุณหภูมิ

                         "ตอนนี้เรากำลังดูสิ่งของที่กู้ได้ในเรือ มีธนบัตร ซึ่งเท่าที่เห็นยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก เรียกว่ายังดูรู้เรื่องว่าเป็นธนบัตรอะไร ทั้งหมายเลขและตัวหนังสือค่อนข้างชัดมาก" เบลล์กล่าวพลางชี้ชวนให้ดูสิ่งของในห้อง ซึ่งนอกจากธนบัตรแล้วยังมี สร้อยคอ ต่างหู ฯลฯ ห้องถัดไปเป็นโถงสำหรับผู้โดยสารชั้น 1 ที่จะลงมาจากดาดฟ้าเรือเพื่อมาดินเนอร์

                         ดูจากฉากในหนัง โรสก็จะลงมาจากบันไดนี้ ซึ่งห้องนี้จะจำลองออกมาไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ หรือแม้แต่ลายพื้นห้องก็เป็นลายเดียวกับบนเรือไททานิคจริงๆ ห้องถัดมา จะรวมสิ่งของต่างๆ สำหรับผู้โดยสารชั้น 1 ว่ากันว่าภายในจะเหมือนโรงแรมห้าดาว ไม่ว่าจะเป็นห้องพัก อาหารการกินงานนี้สาวเบลล์ถึงกับร้องตาพราวว่า "สวยมากเลย" ก่อนจะถูกหนุ่มแบงค์ลากไปที่ห้องเครื่อง ซึ่งเป็นห้องที่คนงานในเรือจะต้องเติมถ่านหินลงในเตาตลอดเวลาเพื่อให้เรือแล่นไปได้ ภายในห้องมีประแจเรือและถ่านหินโชว์อยู่ในห้อง

                         ออกจากห้องเครื่องก็เข้าสู่ระเบียงเรือ "เรียกว่าจำลองบรรยากาศยามค่ำคืนบนเรือได้เหมือนมาก ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศมีท้องฟ้าสีดำและดาวที่สว่างไสวบนท้องฟ้า หรือเสียงลมที่พัดมามันทำให้ผมรู้สึกเหมือนกำลังอยู่บนเรือที่กำลังแล่นไปด้านหน้า ถ้ามีน้ำกระเด็นหน่อยจะเหมือนอยู่บนเรือจริงๆ เลย แต่ผมทำน้ำกระเด็นได้นะ" แบงค์กล่าวพลางหันหยอกเบลล์ที่ยืนอยู่ข้างๆ

                         งานนี้สาวเบลล์ ถึงร้องห้ามเสียงหลงก่อนจะวิ่งนำไปห้องถัดไป ซึ่งเป็นโซนที่กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เรือไททานิคจมลงสู่ก้นทะเล มีน้ำแข็งก้อนมหึมาโชว์อยู่ในห้อง "อยากจะบอกว่าน้ำแข็งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เรือไททานิคจมและเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้คนที่จมไปกับเรือเสียชีวิตเพราะว่าทนความหนาวไม่ไหว น้ำในทะเลแอตแลนติกมีอุณหภูมิติดลบ ถ้าเราตกลงไปในน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นขนาดนั้น คงทนความหนาวไม่ไหวเหมือนกัน" เบลล์ กล่าว

                         ส่วนห้องถัดมา เป็นห้องที่จำลองบรรยากาศกู้ซากสิ่งของภายในเรือ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะใช้เรือดำน้ำได้สิ่งของขึ้นไปประมาณ 5,500 ชิ้น นอกจากนี้ยังมีวิดีโอแสดงการกู้ซากสิ่งของในเรืออีกด้วย ส่วนห้องสุดท้ายที่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเรือไททานิค เป็นห้องที่แสดงรายชื่อผู้โดยสารทั้งหมดบนเรือ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้รอดชีวิตประมาณ 700 กว่าคน แสดงอยู่บนผนังด้านหนึ่งห้องสุดท้ายของนิทรรศการครั้งนี้ บอกเล่าเรื่องราวเมื่อ 100 ปีที่แล้วว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น งานนี้หนุ่มแบงค์กับสาวเบลล์เลยอดชักภาพกับโทรศัพท์สมัยก่อนไม่ได้

                         "ตอนนี้เราออกมาจากห้องนิทรรศการแล้วได้บอร์ดดิ้งพาสมาเป็นของที่ระลึก เรียกว่าเราได้ดื่มด่ำไปกับความรู้สึกของภายพยนตร์ที่เราได้ดูมา อยากให้มาดูกันเยอะ เชื่อว่ามีหลายคนสนใจเรื่องราวของเรื่อลำนี้ ยิ่งคนที่อยู่ในกรุงเทพไม่น่าพลาดเพราะนี่เป็นนิทรรศการที่ 100 ปีจะมีสักครั้ง" แบงค์กล่าวปิดท้ายก่อนที่จะลากันไปด้วยความอิ่มเอมจากประวัติของเรือลำนี้

-----------------------------------

(พักยก : 'เบลล์-แบงค์'โพสท่า'แจ็ค-โรส' โดดชม100ปีไททานิค : เรื่อง เสาวลักษณ์ ปึงทมวัฒนากูล /ภาพ วริศรา วุฒิกุล)

-http://www.komchadluek.net/detail/20120722/135750/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%A1100%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84.html#.UB3hraPiHx8-

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 08:45:24 am »

100 ปี ไททานิค นิทรรศการแห่งประวัติศาสตร์โลก (Titanic The Artifact Exhibition 2012)

ตั๋วเข้าชมงาน












.


เผื่อจะไปชมงานนิทรรศการกันครับ

ในห้องเกือบสุดท้ายที่มีน้ำแข็ง  อากาศหนาวมาก ไม่น่าจะเกิน 10 องศา

ไปชมของจริงในเรือที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลาเจ็ดสิบกว่าปี 

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 06:21:57 am »

ไททานิค โศกนาฏกรรมบนหน้าประวัติศาสตร์
-http://www.oknation.net/blog/print.php?id=162643-

อาร์เอ็มเอส ไททานิค (RMS Titanic) หรือ "เอสเอส ไททานิค" (SS Titanic) คือชื่อเรือเดินสมุทร ของบริษัทไวท์ สตาร์ ไลน์ (White Star Line) สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2455 ที่เบลฟาสท์, ไอร์แลนด์ (Belfast, Ireland) เป็นเรือที่เปิดศักราชใหม่ ให้กับอุตสาหกรรม เรือเดินสมุทร เนื่องจากเป็น เรือลำแรก ๆ ของโลก ที่สร้างโดยโลหะ และรองรับผู้โดยสารได้กว่า 2,000 คน

ซึ่งการเดินทางครั้งแรก เริ่มการเดินทางที่ เซาแธมป์ทัน , อิงแลนด์ (Southampton, England) ในวันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ.2455 ควบคุมโดย "กัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ" (Edward J. Smith) กัปตันที่ถือว่าเก่งกาจ และมีค่าตัวแพงที่สุดในยุคนั้น เพื่อเดินทางไปยังนิวยอร์ก (New York), สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางครั้งนั้น มีผู้เดินทางรวมทั้งหมด 2,223 คน ซึ่งผู้โดยสารในเที่ยวนั้น ประกอบไปด้วย บุคคลชั้นสูง ในวงสังคม ของอังกฤษ ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงมีบุคคลสำคัญ และบุคคล ในวงสังคมชั้นสูง ซึ่งรวมไปถึง "เจ.พี มอร์แกน" (J.P. Morgan) เจ้าของ ไวท์สตาร์ และ "เจ. บรูซ อิสเมย์" (J. Bruce Ismay) ผู้จัดการไวท์สตาร์ รวมทั้งยังมี "โทมัส แอนดรูวส์" (Thomas Andrews) วิศวกรอาวุโส ของอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์และ วูลฟฟ์" (Wolff) ผู้ออกแบบ และควบคุม การต่อเรือไททานิค แต่ต่อมา มอร์แกน ได้ยกเลิก การเดินทางกระทันหัน เนื่องจากล้มป่วย



ไททานิค มีห้องชุด (Suite) ระดับวีไอพี ซึ่งมีดาดฟ้าชมทิวทัศน์ส่วนตัวถึง 2 ห้อง ค่าโดยสารชั้นวีไอพีนี้ มีราคาสูง โดยมีห้องชั้นหนึ่ง 67 ห้อง ซึ่งภายในห้องทั้ง 67 ห้องนี้ มีการตกแต่งในสไตล์ต่าง ๆ กัน อาทิ แบบหลุยส์ แบบอิตาเลียนเรอเนซองส์ แบบดัตช์ ฯลฯ แถมบ้างห้องยังมีเตาผิงให้ นอกจากนี้แล้ว ยังมีสิ่งสนองความสุขสบาย อีกหลายต่อหลายอย่างด้วยกัน อาทิ ห้องอบไอน้ำแบบตุรกี (Turkish Bath), ลานเล่นสควอช (Squash court) ซึ่งจัดว่าเป็นเรื่อง ที่ทันสมัยมากในยุคนั้น, มีสระว่ายน้ำ ซึ่งถือเป็นสระว่ายน้ำ ในเรือแห่งแรกของโลก, มีห้องออกกำลังกาย, ร้านตัดผม, ห้องสมุด และอื่น ๆ อีกมากมาย

 แต่เดิมไททานิค ถูกออกแบบ ให้มีเรือชูชีพ ทั้งหมด 32 ลำ แต่ต่อมา ถูกตัดออก เหลือเพียง 20 ลำ ซึ่งสามารถ จุผู้โดยสาร ได้ทั้งหมดเพียง 1,178 คนเท่านั้น เนื่องจากมีความเห็นว่า เป็นสิ่งเกะกะ อีกทั้งยังเห็นว่า จำนวนเท่านี้ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ไททานิคออกจาก ท่าเรือเซาแธมป์ตัน (Southampton) เพื่อมุ่งหน้า ไปยังเมืองแชร์บูร์ก (Cherbourg) ของประเทศฝรั่งเศส แวะรับผู้โดยสาร โดยวันที่ 11 เมษายน ไททานิค แวะที่ท่าเรือเมืองควีนส์ทาวน์ (Queenstown) ในไอร์แลนด์ (Ireland) และในเวลาประมาณบ่ายโมง ไททานิคถอนสมอ และมุ่งหน้าไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ใครจะทราบเล่าว่า การถอนสมอครั้งนั้น เป็นการถอนสมอ ครั้งสุดท้ายของเรือไททานิค ที่จะต้องจากไป อย่างไม่มีวันกลับ..




ทะเลสงบและอากาศแจ่มใส การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้โดยสารบนเรือต่างรื่นเริงกับสิ่งต่าง ๆ กับการเดินทาง อันหรูหราบนเรือ ในวันที่ 12 และ 13 เมษายน หากแต่ว่า ในวันที่ 14 เมษายน ตามกำหนดการเดิมนั้น ในเช้าวันอาทิตย์ที่ 14 จะต้องมีการซ้อม การใช้ชูชีพ โดยมีผู้โดยสาร ร่วมทำการฝึกซ้อมด้วย แต่การฝึกซ้อมนั้น ได้ถูกยกเลิกไป?

เช้าวันที่ 14 เมษายน กัปตันสมิท สั่งการ เดินเครื่อง เรือไททานิค เต็มที่ ซึ่งผู้อยู่ ในเหตุการณ์ เล่าว่าเป็นไปตาม ความต้องการของ "อิสเมย์" ผู้จัดการไวท์สตาร์ ที่ต้องการทำเวลา เพื่อให้ถึงนิวยอร์กก่อนกำหนด และลบสถิติที่เรือโอลิมปิก ที่เคยทำไว้ ดังนั้นไททานิค จึงแล่นด้วยความเร็วถึง 22.5 น้อต (1 น้อต = 1 ไมล์ทะเล : ชม., 1 ไมล์ทะเล หรือ nautical mile = 1.85 กิโลเมตร) ซึ่งเกือบถึงความเร็ว สูงสุดของเรือ คือ 23 นอต และในวันเดียวกันนี้เอง ที่ไททานิคได้รับวิทยุโทรเลขเตือน เรื่องภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางการเดินเรือ ประมาณ 6- 7 ครั้ง จากเรือเดินสมุทร ในสายแอตแลนติกเหนือ อาทิ จากเรือแคโรเนีย, บอลติก, อเมริกา, แคลิฟอร์เนียน, และเมซาบา ฯลฯ และที่ร้ายไปกว่านั้น ก็คือ ขณะเวลา 21.45 น. ไททานิคได้รับวิทยุโทรเลข เตือนว่ามีภูเขาน้ำแข็ง และน้ำแข็ง กระจัดกระจาย อยู่ในเส้นทางข้างหน้า แต่พนักงานวิทยุโทรเลข ไม่ได้ทำการส่งข้อความนั้น ให้แก่กัปตัน หรือเจ้าหน้าที่คนใดเลย เพราะมัวแต่ ยุ่งอยู่กับการส่งวิทยุโทรเลข ให้แก่ผู้โดยสาร ในเรือนั่นเอง






จากนั้นในเวลาประมาณ 22.50 น. ทะเลที่สงบไร้ระลอกคลื่น มหาสมุทรที่เงียบสงัด ที่คงมีเพียงแต่เสียงหัวเรือ แหวกน้ำทะเลเท่านั้น เรือเดินสมุทรแคลิฟอร์เนียน ซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก ได้ส่งข่าวเตือนภัยแก่ไททานิค ว่าเรือแคลิฟอร์เนียน ไม่สามารถเดินเรือต่อไปได้ เนื่องจากถูกรายล้อมด้วยน้ำแข็ง ซึ่งจากนั้นเวลา 23.40 น. เจ้าหน้าที่สังเกตุการณ์ ที่อยู่บนเสากระโดงเรือ มองเห็นภูเขาน้ำแข็ง ในระยะกระชั้นชิด คือ อยู่ห่างออกไปราว 450 เมตร และได้ส่งสัญญาณเตือนภัย โดย "วิลเลียม เมอร์ด็อก" ซึ่งอยู่เวรในขณะนั้น สั่งให้หยุดเรือ แล้วเดินเครื่องถอยหลัง และเบนเรือไปทางซ้าย แต่ทุกอย่างสายไปเสียแล้ว เพราะภายในเวลาประมาณ 40 วินาทีเท่านั้น ไททานิคที่แล่นด้วยความเร็วสูง ก็พุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวา

จากนั้นกัปตันสมิท ได้เชิญ โทมัส แอนดรูวส์ ประเมิน ความเสียหาย ซึ่งหลังจาก ประเมิน ความเสียหายแล้วนั้น เวลาประมาณ เที่ยงคืน กัปตันสมิท สั่งให้ เจ้าหน้าที่วิทยุโทรเลข ให้ส่งสัญญาณซีคิวดี (CQD) ขอความช่วยเหลือ รวมทั้งมีการยิงพลุ และสั่งให้ลูกเรือเตรียมเรือชูชีพให้พร้อม จากนั้นในเวลา 00.25 น. ของวันที่ 15 เมษายน กัปตันสมิทได้สั่งให้ลูกเรือ เริ่มทยอยพาผู้โดยสารลงเรือชูชีพ ท่ามกลางความวุ่นวายโกลาหลของผู้คน โดยกัปตันนั้นทราบดีว่า เรือชูชีพนั้นมีไม่เพียงพอ ที่จะจุผู้โดยสารทั้งหมดได้ จึงได้สั่งให้เด็กและสตรีลงเรือก่อน และในขณะเดียวกันนี้ เรือคาร์เพเทียที่อยู่ห่างออกไป 93 กิโลเมตร ได้รับสัญญาณ ขอความช่วยเหลือ และรีบมุ่งหน้า มาช่วยด้วยความเร็วเต็มพิกัด

ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าใด ยิ่งเกิดความโกลาหลมากขึ้น โดยทุกคนต่างทะลัก มาอยู่ที่ดาดฟ้าของเรือ เพื่อแย่งกันลงเรือชูชีพ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ทำการปิดกั้น ทางเดินเรือของผู้โดยสารชั้น 3 ไว้ เพื่อลดความวุ่นวาย รวมทั้งมีการใช้อาวุธปืนยิงผู้โดยสาร เพื่อควบคุมสถานการณ์อีกด้วย แต่เพราะการขาดการฝึกซ้อมเหตุฉุกเฉิน เหล่าลูกเรือจึงจัดผู้โดยสาร ขึ้นเรือชูชีพได้ไม่เร็วนัก อีกทั้งด้วยความไม่มั่นใจ ในความแข็งแรงของเสาเดวิต (Davit) ทำให้บรรทุกผู้โดยสารไม่เต็มลำเรือ โดยเรือชูชีพลำแรกนั้น ถูกปล่อยลงทะเลโดยมีผู้โดยสารเพียง 28 คนเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วบรรทุกได้ถึง 65 คน!!! ซึ่งเป็นสาเหตุต้น ๆ ที่ทำให้มีผู้รอดชีวิตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

สถานการณ์ เลวร้าย มากยิ่งขึ้น ในขณะที่ เจ้าหน้าที่ เร่งพยายาม ขนย้ายผู้โดยสาร ที่เป็นเด็ก และสตรี ให้ได้เร็วที่สุด รวมทั้ง พนักงานวิทยุโทรเลข พยายามส่งสัญญาณ ขอความช่วยเหลือ อย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งภาพของผู้คน ในขณะนั้น ต่างดิ้นรน เพื่อที่จะเอาชีวิตรอด และในวินาทีนี้ ที่ทำให้แต่ละคนนั้น เผยธาตุแท้ ของตนออกมา โดยพวกผู้ชาย ที่คุมสติได้ พยายามยิ้มรับ ความตายอย่างอาจหาญ บางคนกลับไป แต่งชุดใหญ่เต็มยศ เพื่อรอรับความตาย ที่อยู่เบื้องหน้า บ้างก็นั่งออกกำลังกาย เพื่อฆ่าเวลารอความตาย และในขณะเดียวกัน มีสตรีบางท่านที่ปฏิเสธการขนย้าย เพื่อที่จะได้อยู่คู่กับสามีคู่ชีวิต ในยามวิกฤตเช่นนี้ แต่ก็ยังมีชายบางคน ที่ถึงขนาดเอาผ้ามาคลุมศรีษะ เพื่อที่จะพรางตัวเป็นสตรี เพื่อลงไปยังเรือชูชีพ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "เจ. บรูซ อิสเมย์" ผู้จัดการไวท์สตาร์ ผู้ที่ต้องล้มละลาย ทางเกียรติยศไปตลอดชีวิต.





เหล่านักดนตรีผู้กล้านั้น ได้แสดงสปิริต อย่างน่าชื่นชม โดยพวกเขา พยายามเล่นดนตรี เพื่อผ่อนคลาย ความตื่นตระหนก ของคนบนเรือตลอดเวลา และบรรเลง จนนาทีสุดท้ายของชีวิต จากนั้นเวลาประมาณ 02.05 น. เรือชูชีพลำสุดท้าย ถูกปล่อยออกไป จากเรืออันหรูหรา ที่จะเข้าสู่การมรณะนี้ จากนั้นไม่นาน ก็มีเสียงดัง กึกก้องกัมปนาท จากบนเรือ ไฟบนเรือดังทั้งหมด และไม่นาน เรือลำนี้จมลงสู่ก้น มหาสมุทรแอตแลนติก ท่ามกลางค่ำคืนอันหนาวเหน็บ และมืดมิด พร้อมกับชีวิตอีกมากมาย ที่เหลืออยู่บนเรือลำนั้น คงเหลือไว้เพียง แต่เด็กและสตรี ที่ลอยคอ รอการช่วยเหลือ อยู่ในมหาสมุทร อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ที่ลอยคออยู่นั้น บ้างก็เสียชีวิต บ้างก็รอด ซึ่งสาเหตุทีเสียชีวิต มาจากความหนาวเย็น ของน้ำทะเล

แต่หากถามถึง ผู้เป็นกัปตัน อย่าง "กัปตันสมิท" นั้น เขาไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่เขา ได้ทำหน้าที่อันสำคัญ และทรงเกียรติของกัปตัน ด้วยการอยู่เคียงข้างลูกเรือ ที่เหลือทั้งหมด บนเรือมรณะลำนั้น จวบจนวาระสุดท้าย...

หลังจากเกิดเหตุนั้น พบว่ามีผู้รอดชีวิตเพียง 706 ชีวิต เสียชีวิตทั้งหมด 1,517 ราย จากจำนวน ผู้โดยสารทั้งหมด 2,223 คน ซึ่งเวลาประมาณ 04.20 น. เรือโดยสาร ขนาดใหญ่ชื่อ "อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย" (RMS Carpathia) ได้เข้าไป ช่วยเหลือ ผู้รอดชีวิต บนเรือบดทั้งหมด และพาสู่นิวยอร์ก ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2455 จากนั้น วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2528 ซากเรือไททานิค ได้ถูกค้นพบอีกครั้ง จากเหตุการณ์นี้ ได้มีการนำมาสร้าง เป็นภาพยนตร์ที่โด่งดัง โดยใช้ชื่อเรื่องชื่อเดียวกับเรือ "Titanic" กำกับโดย "เจมส์ คาเมรอน" (James Cameron) และนำแสดงโดย Leonardo Dicaprio และ Kate Winslet

ที่มา : -http://www.pakxe.com/home/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=817&page=1-

โดย คนเล่าเรื่อง

-http://www.oknation.net/blog/print.php?id=162643-

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 06:17:56 am »

แจ้งให้ทราบว่า ราคาบัตร  ไม่ใช่ 500 บาท ตามข่าวทีแจ้ง

แต่เป็นจำนวน 510 บาทครับ



.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 12:13:13 am »

100 ปี ไททานิค นิทรรศการแห่งประวัติศาสตร์โลก (Titanic The Artifact Exhibition 2012)




เป็นเวลา 100 ปีที่เรือสำราญลำประวัติศาสตร์ได้จมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก และได้ทิ้งความยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ให้โลกได้จารึก “ไททานิค” ได้กลับมามีชีวิตบอกเล่าเรื่องราวผ่านชิ้นส่วนจริงที่กู้ได้จากซากเรือที่สงบนิ่งใต้มหาสมุทรในรูปแบบนิทรรศการสื่อผสมระดับสากล ที่คนไทยจะได้สัมผัสเป็นครั้งแรก เราจะนำคุณไปสัมผัสกับความสะเทือนอารมณ์ของชีวิตที่สิ้นสุดลงอย่างกระทันหันและการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลอันเกิดจากโศกนาฏกรรมทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ พร้อมสัมผัสของจริงจากซากเรือที่กู้ได้ในงาน 

ราคาบัตร : ผู้ใหญ่ 500 บาท / นักเรียน 350 บาท

พิเศษ !! สมาชิกเมืองไทย Smile Club รับสิทธิพิเศษส่วนลดซื้อบัตรเข้าชมงานนิทรรศการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 2 กันยายน 2555
บัตร เมืองไทย Smile Club Card ซื้อบัตรได้ในราคา 400 บาท
บัตร เมืองไทย Platinum Card และ บัตรเมืองไทย Prestige Card ซื้อบัตรได้ในราคา 350 บาท ได้ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา

วันและสถานที่จัดกิจกรรม : 9 มิถุนายน – 2 กันยายน 2555 เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 8 เวลา 10.00 น. – 22.00 น.

 
    เงื่อนไขการรับสิทธิ์ส่วนลด
    1.เริ่มเปิดจำหน่ายบัตรในวันที่ 1 พฤษภาคม – 2 กันยายน 2555 ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา โทร. 02 – 262 – 3456 หรือ www.thaiticketmajor.com
    2.เงื่อนไขการใช้สิทธิเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
    3.ไม่สามารถใช้ร่วมกับรายการส่งเสริมการขายและส่วนลดอื่นได้
    4.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 1766 กด 4 เมืองไทย Smile ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ในเวลาทำการ 8.30 - 17.00 น. ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ ในเวลาทำการ 9.00 - 17.00 น.

-http://www.muangthai.co.th/webmtl/Default.aspx?tabid=238&articleType=ArticleView&articleId=1817&language=th-TH-


.




ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 12:12:23 am »

100 ปี ไททานิค นิทรรศการแห่งประวัติศาสตร์โลก (Titanic The Artifact Exhibition 2012)

ตั๋วเข้าชมงาน












.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 12:07:01 am »

นิทรรศการ ไททานิก

ภายในงาน  ห้ามถ่ายภาพ  นำรูปด้านนอกมาให้ชมครับ











หลังจากนั้น  ไปสยามพารากอน  และ สยามเซ็นเตอร์ครับ








แถมไปเจอ สตีเวน เจอร์ราดด้วย





.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2012, 12:02:18 am »

เปิดเผยสาเหตุการล่มของเรือไททานิค

เปิดเผยสาเหตุการล่มของเรือไททานิค


เปิดเผยสาเหตุการล่มของเรือไททานิค


-http://www.youtube.com/watch?v=Zx0RYFo8L4E-



ครบรอบ 100 ปีตำนานไททานิค

ครบรอบ 100 ปีตำนานไททานิค



ครบรอบ 100 ปีตำนานไททานิค


-http://www.youtube.com/watch?v=_3wv88bn3DA-


.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2012, 11:59:57 pm »

อาร์เอ็มเอส ไททานิก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA_%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81-



ข่าวการจมของไททานิกบนหนังสือพิมพ์ New York Herald



ข่าวการจมของไททานิกบนหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times)




การสืบสวนและเรือแคลิฟอร์เนียน[35]

18 เมษายน เวลาประมาณ 9.00 น. เรือคาร์เพเทียก็ได้มาถึงเมืองนิวยอร์ก มีผู้ที่มารอที่ท่าเรือถึงหนึ่งแสนคนเพื่อรอรับฟังข่าวภัยพิบัติทางเรือครั้งร้ายแรงนี้[36]

หลังจากนั้นทั้งฝ่ายสหรัฐอเมริกาและอังกฤษต่างก็พยายามสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติภัยในครั้งนี้ รวมทั้งสรุปยอดผู้เสียชีวิต ซึ่งทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าในคืนที่เกิดเหตุ เรือแคลิฟอร์เนียนอยู่ใกล้ไททานิกยิ่งกว่าเรือคาร์เพเทียเสียอีก แต่เหตุที่เรือแคลิฟอร์เนียนไม่ได้มาช่วยเหลือเพราะพนักงานวิทยุโทรเลขหลับจึงไม่ได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือ [3]

ยังมีปริศนาอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับความกระจ่าง เป็นต้นว่า เรือลึกลับ ที่มีผู้รอดชีวิตเห็นในช่วงเวลาที่ไททานิกกำลังอับปางนั้นคือเรือลำใดแน่ บ้างก็เชื่อว่าเป็นเรือแคลิฟอร์เนียน แต่บ้างก็คิดว่าอาจไม่ใช่เพราะหลักฐานเท่าที่สอบสวนได้ยังไม่เพียงพอที่จะชี้ชัดลงไปเช่นนั้นรวมทั้งเรื่องที่ว่าไททานิกอับปางในลักษณะใดกันแน่ จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตที่ว่าไททานิกหักเป็น 2 ท่อนนั้น ผู้เชี่ยวชาญในสมัยนั้นรวมทั้งคนทั่วไปไม่ค่อยให้ความเชื่อถือนัก คิดว่าผู้เล่าเห็นเหตุการณ์ไม่ชัดและเล่าผิดพลาดมากกว่า ส่วนใหญ่คงเชื่อว่าเรือไททานิกจมลงไปทั้งลำ[3]

ผลจากการที่พนักงานวิทยุโทรเลขของเรือแคลิฟอร์เนียนหลับ เป็นเหตุให้ไม่สามารถไปช่วยไททานิกได้ทัน ทำให้ต่อมามีการเพิ่มเติมกฎเกี่ยวกับการเดินเรือขึ้นมา นั่นคือเรือทุกลำต้องมีพนักงานวิทยุอยู่ประจำหน้าที่ตลอดเวลา และในปี ค.ศ. 1913 หน่วยเรือลาดตระเวนสำรวจภูเขาน้ำแข็งก็ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสำรวจเส้นทางและแจ้งเตือนเกี่ยวกับภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือสายแอตแลนติกเหนือ[3]

ดังที่ทราบกันว่าเรือไททานิกนั้นอัปปางโดยการชนก้อนน้ำแข็งและจมหายไป ในมหาสมุทรพร้อมชีวิตผู้คนอีกมากมาย โดยตำนานไม่ได้กล่าวถึงมัมมี่ของเจ้าหญิงอาเมน-รา (Amen-Ra) ที่ใต้ท้องเรือว่าเกี่ยวข้องกับสาเหตุการจมแต่อย่างใด

แต่ทว่าหนังสือพิมพ์บางฉบับกล่าวถึงเรื่องการอัปปางของไททานิกว่าเกิดจากคำสาปมัมมี่ที่อยู่รูป ของสินค้าในเรือแห่งนี้ พ่อค้าที่ขาดจิตสำนึก ได้ลอบนำมัมมี่เข้าสู่อเมริกา เพื่อต้องการขายมัมมี่แก่พิพิธภัณฑ์ในนิวยอร์ก ตามที่ได้ตกลงราคาเป็นมูลค่าที่สูงถึง 500,000 ดอลลาร์ เขายังได้ตกลงแบ่งเงินจำนวนนั้นให้แก่หัวขโมยที่ลักลอบโจรกรรมสุสานแห่งนี้ โดยที่การลักลอบโจรกรรมครั้งนี้เทพอนูบิสทรงพิโรธเป็นอย่างยิ่งจากการที่มเหสีของฟาโรห์ถูกลักลอบขโมยไปและขายให้พิพิธภัณฑ์ในนิวยอร์กสเหมือนเป็นการหมิ่น พระเกียรติฟาโรห์อย่างมหันต์ ดังนั้นเพื่อจัดการทำลายล้างพวกที่ไม่เคารพ เทพอนูบิสจึงจมเรือไททานิกเพื่อให้มัมมี่จมลงสู่ทะเลพร้อมกับเรือและผู้โดยสารโชคร้ายทุกคน นั่นคืออำนาจคำสาปแห่งเทพเจ้า ยังมีตำนานที่เล่าขานกันเพิ่มเติมว่า มัมมี่ได้ถูกนำขึ้นไปไว้อย่างปลอดภัยบทเรือชูชีพที่ช่วยชีวิตผู้โดยสาร ในขณะที่เรือไททานิกกำลังจมสู่ท้องทะเล จากนั้นได้มีการขนส่งต่อไปยังนิวยอร์ก แต่กลับเกิดเหตุประหลาดมากมาย จนทำให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบตัดสินใจส่งกลับคืนสู่อียิปต์ด้วยเรือ อาร์เอ็มเอส เอ็มเปรส ออฟ ไอร์แลนด์ (RMS Empress of Ireland) และสุดท้ายเรือลำนี้ก็ได้จมลงสู่มหาสมุทรพร้อมกับชีวิตของลูกเรือทุกคน การอัปปางครั้งนี้มัมมี่ไม่ได้จมอยู่กับเรือหากแต่สามารถกู้ขึนมาได้โดยเรือชูชีพหลังจากนั้นมีความพยายาม ที่จะส่วนมัมมี่กลับสู่อียิปต์อีกครั้งด้วยเรือ อาร์เอ็มเอส ลูซิทาเนีย (RMS Lusitania) ซึ่งก็อัปปางลงอีกจากฝีมือตอร์ปิโดในสงครามโลก แต่ครั้งนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมัมมี่ที่ดำดิ่งสู่พื้นสมุทรไปพร้อมกับสัมภาระต่างๆของเรือลูซิทาเนีย ด้วยเหตุนี้จึงมีการวิพากษ์กันว่า เคราะห์กรรมของไททานิกนั้นเนื่องมาจากคำสาปของมัมมี่จนเป็นตำนานที่เล่าขานที่โจษขานกันไม่รู้จบ

อย่างไรก็ตาม มัมมี่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาเหตุการจมของเรือ 3 ลำนี้แต่อย่างใด



นางมอลลี บราวน์ (Molly Brown) และกัปตันของเรือคาร์เพเทีย

ผู้รอดชีวิต

หายนะภัยไททานิกครั้งนี้มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้น 710 คน แต่มีผู้เสียชีวิต 1,514 คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ[37]

อันที่จริงแล้ว ผู้ที่รอดชีวิตจากเรือไททานิกมิได้มีแต่เพียงผู้หญิงและเด็กเท่านั้น แต่ยังมีชายด้วย จากการสรุปข้อเท็จจริงพบว่าชายที่รอดชีวิตมีทั้งผู้โดยสารชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 และลูกเรือ[38]

บุคคลที่รอดชีวิตบางคนที่น่ากล่าวถึงคือ เจ. บรูซ อิสเมย์ กรรมการผู้จัดการไวต์สตาร์ ผู้คนส่วนใหญ่ต่างสงสัยกันว่าอิสเมย์รอดมาได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่ผู้ชายส่วนใหญ่เสียชีวิตหมดเนื่องจากสละที่นั่งให้แก่สตรีและเด็ก ชีวิตในช่วงหลังของอิสเมย์ต้องล้มละลายทางเกียรติยศเพราะสังคมตราหน้าว่าเขารอดมาได้เพราะแย่งที่ของสตรีและเด็ก

บางคนก็พูดกันว่าอิสเมย์พรางตัวเป็นหญิงเพื่อลงเรือ แต่อิสเมย์ชี้แจงว่าตนลงเรือชูชีพลำสุดท้าย เมื่อเห็นยังมีที่ว่างจึงได้ลงเรือไปและก็ไม่ได้พรางตัวเป็นสตรีแต่อย่างใด

นางมอลลี บราวน์ (Molly Brown) ซึ่งเป็นพวกเศรษฐีใหม่ที่เดินทางไปกับเรือไททานิก เมื่ออยู่ในเรือ ชูชีพนางบราวน์ได้แสดงความเข้มแข็งและกล้าหาญ ในสภาพที่ทุกคนหมดเรี่ยวแรง เธอได้แสดงบทบาทผู้นำโดยให้สั่งคนในเรือช่วยกันพายเรือมุ่งไปยังเรือคาร์เพเทีย และพยายามช่วยคนที่ตกน้ำ หลังจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ชีวิตของนางบราวน์ก็รุ่งเรืองขึ้น จากเดิมที่สังคมชั้นสูงในเมืองเดนเวอร์ไม่ยอมรับเธอ แต่จากวีรกรรมอันกล้าหาญทำให้เธอก้าวไปไกลถึงขนาดได้รับเสนอการชื่อให้เข้าชิงตำแหน่งวุฒิสมาชิกทีเดียว รวมทั้งยังมีผู้นำเรื่องราวของเธอไปสร้างเป็นภาพยนตร์ แต่อย่างไรก็ดี ในบั้นปลายของชีวิต เธอก็เปลี่ยนไปกลายเป็นคนที่ค่อนข้างเห็นแก่ตัว

เจ้าหน้าที่ของเรือไททานิกที่รอดชีวิตไม่มีใครเลยสักคนเดียวที่สามารถก้าวไปถึงตำแหน่งกัปตันเรือ

จากนั้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 ซากเรือไททานิกได้ถูกค้นพบอีกครั้ง[1]

เมื่อต้นปี ค.ศ. 1997 นางเอดิท ไฮส์แมน ผู้ที่มีชีวิตรอดจากเรือไททานิกที่มีอายุมากที่สุดก็ได้เสียชีวิตลง เธออยู่ในเหตุการณ์เรือไททานิกเมื่ออายุ 15 ปีและเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 100 ปี

และผู้ที่รอดชีวิตรายสุดท้ายจากเหตุการณ์เรือไททานิกอับปาง คือ มิลล์วินา ดีน (Millvina Dean) ชาวอังกฤษ ซึ่งเธอได้เสียชีวิตลงเมื่อ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 รวมอายุได้ 97 ปี ซึ่งในขณะเกิดเหตุ เธอมีอายุเพียง 9 สัปดาห์เท่านั้น [39][2]
ดูเพิ่ม

    ไททานิก (ภาพยนตร์)

อ้างอิง

    ^ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26 1.27 1.28 1.29 Maritimequest: RMS Titanic's data
    ^ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Titanic's home at Atlantic Liners
    ^ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 The Great Ocean Liners: RMS Titanic
    ^ 4.0 4.1 4.2 Staff (27 May 1911). "The Olympic and Titanic". The Times (London) (ฉบับที่ 39596): 4.
    ^ Beveridge, Bruce; Hall, Steve (2004). "Ismay's Titans". Olympic & Titanic. West Conshohocken, PA: Infinity. p. 1. ISBN 0741419491.
    ^ Titanic's data
    ^ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 7.13 7.14 7.15 7.16 "RMS Titanic facts". http://www.titanic-nautical.com/titanic-facts.html.
    ^ 8.0 8.1 "Titanic-construction". http://www.titanicinbelfast.com/template.aspx?pid=248&area=1&parent=247.
    ^ General Information of Titanic
    ^ Titanic's Sea Trials
    ^ ข้อมูลลักษณะห้องของ Class ต่างๆ ในไททานิก และข้อมูลผู้โดยสารโดยสังเขป
    ^ โปรแกมเทียบอัตราเงินเฟ้อสกุลปอนด์อังกฤษ โดยธนาคารกลางแห่งสหราชอาณาจักร
    ^ 13.0 13.1 รายชื่อผู้โดยสารชั้นสามบนไททานิก พร้อมข้อมูล
    ^ รายชื่อผู้โดยสารชั้นสอง พร้อมข้อมูล
    ^ รายชื่อผู้โดยสารชั้นหนึ่ง พร้อมข้อมูล
    ^ "Titanic:A voyage of discovery". http://www.euronet.nl/users/keesree/palace.htm.
    ^ ข้อมูลโดยรวมของไททานิก
    ^ 18.0 18.1 Timeline of the Titanic
    ^ Cableto THE NEW YORK TIMES., Special. "TITANIC IN PERIL ON LEAVING PORT", New York Times (1857-Current file), 1912-04-11, หน้า 1. สืบค้นวันที่ 2009-02-21
    ^ 20.0 20.1 "Titanic Passengers and Crew Listings". encyclopedia titanica. http://www.encyclopedia-titanica.org/manifest.php?q=1. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-24.
    ^ 21.0 21.1 21.2 "Wireless and the Titanic". http://jproc.ca/radiostor/titanic.html.
    ^ LaRoe, L. M. n.d. Titanic. National Geographic Society Society.
    ^ "Titanic & Her Sisters Olympic & Britannic" by McCluskie/Sharpe/Marriott, p. 490, ISBN 1-57145-175-7
    ^ 24.0 24.1 Lightoller's testimony on Day 12 of British Board of Trade Inquiry
    ^ Harland, John (1984). Seamanship in the age of sail. London: Conway Maritime. pp. pp 175–176. ISBN 0 85177 179 3. "The transition to 'rudder' orders...did not occur in the United Kingdom...until 1933"
    ^ [1]
    ^ "Pleas For Help - Distress Calls Heard". United States Senate Inquiry Report. http://www.titanicinquiry.org/USInq/USReport/AmInqRep06.php#a1. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-24.
    ^ http://home.comcast.net/~bwormst/titanic/lifeboats/lifeboats.htm
    ^ Titanic Disaster: Official Casualty Figures and Commentary
    ^ Encyclopedia Titanica http://www.encyclopedia-titanica.org/item/1924/
    ^ USA Today's report on the hull fragments
    ^ Chuck Anesi — Titanic Disaster: Official Casualty Figures with commentary on sex, age, and class variations.
    ^ ""RMS Carpathia"". http://www.sorbie.net/carpathia.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-08.
    ^ "RMS Titanic: List of Bodies and Disposition of Same". Nova Scotia Archives and Records Management. http://www.gov.ns.ca/nsarm/cap/titanic/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-03-03.
    '^ "STEAMSHIP LIGHT SEEN FROM STEAMSHIP TITANIC & STEAMSHIP CALIFORNIANS RESPONSIBILITY". United States Senate Inquiry Report. Titanic Inquiry Project. http://www.titanicinquiry.org/USInq/USReport/AmInqRep06.php#a5. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-24.
    ^ Holdaway, F. W. (19 April 1912). "Winchester "titanic relief fund"". The Hampshire Chronicle. http://archive.thisishampshire.net/2002/3/25/66345.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-08.
    ^ U.S. Senate inquiry stats
    ^ Titanic Disaster: Official Casualty Figures and Commentary
    ^ ผู้รอดชีวิตรายสุดท้ายจาก'ไททานิก'เสียชีวิตแล้ว, ไทยรัฐออนไลน์.

แหล่งข้อมูลอื่น
Commons
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
อาร์เอ็มเอส ไททานิก

    ศูนย์รวมข้อมูลไททานิกรวมถึงรูปและเวบบอร์ด (ภาษาอังกฤษ)
    ศูนย์รวมรูปภาพของเรือไททานิก (ภาษาอังกฤษ)
    BBC Archive: Titanic
    Titanic Historical Society
    Encyclopedia Titanica
    RMS Titanic, Inc
    Titanic Inquiry Project
    PBS Online - Lost Liners
    RMS Titanic ที่ ดีมอซ

พิกัดภูมิศาสตร์: 41°43′57″N 49°56′49″W / 41.7325°N 49.94694°W

หมวดหมู่:

    เรือสัญชาติอังกฤษ
    อุบัติเหตุเรืออับปาง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA_%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2012, 11:58:42 pm »

อาร์เอ็มเอส ไททานิก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA_%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81-



แผนที่แสดงบริเวณที่เรือเกิดอุบัติเหตุ


ภาพภูเขาน้ำแข็งที่ไททานิกชน ถ่ายไว้ในวันเดียวกับที่ไททานิกจมหายไปทั้งลำ


ภาพภูเขาน้ำแข็งที่ไททานิกชน ถ่ายไว้เมื่อ 5 วัน หลังเกิดเหตุ


ภาพไททานิกและภูเขาน้ำแข็ง


เหล่านักดนตรีของไททานิก


ภาพวาดการจมของไททานิก โดย Willy Stöwer


เรือบดของไททานิก


อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia)

การอับปางของเรือ[18]

วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ ของนิวฟันด์แลนด์ 22 นาฬิกา 45 นาที อุณหภูมิภายนอกเรือ ลดลงอย่างรวดเร็วจนเกือบถึงจุดเยือกแข็ง และน้ำทะเลรอบๆ ก็นิ่งลงจนแทบไม่มีคลื่นเลย เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ แต่ก็ไม่มีใครในเรือที่รู้สึกถึงความผิดปกติ ผู้โดยสารที่อยู่บนดาดฟ้าก็กลับลงไปในเรือและใช้ชีวิตต่อตามปกติ[24]

22 นาฬิกา 50 นาที ทะเลสงบไร้ระลอก มหาสมุทรเงียบสงัด คงมีแต่เสียงหัวเรือแหวกน้ำทะเล เรือเดินสมุทรแคลิฟอร์เนียนซึ่งอยู่ไม่ไกลนักได้ส่งข่าวเตือนภัยแก่ไททานิกว่าเรือแคลิฟอร์เนียนต้องหยุดเรือไม่สามารถเดินทางต่อไปได้เพราะถูกห้อมล้อมไปด้วยน้ำแข็ง[24]

23 นาฬิกา 39 นาที เวรยามที่เสากระโดงแจ้งว่าได้พบภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าเรือ ลูกเรือจึงได้เลี้ยวลำเรือเพื่อหลบเลี่ยง แต่เนื่องจากใบจักรและหางเสือที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเรือ ทำให้ผู้บังคับเรือซึ่งยังไม่ชินกับการบังคับเรือใหญ่ขนาดนี้ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด[25]

23 นาฬิกา 40 นาที ไททานิกชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง[1] ที่ 41 องศา 46 ลิปดาเหนือ 50 องศา 14 ลิปดาตะวันตก

ไม่กี่นาทีต่อมาวิศวกรเดินลงไปตรวจดูความเสียหาย และรายงานมาว่า เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาด้านหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่อึดเท่าจุดอื่นๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว ซึ่งวิศวกรบอกว่า หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือได้ 4 ห้อง ไม่ใช่ 5 ห้องดังที่เป็น ดังนั้น น้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อท่วมมิดชั้นF เริ่มไหลขึ้นชั้นE น้ำก็จะล้นกำแพงกั้นน้ำเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องๆ และจมในที่สุด ดังนั้น เรือกำลังจะจม โดยหัวเรือจะจมลงไปก่อน โดยเรือเหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมง[3][26]

0 นาฬิกา 0 นาที ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 น้ำเริ่มท่วมส่วนที่เป็นห้องพักของผู้โดยสารชั้นสาม ทำให้เริ่มเกิดข่าวลือกันในเรือว่าเรือกำลังจะจม แต่ผู้โดยสารส่วนมากที่ได้ข่าวมักยังไม่เชื่อ เพราะก่อนหน้านี้เรือไททานิกถูกโปรโมตอย่างดิบดีว่าไม่มีวันจม

0 นาฬิกา 5 นาที กัปตันสั่งให้เตรียมเรือสำรองไว้ เตรียมอพยพผู้คนโดยด่วน , ไปบอกเจ้าหน้าที่วิทยุให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือออกไป และบอกพนักงานให้ไปปลุกผู้โดยสาร ให้ผู้โดยสารสวมเสื้อชูชีพ และทำร่างกายให้อุ่นๆ และไปที่ดาดฟ้า ทำให้ข่าวลือเรื่องเรือกำลังจะจมแพร่ไปทั่วเรือ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อ ส่วนใหญ่ยังนั่งกินเลี้ยง เล่นไพ่ ดื่มไวน์อย่างใจเย็น และเมื่อขึ้นไปที่ดาดฟ้า เจออากาศหนาวๆ ภายนอก ก็กลับเข้าไปข้างในอีก ในช่วงเวลานี้ ผู้โดยสารดูไม่ตื่นตัว และไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังจะพบนั้นเลวร้ายเพียงใด[3]

ต่อมาราว 5-15 นาที เรือ อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) ของสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) รับสัญญาณขอความช่วยเหลือของไททานิกได้ และตอบกลับ โดยบอกว่าเร่งเครื่องเต็มที่แล้ว และคาร์พาเธียจะไปถึงเรือไททานิกภายใน 4 ชั่วโมง แต่นั่นนานเกินไป วิศวกรบอกว่าเรือลอยอยู่ไม่ถึง 4 ชั่วโมงแน่ ดังนั้น ไททานิก จึงต้องพึ่งตนเอง[27]

0 นาฬิกา 25 นาที เรือสำรองทุกลำพร้อมอพยพผู้โดยสาร กัปตันสั่งให้เริ่มอพยพโดยให้สตรีและเด็กลงเรือไปก่อน แต่ลูกเรือไม่รู้ว่าเรือสำรองจุผู้คนได้เท่าไร จึงปล่อยเรือบดออกทั้งๆที่ยังใส่คนไม่เต็มที่ ทำให้แทนที่เรือสำรองจะช่วยชีวิตได้ 1,178 คนตามที่มันถูกออกแบบ มันกลับรับผู้โดยสารมาเพียง 712 คนเท่านั้น[3]

0 นาฬิกา 45 นาที เรือสำรองลำแรกถูกปล่อยลงมา และเมื่อผู้โดยสารได้รับข่าวการปล่อยเรือชูชีพ และเห็นเจ้าหน้าที่ต่างทำงานอย่างเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง ก็เริ่มเชื่อข่าวที่ลือกันในเรือว่า เรือกำลังจะจม[28]

0 นาฬิกา 50 นาที พลุขอความช่วยเหลือเริ่มถูกยิงขึ้นฟ้า[3]

1 นาฬิกาตรง ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่เชื่อแล้ว ว่าเรือที่พวกเขาอยู่นั้นกำลังจะจม ความวุ่นวายและตื่นตระหนกเริ่มเกิดขึ้น ลูกเรือที่ทำหน้าที่ปล่อยเรือสำรองเริ่มเจอแรงกดดันจากการที่ผู้โดยสารแย่งกันเป็นคนถัดไปที่จะได้ขึ้นเรือสำรอง เกิดเป็นความวุ่นวายเล็กๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารชายหลายท่าน แสดงความเป็นสุภาพบุรุษ โดยให้ภรรยาและลูกขึ้นเรือ แล้วตนเองถอยไป[29]

1 นาฬิกา 15 นาที น้ำท่วมขึ้นมิดหัวเรือ และข่าวการที่น้ำท่วมมาจนมิดหัวเรือ ทำให้ผู้โดยสารเริ่มตื่นตระหนก เพราะเคยเห็นว่าหัวเรือนั้นสูงเพียงใด ดังนั้นผู้โดยสารและลูกเรือจึงตื่นตระหนกมากขึ้นเมื่อรู้ข่าว เพราะคิดว่า เรือจมเร็วกว่าที่คิด ทำให้ผู้โดยสารที่ไม่ใช่สุภาพบุรุษแย่งกันขึ้นเรือ ทำให้ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้น[3]

1 นาฬิกา 25 นาที ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้นมาก เจ้าหน้าที่เริ่มใช้ปืนในการควบคุม เรือบดถูกเจ้าหน้าที่ปล่อยลงอย่างรีบร้อน เพราะความวุ่นวายจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการใส่คนลงไปในเรือ และในการปล่อยเรือสำรองลงไป ในขณะที่เรือเองก็จมลงเรื่อยๆ เหล่านักดนตรีได้แสดงสปิริตอย่างน่าชื่นชม พวกเขาพยายามเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตื่นตระหนกของคนบนเรือตลอดเวลา เมื่อห้องโถงด้านหัวเรือจมต่ำลงก็ย้ายไปเล่นที่ดาดฟ้าด้านท้ายเรือ และบรรเลงไปจนนาทีสุดท้ายของชีวิต

1 นาฬิกา 45 นาที น้ำเริ่มเข้าท่วมบริเวณระเบียงด้านหัวเรือ ในขณะนี้ ชั้น A ด้านหัวเรือ เหลือความสูงจากผิวน้ำ 3 เมตร

1 นาฬิกา 55 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปหมด เจ้าหน้าที่จึงเตรียมเรือสำรองแบบพับได้ และเริ่มลำเลียงผู้คนออกจากเรือต่อ[3]

2 นาฬิกาตรง น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมดาดฟ้าเรือบริเวณส่วนหัว ท่วมห้องบังคับการเรือ และเริ่มเข้าท่วมลึกเข้าไป[3]

2 นาฬิกา 5 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปจนหมด แต่ยังเหลือคนมากกว่า 1,500 คนบนเรือ และท้ายเรือเริ่มยกตัวขึ้น เห็นใบจักรขับเคลื่อนลอยขึ้นมาอย่างชัดเจน และยกขึ้นเรื่อยๆ และทางด้านหัวเรือ น้ำก็เข้าท่วมสูงมิดห้องบังคับการเรือ ท้ายเรือยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เรือเอียงอย่างน่ากลัว ผู้โดยสารหวาดกลัว บางคนถึงกับโดดลงมาจากเรือเพื่อหวังจะว่ายไปขึ้นเรือชูชีพด้านล่าง แต่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนจะว่ายไปถึง[30]

เพราะในเวลานั้น เจ้าหน้าที่ที่อยู่บนเรือสำรอง ได้นำเรือสำรองทุกลำให้ออกห่างจากตัวเรือไททานิกให้ไกลที่สุด เพราะไททานิกที่กำลังจมอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดแรงดูดของน้ำบริเวณใกล้ลำเรือซึ่งอาจจะดูดเรือสำรองจมลงไป หรืออาจเกิดอันตรายอย่างอื่น ที่สามารถทำให้เรือสำรองจมได้ เหล่าเจ้าหน้าที่ พยายามนำเรือสำรองออกไปให้ไกลที่สุด และน้ำทะเลในบริเวณดังกล่าวเย็นเกือบเป็นน้ำแข็ง ดังนั้น ผู้ที่ตัดสินใจในการโดดมาจากเรือไททานิก แล้วคิดว่ายไปขึ้นเรือสำรอง ส่วนใหญ่จึงถูกน้ำที่เย็นยะเยือกทำให้แข็งตาย

2 นาฬิกา 18 นาที ระบบไฟฟ้าบนเรือหยุดทำงาน ไม่นานต่อมา เรือก็ขาดออกเป็นสองท่อน (จุดที่ฉีกขาดอยู่ระหว่างปล่องไฟปล่องที่ 3 กับปล่องที่ 4) แต่พื้นของชั้นล่างสุดยังไม่ขาดออกจากกัน การหักครั้งนี้ ทำให้ส่วนหัวเรือจมลงอย่างรวดเร็ว ดึงส่วนท้ายเรือขึ้นมา ส่งผลให้ส่วนท้ายเรือยกตั้งฉากกับพื้นน้ำ และเริ่มจมลงในแนวดิ่ง[31]

2 นาฬิกา 20 นาที ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ[1] ผู้โดยสารจำนวนมากลอยคออยู่ด้วยเสื้อชูชีพ แต่น้ำทะเลในขณะนั้นเย็นจัดเกือบ 0 องศาเซลเซียส ผู้โดยสารและลูกเรือที่ขึ้นเรือสำรองไม่ทัน ถูกทิ้งให้ลอยคอบนน้ำที่เย็นยะเยือก ในขณะที่ทางเรือสำรองที่ลอยอยู่ด้านนอก ก็พยายามจะเข้าไปช่วย แต่ไม่ได้ เพราะหากผลีผลามเข้าไป คนที่ลอยคออยู่ในน้ำที่เย็นเยือกจะแย่งกันขึ้นเรือสำรอง เพื่อที่จะหลุดพ้นจากน้ำอันเย็นหนาว ซึ่งนั่นจะทำให้เรือสำรอง ถูกผู้ที่ลอยคออยู่รุมจนจมลงไปด้วย ดังนั้น จึงต้องรอ ปล่อยให้ผู้ที่ลอยคอหนาวตายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเหลือผู้รอดน้อยพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้โดยที่เรือสำรองจะไม่ถูกรุมจนจม

3 นาฬิกาตรง เสียงหวีดร้องขอความช่วยเหลือเงียบลง รวมเป็นเวลา 40 นาที ที่ผู้ที่ลอยคออยู่ตายไปจนเกือบหมด เจ้าหน้าที่จึงส่งเรือสำรองมาช่วย แต่ไม่ค่อยทันนัก ส่วนใหญ่ ตายหมดแล้ว เรือสำรองที่เข้าไปช่วยเหลือนั้น นำผู้โดยสารที่ยังไม่เสียชีวิตขึ้นมาได้เพียง 14 คนในสภาพหนาวสั่นทรมาน และในจำนวนนี้ 3 คนเสียชีวิต รวมแล้วเหลือผู้ที่รอดจากการถูกนำมาจากน้ำเย็นเฉียบเพียง 11 คน[32]

4 นาฬิกา 10 นาที อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย[1] ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือสำรองทั้งหมด และพาสู่นิวยอร์ก[33] ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1912 จากนั้น ได้มีการสรุปยอดและรายชื่อของผู้รอดและผู้เสียชีวิต ดังนี้[34]



ประเภทของผู้โดยสาร    จำนวนที่อยู่บนเรือ    จำนวนคนที่รอด    จำนวนคนที่เสียชีวิต    เปอร์เซ็นต์ของคนที่รอด    เปอร์เซ็นต์ของคนที่เสียชีวิต
เด็กชั้น First Class    6    5    1    83.4%    16.6%
เด็กชั้น Second Class    24    24    0    100%    0%
เด็กชั้น Third Class    79    27    52    34%    66%
ผู้ชายชั้น First Class    175    57    118    33%    67%
ผู้ชายชั้น Second Class    168    14    154    8%    92%
ผู้ชายชั้น Third Class    462    75    387    16%    84%
ผู้ชายที่เป็นลูกเรือ    852    192    693    22%    78%
ผู้หญิงชั้น First Class    144    140    4    97%    3%
ผู้หญิงชั้น Second Class    93    80    13    86%    14%
ผู้หญิงชั้น Third Class    165    76    89    46%    54%
ผู้หญิงที่เป็นลูกเรือ    23    20    3    87%    13%
รวมทั้งหมด    2,224    710    1,514    32%    68%

.