ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 11:18:16 am »

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 11:50:14 am »



อ้างถึง  mmm
เข้าไปดูมาตาม link ที่ให้แล้ว  สาธุครับ

ที่เหลือ.. รอลดขนาดภาพน่ะค่ะ ค่อยทยอยนำมาแบ่งปัน..
                                       เข้าไป.. ดูที่เหลือก่อนก็ได้ค่ะ...   

ภาพวาดพุทธประวัติแบบอินเดียภาพที่ ๔๑-๑๑๐  งามมากๆค่ะ







- http://www.elakiri.com/forum/showthread.php?p=12667007
- http://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm









-http://art-of-myth.blogspot.com/

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 05:25:49 am »







ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 05:23:18 am »









ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 05:21:55 am »









ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 05:19:54 am »









ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 05:18:24 am »








ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 05:17:13 am »









ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 05:15:58 am »









ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 03:38:47 am »





ภาพที่ ๖
เจ้าชายเทวทัตเสด็จมาพบพญาหงส์อยู่กับเจ้าชายสิทธัตถะ
ก็ได้ขอทวงคืน ทรงพยายามจะแย่งพญาหงส์นั้นไปเสียให้ได้
โดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของเพราะเป็นผู้ยิงมันตกลงมาได้


วันหนึ่งในฤดูร้อน พญาหงส์สีขาวสะอาดตัวหนึ่ง
บินนำฝูงผ่านพระอุทยานของพระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์
บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือสู่ถิ่นพำนัก ณ ยอดเขาหิมาลัยโพ้น
ความขาวของฝูงหงส์ ซึ่งทาบอยู่บนท้องฟ้าสีครามดูประหนึ่งทางช้างเผือก
ยังความนิยมยินดีให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก แต่สำหรับ พระเทวทัตกุมาร
มิได้เป็นเช่นนั้น น้ำพระทัยของเจ้าชายองค์น้อยนี้ เป็นพาลเหี้ยมโหด
มุ่งแต่จะทำลายเป็นที่ตั้ง พอทอดพระเนตรเห็นฝูงหงส์ เธอก็ทรงยกลูกศร
ขึ้นพาดสาย น้าวคันธนูจนเต็มแรงยิงออกไปทันที ลูกศรนั้นวิ่งขึ้นไป
ถูกพญาหงส์สีขาวซึ่งกำลังบินร่อนร่าเริงใจอยู่บนอากาศ ถลาตกลงสู่เบื้องล่างทันที

ขณะนั้น พระสิทธัตถกุมาร พระโอรสแห่งพระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์
กำลังทรงสำราญอยู่ในพระอุทยานนั้นด้วย ทรงทอดพระเนตรเห็น
พญาหงส์ ร่วงตกลงมาในเขตพระอุทยาน พระองค์จึงละเสียจากการเล่น
โดยสิ้นเชิง แล้วรีบเสด็จออกไปค้นหา ในที่สุดก็พบนกที่น่าสงสารนั้นกำลังดิ้นรน
กระเสือกกระสนด้วยความเจ็บปวดอยู่บนพื้น โดยที่ปีกข้างหนึ่งของมัน
มีลูกศรเสียบทะลุคาอยู่ เจ้าชายองค์น้อยบังเกิดความเวทนายิ่งนัก

ทรงอุ้มหงส์นั้นขึ้นจากพื้น ประคองกอดแต่เบาๆ มิให้วิหคเคราะห์ร้ายตื่นตกใจ
ทรงชักลูกศรที่เสียบอยู่บนปีกนั้นออกเสีย
แล้วทรงนำใบไม้ที่มีรสเย็นมาปิดบาดแผลเพื่อให้โลหิตหยุดไหล
เจ้าชายน้อยทรงรำพึงถึงความทุกข์ของพญาหงส์
อันมีกายปรากฏเป็นบาดแผลใหญ่แล้ว ก็ทรงทอดถอนพระหฤทัย


พระกุมารนั้นแม้จะมีพระชนมายุเพียง ๘ พระชันษา ยังทรงพระเยาว์นัก
ชอบที่จะแสวงสุขอย่างเด็กอื่นๆ แต่พระองค์กลับคิดใคร่ครวญ
ถึงความเจ็บปวดของพญาหงส์ อันความทุกข์สำแดงอยู่ในเวลานั้น
จึงทรงปลอบนกด้วยพระวาจาอ่อนหวาน และอุ้มกอดมันไว้
กับทรวงอกให้อบอุ่น ทั้งลูบขนปลอบโยนให้คลายความหวาดกลัว

เมื่อพระเทวทัตกุมาร ผู้เป็นพระญาติเรียงพี่เรียงน้องของพระสิทธัตถกุมาร
เสด็จมาพบเข้าก็ทวงคืน ทรงพยายามจะแย่งนกนั้นไปเสียให้ได้
โดยอ้างว่า ตนเป็นเจ้าของนกตัวนั้นเพราะเป็นผู้ยิงมันตกลงมาได้
พระสิทธัตถกุมารทรงปฏิเสธที่จะมอบนกให้โดยตรัสว่า
ถ้านกตายมันจึงจะเป็นของผู้ยิง แต่เมื่อมันยังมีชีวิตอยู่
ควรจะเป็นของผู้ที่ให้ความช่วยเหลือมัน
เรามิเคยมีใจที่จะมอบนกตัวนี้ให้กับใครทั้งสิ้นตราบใดที่มันยังคงบาดเจ็บอยู่


ต่างฝ่ายก็ไม่ยินยอมต่อกัน ในที่สุดเจ้าชายสิทธัตถะจึงเสนอขึ้นว่า
ข้อพิพาทนี้ควรจักต้องนำไปให้บรรดานักปราชญ์ของแผ่นดิน
พิพากษาตัดสินชี้ขาดในที่ประชุม
” เจ้าชายเทวทัตก็เห็นด้วย

ณ ที่ประชุมนักปราชญ์แห่งนครกบิลพัสดุ์
ในวันนั้นได้ยกกรณีพิพาทเรื่องหงส์ตัวนี้ขึ้นมาพิจารณา มีการถกเถียงกันเป็นอย่างมาก
ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เจ้าชายเทวทัตควรเป็นเจ้าของนก เพราะเป็นผู้ยิงมันตกลงมาได้
อีกฝ่ายหนึ่ง มีความเห็นว่า นกควรเป็นของเจ้าชายสิทธัตถะ
เพราะเป็นผู้พบมันก่อนและได้ช่วยชีวิตมันเอาไว้
เมื่อมีผู้แสดงความคิดเห็นแตกแยกขัดแย้งกันดังนี้ การประชุมก็ไม่เป็นที่ยุติลงได้

จนในที่สุดมี นักปราชญ์ท่านหนึ่ง ซึ่งไม่เคยมีใครรู้จักพบเห็นมาก่อน
ได้ก้าวออกมาและพูดขึ้นด้วยน้ำเสียงอันดังท่ามกลางที่ประชุมนั้นว่า
“ในโลกนี้ชีวิตเป็นของล้ำค่ายิ่ง ไม่ว่าใครก็ต่างรักและหวงแหนชีวิตตน
ผู้ที่ช่วยเหลือสัตว์ได้ชื่อว่า เป็นผู้ให้ชีวิต

แต่ผู้ที่ทำลายชีวิตสัตว์ให้ดับล่วงไปได้ชื่อว่า เป็นผู้เข่นฆ่า
ผู้ใดกรุณาต่อสัตว์ เป็นผู้ช่วยเหลือสัตว์ บุคคลนั้นจึงสมควรเป็นเจ้าของ
ดังนั้น ขอให้นกตัวนี้จงเป็นของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ที่ช่วยชีวิตมันไว้เถิด”

ทุกคนในที่ประชุมต่างเห็นด้วยกับ
ถ้อยคำอันมีเหตุผลเที่ยงธรรมของนักปราชญ์ผู้นั้น
จึงตัดสินให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นผู้รับเอาหงส์
ซึ่งพระองค์ได้ทรงพยายามช่วยชีวิตนั้นไป
หลังจากนั้นพระกุมารน้อยทรงเอาพระทัยใส่ดูแลนกนั้นอย่างเอื้ออารีที่สุด
จนกระทั่งบาดแผลของมันหายสนิท มีกำลังวังชาฟื้นคืนดีแล้ว
พระองค์ก็ทรงปล่อยมันให้บินกลับไปอยู่รวมฝูงกับพวกพ้องของมัน
ในสระกลางป่าลึกด้วยความผาสุกสืบไป

พระสิทธัตถกุมารองค์น้อยนี้แหละ ในกาลต่อมาคือ พระบรมศาสดา
ผู้ประกาศพุทธศาสนาด้วยหลักธรรมแห่งเมตตา

ให้บรรดาเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ เทพยดา และยักษ์มารอสูร
ได้ประจักษ์แจ้งในสัทธรรมอันสูงสุด
พระปรีชาญาณและดวงหทัยอันเปี่ยมไปด้วยมหาเมตตาคุณ
ได้ฉายแสงปรากฏให้ชนทั้งหลายได้ชื่นชมตั้งแต่ครั้งกระนั้นเป็นต้นมา