ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 10:06:07 am »


เรียนรู้ดอกไม้ทั่วโลก ที่พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้
-http://www.dailynews.co.th/society/148734-









ความงดงามของดอกไม้และวัฒนธรรมดอกไม้ของไทยและจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ถูกนำมาจัดแสดงไว้ใน พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ (The Museum of Floral Culture) พิพิธภัณฑ์อันว่าด้วยเรื่องราววัฒนธรรมของดอกไม้แห่งแรกในประเทศไทยและแห่งเดียวของโลก สถานที่ซึ่งบรรจุชิ้นงานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดดอกไม้จากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของ สกุล อินทกุล ศิลปินนักจัดดอกไม้ระดับนานาชาติ ที่มีความตั้งใจให้พิพิธภัณฑ์เป็นที่แสดงชิ้นงาน หลักฐาน ภาพถ่าย และไม้ดอกไม้ใบที่รวบรวมมาจากทุกทวีป ตลอดช่วงชีวิตการทำงานในฐานะศิลปินนักจัดดอกไม้ ที่มีโอกาสเดินทางไปจัดดอกไม้ และได้สัมผัสคลุกคลีอยู่ในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก

พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ตั้งอยู่ที่ศรีย่าน เขตดุสิต เป็นบ้านโบราณสไตล์โคโลเนียลอายุกว่า 100 ปี แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นห้องจัดนิทรรศการทั้งชั้น 1 และชั้น 2 รวม 7 ห้อง ห้องแรก ห้องหอภาพดุสิต จัดแสดงภาพถ่ายโบราณงานดอกไม้ไทยในอดีตที่สืบค้นได้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร รวมทั้งภาพถ่ายโบราณวิถีชีวิตของผู้คน และงานสถาปัตยกรรมในอดีตของเขตดุสิต โดยมีงานแสดงชิ้นสำคัญคือ ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ ฝีมือ ม.ล.จิราธร จิระประวัติ ที่วาดให้เป็นพิเศษ
 
ห้องที่สอง ห้องโลกแห่งวัฒนธรรมดอกไม้ จัดแสดงตัวอย่างงานวัฒนธรรมดอกไม้ที่สำคัญจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น อินเดีย จีน ญี่ปุ่น บาหลี ลาว และทิเบต บรรจุเอกสารโบราณเก่าแก่ อาทิ “ตำราลับแห่งการจัดดอกไม้แบบโชกะของอิเคโนโบะ” หนังสือม้วนโบราณอายุราว 256 ปี ห้องที่สาม ห้องอุโบสถแห่งดอกไม้ คือ อุโบสถแห่งดอกไม้จัดแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ป่าไม้ สายน้ำ ชุมชน ผู้คน และวัฒนธรรมดอกไม้ โดยมีกรณีศึกษาคือ อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย และชุมชนรอบวัดศรีโพธิ์ชัย ใน จ.เลย ซึ่งชาวบ้านสามารถอนุรักษ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมทั้งวัฒนธรรมดอกไม้ของตัวเองไว้ตราบจนปัจจุบัน ด้วยการต่อต้านการให้สัมปทานตัดไม้ของรัฐในปี พ.ศ. 2525 ที่ทำลายป่าทั้งหมดพื้นที่กว่า 70,000 ไร่ ปัจจุบันคือ อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย อันเป็นป่าต้นน้ำของชุมชน

ความงดงามของดอกไม้ห้องสี่และห้า ห้องมรดกวัฒนธรรมดอกไม้ จัดแสดงงานมรดกทางวัฒนธรรมดอกไม้ของไทยทั้งเรื่องราวงานมาลัย เครื่องแขวน พานดอกไม้ บายศรี ดอกไม้เล็ก กระทง และใบตอง โดยมีตัวอย่างงานทั้งงานวัฒนธรรมดอกไม้ไทยจากอดีต และร่วมสมัยในปัจจุบัน โดยใช้เนื้อหาบางส่วนจากหนังสือดอกไม้ไทย วัฒนธรรมดอกไม้แห่งชาติ  และห้องที่หกและเจ็ด อยู่ชั้น 2 คือ ห้องปากกาและดินสอ จัดแสดงภาพร่างงานบางส่วนของผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ดอกไม้ในแขนงต่าง ๆ โดยมีงานแสดงชิ้นสำคัญคือ ส่วนหนึ่งของภาพร่างงานตกแต่งดอกไม้สดสำหรับงานพระราชทานเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง เมื่อครั้งเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ห้องหัวใจแห่งงานจัดดอกไม้สมัยใหม่ จัดแสดงปฐมบททั้ง 9 แห่งงานจัดดอกไม้สมัยใหม่

นอกจากนี้ส่วนที่ 2 เป็นสวนรอบ ๆ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ จัดแสดงงานที่มีชีวิตกลางแจ้ง รวบรวมไม้ดอกไม้ประดับปลูกรายรอบ เช่น จำปี จำปา มะลิ ดอกแก้ว ดอกพิกุล ดอกรัก และดอกพุด รวมทั้งกล้วยตานีสีดำที่ใช้ในงานใบตองของไทย สนใจเข้าชมได้ทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) ระหว่างเวลา 10.00-18.00 น. บัตรราคา 150 บาท โทร. 0-2669-3633.

.