ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2012, 09:49:43 am »

โรคอุบัติใหม่ “ลำไส้อักเสบเรื้อรัง” อันตรายถึงชีวิต!! ตรวจพบก่อนรักษาได้

-http://www.dailynews.co.th/article/224/148887-










อาการปวดท้องเป็นอาการที่คนไทยส่วนมากมักเคยเป็น โดยเกิดจากหลายสาเหตุ การวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำเท่านั้นจึงจะทราบว่าอาการปวดท้องที่แท้จริงแล้วเกิดจากสาเหตุใด ล่าสุดในประเทศไทยเรามีผู้ป่วยในกลุ่มอาการอักเสบเรื้อรังในลำไส้เพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีอาการปวดท้องเช่นกัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้กลายเป็นโรคมะเร็งหรืออาจร้ายแรงถึงขึ้นเสียชีวิตในที่สุด!!

ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ความรู้ว่า “กลุ่มอาการอักเสบเรื้อรังในลำไส้” หรือ “ไอบีดี” (IBD; Inflammatory Bowel Disease) คือ โรคในกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่โดยไม่ทราบสาเหตุ ปัจจุบันพบว่ามีอุบัติการณ์ผู้ป่วยสูงขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่ในอดีตกลุ่มอาการไอบีดีเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นเฉพาะกับคนในตะวันตกและตะวันออกกลางเท่านั้น ซึ่งโรคไอบีดีเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงวัย 20-40 ปี ปัจจุบันเรายังไม่รู้สาเหตุของการเกิด ทำให้กลุ่มอาการของโรคไอบีดีแตกต่างจากกลุ่มลำไส้อักเสบชนิดเฉียบพลันซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ

โรคในกลุ่มไอบีดี แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Crohn‘s Disease ที่เกิดได้ทุกตำแหน่งในระบบทางเดินอาหาร และ Ulcerative Colitis ที่เกิดเฉพาะบริเวณลำไส้ใหญ่ เดิมทีโรคกลุ่มนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกันมากในชาวตะวันตกและแถบตะวันออกกลาง จึงเชื่อว่าอาจมีความเกี่ยวข้องในเรื่องของพันธุกรรม ส่วนสาเหตุหลักจริง ๆ ยังไม่ทราบ และยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ แต่จากการเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังในกลุ่มผู้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์พบว่าในประเทศไทยหรือใน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ก็มีผู้ป่วยอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งได้รับการวินิจฉัยเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี จึงเป็นไปได้ว่าอาจเป็นเพราะลักษณะแสดงออกของโรคที่แตกต่างกัน

สำหรับอาการผิดปกติเบื้องต้นที่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากกลุ่มอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง คือท้องเสียเรื้อรัง มีมูกเลือดปนในอุจจาระ ปวดท้อง น้ำหนักลด หรือผู้ป่วยบางคนอาจมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งอาการที่บ่งชี้ของโรคไอบีดีเป็นลักษณะอาการทั่วไปของผู้มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร อาจมีแค่อาการเดียวหรือหลาย ๆ อาการร่วมกันได้ แต่ข้อสังเกตคือ
เมื่อพบว่ามีอาการดังกล่าวต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และอาการไม่ดีขึ้นหลังได้รับยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจอุจจาระหรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อย่างละเอียด

อย่างไรก็ตามสมัยก่อนประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยในกลุ่มอาการลำไส้อักเสบเรื้อรังหรือไอบีดีมากนัก ทำให้แพทย์มีประสบการณ์ในการตรวจวินิจฉัยและการรักษาน้อย หลายครั้งที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าลำไส้ติดเชื้อ ซึ่งไม่ตรงกับกลุ่มอาการหรือแม้จะทราบว่าเป็นโรคไอบีดีก็ยังไม่มีการรักษาที่เหมาะสมรองรับ ทั้งที่โรคนี้หากเป็นมากหรือมีอาการอักเสบเรื้อรังมีโอกาสถึงขึ้นเสียชีวิตหรืออาจเป็นมะเร็งลำไส้ได้ถ้าปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน
 
การรักษาโรคไอบีดีโดยทั่วไปถ้าหากต้องการให้ได้ผลเต็มที่มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ Remission หมายถึง การควบคุมอาการของโรคให้สงบลงด้วยการให้ยา ซึ่งมีทั้งยากินและยาฉีด แต่ส่วนใหญ่จะให้ยากิน สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องไปตลอดแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เนื่องจากการกินยามีผลโดยตรงต่อการควบคุมอาการของโรคไม่ให้ย้อนกลับมา ผู้ป่วยที่เป็นโรคไอบีดี แล้วควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เพราะจะทำให้ท้องเสีย ถ่ายบ่อย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคไอบีดี จะรักษาไม่หายขาด ต้องดูแลรักษาตัวเองโดยการควบคุมอาการของโรค คือ การทานยาแล้วทุกอย่างจะเป็นปกติ ถ้าขาดยาอาการของโรคก็จะกลับมาอีกและต้องคอยหมั่นมาตามนัดของแพทย์

ส่วนในรายที่การรักษาด้วยยาอย่างเดียวแล้วยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ บางครั้งแพทย์จำเป็นต้องพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด โดย ผู้ป่วยกลุ่มที่เป็น Ulcerative Colitis การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ส่วนที่มีปัญหาออกจะช่วยรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบเรื้อรังหนักมากแล้วเท่านั้น ส่วนผู้ป่วยกลุ่ม Crohn’s Disease จะไม่นิยมผ่าตัด เนื่องจากหลังผ่าตัดแล้วอาการของโรคก็ยังสามารถลุกลามขึ้นใหม่ในตำแหน่งอื่น ๆ ได้อีก ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมมาตั้งแต่ต้น ทำให้ผนังลำไส้กลายเป็นพังผืด ส่งผลให้เกิดการตีบตันก็จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด

ทั้งนี้โรคในกลุ่มอาการลำไส้อักเสบเรื้อรังเป็นโรคที่เพิ่งเริ่มได้รับความสนใจอย่างจริงจังในประเทศไทย ประกอบกับลักษณะพิเศษของโรคที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างจากอาการในระบบโรคทางเดินอาหารอื่นๆ เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุและมีผลแทรกซ้อนตามมามากมาย ตลอดจนการวินิจฉัย การรักษา และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะของโรคต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของแพทย์ ที่สำคัญทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เตรียมเปิด “ไอบีดี คลินิก” ขึ้นเพื่อรักษาให้คำแนะนำและเป็นศูนย์การศึกษาวิจัยพร้อมเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาตรฐาน สำหรับกลุ่มอาการของไอบีดีโดยเฉพาะ ซึ่งการเปิดคลินิกเฉพาะทางของไอบีดี มีความสำคัญเพราะโรคนี้หากได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและมีแผนการรักษาที่ชัดเจน ผลการรักษาก็จะดี

สุดท้ายหากใครมีอาการปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง มีมูกเลือดปนในอุจจาระ และน้ำหนักลด เป็นระยะเวลาเกิน 2 สัปดาห์ อย่านิ่งนอนใจควรรีบไปตรวจวินิจฉัยเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อความปลอดภัยและจะได้ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานอีกต่อไป...

http://www.dailynews.co.th/article/224/148887

.